ASTVผู้จัดการรายวัน - "ประจิน" เผยแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมระยะยาว 8 ปี ตั้งแต่ 2558-2565 และแผนเร่งด่วนปี 58 เม็ดเงินลงทุนรวมกว่า 8.3 หมื่นล้านบาท ด้านเอ็มดีตลาดหุ้นไทย "เกศรา" เปิดโผกลุ่มหุ้นที่จะได้รับอานิสงส์จากนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวในงานปาฐกถาพิเศษ “นโยบายคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” ว่า รัฐบาลเตรียมเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในะระยะยาว 8 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2565 โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในปี 2558-2559 ที่จะเร่งดำเนินการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะแบ่งดำเนินการในปีนี้ 6 เส้นทาง ระยะทางรวมกว่า 880 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้วงเงินในการลงทุนโครงการดังกล่าวกว่า 83,000 ล้านบาท
ส่วนในปี 2559 มีแผนจะพัฒนาเส้นทางระบบขนส่งทางรางเป็นระยะทางอีกกว่า 1,600 กิโลเมตร ซึ่งจะคาดว่าจะเพิ่มวงเงินขึ้นอีกประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในส่วนของโครงการที่จะพัฒนาระบบรางความเร็วสูงร่วมกับประเทศญี่ปุ่น ในเส้น 3 ทางได้แก่ กรุงเทพ-เชียงใหม่ กรุงเทพ-พัทยา-ระยอง และ กรุงเทพ-หัวหิน รวมถึง เส้นทาง กาญจนบุรี-กรุงเทพ-อรัญประเทศ -แหลมฉบัง จะมีการนำเสนอร่างการลงนามในบันทึกความร่วมมือ หรือ MOC เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบ คาดว่าจะสามารถร่างแผนงานแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งหลังจากลงนามความร่วมมือแล้วเสร็จ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2559 พร้อมทั้งจะตั้งคณะกรรมการร่วมทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้
"เส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพ-พัทยา-ระยอง และ กรุงเทพ-หัวหิน รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้กับนักลงทุนไทยเข้ามาดำเนินการเป็นหลักเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียนของไทย และยังเปิดโอกาสให้บริษัทที่เข้าร่วมในการดำเนินการโครงการนี้สามารถหาพันธมิตรต่างประเทศเข้ามาร่วมเสนอแผนงาน"
ด้่านนางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การผลักดันโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลถือเป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนไทยและต่างชาติติดตามความคืบหน้า โดยปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนในไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและจะได้รับประโยชน์จากระบบคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คิดเป็น 29%ของตลาดรวม เช่น กลุ่มบริการและรับเหมาก่อสร้าง สารสนเทศและการสื่อสาร พลังงานและสาธารณูปโภค ขนส่งและโลจิสติกส์
ขณะเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีมุมมองว่านโยบายและโครงการของรัฐจะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง และจะช่วยกระตุ้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และระบบคมนาคมที่สมบูรณ์ยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนของภูมิภาคในระยะยาว
สำหรับหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากนโยบายโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจการเงิน เช่น SCB,BBL, KTB, TISCO, KBANK กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง DCC, SCP, SCCC,DCON, TASCO กลุ่มธุรกิจบริการ และขนส่งโลจิสติกส์ AOT, NYT, BTS, BECL, BA
ขณะที่หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และบริการรับเหมาก่อสร้างที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากนโยบายโครงการดังกล่าว อาทิ BJCHI, CK, CNT, EMC, FOCUS, HYDRO, ITD, NWR, PAE, PREB, PLE, SRICHA, STEC, STPI, SYNTEC, TPOLY, TTCL, TRC และ UNIQ
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวในงานปาฐกถาพิเศษ “นโยบายคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” ว่า รัฐบาลเตรียมเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในะระยะยาว 8 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2565 โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในปี 2558-2559 ที่จะเร่งดำเนินการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะแบ่งดำเนินการในปีนี้ 6 เส้นทาง ระยะทางรวมกว่า 880 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้วงเงินในการลงทุนโครงการดังกล่าวกว่า 83,000 ล้านบาท
ส่วนในปี 2559 มีแผนจะพัฒนาเส้นทางระบบขนส่งทางรางเป็นระยะทางอีกกว่า 1,600 กิโลเมตร ซึ่งจะคาดว่าจะเพิ่มวงเงินขึ้นอีกประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในส่วนของโครงการที่จะพัฒนาระบบรางความเร็วสูงร่วมกับประเทศญี่ปุ่น ในเส้น 3 ทางได้แก่ กรุงเทพ-เชียงใหม่ กรุงเทพ-พัทยา-ระยอง และ กรุงเทพ-หัวหิน รวมถึง เส้นทาง กาญจนบุรี-กรุงเทพ-อรัญประเทศ -แหลมฉบัง จะมีการนำเสนอร่างการลงนามในบันทึกความร่วมมือ หรือ MOC เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบ คาดว่าจะสามารถร่างแผนงานแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งหลังจากลงนามความร่วมมือแล้วเสร็จ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2559 พร้อมทั้งจะตั้งคณะกรรมการร่วมทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้
"เส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพ-พัทยา-ระยอง และ กรุงเทพ-หัวหิน รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้กับนักลงทุนไทยเข้ามาดำเนินการเป็นหลักเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียนของไทย และยังเปิดโอกาสให้บริษัทที่เข้าร่วมในการดำเนินการโครงการนี้สามารถหาพันธมิตรต่างประเทศเข้ามาร่วมเสนอแผนงาน"
ด้่านนางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การผลักดันโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลถือเป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนไทยและต่างชาติติดตามความคืบหน้า โดยปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนในไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและจะได้รับประโยชน์จากระบบคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คิดเป็น 29%ของตลาดรวม เช่น กลุ่มบริการและรับเหมาก่อสร้าง สารสนเทศและการสื่อสาร พลังงานและสาธารณูปโภค ขนส่งและโลจิสติกส์
ขณะเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีมุมมองว่านโยบายและโครงการของรัฐจะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง และจะช่วยกระตุ้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และระบบคมนาคมที่สมบูรณ์ยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนของภูมิภาคในระยะยาว
สำหรับหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากนโยบายโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจการเงิน เช่น SCB,BBL, KTB, TISCO, KBANK กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง DCC, SCP, SCCC,DCON, TASCO กลุ่มธุรกิจบริการ และขนส่งโลจิสติกส์ AOT, NYT, BTS, BECL, BA
ขณะที่หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และบริการรับเหมาก่อสร้างที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากนโยบายโครงการดังกล่าว อาทิ BJCHI, CK, CNT, EMC, FOCUS, HYDRO, ITD, NWR, PAE, PREB, PLE, SRICHA, STEC, STPI, SYNTEC, TPOLY, TTCL, TRC และ UNIQ