ช่วงไม่กี่วันมานี้มีข้อถกเถียงว่า ประเทศไทยควรจะทำอย่างไรกับมนุษย์เรือโรฮีนจา ข้อถกเถียงที่พบมากในโซเชียลมีเดีย จนเกือบจะเป็นทิศทางเดียวกันก็คือ ไม่เห็นด้วยที่ไทยจะไปแบกภาระซึ่งจะมีผลตามมาอย่างมากนี้ มีการยกเหตุผลต่างๆ มาสนับสนุนความคิดของตัวเอง
เช่นว่า ประเทศไทยไม่ได้มีฐานะร่ำรวยที่จะเอาเงินไปเลี้ยงดูผู้อพยพได้ ยังมีคนไทยอีกมากที่ยากจนข้นแค้น ปัญหาสังคมที่จะตามมา ปัญหาด้านความมั่นคงที่โยงกับการแบ่งแยกดินแดนของมุสลิมในภาคใต้และกลุ่มก่อการร้ายระดับโลก การหวั่นกลัวโรคภัยที่จะติดตามมากับผู้อพยพ ถ้าตั้งศูนย์อพยพขึ้นมาชาวโรฮีนจาก็จะอพยพออกมาอย่างไม่จบสิ้นและจะรับมืออย่างไร ฯลฯ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ตระหนักต่อกระแสในสื่อโซเชียลมีเดีย โดยบอกว่า การตัดสินใจใดๆ ของรัฐบาลจะยึดเอาประเทศชาติและประชาชนคนไทยเป็นที่ตั้ง และจะไม่ดำเนินนโยบายใดๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพและความมั่นคงของประเทศ
พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า การให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนมนุษย์และการให้ความร่วมมือกับเพื่อนบ้านก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำในขอบเขตที่เหมาะสมและไม่เดือดร้อน ไม่ใช่เอ็นดูเขา เอ็นเราขาด ถ้าแบบนี้คงไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง ในทางตรงกันข้าม การที่เราจะปฏิเสธการให้ความช่วยเหลืออย่างสิ้นเชิงก็อาจส่งผลต่อการดำรงตนในฐานะสมาชิกประชาคมโลกที่ยังต้องมีการติดต่อประสานพึ่งพากันในกรณีอื่นๆ
สิ่งที่เรายืนยันหนักแน่นก็คือ จะไม่ตั้งศูนย์อพยพและศูนย์พักพิงตามข้อเรียกร้องของสหประชาชาติต่อกลุ่มประเทศอาเซียนคือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยสิ่งที่รัฐบาลไทยกระทำก็คือ การให้อาหาร น้ำ ยารักษาโรค เติมน้ำมัน ซ่อมเรือและจึงผลักดันออกนอกน่านน้ำ หลังจากก่อนหน้านี้ปล่อยให้ชาวโรฮีนจาลักลอบเข้ามาจนเกิดเป็นปัญหาค้ามนุษย์
แต่การกระทำของรัฐบาลไทยก็ถูกประณามจากองค์กรระหว่างประเทศ อย่างแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่เรียกร้องสมาชิกกว่า 7 ล้านคนทั่วโลกส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพื่อแสดงความห่วงใยกรณีผู้ลี้ภัยและผู้อพยพหลายพันคนเสี่ยงต่อความตายอยู่กลางทะเล หลังจากประเทศเหล่านี้ผลักดันเรือของคนเหล่านี้ออกไป
รูเพิร์ต โคลวิลล์ โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ OHCHR กล่าวการกระทำของกองทัพเรือไทยที่ให้เพียงความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ชาวโรฮีนจา แล้วผลักดันออกทะเลไปเช่นเดิมว่าจะทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพิ่มขึ้นหลายราย
ก่อนหน้านี้น.ส.วิเวียน ทัน โฆษกของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) แถลงการณ์ประณามท่าทีของอินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย ที่ยืนกรานปฏิเสธการจัดสรรสถานที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้อพยพชาวโรฮีนจา อีกทั้งยังผลักดันเรือผู้อพยพออกจากน่านน้ำของตัวเองอย่างต่อเนื่องว่า เป็นเรื่องน่าผิดหวังอย่างยิ่ง
รวมถึงการต่อสายตรงถึงพล.อ.ประยุทธ์ ของบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อให้ไทยปฏิบัติต่อชาวโรฮีนจาอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิขั้นพื้นฐานในการใช้ชีวิต
สถานการณ์เรือมนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในภูมิภาคนี้ แต่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นผู้อพยพชาวคิวบาที่ต้องการลี้ภัยไปอยู่สหรัฐอเมริกา ปัญหาเรือมนุษย์จากแอฟริกาและตะวันออกกลางไปยังยุโรปมีมานานแล้ว เมื่อไม่นานมานี้เกิดอุบัติเหตุเรือผู้อพยพจากลิเบียล่มขณะจะไปอิตาลี จนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 800 คน รวมถึงการสกัดเรือมนุษย์ของออสเตรเลียภายใต้กองเรือรหัสปฏิบัติการ Operation Sovereign Borders ที่ป้องกันไม่ให้เรือมนุษย์เข้ามาในน่านน้ำของออสเตรเลีย
ดูเหมือนว่า สิ่งที่ทุกประเทศกระทำเหมือนกันหมดก็คือ การผลักดันเรือมนุษย์ให้ออกจากเขตน่านน้ำของตัวเอง เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาสหภาพยุโรปหรืออียู ได้ประชุมกันว่าจะจัดตั้งแผนปฏิบัติการกองทัพเรือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อสกัดกั้นเรือมนุษย์ที่ขนคนมาขึ้นฝั่งที่ยุโรป โดยมีมาตรการที่จะเข้าสกัดและทำลายเรือผู้อพยพบริเวณนอกชายฝั่งลิเบีย
เมื่อเทียบกับการปฏิบัติของชาติอื่นต่อเรือมนุษย์ ผมคิดว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยพยายามทำอยู่ก็คือ การให้ข้าวให้น้ำ ยารักษาโรค ช่วยเติมน้ำมัน และซ่อมเรือให้ผู้อพยพแล้วผลักดันออกไปจากน่านน้ำไทยนั้น น่าจะเป็นมาตรการที่เหมาะสมในระดับหนึ่งแล้วตามหลักมนุษยธรรม
ดังนั้น ต้องถามกลับไปยังองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงสหประชาชาติว่า มาตรการที่กดดันประเทศไทยกับประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ต่อกรณีของชาวโรฮีนจานั้น ได้ถูกใช้เช่นเดียวกันในภูมิภาคอื่นทั่วโลกหรือไม่
แน่นอนครับว่า ชะตากรรมของชาวโรฮีนจาเป็นเรื่องน่าเศร้าในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่การแบกรับชะตากรรมของเพื่อนมนุษย์ก็น่าจะต้องเป็นภารกิจร่วมกันของคนทั้งโลก ไม่ใช่ชาติใดชาติหนึ่ง และการแก้ปัญหาผู้อพยพนั้นเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ สหประชาชาติในฐานะองค์กรอภิบาลโลกก็ควรจะเข้าไปแก้ที่ต้นเหตุว่าอะไรที่เป็นสาเหตุทำให้ชาวโรฮีนจาต้องอพยพหนีตายออกมาจากประเทศ
ปัญหาชาวโรฮีนจา เป็นปัญหาของพม่าและบังกลาเทศที่ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา วันนี้ยังไม่ได้ยินองค์กรสหประชาชาติ องค์กรระดับประเทศพุ่งเป้าไปที่รัฐบาลพม่าและบังกลาเทศเลย แถมถึงตอนนี้รัฐบาลพม่าก็ยังยืนยันว่า การอพยพออกนอกประเทศของชาวโรฮีนจาไม่ใช่ความผิดของพม่า และยืนยันว่าจะไม่ร่วมประชุมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้อีกต่างหาก
การมุ่งกดดันประเทศใดประเทศหนึ่งของสหประชาชาติจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่ถ้าประเทศไหนพร้อมรับก็ให้นำผู้อพยพไปส่งต่อประเทศนั้น อย่างน้อยตอนนี้ก็มีประเทศฟิลิปปินส์ประกาศจะให้การช่วยเหลือแล้ว สหประชาชาติก็น่าจะมาลอยเรือในทะเลอันดามันเพื่อขนผู้อพยพไปส่งยังประเทศฟิลิปปินส์เลย
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีผลการประชุมของรัฐมนตรีต่างประเทศ 3 ชาติมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทยออกมาแล้วว่า มาเลเซียและอินโดนีเซีย 2 ประเทศซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของผู้อพยพได้เปลี่ยนท่าทีจะตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 ปี กับผู้อพยพชาวบังกลาเทศและชาวโรฮีนจา จำนวน 7 พันคน ที่คาดว่ายังติดอยู่กลางทะเลเท่านั้น พร้อมเรียกร้องให้ประชาคมโลกให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน และการส่งผู้ลี้ภัยไปตั้งรกรากในประเทศที่ 3 หรือส่งกลับประเทศต้นทางของผู้อพยพภายในระยะเวลา 1 ปี ขณะที่ไทยยืนยันว่า จะต้องรอผลการประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียระหว่าง 15 ประเทศ ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ก่อน
การปฏิบัติการของไทยต่อผู้อพยพชาวโรฮีนจานั้น ผมคิดว่าอยู่ในระดับที่ถูกต้องแล้ว และเห็นด้วยที่รัฐบาลจะยึดหลักความมั่นคงของประเทศไปพร้อมๆ กับหลักมนุษยธรรม กรณีโรฮีนจาเราไม่ใช่ประเทศต้นเหตุของปัญหา ไม่ใช่เป้าหมายปลายทางของผู้อพยพ และได้ทำหน้าที่ของเราอย่างสมบูรณ์แล้วในฐานะประชาคมโลก
เช่นว่า ประเทศไทยไม่ได้มีฐานะร่ำรวยที่จะเอาเงินไปเลี้ยงดูผู้อพยพได้ ยังมีคนไทยอีกมากที่ยากจนข้นแค้น ปัญหาสังคมที่จะตามมา ปัญหาด้านความมั่นคงที่โยงกับการแบ่งแยกดินแดนของมุสลิมในภาคใต้และกลุ่มก่อการร้ายระดับโลก การหวั่นกลัวโรคภัยที่จะติดตามมากับผู้อพยพ ถ้าตั้งศูนย์อพยพขึ้นมาชาวโรฮีนจาก็จะอพยพออกมาอย่างไม่จบสิ้นและจะรับมืออย่างไร ฯลฯ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ตระหนักต่อกระแสในสื่อโซเชียลมีเดีย โดยบอกว่า การตัดสินใจใดๆ ของรัฐบาลจะยึดเอาประเทศชาติและประชาชนคนไทยเป็นที่ตั้ง และจะไม่ดำเนินนโยบายใดๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพและความมั่นคงของประเทศ
พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า การให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนมนุษย์และการให้ความร่วมมือกับเพื่อนบ้านก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำในขอบเขตที่เหมาะสมและไม่เดือดร้อน ไม่ใช่เอ็นดูเขา เอ็นเราขาด ถ้าแบบนี้คงไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง ในทางตรงกันข้าม การที่เราจะปฏิเสธการให้ความช่วยเหลืออย่างสิ้นเชิงก็อาจส่งผลต่อการดำรงตนในฐานะสมาชิกประชาคมโลกที่ยังต้องมีการติดต่อประสานพึ่งพากันในกรณีอื่นๆ
สิ่งที่เรายืนยันหนักแน่นก็คือ จะไม่ตั้งศูนย์อพยพและศูนย์พักพิงตามข้อเรียกร้องของสหประชาชาติต่อกลุ่มประเทศอาเซียนคือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยสิ่งที่รัฐบาลไทยกระทำก็คือ การให้อาหาร น้ำ ยารักษาโรค เติมน้ำมัน ซ่อมเรือและจึงผลักดันออกนอกน่านน้ำ หลังจากก่อนหน้านี้ปล่อยให้ชาวโรฮีนจาลักลอบเข้ามาจนเกิดเป็นปัญหาค้ามนุษย์
แต่การกระทำของรัฐบาลไทยก็ถูกประณามจากองค์กรระหว่างประเทศ อย่างแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่เรียกร้องสมาชิกกว่า 7 ล้านคนทั่วโลกส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพื่อแสดงความห่วงใยกรณีผู้ลี้ภัยและผู้อพยพหลายพันคนเสี่ยงต่อความตายอยู่กลางทะเล หลังจากประเทศเหล่านี้ผลักดันเรือของคนเหล่านี้ออกไป
รูเพิร์ต โคลวิลล์ โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ OHCHR กล่าวการกระทำของกองทัพเรือไทยที่ให้เพียงความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ชาวโรฮีนจา แล้วผลักดันออกทะเลไปเช่นเดิมว่าจะทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพิ่มขึ้นหลายราย
ก่อนหน้านี้น.ส.วิเวียน ทัน โฆษกของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) แถลงการณ์ประณามท่าทีของอินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย ที่ยืนกรานปฏิเสธการจัดสรรสถานที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้อพยพชาวโรฮีนจา อีกทั้งยังผลักดันเรือผู้อพยพออกจากน่านน้ำของตัวเองอย่างต่อเนื่องว่า เป็นเรื่องน่าผิดหวังอย่างยิ่ง
รวมถึงการต่อสายตรงถึงพล.อ.ประยุทธ์ ของบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อให้ไทยปฏิบัติต่อชาวโรฮีนจาอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิขั้นพื้นฐานในการใช้ชีวิต
สถานการณ์เรือมนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในภูมิภาคนี้ แต่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นผู้อพยพชาวคิวบาที่ต้องการลี้ภัยไปอยู่สหรัฐอเมริกา ปัญหาเรือมนุษย์จากแอฟริกาและตะวันออกกลางไปยังยุโรปมีมานานแล้ว เมื่อไม่นานมานี้เกิดอุบัติเหตุเรือผู้อพยพจากลิเบียล่มขณะจะไปอิตาลี จนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 800 คน รวมถึงการสกัดเรือมนุษย์ของออสเตรเลียภายใต้กองเรือรหัสปฏิบัติการ Operation Sovereign Borders ที่ป้องกันไม่ให้เรือมนุษย์เข้ามาในน่านน้ำของออสเตรเลีย
ดูเหมือนว่า สิ่งที่ทุกประเทศกระทำเหมือนกันหมดก็คือ การผลักดันเรือมนุษย์ให้ออกจากเขตน่านน้ำของตัวเอง เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาสหภาพยุโรปหรืออียู ได้ประชุมกันว่าจะจัดตั้งแผนปฏิบัติการกองทัพเรือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อสกัดกั้นเรือมนุษย์ที่ขนคนมาขึ้นฝั่งที่ยุโรป โดยมีมาตรการที่จะเข้าสกัดและทำลายเรือผู้อพยพบริเวณนอกชายฝั่งลิเบีย
เมื่อเทียบกับการปฏิบัติของชาติอื่นต่อเรือมนุษย์ ผมคิดว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยพยายามทำอยู่ก็คือ การให้ข้าวให้น้ำ ยารักษาโรค ช่วยเติมน้ำมัน และซ่อมเรือให้ผู้อพยพแล้วผลักดันออกไปจากน่านน้ำไทยนั้น น่าจะเป็นมาตรการที่เหมาะสมในระดับหนึ่งแล้วตามหลักมนุษยธรรม
ดังนั้น ต้องถามกลับไปยังองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงสหประชาชาติว่า มาตรการที่กดดันประเทศไทยกับประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ต่อกรณีของชาวโรฮีนจานั้น ได้ถูกใช้เช่นเดียวกันในภูมิภาคอื่นทั่วโลกหรือไม่
แน่นอนครับว่า ชะตากรรมของชาวโรฮีนจาเป็นเรื่องน่าเศร้าในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่การแบกรับชะตากรรมของเพื่อนมนุษย์ก็น่าจะต้องเป็นภารกิจร่วมกันของคนทั้งโลก ไม่ใช่ชาติใดชาติหนึ่ง และการแก้ปัญหาผู้อพยพนั้นเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ สหประชาชาติในฐานะองค์กรอภิบาลโลกก็ควรจะเข้าไปแก้ที่ต้นเหตุว่าอะไรที่เป็นสาเหตุทำให้ชาวโรฮีนจาต้องอพยพหนีตายออกมาจากประเทศ
ปัญหาชาวโรฮีนจา เป็นปัญหาของพม่าและบังกลาเทศที่ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา วันนี้ยังไม่ได้ยินองค์กรสหประชาชาติ องค์กรระดับประเทศพุ่งเป้าไปที่รัฐบาลพม่าและบังกลาเทศเลย แถมถึงตอนนี้รัฐบาลพม่าก็ยังยืนยันว่า การอพยพออกนอกประเทศของชาวโรฮีนจาไม่ใช่ความผิดของพม่า และยืนยันว่าจะไม่ร่วมประชุมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้อีกต่างหาก
การมุ่งกดดันประเทศใดประเทศหนึ่งของสหประชาชาติจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่ถ้าประเทศไหนพร้อมรับก็ให้นำผู้อพยพไปส่งต่อประเทศนั้น อย่างน้อยตอนนี้ก็มีประเทศฟิลิปปินส์ประกาศจะให้การช่วยเหลือแล้ว สหประชาชาติก็น่าจะมาลอยเรือในทะเลอันดามันเพื่อขนผู้อพยพไปส่งยังประเทศฟิลิปปินส์เลย
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีผลการประชุมของรัฐมนตรีต่างประเทศ 3 ชาติมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทยออกมาแล้วว่า มาเลเซียและอินโดนีเซีย 2 ประเทศซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของผู้อพยพได้เปลี่ยนท่าทีจะตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 ปี กับผู้อพยพชาวบังกลาเทศและชาวโรฮีนจา จำนวน 7 พันคน ที่คาดว่ายังติดอยู่กลางทะเลเท่านั้น พร้อมเรียกร้องให้ประชาคมโลกให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน และการส่งผู้ลี้ภัยไปตั้งรกรากในประเทศที่ 3 หรือส่งกลับประเทศต้นทางของผู้อพยพภายในระยะเวลา 1 ปี ขณะที่ไทยยืนยันว่า จะต้องรอผลการประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียระหว่าง 15 ประเทศ ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ก่อน
การปฏิบัติการของไทยต่อผู้อพยพชาวโรฮีนจานั้น ผมคิดว่าอยู่ในระดับที่ถูกต้องแล้ว และเห็นด้วยที่รัฐบาลจะยึดหลักความมั่นคงของประเทศไปพร้อมๆ กับหลักมนุษยธรรม กรณีโรฮีนจาเราไม่ใช่ประเทศต้นเหตุของปัญหา ไม่ใช่เป้าหมายปลายทางของผู้อพยพ และได้ทำหน้าที่ของเราอย่างสมบูรณ์แล้วในฐานะประชาคมโลก