นายกฯสั่งกระทรวงการต่างประเทศ-กลาโหม ต้องเพิ่มบทบาทแก้ไขปัญหาโรฮีนจา สั่งกองทัพอากาศบินลาดตระเวน ห่วงอันตรายช่วงฤดูมรสุม ย้ำไทยช่วยเหลือตามมนุษยธรรมอย่างดีที่สุด เพราะทุกชีวิตมีค่า เชื่อทุกประเทศตอบรับประชุม 29 พ.ค. โต้ ซีเอ็นเอ็น ไม่เคยใช้อาวุธบังคับออกนอกพื้นที่ ด้านผู็นำมาเลย์ ยอมรับรู้สึก "กังวลอย่างยิ่ง" หลังมีการพบหลุมฝังศพหมู่กว่า 100 หลุม ในรัฐปะลิส ใกล้ชายแดนไทย ประกาศจะหาตัวคนผิดมาลงโทษให้ได้
เมื่อเวลา 16.10 น. วานนี้ (25 พ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแก้ปัญหาโรฮีนจาว่า จะมีการประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ในมหาสมุทรอินเดีย ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ มีหลายประเทศตอบรับมาแล้ว และเข้าใจว่าจะตอบรับทั้งหมด ทั้งประเทศที่เป็นต้นทาง กลางทาง ปลายทาง และประเทศที่ให้การสนับสนุนอย่างสหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น จะเข้าร่วมทั้งหมด ซึ่งปัญหาของเราคือ จะต้องบริหารจัดการอย่างไร ในฐานะที่เราเป็นประเทศตรงกลางซึ่งตนได้คุยกับพล.อ.ธนศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ว่า จะต้องเพิ่มบทบาทในการทำหน้าที่ตรงนี้ เพราะจะเริ่มมีการประชุมแล้ว ร่วมถึงวันนี้ได้มีการขอความร่วมมือจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และสหรัฐอเมริกาแล้ว แต่เราจะดำเนินการของเราก่อน โดยเฉพาะการดูแลด้านมนุษยธรรม ที่จะทำให้เกิดความชัดเจน เพราะตอนนี้มีหลายคนเป็นห่วง เพราะชาวโรฮีนจา ส่วนหนึ่งยังลอยเรืออยู่ อีกทั้งเราเป็นห่วงว่าช่วงนี้เข้าสู่ฤดูมรสุม แต่ยังตรวจสอบไม่พบ
ทั้งนี้ได้สั่งการให้ทหารเรือรับผิดชอบในการเอาเรือขนาดใหญ่ออกไปในพื้นที่ของไทย หรือ รอยต่อ เพื่อรองรับเหมือนเป็นฐานเรือลอยน้ำโดยมีแพทย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่คัดแยกอยู่ในนั้นให้แล้วเสร็จ โดยถ้าเจอชาวโรฮีนจา ก็ให้นำมาที่เรือดังกล่าว และรักษาพยาบาลก่อน และเตรียมการส่งต่อไปที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวของประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งเราจะอำนวยความสะดวกให้ แต่ต้องอยู่ในกฎหมายไทย
สำหรับกรณีชาวโรฮินจาที่อยู่ในน่านน้ำนั้น จะเป็นไปตามแนวทางเดิม คือ ต้องขึ้นอยู่กับใจของเขาว่าจะไปที่ไหน ซึ่งแต่ละประเทศต้องช่วยกันอำนวยความสะดวก
นายกฯย้ำชีวิตทุกชีวิตมีค่า
อย่างไรก็ตามได้มีความชัดเจนในการลาดตระเวนทางอากาศ ที่ให้ทหารอากาศจัดเครื่องบินลาดตระเวน ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.แล้ว หากสหรัฐอเมริกา หรือประเทศใดสนใจจะมาร่วมมือ ก็ต้องมาอยู่ในสายบังคับบัญชากับเรา เพราะเราเป็นเจ้าของพื้นที่
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึง กรณีสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ออกข่าว และลงภาพจากสื่อของไทยว่า มีการใช้ความรุนแรง ใช้ปืนบังคับให้ชาวโรฮีนจาออกไป ว่า โธ่ ไปทำได้อย่างไร ในเมื่อเราเป็นคนช่วยมาตลอด ในเรื่องการดูแลผู้เจ็บป่วยตามหลักมนุษยธรรม เรามองประเด็นสำคัญคือ ชีวิตทุกชีวิตมีค่า รัฐบาลไทย และคนไทยเป็นคนพุทธอยู่แล้ว ฉะนั้นชีวิตคนทุกชีวิตมีค่า เราต้องช่วยเหลือตามมนุษยธรรมก่อนเรื่องอื่น จากนั้นเมื่อเขาเข้มแข็งก็ว่าไปตามความสมัครใจ ถ้าจะมาอยู่ที่ฝั่งไทย ต้องยอมรับกติกาของเรา ซึ่งเรายืนยันหลักการตรงนี้ และเราจะไม่แบ่งแยกว่า พ่อแม่ป่วย ลูกไม่ป่วย แล้วเอามารักษาเฉพาะพ่อแม่นั้นไม่ใช่ เราเอามาทั้งครอบครัว ซึ่งการคัดแยกต้องมีความชัดเจน โดยมีการถ่ายภาพเก็บหลักฐาน อย่าไปเขียนเลอะเทอะไปเรื่อย จะทำให้ประเทศเสียหาย
" เราทำตามมติของยูเอ็น ซึ่งงบประมาณก็ค่อนข้างจำกัด และลดลงไปเรื่อยๆ จะให้อยู่ดีกินดีกว่าที่คนไทยอยู่นั้นไม่ได้ ต้องเท่าเทียมกัน และแก้ปัญหาทั้งหมด ส่วนปัญหาระยะยาว จะแก้ปัญหากันเอง คุยกับประเทศเพื่อนบ้านกันแล้วว่าขอเวลาเตรียมการหน่อย ไม่ได้มีปัญหาอะไร วันนี้เราต้องลดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้าน และใช้ความเป็นมนุษยธรรมซึ่งคิดว่าผู้นำทุกประเทศเข้าใจตรงนี้ วันนี้เกรงว่า การพูด การสัมภาษณ์ทุกเรื่องนั้นจะเกิดผลกระทบกับมิตรประเทศของเราทั้งสิ้น ซึ่งแต่ละประเทศมีปัญหาไม่เหมือนกัน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ทร.ส่งรล.อ่างทอง ช่วยโรฮิงญา
พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผบ.ทร. เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ทัพเรือภาคที่ 3 จัดหมู่เรือช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมกับชาวโรฮีนจา โดยมีการจัดเรือหลวงอ่างทอง และเรือในพื้นที่ทัพเรือภาคที่ 3 และเฮลิคอปเตอร์ ในการจัดกำลังช่วยสนับสนุนการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม พร้อมเตรียมชุดแพทย์ และเวชภัณฑ์ช่วยในการรักษา น้ำ และอาหารเป็นต้น ทั้งนี้การจัดวางกำลังที่เขตพื้นที่ใดนั้น ตอนนี้อยู่ระหว่างหาพื้นที่ที่เหมาะสมก่อนที่จะส่งไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวที่ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ต่อไป
มาเลย์กังวลเรื่อง"หลุมศพโรฮีนจา"
ด้านผู้นำแดนเสือเหลือง ที่กำลังอยู่ระหว่างเยือนญี่ปุ่น ได้ออกมาแสดงความวิตกว่า "ผมรู้สึกกังวลอย่างยิ่งต่อข่าวการพบหลุมฝังศพขนาดใหญ่บนแผ่นดินมาเลเซีย ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์... เราจะต้องหาตัวผู้รับผิดชอบ"
คอลิด อบูบาการ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย เผยต่อสื่อมวลชนว่า มีการพบหลุมฝังศพทั้งสิ้น 139 หลุม และค่ายกักกันชาวโรฮีนจาอีก 28 แห่ง ใกล้ชายแดนตอนเหนือของสุดของประเทศ ซึ่งถือเป็นการค้นพบครั้งแรกในมาเลเซีย นับตั้งแต่วิกฤตผู้อพยพทางเรือทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนนี้
"เจ้าหน้าที่พบหลุมฝังศพ 139 หลุม แต่ยังไม่มั่นใจว่า ภายในหลุมเหล่านี้จะมีศพอยู่มากน้อยเท่าใด" คอลิด ให้สัมภาษณ์ พร้อมเสริมว่า ค่ายกักกันที่มีขนาดใหญ่สุดนั้น สามารถรองรับคนได้ถึง 300 คน ส่วนอีกแห่งที่ขนาดรองลงมา สามารถรับคนได้ราว 100 คน นอกนั้นเป็นค่ายขนาดเล็ก ที่รับผู้อพยพได้แห่งละประมาณ 20 คน
จากขนาดของค่ายกักกันที่พบทั้ง 28 แห่ง บ่งชี้ว่า อาจจะมีผู้อพยพอยู่รวมกันหลายร้อยชีวิต
เมื่อต้นเดือนนี้ ตำรวจไทยก็เพิ่งจะค้นเจอค่ายกักกันชาวโรฮีนจาใกล้ชายแดนมาเลเซีย และสุสานที่ฝังเอาไว้ตื้นๆ อีกหลายสิบหลุม ซึ่งขณะนั้นทางมาเลเซียยืนยันว่าไม่มีสถานที่ลักษณะนี้อยู่บนแผ่นดินเสือเหลือง อย่างแน่นอน
คอลิด ระบุว่า ค่ายกักกันและหลุมฝังศพซุกซ่อนอยู่ในป่าทึบบนเทือกเขาสูง ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ยาก และปฏิเสธที่จะให้ความเห็น เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เครือข่ายค่ายกักกันเหล่านี้รอดพ้นสายตาทางการไปได้อย่างไร และมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
เขาเผยด้วยว่า ศพหนึ่งที่พบอยู่ในสภาพ "เน่าเปื่อยเต็มที" ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็กำลังเร่งเก็บกู้ขึ้นมาเพื่อตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์
ว่ากันว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญที่เครือข่ายค้ามนุษย์ใช้ในการลำเลียงผู้อพยพจากบังกลาเทศ และพม่าเข้าไปยังมาเลเซีย หรือส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทางอื่นๆ ที่ไกลออกไป
การค้นพบแคมป์และหลุมศพหมู่โรฮีนจาบนเทือกเขาแก้ว ส่งผลให้รัฐบาลไทยมีมาตรการปราบปรามเครือข่ายค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้นายหน้าค้ามนุษย์จำนวนหนึ่ง ตัดสินใจทิ้งผู้อพยพเอาไว้กลางทะเล กลายเป็นภาระต่อทางการไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ต้องเข้าช่วยเหลือผู้คนจำนวนนับพันๆ ที่ติดค้างอยู่บนเรือในสภาพหิวโหย
ในช่วงแรกรัฐบาลมาเลเซีย และอินโดนีเซียก็ใช้นโยบายผลักดันเรือผู้อพยพออกนอกน่านน้ำเช่นเดียวกับไทย แต่แล้วก็ถูกนานาชาติกดดันให้ต้องยอมรับผู้อพยพขึ้นฝั่ง เพื่อรอส่งต่อไปตั้งถิ่นฐานในประเทศอื่นๆ
ทั้งนี้ ทางตำรวจมาเลเซียยังได้แถลงว่า นับจากต้นปี มีตำรวจ 2 คนถูกจับกุมร่วมกับผู้ต้องหาอีก 8 คนในคดีค้ามนุษย์ ขณะที่ไทยมีการสั่งย้ายตำรวจกว่า 50 คนตั้งแต่ต้นเดือน สืบเนื่องจากการสอบสวนเครือข่ายค้ามนุษย์ทางภาคใต้
เพิ่มพนักงานสอบสวนเร่งสรุปคดี
วานนี้ (25 พ.ค.) ที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 9 ส่วนหน้า พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปความคืบหน้าทางคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ทั้งในส่วนของการสอบสวน และการติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่ยังหลบหนีอยู่
พล.ต.อ.เอก เปิดเผยว่า ภาพรวมของคดีนี้ เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงการติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่ยังหลบหนีอีก 31 คน จากที่มีการออกหมายจับทั้งหมด 77 หมาย และควบคุมตัวได้แล้ว 46 คน ซึ่งมีบางคนที่เป็นผู้ต้องหารายสำคัญใน จ.ระนองได้หลบหนียังประเทศเพื่อนบ้าน และอาจจะมีการออกหมายจับผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีก รวมทั้งให้ฝ่ายสืบสวนเร่งนำข้อมูลต่างๆให้ฝ่ายสอบสวนเพื่อประกอบคดีเพื่อให้เสร็จทันตามกรอบที่กำหนดไว้ ภายในเดือนมิ.ย.นี้ ก่อนที่จะส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณา
พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า เนื่องจากคดีนี้เกี่ยวข้องต่ออาชญากรข้ามชาติ และเชื่อมโยงกันหลายจังหวัด จึงได้มีการแต่งตั้งพนักงานอัยการ และพนักงานสอบสวนของตำรวจ มาร่วมทำการสอบสวนเพิ่มเติมอีกกว่า 80 นาย รวมทั้งจะนำคดีที่เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 8 และภาค 9 มารวมกันในสำนวนการสอบสวนด้วย
ส่วนจะมีการแจ้งข้อหาอาชญากรข้ามชาติต่อผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมทั้งหมดตามที่อัยการสูงสุดได้เสนอแนะหรือไม่นั้น ในเรื่องนีเจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง
สำหรับกรณีที่มีการพบหลุมฝังศพในฝั่งมาเลเซีย กว่า 100 หลุมนั้น อาจมีการประสานข้อมูลกับทางฝ่ายมาเลเซีย เพื่อนำมาประกอบคดีนี้ด้วย และยืนยันว่าในส่วนของไทย พบศพแค่ 33 ศพเท่านั้น ส่วนการยึดทรัพย์เครือข่ายค้ามนุษย์นั้น ขณะที่ตัวเลขอยู่ที่ 84 ล้านบาท จ.นครศรีธรรมราช และ จ.ระนอง 65 ล้านบาท และ จ.สตูล 21 ล้านบาท ส่วนของ จ.สงขลา ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่ม ในวันนี้ทาง ป.ป.ง.จะเริ่มดำเนินการตรวจสอบ
เมื่อเวลา 16.10 น. วานนี้ (25 พ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแก้ปัญหาโรฮีนจาว่า จะมีการประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ในมหาสมุทรอินเดีย ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ มีหลายประเทศตอบรับมาแล้ว และเข้าใจว่าจะตอบรับทั้งหมด ทั้งประเทศที่เป็นต้นทาง กลางทาง ปลายทาง และประเทศที่ให้การสนับสนุนอย่างสหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น จะเข้าร่วมทั้งหมด ซึ่งปัญหาของเราคือ จะต้องบริหารจัดการอย่างไร ในฐานะที่เราเป็นประเทศตรงกลางซึ่งตนได้คุยกับพล.อ.ธนศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ว่า จะต้องเพิ่มบทบาทในการทำหน้าที่ตรงนี้ เพราะจะเริ่มมีการประชุมแล้ว ร่วมถึงวันนี้ได้มีการขอความร่วมมือจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และสหรัฐอเมริกาแล้ว แต่เราจะดำเนินการของเราก่อน โดยเฉพาะการดูแลด้านมนุษยธรรม ที่จะทำให้เกิดความชัดเจน เพราะตอนนี้มีหลายคนเป็นห่วง เพราะชาวโรฮีนจา ส่วนหนึ่งยังลอยเรืออยู่ อีกทั้งเราเป็นห่วงว่าช่วงนี้เข้าสู่ฤดูมรสุม แต่ยังตรวจสอบไม่พบ
ทั้งนี้ได้สั่งการให้ทหารเรือรับผิดชอบในการเอาเรือขนาดใหญ่ออกไปในพื้นที่ของไทย หรือ รอยต่อ เพื่อรองรับเหมือนเป็นฐานเรือลอยน้ำโดยมีแพทย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่คัดแยกอยู่ในนั้นให้แล้วเสร็จ โดยถ้าเจอชาวโรฮีนจา ก็ให้นำมาที่เรือดังกล่าว และรักษาพยาบาลก่อน และเตรียมการส่งต่อไปที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวของประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งเราจะอำนวยความสะดวกให้ แต่ต้องอยู่ในกฎหมายไทย
สำหรับกรณีชาวโรฮินจาที่อยู่ในน่านน้ำนั้น จะเป็นไปตามแนวทางเดิม คือ ต้องขึ้นอยู่กับใจของเขาว่าจะไปที่ไหน ซึ่งแต่ละประเทศต้องช่วยกันอำนวยความสะดวก
นายกฯย้ำชีวิตทุกชีวิตมีค่า
อย่างไรก็ตามได้มีความชัดเจนในการลาดตระเวนทางอากาศ ที่ให้ทหารอากาศจัดเครื่องบินลาดตระเวน ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.แล้ว หากสหรัฐอเมริกา หรือประเทศใดสนใจจะมาร่วมมือ ก็ต้องมาอยู่ในสายบังคับบัญชากับเรา เพราะเราเป็นเจ้าของพื้นที่
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึง กรณีสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ออกข่าว และลงภาพจากสื่อของไทยว่า มีการใช้ความรุนแรง ใช้ปืนบังคับให้ชาวโรฮีนจาออกไป ว่า โธ่ ไปทำได้อย่างไร ในเมื่อเราเป็นคนช่วยมาตลอด ในเรื่องการดูแลผู้เจ็บป่วยตามหลักมนุษยธรรม เรามองประเด็นสำคัญคือ ชีวิตทุกชีวิตมีค่า รัฐบาลไทย และคนไทยเป็นคนพุทธอยู่แล้ว ฉะนั้นชีวิตคนทุกชีวิตมีค่า เราต้องช่วยเหลือตามมนุษยธรรมก่อนเรื่องอื่น จากนั้นเมื่อเขาเข้มแข็งก็ว่าไปตามความสมัครใจ ถ้าจะมาอยู่ที่ฝั่งไทย ต้องยอมรับกติกาของเรา ซึ่งเรายืนยันหลักการตรงนี้ และเราจะไม่แบ่งแยกว่า พ่อแม่ป่วย ลูกไม่ป่วย แล้วเอามารักษาเฉพาะพ่อแม่นั้นไม่ใช่ เราเอามาทั้งครอบครัว ซึ่งการคัดแยกต้องมีความชัดเจน โดยมีการถ่ายภาพเก็บหลักฐาน อย่าไปเขียนเลอะเทอะไปเรื่อย จะทำให้ประเทศเสียหาย
" เราทำตามมติของยูเอ็น ซึ่งงบประมาณก็ค่อนข้างจำกัด และลดลงไปเรื่อยๆ จะให้อยู่ดีกินดีกว่าที่คนไทยอยู่นั้นไม่ได้ ต้องเท่าเทียมกัน และแก้ปัญหาทั้งหมด ส่วนปัญหาระยะยาว จะแก้ปัญหากันเอง คุยกับประเทศเพื่อนบ้านกันแล้วว่าขอเวลาเตรียมการหน่อย ไม่ได้มีปัญหาอะไร วันนี้เราต้องลดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้าน และใช้ความเป็นมนุษยธรรมซึ่งคิดว่าผู้นำทุกประเทศเข้าใจตรงนี้ วันนี้เกรงว่า การพูด การสัมภาษณ์ทุกเรื่องนั้นจะเกิดผลกระทบกับมิตรประเทศของเราทั้งสิ้น ซึ่งแต่ละประเทศมีปัญหาไม่เหมือนกัน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ทร.ส่งรล.อ่างทอง ช่วยโรฮิงญา
พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผบ.ทร. เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ทัพเรือภาคที่ 3 จัดหมู่เรือช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมกับชาวโรฮีนจา โดยมีการจัดเรือหลวงอ่างทอง และเรือในพื้นที่ทัพเรือภาคที่ 3 และเฮลิคอปเตอร์ ในการจัดกำลังช่วยสนับสนุนการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม พร้อมเตรียมชุดแพทย์ และเวชภัณฑ์ช่วยในการรักษา น้ำ และอาหารเป็นต้น ทั้งนี้การจัดวางกำลังที่เขตพื้นที่ใดนั้น ตอนนี้อยู่ระหว่างหาพื้นที่ที่เหมาะสมก่อนที่จะส่งไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวที่ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ต่อไป
มาเลย์กังวลเรื่อง"หลุมศพโรฮีนจา"
ด้านผู้นำแดนเสือเหลือง ที่กำลังอยู่ระหว่างเยือนญี่ปุ่น ได้ออกมาแสดงความวิตกว่า "ผมรู้สึกกังวลอย่างยิ่งต่อข่าวการพบหลุมฝังศพขนาดใหญ่บนแผ่นดินมาเลเซีย ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์... เราจะต้องหาตัวผู้รับผิดชอบ"
คอลิด อบูบาการ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย เผยต่อสื่อมวลชนว่า มีการพบหลุมฝังศพทั้งสิ้น 139 หลุม และค่ายกักกันชาวโรฮีนจาอีก 28 แห่ง ใกล้ชายแดนตอนเหนือของสุดของประเทศ ซึ่งถือเป็นการค้นพบครั้งแรกในมาเลเซีย นับตั้งแต่วิกฤตผู้อพยพทางเรือทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนนี้
"เจ้าหน้าที่พบหลุมฝังศพ 139 หลุม แต่ยังไม่มั่นใจว่า ภายในหลุมเหล่านี้จะมีศพอยู่มากน้อยเท่าใด" คอลิด ให้สัมภาษณ์ พร้อมเสริมว่า ค่ายกักกันที่มีขนาดใหญ่สุดนั้น สามารถรองรับคนได้ถึง 300 คน ส่วนอีกแห่งที่ขนาดรองลงมา สามารถรับคนได้ราว 100 คน นอกนั้นเป็นค่ายขนาดเล็ก ที่รับผู้อพยพได้แห่งละประมาณ 20 คน
จากขนาดของค่ายกักกันที่พบทั้ง 28 แห่ง บ่งชี้ว่า อาจจะมีผู้อพยพอยู่รวมกันหลายร้อยชีวิต
เมื่อต้นเดือนนี้ ตำรวจไทยก็เพิ่งจะค้นเจอค่ายกักกันชาวโรฮีนจาใกล้ชายแดนมาเลเซีย และสุสานที่ฝังเอาไว้ตื้นๆ อีกหลายสิบหลุม ซึ่งขณะนั้นทางมาเลเซียยืนยันว่าไม่มีสถานที่ลักษณะนี้อยู่บนแผ่นดินเสือเหลือง อย่างแน่นอน
คอลิด ระบุว่า ค่ายกักกันและหลุมฝังศพซุกซ่อนอยู่ในป่าทึบบนเทือกเขาสูง ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ยาก และปฏิเสธที่จะให้ความเห็น เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เครือข่ายค่ายกักกันเหล่านี้รอดพ้นสายตาทางการไปได้อย่างไร และมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
เขาเผยด้วยว่า ศพหนึ่งที่พบอยู่ในสภาพ "เน่าเปื่อยเต็มที" ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็กำลังเร่งเก็บกู้ขึ้นมาเพื่อตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์
ว่ากันว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญที่เครือข่ายค้ามนุษย์ใช้ในการลำเลียงผู้อพยพจากบังกลาเทศ และพม่าเข้าไปยังมาเลเซีย หรือส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทางอื่นๆ ที่ไกลออกไป
การค้นพบแคมป์และหลุมศพหมู่โรฮีนจาบนเทือกเขาแก้ว ส่งผลให้รัฐบาลไทยมีมาตรการปราบปรามเครือข่ายค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้นายหน้าค้ามนุษย์จำนวนหนึ่ง ตัดสินใจทิ้งผู้อพยพเอาไว้กลางทะเล กลายเป็นภาระต่อทางการไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ต้องเข้าช่วยเหลือผู้คนจำนวนนับพันๆ ที่ติดค้างอยู่บนเรือในสภาพหิวโหย
ในช่วงแรกรัฐบาลมาเลเซีย และอินโดนีเซียก็ใช้นโยบายผลักดันเรือผู้อพยพออกนอกน่านน้ำเช่นเดียวกับไทย แต่แล้วก็ถูกนานาชาติกดดันให้ต้องยอมรับผู้อพยพขึ้นฝั่ง เพื่อรอส่งต่อไปตั้งถิ่นฐานในประเทศอื่นๆ
ทั้งนี้ ทางตำรวจมาเลเซียยังได้แถลงว่า นับจากต้นปี มีตำรวจ 2 คนถูกจับกุมร่วมกับผู้ต้องหาอีก 8 คนในคดีค้ามนุษย์ ขณะที่ไทยมีการสั่งย้ายตำรวจกว่า 50 คนตั้งแต่ต้นเดือน สืบเนื่องจากการสอบสวนเครือข่ายค้ามนุษย์ทางภาคใต้
เพิ่มพนักงานสอบสวนเร่งสรุปคดี
วานนี้ (25 พ.ค.) ที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 9 ส่วนหน้า พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปความคืบหน้าทางคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ทั้งในส่วนของการสอบสวน และการติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่ยังหลบหนีอยู่
พล.ต.อ.เอก เปิดเผยว่า ภาพรวมของคดีนี้ เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงการติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่ยังหลบหนีอีก 31 คน จากที่มีการออกหมายจับทั้งหมด 77 หมาย และควบคุมตัวได้แล้ว 46 คน ซึ่งมีบางคนที่เป็นผู้ต้องหารายสำคัญใน จ.ระนองได้หลบหนียังประเทศเพื่อนบ้าน และอาจจะมีการออกหมายจับผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีก รวมทั้งให้ฝ่ายสืบสวนเร่งนำข้อมูลต่างๆให้ฝ่ายสอบสวนเพื่อประกอบคดีเพื่อให้เสร็จทันตามกรอบที่กำหนดไว้ ภายในเดือนมิ.ย.นี้ ก่อนที่จะส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณา
พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า เนื่องจากคดีนี้เกี่ยวข้องต่ออาชญากรข้ามชาติ และเชื่อมโยงกันหลายจังหวัด จึงได้มีการแต่งตั้งพนักงานอัยการ และพนักงานสอบสวนของตำรวจ มาร่วมทำการสอบสวนเพิ่มเติมอีกกว่า 80 นาย รวมทั้งจะนำคดีที่เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 8 และภาค 9 มารวมกันในสำนวนการสอบสวนด้วย
ส่วนจะมีการแจ้งข้อหาอาชญากรข้ามชาติต่อผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมทั้งหมดตามที่อัยการสูงสุดได้เสนอแนะหรือไม่นั้น ในเรื่องนีเจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง
สำหรับกรณีที่มีการพบหลุมฝังศพในฝั่งมาเลเซีย กว่า 100 หลุมนั้น อาจมีการประสานข้อมูลกับทางฝ่ายมาเลเซีย เพื่อนำมาประกอบคดีนี้ด้วย และยืนยันว่าในส่วนของไทย พบศพแค่ 33 ศพเท่านั้น ส่วนการยึดทรัพย์เครือข่ายค้ามนุษย์นั้น ขณะที่ตัวเลขอยู่ที่ 84 ล้านบาท จ.นครศรีธรรมราช และ จ.ระนอง 65 ล้านบาท และ จ.สตูล 21 ล้านบาท ส่วนของ จ.สงขลา ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่ม ในวันนี้ทาง ป.ป.ง.จะเริ่มดำเนินการตรวจสอบ