xs
xsm
sm
md
lg

"แม้ว"โผล่หวังกระตุ้นมวลชน เตรียมพร้อมลุยช่วงคสช.ขาลง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนต่างประเทศว่า นัยยะสำคัญของการเคลื่อนไหวครั้งนี้ คือ
1. ในวาระครบรอบ 1 ปี ของคณะรัฐประหาร จึงอยากแสดงความเห็นวิจารณ์การทำงานของคณะรัฐประหารผ่านสายตาของตน ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าไม่เป็นที่พอใจสำหรับพ.ต.ท.ทักษิณ
2. พ.ต.ท. ทักษิณ เคลื่อนไหวให้มวลชนเห็นว่า ตนยังอยู่ ไม่ได้เงียบหายไป และยังสามารถขับเคลื่อนมวลชน โดยเป็นผู้นำของมวลชน เพื่อให้มวลชนไม่รู้สึกหว้าเหว่ เพราะยังมีแกนนำอยู่
3. โจมตีกระบวรการยุติธรรมของไทย โดยเฉพาะกล่าวหาว่าตนเอง และน.ส. ยิ่งลักษณ์ไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะทั้งตนเองและน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกโจมตีด้วยกระบวนการเดียวกัน
4. การโจมตีองคมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะรัฐประหาร โดยวิจารณ์ว่าการเข้ามาของคณะรัฐประหาร เป็นไปตามคำสั่ง ไม่ใช่การเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจในประเทศนี้ เมื่อผู้มีอำนาจดังกล่าวไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ ก็สามารถกดปุ่มสั่งได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของสถาบันฯ เช่นเดียวกับการให้สัมภาษณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ ว่าสิ่งที่พ.ต.ท. ทักษิณ ต้องการทำลายมี 2 เรื่อง คือทหารและสถาบันฯ ถ้าทำลายได้เมื่อไร แสดงว่าเขายึดอำนาจเบ็ดเสร็จของประเทศได้เมื่อนั้น ฉะนั้นการเคลื่อนไหวของพ.ต.ท.ทักษิณ จึงมีเป้าหมายในการทำลายสถาบันฯ และองคมนตรี
"ลักษณะนี้คือการสะสมกำลัง รอคอยโอกาส ตราบใดก็ตามถ้าคสช. อ่อนแรง และไม่สามารถคุมอำนาจได้ทั้งหมด ขณะที่มวลชนเริ่มไม่พอใจคสช. เขาก็พร้อมที่จะลุกขึ้นมา ฉะนั้นเหมือนกับประกาศให้รู้ว่า เขายังอยู่ พร้อมจะเคลื่อนไหว แต่เขายังเห็นว่าตอนนี้คสช ยังคุมอำนาจได้อยู่ แต่ถ้าเริ่มจางลงเมื่อไหร่ เชื่อเหลือเกินว่าเขาพร้อมที่จะเคลื่อนมวลชนรวมถึงกลุ่มการเมืองของเขาออกมาแน่นอน" นายวันชัย กล่าว
นายวันชัย กล่าวอีกว่านับแต่นี้ คสช.จะต้องขยันทำงานยิ่งขึ้น แม้จะสามารถรักษาความสงบเรียบร้อยได้ระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องปากท้องของประชาชนได้ ถ้าคสช. สามารถคุมสองเรื่องนี้อยู่เมื่อไร ตนเชื่อเหลือเกินว่าคสช. อยู่อีกปีหรือสองปี จะไม่มีใครคัดค้าน แต่ถ้าเศรษฐกิจยังไม่ดี จะเป็นเหตุของการปลุกประชาชนออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง เพราะคสช. ยิ่งอยู่นานอำนาจยิ่งเสื่อมอยู่แล้ว ฉะนั้นระยะเวลาที่อยู่ในอำนาจ จะต้องเร่งขยับมากกว่านี้
ส่วนกรณีการประชามติรัฐธรรมนูญนั้นสุ่มเสี่ยงเกินไป เพราะเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมือง เนื่องจากการประชามติ ต้องเปิดกว้างกับทุกกลุ่ม เหมือนกับกวนน้ำที่นิ่งอยู่ให้ขุ่น ดังนั้นตนเห็นว่ายังไม่ควรประชามติในระยะนี้ เพราะควรสร้างความสงบเรียบร้อยให้ดีก่อน ไม่ใช่เฉพาะส่วนบน แต่รวมถึงส่วนล่างด้วย นอกจากนั้น หากจัดการประชามติในช่วงนี้ จะเป็นการประชามติโดยฝ่ายเดียว ขณะที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับคสช. โดยเฉพาะกลุ่มอำนาจเก่าก็จะถือโอกาสนั้นเคลื่อนไหวทางการเมือง ปลุกมวลชนคว่ำรัฐธรรมนูญได้
กำลังโหลดความคิดเห็น