"บวรศักดิ์" เร่งภาคเอกชนเสนอความเห็นแก้ร่าง รธน. ภายใน มิ.ย. เหตุมีเส้นตายส่ง สปช. 23 ก.ค. เชื่อมีการทำประชามติ เว้น แต่ สปช. จะตัดสินใจแทนประชาชน ชี้ จุดอ่อน รธน. 40 ทำราษฎรเป็นพลเมืองไม่ได้ รัฐเข้มแข็ง ครอบงำองค์กรอิสระ ส่วนรธน.ปี 50 ใช้ยาแรง ยุบพรรค เกิดการประท้วง จนนำไปสู่การรัฐประหารสองครั้ง โว รธน. 59 เป็นฉบับปฏิรูป แก้ปัญหาอดีต สร้างอนาคต เผยเหตุขัดแย้งในประเทศ ทำเศรษฐกิจเสียหาย 2 ล้านล้านบาท ปูดรัฐเตรียมออกพันธบัตร 2 ล้านล้าน เพื่อล้างหนี้จำนำข้าว ซึ่งประชาชนจะต้องหนี้ไปอีก 20 ปี
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวในระหว่างการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญโดยตรง ต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญมีเวลาถึงวันที่ 23 ก.ค.58 ที่จะสรุปร่างสุดท้ายเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เว้นแต่รัฐบาลแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ขยายเวลาให้ จึงมีเวลาไม่มากนัก ดังนั้นหากภาคเอกชนมีข้อเสนอให้รีบดำเนินการ เนื่องจากหากพ้นเดือนมิถุนายนแล้ว ทุกอย่างจะฉุกละหุก อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญคงหนีไม่พ้นต้องทำประชามติ เว้นแต่สปช.จะตัดสินใจแทนประชาชน
ทั้งนี้ เห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 40 ยังไม่ประสบความสำเร็จในการยกระดับราษฎรให้เป็นพลเมือง คือ ยังถูกรัฐชี้นำอยู่ แต่ประสบความสำเร็จเรื่องการทำให้รัฐบาลเข้มแข็ง มีเสียงข้างมากเด็ดขาด อยู่ครบวาระเป็นครั้งแรก รัฐบาลสยายปีกมีอิทธิพลเหนือองค์กรอิสระ ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ และ ป.ป.ช. จนทำให้รัฐธรรมนูญจบลงด้วยความขัดแย้ง มีการปิดกั้นสื่อมวลชน ด้วยการถอดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ จนกลายเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กระทั่งมีการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
จากนั้น มีการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งไม่ได้เน้นในเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาล แต่มียาแรงเรื่องยุบพรรค จึงมีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำให้มีการชุมนุมใหญ่ มีการเปลี่ยนรัฐบาลสองครั้ง จนคนเสื้อแดงออกมาประท้วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งนายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษก กมธ.ยกร่างฯ ได้สรุปตัวเลขการชุมนุม 2 ปี ใน 8 ปี มีการชุมนุมถึง 703 ครั้ง มีการเลือกตั้งเป็นโมฆะสองครั้ง เราต้องเสียค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง ความเสียหายจากการเผาทั้งหมด 33,000 ล้านบาท และยังมีค่าเสียหายอื่นทางเศรษฐกิจด้วย น่าจะประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยกำลังถอยหลังจากปัญหาความขัดแย้ง โดยเห็นได้จากอันดับทางเศรษฐกิจของไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ ด้านการศึกษาก็ตกต่ำลง
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยถือว่ามีการรัฐประหารมากที่สุดประเทศหนึ่ง การแก้ปัญหาจึงต้องมองอดีต และมองไปข้างหน้า จึงมีการกำหนด ภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง รัฐธรรมนูญปี 59 จะเป็นฉบับปฏิรูป มีเจตนารมณ์ สร้างพลเมืองเป็นใหญ่ ทำให้การเมืองใสสะอาดและสมดุลย์ ทำสังคมให้เป็นธรรม นำชาติสู่สันติสุข ถ้ายังรบกันอยู่ จะเสียหายไปเรื่อยๆ อาจรั้งท้ายอาเซียน จึงต้องยุติความขัดแย้ง จึงจัดให้มี คณะกรรมการอิสระสร้างความปรองดองฯขึ้น และต้องทำให้การเมืองใสสะอาด พรรคการเมืองใหญ่ได้คะแนนเสียงเกินกว่าที่ประชาชนนิยม จึงต้องปรับให้เกิดความสมดุลระหว่างความนิยมของประชาชนที่แท้จริง กับจำนวน ส.ส. ที่ได้ควรจะเท่ากัน
นายบวรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า การทำพลเมืองให้เป็นใหญ่นั้น ประเทศไทยมีวัฒนธรรมการปกครองแบบ ไพร่ฟ้า กับเจ้าฟ้า มาจนถึงปี 2475 เกิดวัฒนธรรมราษฎรกับผู้ปกครอง ประชาชนไม่ได้สนใจการเมือง การตัดสินใจเป็นเรื่องของผู้ปกครองนำราษฎร การจะก้าวข้ามนักการเมืองที่สร้างปัญหา หรือทำให้บ้านเมืองเจริญ ก็ต้องสร้างราษฎรให้เป็นพลเมือง มีจิตสำนึกความรับผิดชอบ เคารพกฎหมาย รัฐธรรมนูญ เคารพสิทธิคนอื่น รับฟังความเห็นคนอื่น มีจิตเป็นพลเมืองและสาธารณะ เห็นการเมืองสำคัญเท่าๆ กับการบ้าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องช่วยกันสร้าง ไม่ใช่ร่างไว้ในรัฐธรรมนูญแล้วจบ เมื่อความเป็นพลเมืองเกิดขึ้น การดำเนินโครงการจะล่าช้า แต่เมื่อผ่านก็จะไม่มีปัญหานอกจากนี้การป้องกันการทุจริตในร่างรัฐธรรมนูญกำหนดผู้นำการเมืองที่ดี บังคับให้พรรคการเมืองเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่เป็นของหัวหน้าพรรค ตั้งสมัชชาคุณธรรม สภาตรวจสอบภาคพลเมืองช่วย กกต. ปราบทุจริตเลือกตั้ง และดูแลการใช้เงินในระดับจังหวัดโดยบุคคลเหล่านี้จะให้มีการแสดงการเสียภาษีย้อนหลังสามปีโดยต้องแสดงต่อสาธารณะด้วย
" ขณะนี้รัฐบาลต้องออกพันธบัตร สองล้านล้านบาท มีกำหนด 20 ปี เพราะต้องมาใช้หนี้จำนำข้าว ซึ่งในร่าง รัฐธรรมนูญ กำหนดให้มีศาลวินัยการคลังและงบประมาณ เพื่อไต่สวนกรณีมีการใช้โครงการประชานิยมที่สร้างความเสียหายแก่รัฐ มีคณะกรรมการประเมินผลแห่งชาติประเมินการทำงานขององค์กรอิสระ อีกทั้งงบประมาณจะเป็นระบบสองขาคือมีทั้งรายได้และรายจ่าย มีการกระจายอำนาจการบริหารให้ท้องถิ่นและเอกชนสามารถแข่งขันกับรัฐได้ เพราะบางอย่างรัฐก็บริหารไม่ได้แต่เอกชนบริหารได้ดีกว่า" นายบวรศักดิ์ กล่าว.
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวในระหว่างการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญโดยตรง ต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญมีเวลาถึงวันที่ 23 ก.ค.58 ที่จะสรุปร่างสุดท้ายเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เว้นแต่รัฐบาลแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ขยายเวลาให้ จึงมีเวลาไม่มากนัก ดังนั้นหากภาคเอกชนมีข้อเสนอให้รีบดำเนินการ เนื่องจากหากพ้นเดือนมิถุนายนแล้ว ทุกอย่างจะฉุกละหุก อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญคงหนีไม่พ้นต้องทำประชามติ เว้นแต่สปช.จะตัดสินใจแทนประชาชน
ทั้งนี้ เห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 40 ยังไม่ประสบความสำเร็จในการยกระดับราษฎรให้เป็นพลเมือง คือ ยังถูกรัฐชี้นำอยู่ แต่ประสบความสำเร็จเรื่องการทำให้รัฐบาลเข้มแข็ง มีเสียงข้างมากเด็ดขาด อยู่ครบวาระเป็นครั้งแรก รัฐบาลสยายปีกมีอิทธิพลเหนือองค์กรอิสระ ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ และ ป.ป.ช. จนทำให้รัฐธรรมนูญจบลงด้วยความขัดแย้ง มีการปิดกั้นสื่อมวลชน ด้วยการถอดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ จนกลายเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กระทั่งมีการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
จากนั้น มีการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งไม่ได้เน้นในเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาล แต่มียาแรงเรื่องยุบพรรค จึงมีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำให้มีการชุมนุมใหญ่ มีการเปลี่ยนรัฐบาลสองครั้ง จนคนเสื้อแดงออกมาประท้วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งนายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษก กมธ.ยกร่างฯ ได้สรุปตัวเลขการชุมนุม 2 ปี ใน 8 ปี มีการชุมนุมถึง 703 ครั้ง มีการเลือกตั้งเป็นโมฆะสองครั้ง เราต้องเสียค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง ความเสียหายจากการเผาทั้งหมด 33,000 ล้านบาท และยังมีค่าเสียหายอื่นทางเศรษฐกิจด้วย น่าจะประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยกำลังถอยหลังจากปัญหาความขัดแย้ง โดยเห็นได้จากอันดับทางเศรษฐกิจของไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ ด้านการศึกษาก็ตกต่ำลง
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยถือว่ามีการรัฐประหารมากที่สุดประเทศหนึ่ง การแก้ปัญหาจึงต้องมองอดีต และมองไปข้างหน้า จึงมีการกำหนด ภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง รัฐธรรมนูญปี 59 จะเป็นฉบับปฏิรูป มีเจตนารมณ์ สร้างพลเมืองเป็นใหญ่ ทำให้การเมืองใสสะอาดและสมดุลย์ ทำสังคมให้เป็นธรรม นำชาติสู่สันติสุข ถ้ายังรบกันอยู่ จะเสียหายไปเรื่อยๆ อาจรั้งท้ายอาเซียน จึงต้องยุติความขัดแย้ง จึงจัดให้มี คณะกรรมการอิสระสร้างความปรองดองฯขึ้น และต้องทำให้การเมืองใสสะอาด พรรคการเมืองใหญ่ได้คะแนนเสียงเกินกว่าที่ประชาชนนิยม จึงต้องปรับให้เกิดความสมดุลระหว่างความนิยมของประชาชนที่แท้จริง กับจำนวน ส.ส. ที่ได้ควรจะเท่ากัน
นายบวรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า การทำพลเมืองให้เป็นใหญ่นั้น ประเทศไทยมีวัฒนธรรมการปกครองแบบ ไพร่ฟ้า กับเจ้าฟ้า มาจนถึงปี 2475 เกิดวัฒนธรรมราษฎรกับผู้ปกครอง ประชาชนไม่ได้สนใจการเมือง การตัดสินใจเป็นเรื่องของผู้ปกครองนำราษฎร การจะก้าวข้ามนักการเมืองที่สร้างปัญหา หรือทำให้บ้านเมืองเจริญ ก็ต้องสร้างราษฎรให้เป็นพลเมือง มีจิตสำนึกความรับผิดชอบ เคารพกฎหมาย รัฐธรรมนูญ เคารพสิทธิคนอื่น รับฟังความเห็นคนอื่น มีจิตเป็นพลเมืองและสาธารณะ เห็นการเมืองสำคัญเท่าๆ กับการบ้าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องช่วยกันสร้าง ไม่ใช่ร่างไว้ในรัฐธรรมนูญแล้วจบ เมื่อความเป็นพลเมืองเกิดขึ้น การดำเนินโครงการจะล่าช้า แต่เมื่อผ่านก็จะไม่มีปัญหานอกจากนี้การป้องกันการทุจริตในร่างรัฐธรรมนูญกำหนดผู้นำการเมืองที่ดี บังคับให้พรรคการเมืองเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่เป็นของหัวหน้าพรรค ตั้งสมัชชาคุณธรรม สภาตรวจสอบภาคพลเมืองช่วย กกต. ปราบทุจริตเลือกตั้ง และดูแลการใช้เงินในระดับจังหวัดโดยบุคคลเหล่านี้จะให้มีการแสดงการเสียภาษีย้อนหลังสามปีโดยต้องแสดงต่อสาธารณะด้วย
" ขณะนี้รัฐบาลต้องออกพันธบัตร สองล้านล้านบาท มีกำหนด 20 ปี เพราะต้องมาใช้หนี้จำนำข้าว ซึ่งในร่าง รัฐธรรมนูญ กำหนดให้มีศาลวินัยการคลังและงบประมาณ เพื่อไต่สวนกรณีมีการใช้โครงการประชานิยมที่สร้างความเสียหายแก่รัฐ มีคณะกรรมการประเมินผลแห่งชาติประเมินการทำงานขององค์กรอิสระ อีกทั้งงบประมาณจะเป็นระบบสองขาคือมีทั้งรายได้และรายจ่าย มีการกระจายอำนาจการบริหารให้ท้องถิ่นและเอกชนสามารถแข่งขันกับรัฐได้ เพราะบางอย่างรัฐก็บริหารไม่ได้แต่เอกชนบริหารได้ดีกว่า" นายบวรศักดิ์ กล่าว.