ASTVผู้จัดการรายวัน - ตำรวจออกหมายจับผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจาเพิ่มอีก 6 รายรวมเป็น 71 ราย ขณะที่ผลการสอบสวน "โกโต้ง" ยังปฏิเสธ แต่ถูกออกหมายจับเพิ่มอีก 8 หมายจับยันเครือข่ายค้ามนุษย์ยังไม่พบว่ามีทหารระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง พร้อมคุมตัวนาย "พ.ต.ท." สอบสวนเครียดและมีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน โฆษก ตร.ขู่หากมีหลักฐานคดีโรฮีนจาโยงถึงใครต้องถูกดำเนินคดีทั้งหมด ด้าน“ประวุฒิ”มั่นใจ หลักฐานพร้อมเอาผิดอาญา “โกโต้ง”ตัวการค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา ด้านUNCHR ประณามไทย-อินโดฯ-มาเลย์
วานนี้ (19 พ.ค.58) ที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 9 ส่วนหน้า (ศปก.ภ.9 สน.) สภ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนและติดตามจับกุมผู้ต้องหาเครือข่ายค้ามนุษย์โรฮีนจาทั้งในพื้นที่ จ.สงขลา จ.สตูล และ จ.ระนองว่า พล.ต.ท.มนตรี โปตระนันท์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พร้อมทีมสืบสวนสอบสวน ได้ร่วมกันแถลงข่าวถึงความคืบหน้าว่าล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการออกหมายจับผู้ต้องหาเพิ่มอีก 6 รายรวมเป็น 71 หมายจับและเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวได้แล้ว 33 ราย ยังเหลืออีก 38 รายที่เจ้าหน้าที่ยังคงติดตามจับกุมอย่างต่อเนื่อง
ส่วนผู้ต้องหาที่เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวได้ล่าสุดมีทั้งหมด 4 รายคือ นายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือโกโต้ง อดีตนายก อบจ.สตูล ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่, นางทัศนีย์ สุวรรณรัตน์ ภรรยาคนที่ 2 ของโกโต้ง, นายอนุสรณ์ สุขเกษม หรือโกเล้ง และ พ.ต.ท.ชาญ อู่ทอง สารวัตรอำนวยการ สภ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี โดยทั้งหมดยังอยู่ในกระบวนการสอบสวน
ส่วนความคืบหน้าการสอบสวนโกโต้งหลังจากที่เจ้าหน้าที่ใช้เวลาสอบสวนตลอดทั้งคืนวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา นายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือโกโต้ง ยังคงปฏิเสธ และไม่ยอมให้การใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี ส่วนการสอบสวนขยายผลเครือข่ายค้ามนุษย์นั้นยังไม่พบว่ามีนายทหารระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง ตามที่มีกระแสข่าวออกมา ส่วนผู้ต้องหาทั้งที่ถูกออกหมายจับและควบคุมตัวได้แล้ว ยืนยันว่าไม่มีการจับผิดตัวเพราะมีพยานหลักฐานชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ทางพนักงานสอบสวน ซึ่งมีการระดมมาจากทั้งภาค 9 สงขลา สตูล พัทลุง และตรัง กำลังเร่งสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือนมิถุนายนนี้และมีการสอบพยานไปแล้ว 81 ปาก เป็นเหยื่อ 50 ปาก และผู้ต้องหา 29 ปาก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัว พ.ต.ท.ชาญ อู่ทอง สารวัตรอำนวยการ สภ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 71 ผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับคดีค้ามนุษย์โรฮีนจามาสอบสวนเพิ่มเติม โดยเบื้องต้นได้มีคำสั่งให้ พ.ต.ท.ชาญ ออกจากราชการไว้ก่อน
ส่วนผู้ต้องหาอีก 3 คนคือนายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง, นางทัศนีย์ สุวรรณรัตน์ ภรรยาคนที่ 2 ของโกโต้ง และนายอนุสรณ์ สุขเกษม หรือ โกเล้ง ทางพนักงานสอบสวนยังคงเร่งสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 48 ชั่วโมงตามอำนาจที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้และให้ได้รายละเอียดมากที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นผู้ต้องหาคนสำคัญในเครือข่ายค้ามนุษย์ เพื่อให้คดีรัดกุมมากที่สุด โดยเฉพาะโกโต้ง ขณะนี้มีหมายจับรวมกันถึง 9 หมายทั้งคดีค้ามนุษย์และเรื่องการบุกรุกที่ดินบนเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ได้เข้าแจ้งความกล่าวโทษไว้ก่อนหน้านี้
พ.ต.อ.จีรวัฒน์ พยุงธรรม รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ได้เข้าแจ้งความกล่าวโทษโกโต้งกับพวกรวม 5 คน ซึ่งเข้าไปบุกรุกพื้นที่บนเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ตั้งอยู่หมู่ 7 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล โดยได้มีกล่าวโทษ 8 คดีและในวันนี้ได้มาแจ้งข้อหาให้กับโกโต้งได้รับทราบแต่ยังคงให้การปฏิเสธ ซึ่งคดีนี้ได้มีการดำเนินการกับผู้ต้องหาไปแล้วบางส่วน และบางส่วนก็มามอบตัว สำหรับคดีการบุกรุกที่ดินบนเกาะหลีเป๊ะนั้นส่วนใหญ่เป็นการสร้างรีสอร์ทและที่พัก แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้เนื่องจากที่ดินที่ถูกบุกรุกบางส่วนยังมีปัญหาในข้อพิพาท
***โฆษก ตร.ขู่โยงถึงใครจับหมด
พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจาว่า ตำรวจมั่นใจในพยานหลักฐานว่า จะสามารถเอาผิดและดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหาที่มีการออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 65 ราย โดยเฉพาะนายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง ที่ได้ประสานเข้ามอบตัว แต่ยังคงให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นหัวหน้าขบวนการค้ามนุษย์ตามที่ถูกกล่าวหานั้น ยืนยันว่าจากการสอบปากคำผู้ต้องหาที่จับกุมได้ และพยานฝั่งของชาวโรฮีนจาให้การยืนยันเช่นเดียวกัน
ในส่วนของขั้นตอนการอายัดทรัพย์โกโต้ง จะทำควบคู่ไปกับการดำเนินคดีอาญา โดยประสานสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง.ตรวจสอบ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการสรุปทรัพย์สินทั้งหมด คาดว่าจะดำเนินการอายัดได้ในเร็วๆ นี้
โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิเสธที่จะพูดถึงกรณีมีการจับกุมนายทหาร แต่ยืนยันว่า หากมีพยานหลักฐานสาวไปถึงบุคคลใด จะต้องถูกดำเนินคดีทั้งหมด ซึ่งตำรวจมั่นใจว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิดผู้ต้องหาทั้งหมดที่ถูกจับกุมหรือเข้ามอบตัว
**** “ประวุฒิ”มั่นใจ เอาผิดอาญา “โกโต้ง”
พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกตร. กล่าวถึงความคืบหน้าของคดีขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา ภายหลังการเข้ามอบตัวของนายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง ผู้ต้องหารายสำคัญในคดีนี้ เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า กรณีดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความพร้อมในเรื่องของพยานหลักฐานอยู่แล้ว เพราะก่อนที่จะออกหมายจับจะมีการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกอย่าง หมายจับที่ออกไปก็เป็นไปตามพยานหลักฐาน ซึ่งพล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร.ก็ได้บอกไว้อยู่แล้วว่า ทุกอย่างเราดำเนินการตามพยานหลักฐาน ถ้าไม่มีพยานหลักฐานคงจะขออำนาจศาลเพื่ออนุมัติหมายจับไม่ได้ อีกทั้งพยานหลักฐานที่ปรากฏค่อนข้างชัดเจนว่านายปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องว่าเป็นผู้ที่อยู่ในระดับสั่งการได้ในหลายๆส่วนในขบวนการนี้ ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามพยานหลักฐาน
พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ส่วนเรื่องทรัพย์สินคดีในขบวนการค้ามนุษย์ก็จะมีความผิดฐานการฟอกเงิน กระบวนการในการอายัดทรัพย์สินของโกโต้งเริ่มอายัดทรัพย์สินแล้วตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเป็นการทำงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)คาดว่าภายใน 1-2 วันนี้จะทราบว่ามีสิ่งของเป็นอะไรบ้างที่จะดำเนินการได้
ส่วนมูลค่าทรัพย์สินของนายปัจจุบันนั้น ยังไม่สามารถตอบได้เพราะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบมากกว่านี้ก่อน ทางปปง.มีขั้นตอนการทำงานอยู่ อีกประมาน 3 วันคงทราบเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้การตรวจสอบทรัพย์สินจะดำเนินการคู่ขนานกับทางคดีอาญา ส่วนการขายทรัพย์สินสู่ท้องตลาดต้องเข้าเงื่อนไขของปปง.คือเก็บไว้จะเป็นภาระหรือมีราคาเสื่อม ปปง.ก็จะขออนุมัติขายเพื่อนำเงินมาเก็บไว้ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้ และยากต่อการดูแลรักษา แต่บางอย่างที่เก็บได้ เช่น ของมีค่าชิ้นเล็กๆซึ่งเก็บในเซฟได้ ซึ่งขณะนี้ทรัพย์สินของโกโต้งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจอายัดไว้ไม่ได้ยึด ส่วนคดีอาญาถ้าเงื่อนไขทางคดี หรือกระบวนการทางคดีอาญาพิสูจน์ทราบความผิดแล้วว่าผิด ทรัพย์สินที่อายัดไว้จะตกเป็นของแผ่นดินแต่ถ้าไม่ผิดก็คืนเจ้าของ
ผู้สื่อข่าวถามว่า จนถึงขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจมองหรือไม่ว่า แค่อดีตนายกอบจ.จะมีศักยภาพในการทำมากขนาดนี้ หรือว่ามีนักการเมืองมาอยู่เบื้องหลัง มีการพูดคุยเรื่องนี้หรือไม่ พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ถ้ายังมีพบว่ามีผู้อยู่ในขบวนการที่อยู่สูงกว่าโกโต้งในที่สุดก็ต้องปรากฏออกมา ส่วนที่ว่าเป็นข้าราชการระดับสูงหรือนักการเมืองอยู่ในสำนวนไม่สามารถพูดได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในทางลับตำรวจพบว่าตัวการใหญ่กว่านายปัจจุบันให้การสนับสนุนอยู่ใช่หรือไม่ พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ขอไม่สรุปในส่วนนี้ก่อน ขอให้เป็นลักษณะที่มีพยานหลักฐานจนสามารถออกหมายได้
เมื่อตำรวจจะสามารถให้ความมั่นใจกับประชาชนได้หรือไม่ว่า จะไม่จบหรือตัดตอนแค่โกโต้งแค่คนเดียว พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า มีหลายคดีที่บางครั้งเรารู้คนจ้างวานแต่ว่าการสืบสวนไปไม่ถึง ทำให้ไม่สามารถจับได้ ก็ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย เพราะว่าการดำเนินคดีทางอาญาต้องต้องมีหลักฐานเคร่งครัด ชัดเจนสามารถยืนยันความผิดได้ ถ้าเพียงแต่สงสัยหรือต้องสงสัยก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นบางครั้งเราทราบแต่ไม่อาจจะไปถึงได้ ต้องขอความเข้าใจด้วยในการดำเนินคดีทางอาญาและให้ความเป็นธรรมด้วย ถึงเราจะจับไปในที่สุดก็จะไปหลุดในชั้นศาล ดังนั้นต้องรวบรวมหลักฐานให้ชัดเจนแน่นอนก่อน ฟ้องแล้วถึงจะได้ไม่หลุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมั่นใจใช่หรือไม่กับหลักฐานที่มีอยู่ว่าสามารถเอาผิดกับ นายปัจจุบัน ในทางอาญาได้ พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับทั้งหมด 65 คน และนายตำรวจ 2 นายที่ถูกออกหมายจับเมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา ยืนยันว่าทั้งหมดอยู่ในขบวนการแน่นอนเพราะมีหลักฐานชัดเจน
เมื่อถามว่า นอกเหนือจากผู้ต้องหาที่มีการออกหมายจับ 65 คนแล้ว มีกระแสข่าวว่ามีนายพลทหารเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ยังอยู่ในกระบวนการสอบสวนอยู่ อยู่ในสำนวนสอบสวนขอไม่พูดถึง ในส่วนของเบาะแสที่ว่ามีการสนิทสนมรู้จักกันเป็นการส่วนตัวตร.มีข้อมูลนี้หรือไม่นั้นก็ไม่ขอตอบเพราะอาจจะไปกระทบต่อนายทหารหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ขอให้เป็นหลักฐานทางคดีเรื่องหมายก่อน
พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า นอกเหนือจากการออกหมายจับ 65 ราย น่าจะมีการออกหมายเพิ่มเติม แต่ว่าก็จะเป็นระดับกลางๆที่ยังพอมีหลักฐานไปถึงตัวและสามารถออกหมายจับได้ ส่วนภรรยาของนายปัจจุบัน ในที่สุดคงขอเข้ามอบตัว ในแนวทางเดียวกัน แต่ขณะนี้ยังไม่มีการประสานมา ข่าวลือที่ว่าผู้ต้องหาหลบหนีไปอยู่ประเทศมาเลเซียไม่เป็นความจริง เพราะการทำงานกับทางมาเลเซียมีการประสานกันอย่างใกล้ชิด และไม่พบผู้ต้องหาหลบหนีออกไป
** ผบ.ทร.ชี้ โรฮีนจาไม่อยากเข้าไทย
พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผบ.ทร. กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาโรฮีนจาว่า ไทยต้องดำเนินการในภาพรวมของประเทศ ตนรับนโยบายจากรัฐบาล และทำในหน้าที่ว่า หากเจอเรือของชาวโรฮีนจานอกน่านน้ำไทย จะต้องทำอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ได้ให้การช่วยเหลือทางมนุษยธรรม หากพบเจอชาวโรฮีนจาไม่มีอาหารและน้ำ ก็ต้องช่วยเหลือ แต่ถ้าเจอนอกน่านน้ำก็ปล่อยเขาไป ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า นอกน่านน้ำไทยเป็นทะเลเสรี เขาสามารถจะไปที่ไหนก็ได้ แต่หากใกล้เข้ามาในน่านน้ำไทย ทางกองทัพเรือก็จะแจ้งเตือนก่อน เพราะถ้าเข้ามาแล้วจะผิดกฎหมาย และต้องถูกควบคุมตัวทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าชาวโรฮีนจาไม่อยากเข้ามาประเทศไทย เพราะเข้ามาก็ถูกจับ เนื่องจากถือว่าเป็นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
**เมียนมาปัดต้นปัญหาโรฮีนจา
ขณะที่ประเทศพม่าได้เชิญนักการทูตจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง จีน อินเดีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย เข้าชี้แจงจุดยืนของพม่าต่อปัญหาผู้อพยพชาวโรฮีนจา ที่กำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศต่างๆ โดยนายเย ตุท รัฐมนตรีสารนิเทศของพม่า กล่าวยอมรับที่นานาชาติกังวลใจปัญหามนุษย์เรือโรฮีนจา แต่ยืนกรานว่า ไม่ใช่ความผิดของพม่า และเสนอให้นานาชาติในภูมิภาคร่วมกันแก้ปัญหา พร้อมกับกล่าวว่า ยังไม่ยืนยันว่าจะเข้าร่วมประชุมแก้ปัญหาโรฮีนจาตามคำเชิญของไทย หรือไม่
ขณะที่นายเนียน วิน โฆษกพรรคสันติบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ เอ็นแอลดี ของนางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า กล่าวว่าแม้รัฐบาลจะไม่ยอมรับชาวโรฮีนจาเป็นชาวพม่า ก็ไม่ควรผลักไสไล่ส่งให้ออกไปเสี่ยงตายอยู่กลางทะเล เพราะคนเหล่านี้ก็เป็นคนเหมือนกัน
**UNCHR ประณามไทย-อินโดฯ-มาเลย์
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า น.ส.วิเวียน ทัน โฆษกหญิงของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ออกแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ประณามท่าทีของกลุ่มประเทศขนาดใหญ่ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) นำโดย อินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย ที่ยืนกรานปฏิเสธการจัดสรรสถานที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้อพยพชาวโรฮีนจา อีกทั้งยังผลักดันเรือผู้อพยพออกจากน่านน้ำของตัวเองอย่างต่อเนื่องว่า เป็นเรื่องน่าผิดหวังอย่างยิ่ง และเป็นลางร้าย และการแสดงออกของบรรดาประเทศขนาดใหญ่ในภูมิภาค สวนทางกับความคาดหวังของ ยูเอ็นเอชซีอาร์ ที่คาดว่าจะมีผู้อพยพได้รับความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมมากขึ้นในอนาคต.
นายมูห์ยิดดิน ยาสซิน รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แถลงข่าววันนี้ (19 พ.ค.) ว่า พม่าควรแก้ปัญหาผู้อพยชาวโรฮีนจาเป็นการภายในเอง แทนที่จะให้ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค เช่น มาเลเซีย มาแบกรับภาระ และว่าวิกฤตครั้งนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลพม่าไม่ควรผ่านปัญหาไปให้ประเทศอื่น
รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า การไหลทะลักของผู้อพยพชาวโรฮีนจาจากพม่าเป็นประเด็นทั้งปัญหาความมั่นคง และมนุษยธรรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้หารือปัญหานี้เช่นกัน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียได้หารือร่วมกับอินโดนีเซียและไทย เพื่อประสานกับรัฐบาลพม่าในการหาทางออกวิกฤตผู้อพยพ
วานนี้ (19 พ.ค.58) ที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 9 ส่วนหน้า (ศปก.ภ.9 สน.) สภ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนและติดตามจับกุมผู้ต้องหาเครือข่ายค้ามนุษย์โรฮีนจาทั้งในพื้นที่ จ.สงขลา จ.สตูล และ จ.ระนองว่า พล.ต.ท.มนตรี โปตระนันท์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พร้อมทีมสืบสวนสอบสวน ได้ร่วมกันแถลงข่าวถึงความคืบหน้าว่าล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการออกหมายจับผู้ต้องหาเพิ่มอีก 6 รายรวมเป็น 71 หมายจับและเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวได้แล้ว 33 ราย ยังเหลืออีก 38 รายที่เจ้าหน้าที่ยังคงติดตามจับกุมอย่างต่อเนื่อง
ส่วนผู้ต้องหาที่เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวได้ล่าสุดมีทั้งหมด 4 รายคือ นายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือโกโต้ง อดีตนายก อบจ.สตูล ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่, นางทัศนีย์ สุวรรณรัตน์ ภรรยาคนที่ 2 ของโกโต้ง, นายอนุสรณ์ สุขเกษม หรือโกเล้ง และ พ.ต.ท.ชาญ อู่ทอง สารวัตรอำนวยการ สภ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี โดยทั้งหมดยังอยู่ในกระบวนการสอบสวน
ส่วนความคืบหน้าการสอบสวนโกโต้งหลังจากที่เจ้าหน้าที่ใช้เวลาสอบสวนตลอดทั้งคืนวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา นายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือโกโต้ง ยังคงปฏิเสธ และไม่ยอมให้การใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี ส่วนการสอบสวนขยายผลเครือข่ายค้ามนุษย์นั้นยังไม่พบว่ามีนายทหารระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง ตามที่มีกระแสข่าวออกมา ส่วนผู้ต้องหาทั้งที่ถูกออกหมายจับและควบคุมตัวได้แล้ว ยืนยันว่าไม่มีการจับผิดตัวเพราะมีพยานหลักฐานชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ทางพนักงานสอบสวน ซึ่งมีการระดมมาจากทั้งภาค 9 สงขลา สตูล พัทลุง และตรัง กำลังเร่งสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือนมิถุนายนนี้และมีการสอบพยานไปแล้ว 81 ปาก เป็นเหยื่อ 50 ปาก และผู้ต้องหา 29 ปาก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัว พ.ต.ท.ชาญ อู่ทอง สารวัตรอำนวยการ สภ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 71 ผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับคดีค้ามนุษย์โรฮีนจามาสอบสวนเพิ่มเติม โดยเบื้องต้นได้มีคำสั่งให้ พ.ต.ท.ชาญ ออกจากราชการไว้ก่อน
ส่วนผู้ต้องหาอีก 3 คนคือนายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง, นางทัศนีย์ สุวรรณรัตน์ ภรรยาคนที่ 2 ของโกโต้ง และนายอนุสรณ์ สุขเกษม หรือ โกเล้ง ทางพนักงานสอบสวนยังคงเร่งสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 48 ชั่วโมงตามอำนาจที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้และให้ได้รายละเอียดมากที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นผู้ต้องหาคนสำคัญในเครือข่ายค้ามนุษย์ เพื่อให้คดีรัดกุมมากที่สุด โดยเฉพาะโกโต้ง ขณะนี้มีหมายจับรวมกันถึง 9 หมายทั้งคดีค้ามนุษย์และเรื่องการบุกรุกที่ดินบนเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ได้เข้าแจ้งความกล่าวโทษไว้ก่อนหน้านี้
พ.ต.อ.จีรวัฒน์ พยุงธรรม รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ได้เข้าแจ้งความกล่าวโทษโกโต้งกับพวกรวม 5 คน ซึ่งเข้าไปบุกรุกพื้นที่บนเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ตั้งอยู่หมู่ 7 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล โดยได้มีกล่าวโทษ 8 คดีและในวันนี้ได้มาแจ้งข้อหาให้กับโกโต้งได้รับทราบแต่ยังคงให้การปฏิเสธ ซึ่งคดีนี้ได้มีการดำเนินการกับผู้ต้องหาไปแล้วบางส่วน และบางส่วนก็มามอบตัว สำหรับคดีการบุกรุกที่ดินบนเกาะหลีเป๊ะนั้นส่วนใหญ่เป็นการสร้างรีสอร์ทและที่พัก แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้เนื่องจากที่ดินที่ถูกบุกรุกบางส่วนยังมีปัญหาในข้อพิพาท
***โฆษก ตร.ขู่โยงถึงใครจับหมด
พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจาว่า ตำรวจมั่นใจในพยานหลักฐานว่า จะสามารถเอาผิดและดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหาที่มีการออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 65 ราย โดยเฉพาะนายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง ที่ได้ประสานเข้ามอบตัว แต่ยังคงให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นหัวหน้าขบวนการค้ามนุษย์ตามที่ถูกกล่าวหานั้น ยืนยันว่าจากการสอบปากคำผู้ต้องหาที่จับกุมได้ และพยานฝั่งของชาวโรฮีนจาให้การยืนยันเช่นเดียวกัน
ในส่วนของขั้นตอนการอายัดทรัพย์โกโต้ง จะทำควบคู่ไปกับการดำเนินคดีอาญา โดยประสานสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง.ตรวจสอบ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการสรุปทรัพย์สินทั้งหมด คาดว่าจะดำเนินการอายัดได้ในเร็วๆ นี้
โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิเสธที่จะพูดถึงกรณีมีการจับกุมนายทหาร แต่ยืนยันว่า หากมีพยานหลักฐานสาวไปถึงบุคคลใด จะต้องถูกดำเนินคดีทั้งหมด ซึ่งตำรวจมั่นใจว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิดผู้ต้องหาทั้งหมดที่ถูกจับกุมหรือเข้ามอบตัว
**** “ประวุฒิ”มั่นใจ เอาผิดอาญา “โกโต้ง”
พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกตร. กล่าวถึงความคืบหน้าของคดีขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา ภายหลังการเข้ามอบตัวของนายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง ผู้ต้องหารายสำคัญในคดีนี้ เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า กรณีดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความพร้อมในเรื่องของพยานหลักฐานอยู่แล้ว เพราะก่อนที่จะออกหมายจับจะมีการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกอย่าง หมายจับที่ออกไปก็เป็นไปตามพยานหลักฐาน ซึ่งพล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร.ก็ได้บอกไว้อยู่แล้วว่า ทุกอย่างเราดำเนินการตามพยานหลักฐาน ถ้าไม่มีพยานหลักฐานคงจะขออำนาจศาลเพื่ออนุมัติหมายจับไม่ได้ อีกทั้งพยานหลักฐานที่ปรากฏค่อนข้างชัดเจนว่านายปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องว่าเป็นผู้ที่อยู่ในระดับสั่งการได้ในหลายๆส่วนในขบวนการนี้ ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามพยานหลักฐาน
พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ส่วนเรื่องทรัพย์สินคดีในขบวนการค้ามนุษย์ก็จะมีความผิดฐานการฟอกเงิน กระบวนการในการอายัดทรัพย์สินของโกโต้งเริ่มอายัดทรัพย์สินแล้วตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเป็นการทำงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)คาดว่าภายใน 1-2 วันนี้จะทราบว่ามีสิ่งของเป็นอะไรบ้างที่จะดำเนินการได้
ส่วนมูลค่าทรัพย์สินของนายปัจจุบันนั้น ยังไม่สามารถตอบได้เพราะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบมากกว่านี้ก่อน ทางปปง.มีขั้นตอนการทำงานอยู่ อีกประมาน 3 วันคงทราบเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้การตรวจสอบทรัพย์สินจะดำเนินการคู่ขนานกับทางคดีอาญา ส่วนการขายทรัพย์สินสู่ท้องตลาดต้องเข้าเงื่อนไขของปปง.คือเก็บไว้จะเป็นภาระหรือมีราคาเสื่อม ปปง.ก็จะขออนุมัติขายเพื่อนำเงินมาเก็บไว้ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้ และยากต่อการดูแลรักษา แต่บางอย่างที่เก็บได้ เช่น ของมีค่าชิ้นเล็กๆซึ่งเก็บในเซฟได้ ซึ่งขณะนี้ทรัพย์สินของโกโต้งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจอายัดไว้ไม่ได้ยึด ส่วนคดีอาญาถ้าเงื่อนไขทางคดี หรือกระบวนการทางคดีอาญาพิสูจน์ทราบความผิดแล้วว่าผิด ทรัพย์สินที่อายัดไว้จะตกเป็นของแผ่นดินแต่ถ้าไม่ผิดก็คืนเจ้าของ
ผู้สื่อข่าวถามว่า จนถึงขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจมองหรือไม่ว่า แค่อดีตนายกอบจ.จะมีศักยภาพในการทำมากขนาดนี้ หรือว่ามีนักการเมืองมาอยู่เบื้องหลัง มีการพูดคุยเรื่องนี้หรือไม่ พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ถ้ายังมีพบว่ามีผู้อยู่ในขบวนการที่อยู่สูงกว่าโกโต้งในที่สุดก็ต้องปรากฏออกมา ส่วนที่ว่าเป็นข้าราชการระดับสูงหรือนักการเมืองอยู่ในสำนวนไม่สามารถพูดได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในทางลับตำรวจพบว่าตัวการใหญ่กว่านายปัจจุบันให้การสนับสนุนอยู่ใช่หรือไม่ พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ขอไม่สรุปในส่วนนี้ก่อน ขอให้เป็นลักษณะที่มีพยานหลักฐานจนสามารถออกหมายได้
เมื่อตำรวจจะสามารถให้ความมั่นใจกับประชาชนได้หรือไม่ว่า จะไม่จบหรือตัดตอนแค่โกโต้งแค่คนเดียว พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า มีหลายคดีที่บางครั้งเรารู้คนจ้างวานแต่ว่าการสืบสวนไปไม่ถึง ทำให้ไม่สามารถจับได้ ก็ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย เพราะว่าการดำเนินคดีทางอาญาต้องต้องมีหลักฐานเคร่งครัด ชัดเจนสามารถยืนยันความผิดได้ ถ้าเพียงแต่สงสัยหรือต้องสงสัยก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นบางครั้งเราทราบแต่ไม่อาจจะไปถึงได้ ต้องขอความเข้าใจด้วยในการดำเนินคดีทางอาญาและให้ความเป็นธรรมด้วย ถึงเราจะจับไปในที่สุดก็จะไปหลุดในชั้นศาล ดังนั้นต้องรวบรวมหลักฐานให้ชัดเจนแน่นอนก่อน ฟ้องแล้วถึงจะได้ไม่หลุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมั่นใจใช่หรือไม่กับหลักฐานที่มีอยู่ว่าสามารถเอาผิดกับ นายปัจจุบัน ในทางอาญาได้ พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับทั้งหมด 65 คน และนายตำรวจ 2 นายที่ถูกออกหมายจับเมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา ยืนยันว่าทั้งหมดอยู่ในขบวนการแน่นอนเพราะมีหลักฐานชัดเจน
เมื่อถามว่า นอกเหนือจากผู้ต้องหาที่มีการออกหมายจับ 65 คนแล้ว มีกระแสข่าวว่ามีนายพลทหารเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ยังอยู่ในกระบวนการสอบสวนอยู่ อยู่ในสำนวนสอบสวนขอไม่พูดถึง ในส่วนของเบาะแสที่ว่ามีการสนิทสนมรู้จักกันเป็นการส่วนตัวตร.มีข้อมูลนี้หรือไม่นั้นก็ไม่ขอตอบเพราะอาจจะไปกระทบต่อนายทหารหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ขอให้เป็นหลักฐานทางคดีเรื่องหมายก่อน
พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า นอกเหนือจากการออกหมายจับ 65 ราย น่าจะมีการออกหมายเพิ่มเติม แต่ว่าก็จะเป็นระดับกลางๆที่ยังพอมีหลักฐานไปถึงตัวและสามารถออกหมายจับได้ ส่วนภรรยาของนายปัจจุบัน ในที่สุดคงขอเข้ามอบตัว ในแนวทางเดียวกัน แต่ขณะนี้ยังไม่มีการประสานมา ข่าวลือที่ว่าผู้ต้องหาหลบหนีไปอยู่ประเทศมาเลเซียไม่เป็นความจริง เพราะการทำงานกับทางมาเลเซียมีการประสานกันอย่างใกล้ชิด และไม่พบผู้ต้องหาหลบหนีออกไป
** ผบ.ทร.ชี้ โรฮีนจาไม่อยากเข้าไทย
พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผบ.ทร. กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาโรฮีนจาว่า ไทยต้องดำเนินการในภาพรวมของประเทศ ตนรับนโยบายจากรัฐบาล และทำในหน้าที่ว่า หากเจอเรือของชาวโรฮีนจานอกน่านน้ำไทย จะต้องทำอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ได้ให้การช่วยเหลือทางมนุษยธรรม หากพบเจอชาวโรฮีนจาไม่มีอาหารและน้ำ ก็ต้องช่วยเหลือ แต่ถ้าเจอนอกน่านน้ำก็ปล่อยเขาไป ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า นอกน่านน้ำไทยเป็นทะเลเสรี เขาสามารถจะไปที่ไหนก็ได้ แต่หากใกล้เข้ามาในน่านน้ำไทย ทางกองทัพเรือก็จะแจ้งเตือนก่อน เพราะถ้าเข้ามาแล้วจะผิดกฎหมาย และต้องถูกควบคุมตัวทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าชาวโรฮีนจาไม่อยากเข้ามาประเทศไทย เพราะเข้ามาก็ถูกจับ เนื่องจากถือว่าเป็นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
**เมียนมาปัดต้นปัญหาโรฮีนจา
ขณะที่ประเทศพม่าได้เชิญนักการทูตจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง จีน อินเดีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย เข้าชี้แจงจุดยืนของพม่าต่อปัญหาผู้อพยพชาวโรฮีนจา ที่กำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศต่างๆ โดยนายเย ตุท รัฐมนตรีสารนิเทศของพม่า กล่าวยอมรับที่นานาชาติกังวลใจปัญหามนุษย์เรือโรฮีนจา แต่ยืนกรานว่า ไม่ใช่ความผิดของพม่า และเสนอให้นานาชาติในภูมิภาคร่วมกันแก้ปัญหา พร้อมกับกล่าวว่า ยังไม่ยืนยันว่าจะเข้าร่วมประชุมแก้ปัญหาโรฮีนจาตามคำเชิญของไทย หรือไม่
ขณะที่นายเนียน วิน โฆษกพรรคสันติบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ เอ็นแอลดี ของนางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า กล่าวว่าแม้รัฐบาลจะไม่ยอมรับชาวโรฮีนจาเป็นชาวพม่า ก็ไม่ควรผลักไสไล่ส่งให้ออกไปเสี่ยงตายอยู่กลางทะเล เพราะคนเหล่านี้ก็เป็นคนเหมือนกัน
**UNCHR ประณามไทย-อินโดฯ-มาเลย์
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า น.ส.วิเวียน ทัน โฆษกหญิงของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ออกแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ประณามท่าทีของกลุ่มประเทศขนาดใหญ่ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) นำโดย อินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย ที่ยืนกรานปฏิเสธการจัดสรรสถานที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้อพยพชาวโรฮีนจา อีกทั้งยังผลักดันเรือผู้อพยพออกจากน่านน้ำของตัวเองอย่างต่อเนื่องว่า เป็นเรื่องน่าผิดหวังอย่างยิ่ง และเป็นลางร้าย และการแสดงออกของบรรดาประเทศขนาดใหญ่ในภูมิภาค สวนทางกับความคาดหวังของ ยูเอ็นเอชซีอาร์ ที่คาดว่าจะมีผู้อพยพได้รับความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมมากขึ้นในอนาคต.
นายมูห์ยิดดิน ยาสซิน รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แถลงข่าววันนี้ (19 พ.ค.) ว่า พม่าควรแก้ปัญหาผู้อพยชาวโรฮีนจาเป็นการภายในเอง แทนที่จะให้ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค เช่น มาเลเซีย มาแบกรับภาระ และว่าวิกฤตครั้งนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลพม่าไม่ควรผ่านปัญหาไปให้ประเทศอื่น
รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า การไหลทะลักของผู้อพยพชาวโรฮีนจาจากพม่าเป็นประเด็นทั้งปัญหาความมั่นคง และมนุษยธรรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้หารือปัญหานี้เช่นกัน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียได้หารือร่วมกับอินโดนีเซียและไทย เพื่อประสานกับรัฐบาลพม่าในการหาทางออกวิกฤตผู้อพยพ