"โกโต้ง" อดีตนายก อบจ.สตูล ผู้ต้องหาตามหมายจับการค้ามนุษย์เข้ามอบตัวเพื่อสู้คดี ตร.นำตัวไปดำเนินคดีที่ภูธรภาค 8 พร้อมคัดค้านประกันตัว ขณะที่ตร.สตูลขอหมายจับกรณีบุกรุกเกาะหลีเป๊ะ เพิ่มอีก8 คดี อายัดทรัพย์เครือข่ายกว่า 100 ล้าน ผบ.ตร. สั่งเด้ง "พ.ต.ท.ชาญ อู่ทอง" จาก สภ.เคียนซา จ. สุราษฎร์ฯ เข้ากรุ หลังศาลจังหวัดนาทวี อนุมัติออกหมายจับเอี่ยวคดีค้ามนุษย์ พร้อม "เมียโกโต้ง" ด้าน "บิ๊กตู่" ชี้ปัญหาโรฮีนจาอพยพ อาเซียนต้องไม่ทะเลาะกัน เชื่อประชุม 29 พ.ค. ได้มติความร่วมมือ ขณะที่"ยูเอ็น" รอฟังผล ก่อนยื่นมือช่วยเหลือ
วานนี้ (18 พ.ค.) ที่สนามบินตำรวจ กก.3 บ.ตร.ดอนเมือง พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบ.ตร. ร่วมกันแถลงผลเรื่องผลการประชุม "มาตราการรองรับโรฮีนจา" โดยนำตัว นายปัจจุปัน อังโชติพันธ์ หรือ"โกโต้ง" อดีตนายกอบจ.สตูล ผู้ต้องหา ตามหมายจับการค้ามนุษย์มาร่วมแถลงข่าวด้วย เนื่องจากนายปัจุบัน ได้เดินทางเข้ามอบตัวกับพล.ต.อ.จักรทิพย์
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า โกโต้ง ได้เข้ามอบตัวกับ พล.ต.อ.จักรทิพย์ เมื่อช่วงสาย(18พ.ค.) ที่ย่านรามอินทรา ซึ่งที่โกโต้ง เดินทางมามอบตัวเพื่อสู้คดี ที่กทม. เนื่องจากเชื่อว่าจะได้รับความปลอดภัยแน่นอน ส่วนในกรณีที่มีกระแสข่าวว่า โกโต้งได้มีการต่อรองขอประกันตัวก่อนเข้ามามอบตัวนั้น ไม่เป็นความจริง เราไม่มีการตกลงกับใคร ทางการดำเนินคดีมีความจำเป็นต้องค้านประกันตัว และต่อจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะควบคุมตัวโกโต้ง ไปที่ ภาค 8 เพื่อดำเนินคดีต่อไป
ด้านนายปัจจุปัน กล่าวว่า ตนติดต่อขอเข้ามอบตัวกับพล.ต.อ.จักรทิพย์ ด้วยตนเอง ตั้งแต่ทราบว่ามีหมายจับซึ่งตนถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ จะ ขอเข้าสู้คดีในชั้นศาล และยันว่า ไม่ได้มีการต่อรองขอประกันตัวแต่อย่างใด และไม่ได้หลบหนี ตนติดต่อขอเข้ามอบตัวแต่แรก แต่ขอเวลาในการเดินทางเข้ามอบตัว ส่วนกรณีที่ผู้สื่อข่าวถามว่า รู้จักกันกับคนอื่นๆ ที่โดนออกหมายจับหรือไม่นั้น ไม่ขอตอบ จะขอให้การในชั้นศาลเท่านั้น
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า จากการประชุมเรื่องชาวโรฮีนจานั้น พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร จะเป็นหัวหน้าในการสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าว ส่วน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ จะมีการประสานงานกับ พล.ต.อ.เอก เพื่อดำเนินการในเรื่องต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ในคดีค้ามนุษย์นั้น ขณะนี้ได้มีการออกหมายจับแล้วทั้งหมด 65 คน ล่าสุดได้ออกหมายจับ พ.ต.ท.ชาญ อู่ทอง สว.ธร.สภ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ร.ต.ท.นราธร สัมพันธ์ รอง สว.สส.บก.จ.ระนอง และน.ส.ทัศนีย์ อังโชติพันธุ์ ภรรยา นายปัจจุบัน เพิ่มเติม ซึ่งสามารถจับกุมได้แล้วกว่า 30 ราย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้งสามเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์อย่างไร พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า ทราบว่าพ.ต.ท.ชาญ นั้นคอยอำนวยความสะดวกให้ขบวนค้ามนุษย์ ล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวพ.ต.ท.ชาญ ไว้ที่ภาค 8 แล้ว และมีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ส่วนที่มีการเซ็นสั้งย้ายเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ เป็นเพราะตรวจสอบแล้วว่ามีการปล่อยปะละเลยในการปฏิบัติหน้าที่
ด้านพล.ต.อ.จักรทิพย์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัว 3 ตัวการใหญ่ ในขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา คือ นายสุวรรณ แสงทอง หรือ โกหนุ่ย เจ้าของแพปลาใน จ.ระนอง นายบรรณจง ปองผล หรือ โกจง นายกเทศมนตรีเมืองปาดังเบซาร์ จ.สงขลา และ โกโต้ง
**เด้งพ.ต.ท.ถูกหมายจับพร้อมเมีย"โกโต้ง"
ทั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. ได้ลงนามคำสั่ง ตร.ที่ 275/2558 ลงวันที่ 17 พ.ค.58 เรื่องให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติราชการ โดยให้พ.ต.ท.ชาญ อู่ทอง สว.ธร.สภ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี มาปฏิบัติราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) โดยให้ขาดจากตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติราชการตามที่ ผบ.ตร. มอบหมายจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. เป็นต้นไป
มีรายงานว่า สาเหตุที่มีคำสั่งดังกล่าว เนื่องจาก พ.ต.ท.ชาญ ถูกศาลจังหวัดนาทวี อนุมัติออกหมายจับ ในคดีเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์โรฮีนจา
ด้าน พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. กล่าวว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดนาทวี ได้อนุมัติหมายจับผู้ต้องหาเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์โรฮีนจา เพิ่มเติมอีก 3 คน ได้แก่ พ.ต.ท.ชาญ, ร.ต.ท.นราธร สัมพันธ์ รอง สว.สส.บก.จ.ระนอง และน.ส.ทัศนีย์ อังโชติพันธุ์ ภรรยา นายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง โดยล่าสุดตำรวจอยู่ระหว่างติดตามตัวผู้ต้องหาทั้ง 3 คน มาดำเนินคดี ซึ่งคาดว่ายังคงหลบหนีอยู่ในพื้นที่
**หมายจับ"โกโต้ง"เพิ่มบุกรุกหลีเป๊ะ 8 คดี
ด้านกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสตูล รวบรวมพยานหลักฐาน ขออนุมัติศาลจังหวัดสตูล ออกหมายจับ นายปัจจุบัน ข้อหาบุกรุกเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา (เกาะหลีเป๊ะ) 8 คดี ตามที่ นายศุภเศรษฐ์ ตามพระหัตถ์ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ได้แจ้งความข้อหาบุกรุก โดยพ.ต.ท.จีรวัฒน์ พยุงธรรม รอง ผบก.ภ.จว.สตูล จะนำหมายไปแจ้งผู้ต้องหา ที่เข้ามอบตัวอีกครั้ง
**มาเลย์-ไทย ร่วมมือตามจับเครือข่าย
ที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 9 ส่วนหน้า พล.ต.ท.มนตรี โปตระนันท์ ผบช.ภ. 9 และ พล.ต.ต.พุทธิชาติ เอกฉันท์ รอง ผบช.ภ. 9 ร่วมแถลงความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ทั้งใน จ.สงขลา สตูล และ ระนอง โดยพล.ต.ต.พุทธิชาติ กล่าวว่า ล่าสุดได้อายัดทรัพย์เครือข่ายค้ามนุษย์ 52 คน เป็นผู้ต้องหา 15 คน เครือข่าย 37 คน รวม 156 รายการ มูลค่า 81 ล้านบาท แยกเป็นเครือข่ายค้ามนุษย์ใน จ.ระนอง 71 ล้านบาท และ จ.สตูล 10 ล้านบาท อยู่ระหว่างการอายัดทรัพย์ใน จ.สงขลา เพิ่มเติมอีก ซึ่งมูลค่ารวมน่าจะเกิน 100 ล้านบาท
ส่วนจำนวนผู้อพยพ ที่เจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลืออยู่ที่ 313 ราย แยกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ 64 ราย ที่เหลือ 240 คน อยู่ระหว่างดำเนินคดีหลบหนีเข้าเมือง ในจำนวนนี้มี 48 คน ที่ศาลได้ตัดสินแล้ว และจะส่งตรวจคนเข้าเมือง(ตม.) ผลักดันกลับประเทศต่อไป ซึ่งจำนวนผู้อพยพไม่น่าจะเพิ่มขึ้นกว่านี้ เพราะได้มีการลาดตระเวนตรวจสอบแนวชายแดนครอบคลุมเกือบทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการผลักดันผู้อพยพทั้งหมด อาจจะต้องใช้เวลา 3-4 เดือน
พล.ต.ต.พุทธิชาต กล่าวว่า สำหรับการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ทางผู้บัญชาการตำรวจมาเลเซียจะส่งตำรวจเข้ามาร่วมทำคดีกับตำรวจไทย โดยประจำอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 9 ส่วนหน้า ซึ่งจะเดินทางมาถึงในอีก 1-2 วันนี้ เนื่องจากคดีนี้มีความเชื่อมโยงกันทั้ง 2 ประเทศ มีทั้งผู้ต้องหาของไทยที่เข้าไปหลบหนีอยู่ในมาเลเซีย และผู้ต้องหาของมาเลเซียที่หลบหนีเข้ามาในฝั่งไทย
**"ประวิตร"ยันไทยยึดหลักสิทธิมนุษยชน
ที่กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับผู้บัญชาการทัพเรือภาค 3 ผู้แทนแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการ ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง และสตูล เพื่อรับทราบการปฏิบัติงาน และการรับมือปัญหาการอพยพเข้ามาในน่านน้ำไทยฝั่งอันดามันของชาวโรฮีนจา ว่า การแก้ปัญหาที่ผ่านมามี 2 ประเด็นหลัก คือ กลุ่มแรกที่อพยพผ่านเข้ามาทางทะเล ซึ่งประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือดูแล กับกลุ่มที่ 2 อยู่บนบก ซึ่งลักลอบเข้ามา และอยู่ระหว่างการดำเนินคดี เช่น ที่ อ.สะเดา จ.สงขลา เป็นต้น
กรณีกลุ่มที่อยู่ในทะเล ทางทัพเรือภาคที่ 3 ได้เข้าไปดูแล ถ้าอยู่นอกน่านน้ำไทย ก็จะชี้แจงว่าถ้าเข้ามาในน่านน้ำไทยจะถูกจับกุมดำเนินคดีโดยทันที เพราะเรามีกฎหมายหลบหนีเข้าเมือง ยกเว้นกรณีที่ต้องการเดินทางไปยังประเทศที่ 3 แต่มีปัญหาเครื่องยนต์เรือเสีย หรือไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิง หรือขาดแคลนอาหาร รวมทั้งกรณีเจ็บป่วย ก็จะช่วยเหลือดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ก่อนที่จะให้เดินทางต่อไปยังประเทศที่ 3 ซึ่งได้กำชับผู้ปฏิบัติว่า จากนี้ไปต้องไม่มีเรื่องการค้ามนุษย์โดยเด็ดขาด
** "บันคีมูน"อยากให้อาเซียนร่วมแก้ปัญหา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงกรณี นาย บัน คี มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) โทรศัพท์มาสอบถาม และแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์การอพยพของชาวโรฮีนจา ว่า เลขาธิการยูเอ็นได้ชื่นชมรัฐบาลที่ให้ความสนใจเรื่องนี้ และมีแผนที่จะดำเนินการอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งขอบคุณที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุม 15 ประเทศ ในวันที่ 29 พ.ค. ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของไทยที่จะแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยเลขาธิการยูเอ็น อยากให้เราไปหารือในอาเซียน ว่า ทำอย่างไรจะแสวงหาความร่วมมือในอาเซียนให้ได้ ซึ่งตนก็ตอบไปว่า เห็นด้วยกับสิ่งที่เลขาธิการยูเอ็น พูดทุกอย่าง แต่ก็อยากให้เห็นใจเราหน่อยว่า เราก็มีกฎหมายของเราอยู่ เมื่ออพยพเข้ามาโดยผิดกฎหมาย เราก็ต้องดำเนินคดีทั้งหมด แต่ถ้าอยู่นอกน่านน้ำ เราก็ดูแลตามหลักมนุษยธรรม และขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเขาว่าจะไปที่ไหน หากอยู่นอกน่านน้ำเราไม่สามารถไปทำอะไรเขาได้ แต่ถ้าคนเหล่านี้เข้ามาในน่านน้ำไทย ก็จะผิดกฎหมายทันที ฐานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งทุกประเทศต้องเคารพ ทุกประเทศก็มีกฎหมายของตัวเอง และทุกประเทศเขาก็มีปัญหามาตลอด คือ ไม่ให้ใครเข้าประเทศเหมือนกัน
ทั้งนี้ เลขาธิการยูเอ็น ยังได้แสดงความเป็นห่วงคนที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่อยากให้เราผลักดันไปที่อื่น ซึ่งเรื่องนี้ตนก็ยืนยันไปว่า ประเทศไทยรับอยู่แล้ว และทุกครั้งก็จะมีทหารเรือเข้าไปสำรวจ ไปถามเขาว่า สมัครใจจะไปที่ไหน ซึ่งหลักฐานก็มีทุกอย่าง ซึ่งกรณีคนเจ็บเมื่อเราพบ ก็ต้องเอาตัวออกมาเพื่อรักษา เป็นการดูแลตามหลักมนุษยธรรม
อย่างไรก็ตาม การที่เอาคนเหล่านี้เข้ามาแล้วดำเนินคดีตามกฎหมาย เราก็ต้องมาดูอีกว่า จะควบคุมเขาได้อย่างไร เพราะพื้นที่ที่เรามีอยู่ ไม่เพียงพอ ถ้าเข้ามามากๆ จะทำอย่างไร จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ไปดูพื้นที่ เพื่อที่จะควบคุมคนเหล่านี้ ยืนยันว่า เป็นศูนย์ควบคุม ไม่ใช่ศูนย์พักพิง หรือศูนย์อพยพ
นายกฯ กล่าวด้วยว่า การหารือในวันที่ 29 พ.ค.นี้ น่าจะได้ข้อสรุปมาพอสมควร ก็ต้องดูกันให้ชัดว่า ต้นทางจะทำอย่างไร กลางทาง และปลายทางจะทำอย่างไร เอากฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายของแต่ละประเทศมาดูกัน เพื่อหาแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งปกติหากดำเนินคดีกลุ่มคนที่เข้าเมืองผิดกฎหมายแล้วก็ต้องส่งกลับ หรือไม่ก็ติดคุกแทนค่าปรับ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น เราก็ต้องดูแลคนพวกนี้มากขึ้น
นอกจากนี้ ในเรื่องของอัตลักษณ์ของคนหลบหนีเข้าเมืองก็มีหลากหลาย เราก็ต้องแยกแยะ เพราะคนที่เข้ามา ไม่ใช่เฉพาะชาวโรฮีนจา ซึ่งทั้งหมดต้องเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง มาจากไหน ก็ส่งกลับไปประเทศนั้น แต่ทั้งหมดนี้จะไปคุยกันในที่ประชุม 15 ประเทศ ต้องให้ชัดว่า ประเทศต้นทางเหล่านั้น สามารถรับกลับไปได้หรือไม่ ถ้าไม่รับกลับ แล้วจะทำอย่างไร สำหรับตนในฐานะคนไทย ต้องคิดหนัก ซึ่งมองได้ 3 อย่างคือ
1. เรื่องของมนุษยธรรม ถ้าเห็นเรือก็จะเข้าไปพูดคุย หาอาหาร และสิ่งที่ต้องการให้ คนเจ็บก็รักษา นี่คือด้านมนุษยธรรม
2. เรื่องของกฎหมายไทย จะทำอย่างไรเมื่อดำเนินคดีเสร็จแล้วใครจะรับกลับ จะได้ไม่เป็นภาระกับเรามากนัก
3. ต้องดูประเทศต้นทาง ซึ่งในอาเซียน จะต้องไม่ทะเลาะกันในเรื่องนี้ ตนและผู้นำประเทศต่างๆ มีความเข้าใจกันทุกอย่าง รู้ดีว่าแต่ละประเทศมีข้อติดขัด และมีข้อจำกัด ซึ่งก็ให้กำลังใจซึ่งกันและกันมาตลอด ในส่วนของประเทศต้นทาง ตนเสนอต่อเลขาธิการยูเอ็นไปแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็น ยูเอ็น หรือสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้อพยพแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล (แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล) ต้องมาคุยกัน โดยวันที่ 29 พ.ค. จะมีตัวแทนมา ต้องคุยกันว่า จะเข้าไปดูแลคนพวกนี้ได้หรือไม่ โดยจะดูแลเรื่องการพัฒนา ไม่เกี่ยวกับการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น เพราะถ้าเอาการเมืองมาด้วย ก็จะตีกันหมด
เมื่อถามว่าจากการพูดคุยกับเลขาฯยูเอ็น ซึ่งรับปากว่า จะไปดูปัญหาที่ต้นทางให้เลยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เขาบอกว่าในแนวทางของยูเอ็น หากประชาคมไหน มีปัญหา ก็ต้องแก้ปัญหาประชาคมของตนเองให้ได้ โดยการสนับสนุนจากประชาคมโลกภายนอก ซึ่งตนได้พูดไปทั้งสองอย่าง คือจะแก้ปัญหาทั้งในอาเซียน และในไทย รวมถึงขอความร่วมมือสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ให้มาช่วยเราด้วยในการที่จะหามาตรการ โดยเฉพาะการดูแลที่ต้นทาง
เมื่อถามว่าเบื้องต้นองค์กรระหว่างประเทศจะสนับสนุนให้ความช่วยเหลืออย่างไร นายกฯ กล่าวว่า เขาจะมาฟังการประชุมในวันที่ 29 พ.ค.นี้ ก่อน ว่ามติเป็นอย่างไร ซึ่งตนบอกแล้วว่า ในอาเซียนต้องแก้ให้ได้ แล้วเสนอขึ้นมาเป็นมติโดยรวม แล้วเขาจะมาตรงไหนได้ก็จะว่าอีกที แต่เขาอยากให้ดูแลเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ซึ่งตนก็บอกว่า ไทยก็มีกฎหมายของเรา ทุกประเทศมีกฎหมายของแต่ละประเทศ ก็ต้องเคารพกันตรงนี้ด้วย ทำอย่างไรเพื่อจะไปด้วยกันได้ ข้อสำคัญประชาชนที่เดือดร้อน และอพยพโดยไม่ธรรมชาติ จะไม่ถูกมองเหมือนคนไม่มีค่า
**ยังไม่มีข้อมูล"นายพล"โยงค้ามนุษย์
เมื่อถามถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพบเอกสารที่มีชื่อทหาร ยศนายพล ร่วมกระทำผิดค้ามนุษย์อยู่ด้วย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอย่างมีอารมณ์โมโห ว่า "ใคร ชื่ออะไร เขายังไม่รายงานมา ก็ระบุชื่อมาสิ เอามา ทางผบ.ทบ. บอกแล้วว่า มีชื่อใครก็สอบสวนหมด แหมอะไรกันนักหนา ชอบไล่กันอยู่อย่างนี้ เขาลงโทษอยู่แล้ว ไม่ต้องกลัว และยิ่งผมอยู่ตรงนี้ใครจะไม่ลงโทษ บอกมากระทรวงไหนบ้าง คราวที่แล้วก็ทีนึง ไอ้ 100 คน ถามอยู่นั่นหล่ะ เจอของแข็ง ของนิ่ม อะไรก็ไม่รู้ เรื่องนี้ต้องให้เวลาเขาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และผมค่อยสั่ง ซึ่งเขาก็ยังไม่มีความผิดอะไร เพียงแต่ให้หลุดจากตรงที่มีปัญหา หากมีการร้องเรียนอะไรให้เอาออกมา เพื่อที่จะได้สอบสวน นี่คือหน้าที่รัฐบาลนี้ทำ ไม่ใช่รัฐบาลนี้จะไปชี้ใครผิดใครถูก ให้ติดคุก มันไม่ได้ " นายกรัฐมนตรี กล่าว
พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก และโฆษก คสช. กล่าวถึง กรณีมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตรวจพบว่ามีนายทหารยศนายพล เข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ โดยมีการโอนเงินเข้าบัญชี ว่า ยังไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งนี้หากมีมูลว่าทหารเข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ถูกดำเนินการตามขั้นตอนของกองทัพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ มาตรา 44 ในการดำเนินการ เพราะมี พ.ร.บ. การหลบหนีเข้าเมือง ถือเป็นกฎหมายที่ใช้ดำเนินการได้ หากมีผู้ต้องสงสัยที่เป็นทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็สามารถประสานขอตัวไปให้ข้อมูลได้อยู่แล้ว
ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาได้มีการสั่งการให้มีการกวดขัน หากพบมีทหารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือพัวพัน ก็จะถูกดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย ยืนยันไม่มีการปกป้อง และจะอำนวยความสะดวก
พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และ ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเอกสารบัญชีธนาคารนายทหารยศนายพล ที่ถูกตรวจพบระหว่างการถูกจับกุมในคดีขบวนการค้ามนุษย์โรฮีนจา ว่า ตอนนี้ยังไม่มีการแจ้งมาจากทางเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ ซึ่งที่ผ่านมา กองทัพบก ได้มีการปรับย้ายกำลังพลของกองทัพบก ตั้งแต่เมื่อช่วงเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ได้มีการหมุนเวียนตำแหน่ง แต่ไม่ได้เป็นความผิดของทหาร ที่รับผิดชอบ
วานนี้ (18 พ.ค.) ที่สนามบินตำรวจ กก.3 บ.ตร.ดอนเมือง พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบ.ตร. ร่วมกันแถลงผลเรื่องผลการประชุม "มาตราการรองรับโรฮีนจา" โดยนำตัว นายปัจจุปัน อังโชติพันธ์ หรือ"โกโต้ง" อดีตนายกอบจ.สตูล ผู้ต้องหา ตามหมายจับการค้ามนุษย์มาร่วมแถลงข่าวด้วย เนื่องจากนายปัจุบัน ได้เดินทางเข้ามอบตัวกับพล.ต.อ.จักรทิพย์
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า โกโต้ง ได้เข้ามอบตัวกับ พล.ต.อ.จักรทิพย์ เมื่อช่วงสาย(18พ.ค.) ที่ย่านรามอินทรา ซึ่งที่โกโต้ง เดินทางมามอบตัวเพื่อสู้คดี ที่กทม. เนื่องจากเชื่อว่าจะได้รับความปลอดภัยแน่นอน ส่วนในกรณีที่มีกระแสข่าวว่า โกโต้งได้มีการต่อรองขอประกันตัวก่อนเข้ามามอบตัวนั้น ไม่เป็นความจริง เราไม่มีการตกลงกับใคร ทางการดำเนินคดีมีความจำเป็นต้องค้านประกันตัว และต่อจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะควบคุมตัวโกโต้ง ไปที่ ภาค 8 เพื่อดำเนินคดีต่อไป
ด้านนายปัจจุปัน กล่าวว่า ตนติดต่อขอเข้ามอบตัวกับพล.ต.อ.จักรทิพย์ ด้วยตนเอง ตั้งแต่ทราบว่ามีหมายจับซึ่งตนถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ จะ ขอเข้าสู้คดีในชั้นศาล และยันว่า ไม่ได้มีการต่อรองขอประกันตัวแต่อย่างใด และไม่ได้หลบหนี ตนติดต่อขอเข้ามอบตัวแต่แรก แต่ขอเวลาในการเดินทางเข้ามอบตัว ส่วนกรณีที่ผู้สื่อข่าวถามว่า รู้จักกันกับคนอื่นๆ ที่โดนออกหมายจับหรือไม่นั้น ไม่ขอตอบ จะขอให้การในชั้นศาลเท่านั้น
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า จากการประชุมเรื่องชาวโรฮีนจานั้น พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร จะเป็นหัวหน้าในการสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าว ส่วน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ จะมีการประสานงานกับ พล.ต.อ.เอก เพื่อดำเนินการในเรื่องต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ในคดีค้ามนุษย์นั้น ขณะนี้ได้มีการออกหมายจับแล้วทั้งหมด 65 คน ล่าสุดได้ออกหมายจับ พ.ต.ท.ชาญ อู่ทอง สว.ธร.สภ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ร.ต.ท.นราธร สัมพันธ์ รอง สว.สส.บก.จ.ระนอง และน.ส.ทัศนีย์ อังโชติพันธุ์ ภรรยา นายปัจจุบัน เพิ่มเติม ซึ่งสามารถจับกุมได้แล้วกว่า 30 ราย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้งสามเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์อย่างไร พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า ทราบว่าพ.ต.ท.ชาญ นั้นคอยอำนวยความสะดวกให้ขบวนค้ามนุษย์ ล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวพ.ต.ท.ชาญ ไว้ที่ภาค 8 แล้ว และมีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ส่วนที่มีการเซ็นสั้งย้ายเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ เป็นเพราะตรวจสอบแล้วว่ามีการปล่อยปะละเลยในการปฏิบัติหน้าที่
ด้านพล.ต.อ.จักรทิพย์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัว 3 ตัวการใหญ่ ในขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา คือ นายสุวรรณ แสงทอง หรือ โกหนุ่ย เจ้าของแพปลาใน จ.ระนอง นายบรรณจง ปองผล หรือ โกจง นายกเทศมนตรีเมืองปาดังเบซาร์ จ.สงขลา และ โกโต้ง
**เด้งพ.ต.ท.ถูกหมายจับพร้อมเมีย"โกโต้ง"
ทั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. ได้ลงนามคำสั่ง ตร.ที่ 275/2558 ลงวันที่ 17 พ.ค.58 เรื่องให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติราชการ โดยให้พ.ต.ท.ชาญ อู่ทอง สว.ธร.สภ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี มาปฏิบัติราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) โดยให้ขาดจากตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติราชการตามที่ ผบ.ตร. มอบหมายจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. เป็นต้นไป
มีรายงานว่า สาเหตุที่มีคำสั่งดังกล่าว เนื่องจาก พ.ต.ท.ชาญ ถูกศาลจังหวัดนาทวี อนุมัติออกหมายจับ ในคดีเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์โรฮีนจา
ด้าน พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. กล่าวว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดนาทวี ได้อนุมัติหมายจับผู้ต้องหาเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์โรฮีนจา เพิ่มเติมอีก 3 คน ได้แก่ พ.ต.ท.ชาญ, ร.ต.ท.นราธร สัมพันธ์ รอง สว.สส.บก.จ.ระนอง และน.ส.ทัศนีย์ อังโชติพันธุ์ ภรรยา นายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง โดยล่าสุดตำรวจอยู่ระหว่างติดตามตัวผู้ต้องหาทั้ง 3 คน มาดำเนินคดี ซึ่งคาดว่ายังคงหลบหนีอยู่ในพื้นที่
**หมายจับ"โกโต้ง"เพิ่มบุกรุกหลีเป๊ะ 8 คดี
ด้านกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสตูล รวบรวมพยานหลักฐาน ขออนุมัติศาลจังหวัดสตูล ออกหมายจับ นายปัจจุบัน ข้อหาบุกรุกเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา (เกาะหลีเป๊ะ) 8 คดี ตามที่ นายศุภเศรษฐ์ ตามพระหัตถ์ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ได้แจ้งความข้อหาบุกรุก โดยพ.ต.ท.จีรวัฒน์ พยุงธรรม รอง ผบก.ภ.จว.สตูล จะนำหมายไปแจ้งผู้ต้องหา ที่เข้ามอบตัวอีกครั้ง
**มาเลย์-ไทย ร่วมมือตามจับเครือข่าย
ที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 9 ส่วนหน้า พล.ต.ท.มนตรี โปตระนันท์ ผบช.ภ. 9 และ พล.ต.ต.พุทธิชาติ เอกฉันท์ รอง ผบช.ภ. 9 ร่วมแถลงความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ทั้งใน จ.สงขลา สตูล และ ระนอง โดยพล.ต.ต.พุทธิชาติ กล่าวว่า ล่าสุดได้อายัดทรัพย์เครือข่ายค้ามนุษย์ 52 คน เป็นผู้ต้องหา 15 คน เครือข่าย 37 คน รวม 156 รายการ มูลค่า 81 ล้านบาท แยกเป็นเครือข่ายค้ามนุษย์ใน จ.ระนอง 71 ล้านบาท และ จ.สตูล 10 ล้านบาท อยู่ระหว่างการอายัดทรัพย์ใน จ.สงขลา เพิ่มเติมอีก ซึ่งมูลค่ารวมน่าจะเกิน 100 ล้านบาท
ส่วนจำนวนผู้อพยพ ที่เจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลืออยู่ที่ 313 ราย แยกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ 64 ราย ที่เหลือ 240 คน อยู่ระหว่างดำเนินคดีหลบหนีเข้าเมือง ในจำนวนนี้มี 48 คน ที่ศาลได้ตัดสินแล้ว และจะส่งตรวจคนเข้าเมือง(ตม.) ผลักดันกลับประเทศต่อไป ซึ่งจำนวนผู้อพยพไม่น่าจะเพิ่มขึ้นกว่านี้ เพราะได้มีการลาดตระเวนตรวจสอบแนวชายแดนครอบคลุมเกือบทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการผลักดันผู้อพยพทั้งหมด อาจจะต้องใช้เวลา 3-4 เดือน
พล.ต.ต.พุทธิชาต กล่าวว่า สำหรับการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ทางผู้บัญชาการตำรวจมาเลเซียจะส่งตำรวจเข้ามาร่วมทำคดีกับตำรวจไทย โดยประจำอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 9 ส่วนหน้า ซึ่งจะเดินทางมาถึงในอีก 1-2 วันนี้ เนื่องจากคดีนี้มีความเชื่อมโยงกันทั้ง 2 ประเทศ มีทั้งผู้ต้องหาของไทยที่เข้าไปหลบหนีอยู่ในมาเลเซีย และผู้ต้องหาของมาเลเซียที่หลบหนีเข้ามาในฝั่งไทย
**"ประวิตร"ยันไทยยึดหลักสิทธิมนุษยชน
ที่กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับผู้บัญชาการทัพเรือภาค 3 ผู้แทนแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการ ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง และสตูล เพื่อรับทราบการปฏิบัติงาน และการรับมือปัญหาการอพยพเข้ามาในน่านน้ำไทยฝั่งอันดามันของชาวโรฮีนจา ว่า การแก้ปัญหาที่ผ่านมามี 2 ประเด็นหลัก คือ กลุ่มแรกที่อพยพผ่านเข้ามาทางทะเล ซึ่งประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือดูแล กับกลุ่มที่ 2 อยู่บนบก ซึ่งลักลอบเข้ามา และอยู่ระหว่างการดำเนินคดี เช่น ที่ อ.สะเดา จ.สงขลา เป็นต้น
กรณีกลุ่มที่อยู่ในทะเล ทางทัพเรือภาคที่ 3 ได้เข้าไปดูแล ถ้าอยู่นอกน่านน้ำไทย ก็จะชี้แจงว่าถ้าเข้ามาในน่านน้ำไทยจะถูกจับกุมดำเนินคดีโดยทันที เพราะเรามีกฎหมายหลบหนีเข้าเมือง ยกเว้นกรณีที่ต้องการเดินทางไปยังประเทศที่ 3 แต่มีปัญหาเครื่องยนต์เรือเสีย หรือไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิง หรือขาดแคลนอาหาร รวมทั้งกรณีเจ็บป่วย ก็จะช่วยเหลือดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ก่อนที่จะให้เดินทางต่อไปยังประเทศที่ 3 ซึ่งได้กำชับผู้ปฏิบัติว่า จากนี้ไปต้องไม่มีเรื่องการค้ามนุษย์โดยเด็ดขาด
** "บันคีมูน"อยากให้อาเซียนร่วมแก้ปัญหา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงกรณี นาย บัน คี มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) โทรศัพท์มาสอบถาม และแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์การอพยพของชาวโรฮีนจา ว่า เลขาธิการยูเอ็นได้ชื่นชมรัฐบาลที่ให้ความสนใจเรื่องนี้ และมีแผนที่จะดำเนินการอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งขอบคุณที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุม 15 ประเทศ ในวันที่ 29 พ.ค. ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของไทยที่จะแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยเลขาธิการยูเอ็น อยากให้เราไปหารือในอาเซียน ว่า ทำอย่างไรจะแสวงหาความร่วมมือในอาเซียนให้ได้ ซึ่งตนก็ตอบไปว่า เห็นด้วยกับสิ่งที่เลขาธิการยูเอ็น พูดทุกอย่าง แต่ก็อยากให้เห็นใจเราหน่อยว่า เราก็มีกฎหมายของเราอยู่ เมื่ออพยพเข้ามาโดยผิดกฎหมาย เราก็ต้องดำเนินคดีทั้งหมด แต่ถ้าอยู่นอกน่านน้ำ เราก็ดูแลตามหลักมนุษยธรรม และขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเขาว่าจะไปที่ไหน หากอยู่นอกน่านน้ำเราไม่สามารถไปทำอะไรเขาได้ แต่ถ้าคนเหล่านี้เข้ามาในน่านน้ำไทย ก็จะผิดกฎหมายทันที ฐานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งทุกประเทศต้องเคารพ ทุกประเทศก็มีกฎหมายของตัวเอง และทุกประเทศเขาก็มีปัญหามาตลอด คือ ไม่ให้ใครเข้าประเทศเหมือนกัน
ทั้งนี้ เลขาธิการยูเอ็น ยังได้แสดงความเป็นห่วงคนที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่อยากให้เราผลักดันไปที่อื่น ซึ่งเรื่องนี้ตนก็ยืนยันไปว่า ประเทศไทยรับอยู่แล้ว และทุกครั้งก็จะมีทหารเรือเข้าไปสำรวจ ไปถามเขาว่า สมัครใจจะไปที่ไหน ซึ่งหลักฐานก็มีทุกอย่าง ซึ่งกรณีคนเจ็บเมื่อเราพบ ก็ต้องเอาตัวออกมาเพื่อรักษา เป็นการดูแลตามหลักมนุษยธรรม
อย่างไรก็ตาม การที่เอาคนเหล่านี้เข้ามาแล้วดำเนินคดีตามกฎหมาย เราก็ต้องมาดูอีกว่า จะควบคุมเขาได้อย่างไร เพราะพื้นที่ที่เรามีอยู่ ไม่เพียงพอ ถ้าเข้ามามากๆ จะทำอย่างไร จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ไปดูพื้นที่ เพื่อที่จะควบคุมคนเหล่านี้ ยืนยันว่า เป็นศูนย์ควบคุม ไม่ใช่ศูนย์พักพิง หรือศูนย์อพยพ
นายกฯ กล่าวด้วยว่า การหารือในวันที่ 29 พ.ค.นี้ น่าจะได้ข้อสรุปมาพอสมควร ก็ต้องดูกันให้ชัดว่า ต้นทางจะทำอย่างไร กลางทาง และปลายทางจะทำอย่างไร เอากฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายของแต่ละประเทศมาดูกัน เพื่อหาแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งปกติหากดำเนินคดีกลุ่มคนที่เข้าเมืองผิดกฎหมายแล้วก็ต้องส่งกลับ หรือไม่ก็ติดคุกแทนค่าปรับ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น เราก็ต้องดูแลคนพวกนี้มากขึ้น
นอกจากนี้ ในเรื่องของอัตลักษณ์ของคนหลบหนีเข้าเมืองก็มีหลากหลาย เราก็ต้องแยกแยะ เพราะคนที่เข้ามา ไม่ใช่เฉพาะชาวโรฮีนจา ซึ่งทั้งหมดต้องเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง มาจากไหน ก็ส่งกลับไปประเทศนั้น แต่ทั้งหมดนี้จะไปคุยกันในที่ประชุม 15 ประเทศ ต้องให้ชัดว่า ประเทศต้นทางเหล่านั้น สามารถรับกลับไปได้หรือไม่ ถ้าไม่รับกลับ แล้วจะทำอย่างไร สำหรับตนในฐานะคนไทย ต้องคิดหนัก ซึ่งมองได้ 3 อย่างคือ
1. เรื่องของมนุษยธรรม ถ้าเห็นเรือก็จะเข้าไปพูดคุย หาอาหาร และสิ่งที่ต้องการให้ คนเจ็บก็รักษา นี่คือด้านมนุษยธรรม
2. เรื่องของกฎหมายไทย จะทำอย่างไรเมื่อดำเนินคดีเสร็จแล้วใครจะรับกลับ จะได้ไม่เป็นภาระกับเรามากนัก
3. ต้องดูประเทศต้นทาง ซึ่งในอาเซียน จะต้องไม่ทะเลาะกันในเรื่องนี้ ตนและผู้นำประเทศต่างๆ มีความเข้าใจกันทุกอย่าง รู้ดีว่าแต่ละประเทศมีข้อติดขัด และมีข้อจำกัด ซึ่งก็ให้กำลังใจซึ่งกันและกันมาตลอด ในส่วนของประเทศต้นทาง ตนเสนอต่อเลขาธิการยูเอ็นไปแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็น ยูเอ็น หรือสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้อพยพแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล (แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล) ต้องมาคุยกัน โดยวันที่ 29 พ.ค. จะมีตัวแทนมา ต้องคุยกันว่า จะเข้าไปดูแลคนพวกนี้ได้หรือไม่ โดยจะดูแลเรื่องการพัฒนา ไม่เกี่ยวกับการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น เพราะถ้าเอาการเมืองมาด้วย ก็จะตีกันหมด
เมื่อถามว่าจากการพูดคุยกับเลขาฯยูเอ็น ซึ่งรับปากว่า จะไปดูปัญหาที่ต้นทางให้เลยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เขาบอกว่าในแนวทางของยูเอ็น หากประชาคมไหน มีปัญหา ก็ต้องแก้ปัญหาประชาคมของตนเองให้ได้ โดยการสนับสนุนจากประชาคมโลกภายนอก ซึ่งตนได้พูดไปทั้งสองอย่าง คือจะแก้ปัญหาทั้งในอาเซียน และในไทย รวมถึงขอความร่วมมือสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ให้มาช่วยเราด้วยในการที่จะหามาตรการ โดยเฉพาะการดูแลที่ต้นทาง
เมื่อถามว่าเบื้องต้นองค์กรระหว่างประเทศจะสนับสนุนให้ความช่วยเหลืออย่างไร นายกฯ กล่าวว่า เขาจะมาฟังการประชุมในวันที่ 29 พ.ค.นี้ ก่อน ว่ามติเป็นอย่างไร ซึ่งตนบอกแล้วว่า ในอาเซียนต้องแก้ให้ได้ แล้วเสนอขึ้นมาเป็นมติโดยรวม แล้วเขาจะมาตรงไหนได้ก็จะว่าอีกที แต่เขาอยากให้ดูแลเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ซึ่งตนก็บอกว่า ไทยก็มีกฎหมายของเรา ทุกประเทศมีกฎหมายของแต่ละประเทศ ก็ต้องเคารพกันตรงนี้ด้วย ทำอย่างไรเพื่อจะไปด้วยกันได้ ข้อสำคัญประชาชนที่เดือดร้อน และอพยพโดยไม่ธรรมชาติ จะไม่ถูกมองเหมือนคนไม่มีค่า
**ยังไม่มีข้อมูล"นายพล"โยงค้ามนุษย์
เมื่อถามถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพบเอกสารที่มีชื่อทหาร ยศนายพล ร่วมกระทำผิดค้ามนุษย์อยู่ด้วย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอย่างมีอารมณ์โมโห ว่า "ใคร ชื่ออะไร เขายังไม่รายงานมา ก็ระบุชื่อมาสิ เอามา ทางผบ.ทบ. บอกแล้วว่า มีชื่อใครก็สอบสวนหมด แหมอะไรกันนักหนา ชอบไล่กันอยู่อย่างนี้ เขาลงโทษอยู่แล้ว ไม่ต้องกลัว และยิ่งผมอยู่ตรงนี้ใครจะไม่ลงโทษ บอกมากระทรวงไหนบ้าง คราวที่แล้วก็ทีนึง ไอ้ 100 คน ถามอยู่นั่นหล่ะ เจอของแข็ง ของนิ่ม อะไรก็ไม่รู้ เรื่องนี้ต้องให้เวลาเขาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และผมค่อยสั่ง ซึ่งเขาก็ยังไม่มีความผิดอะไร เพียงแต่ให้หลุดจากตรงที่มีปัญหา หากมีการร้องเรียนอะไรให้เอาออกมา เพื่อที่จะได้สอบสวน นี่คือหน้าที่รัฐบาลนี้ทำ ไม่ใช่รัฐบาลนี้จะไปชี้ใครผิดใครถูก ให้ติดคุก มันไม่ได้ " นายกรัฐมนตรี กล่าว
พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก และโฆษก คสช. กล่าวถึง กรณีมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตรวจพบว่ามีนายทหารยศนายพล เข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ โดยมีการโอนเงินเข้าบัญชี ว่า ยังไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งนี้หากมีมูลว่าทหารเข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ถูกดำเนินการตามขั้นตอนของกองทัพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ มาตรา 44 ในการดำเนินการ เพราะมี พ.ร.บ. การหลบหนีเข้าเมือง ถือเป็นกฎหมายที่ใช้ดำเนินการได้ หากมีผู้ต้องสงสัยที่เป็นทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็สามารถประสานขอตัวไปให้ข้อมูลได้อยู่แล้ว
ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาได้มีการสั่งการให้มีการกวดขัน หากพบมีทหารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือพัวพัน ก็จะถูกดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย ยืนยันไม่มีการปกป้อง และจะอำนวยความสะดวก
พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และ ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเอกสารบัญชีธนาคารนายทหารยศนายพล ที่ถูกตรวจพบระหว่างการถูกจับกุมในคดีขบวนการค้ามนุษย์โรฮีนจา ว่า ตอนนี้ยังไม่มีการแจ้งมาจากทางเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ ซึ่งที่ผ่านมา กองทัพบก ได้มีการปรับย้ายกำลังพลของกองทัพบก ตั้งแต่เมื่อช่วงเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ได้มีการหมุนเวียนตำแหน่ง แต่ไม่ได้เป็นความผิดของทหาร ที่รับผิดชอบ