สปสช. โอนเงินเหมาจ่ายรายหัวกว่า 3.9 หมื่นล้านบาท ให้ทุก รพ. แล้ว พร้อมส่งเงินค่าตอบแทนให้ทุก รพ. พื้นที่กันดาร เสี่ยงภัย ขาดสภาพคล่อง 3,000 ล้านบาท เร่งของบกลางช่วยเหลือเพิ่มเติมพื้นที่ภาคใต้ โปะเงินค่าจ้างบุคลากรเพิ่มจากเหตุความไม่สงบ ร่วม สธ. ตั้งคณะทำงานแก้ รพ. ขาดทุน
นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ระบบการแก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องนั้น มาตรการระยะเร่งด่วนที่ สธ.ดำเนินการร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คือ สปสช. ได้โอนเงินเหมาจ่ายรายหัวไปยังหน่วยบริการครบทุกเขตสุขภาพแล้ว กว่า 39,700 ล้านบาท รวมถึงเมื่อ มี.ค. ที่ผ่านมา ได้โอนเงินค่าตอบแทนไปยังหน่วยบริการในสังกัด สธ. ครอบคลุมหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร เสี่ยงภัย และหน่วยบริการที่ประสบปัญหาสภาพคล่องจำนวน 3,000 ล้านบาท และสำหรับโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่กันดาร และพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 137 แห่ง จำนวน 464 ล้านบาทแล้ว
นพ.อำนวย กล่าวว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง บอร์ด สปสช. ได้อนุมัติเงินในการปรับเกลี่ยในระบบของหน่วยบริการในสังกัด สธ. จำนวน 599 ล้านบาท ไปยังเขตสุขภาพ 3 เขต ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 1 2 และ 12 ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตภาคเหนือและภาคใต้ มีโรงพยาบาลตามชายแดนและแบกรับปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาประชาชนที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยที่ต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ความไม่สงบ จำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรมากกว่าหน่วยบริการภาคอื่นโดยเฉพาะพยาบาลซึ่งได้มีการจัดสรรเพิ่มมากกว่าพื้นที่อื่นถึง 3,000 ตำแหน่ง ทำให้มีภาระจากการเพิ่มตำแหน่งประมาณ 624 ล้านบาท ซึ่งบอร์ด สปสช.ได้มีมติเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2557 ขอใช้งบประมาณกลางช่วยเหลือเพิ่มเติม ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
“ขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการร่วม สธ. และ สปสช. 1 ชุด โดยมี น.ส.นวพร เรืองสกุล เป็นประธานคณะกรรมการ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่มาของปัญหาการขาดสภาพคล่อง และจัดกลุ่มให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ทุรกันดาร จำนวน 137 แห่ง ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนเป็นการเฉพาะ และโรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เหล่านี้ แต่เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องเช่นกันได้แก่ พื้นที่ที่มีประชากรเบาบางกว่าพื้นที่อื่นๆ คณะกรรมการชุดดังกล่าว จะดูข้อมูลการเงินการบัญชี การจัดการ วางระบบแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับโรงพยาบาลที่มีปัญหาในระยะยาวและเบ็ดเสร็จขึ้น เพื่อให้คลายความกังวลให้ผู้ทำงานในพื้นที่ สามารถจัดบริการประชาชนทุกคนได้อย่างเต็มศักยภาพและมีคุณภาพ” นพ.อำนวย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ระบบการแก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องนั้น มาตรการระยะเร่งด่วนที่ สธ.ดำเนินการร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คือ สปสช. ได้โอนเงินเหมาจ่ายรายหัวไปยังหน่วยบริการครบทุกเขตสุขภาพแล้ว กว่า 39,700 ล้านบาท รวมถึงเมื่อ มี.ค. ที่ผ่านมา ได้โอนเงินค่าตอบแทนไปยังหน่วยบริการในสังกัด สธ. ครอบคลุมหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร เสี่ยงภัย และหน่วยบริการที่ประสบปัญหาสภาพคล่องจำนวน 3,000 ล้านบาท และสำหรับโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่กันดาร และพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 137 แห่ง จำนวน 464 ล้านบาทแล้ว
นพ.อำนวย กล่าวว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง บอร์ด สปสช. ได้อนุมัติเงินในการปรับเกลี่ยในระบบของหน่วยบริการในสังกัด สธ. จำนวน 599 ล้านบาท ไปยังเขตสุขภาพ 3 เขต ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 1 2 และ 12 ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตภาคเหนือและภาคใต้ มีโรงพยาบาลตามชายแดนและแบกรับปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาประชาชนที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยที่ต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ความไม่สงบ จำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรมากกว่าหน่วยบริการภาคอื่นโดยเฉพาะพยาบาลซึ่งได้มีการจัดสรรเพิ่มมากกว่าพื้นที่อื่นถึง 3,000 ตำแหน่ง ทำให้มีภาระจากการเพิ่มตำแหน่งประมาณ 624 ล้านบาท ซึ่งบอร์ด สปสช.ได้มีมติเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2557 ขอใช้งบประมาณกลางช่วยเหลือเพิ่มเติม ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
“ขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการร่วม สธ. และ สปสช. 1 ชุด โดยมี น.ส.นวพร เรืองสกุล เป็นประธานคณะกรรมการ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่มาของปัญหาการขาดสภาพคล่อง และจัดกลุ่มให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ทุรกันดาร จำนวน 137 แห่ง ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนเป็นการเฉพาะ และโรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เหล่านี้ แต่เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องเช่นกันได้แก่ พื้นที่ที่มีประชากรเบาบางกว่าพื้นที่อื่นๆ คณะกรรมการชุดดังกล่าว จะดูข้อมูลการเงินการบัญชี การจัดการ วางระบบแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับโรงพยาบาลที่มีปัญหาในระยะยาวและเบ็ดเสร็จขึ้น เพื่อให้คลายความกังวลให้ผู้ทำงานในพื้นที่ สามารถจัดบริการประชาชนทุกคนได้อย่างเต็มศักยภาพและมีคุณภาพ” นพ.อำนวย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่