ตั้งโต๊ะแถลงยุติขัดแย้ง รพ.- นายหน้าประกัน สปสช. รักษาการปลัด สธ. เดินเกมสร้างปรองดองหลัง “ปลัดณรงค์” ถูกสั่งย้าย จูบปากบัตรทองตั้งคณะกรรมการร่วม เร่งรัดการใช้งบประมาณ โอนงบรายหัว ร่วมดันของบเพิ่มขึ้นปี 2559 สธ. ได้งบลงทุนเพิ่ม 8,000 ล้านบาท สปสช. ได้งบเพิ่มอีก 10,000 ล้านบาท
วันนี้ (26 มี.ค.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรักษาการปลัด สธ. แถลงข่าวการเดินหน้าพัฒนาระบบสุขภาพร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาต (สปสช.) ตามนโยบายรัฐบาล ว่า ยอมรับว่าที่ผ่านมา สธ. และ สปสช. มีความเห็นต่าง แต่มีจุดหมายเหมือนกันคือให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี คงต้องหันหน้ามาทำงานร่วมกัน ซึ่งคนทำงานทั้ง สธ. และ สปสช. ต่างก็เป็นพี่น้อง โดยจากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด จาก 2 หน่วยงาน เพื่อเป็นกลไกแก้ไขอุปสรรคในการทำงานต่างๆ ทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2558 ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยจะโอนงบเหมาจ่ายรายหัวให้หน่วยบริการให้ได้ 80% ในต้น เม.ย. นี้ นอกจากนี้ จะเพิ่มงบ สธ. ในปีงบประมาณ 2559 โดยเฉพาะงบลงทุนจะได้เพิ่มเป็น 18,000 ล้านบาท จากเดิม 10,000 ล้านบาท ซึ่ง ครม. อนุมัติแล้ว ส่วน สปสช. จะเพิ่มงบประมาณบัตรทองอีก 10,000 ล้านบาท และจะทำงานร่วมกันในเรื่องการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า งบที่ผลักดันเพิ่มเติม 10,000 ล้านบาทนั้น จะรวมอยู่ทั้งในงบเหมาจ่ายรายหัวและงบอื่นๆ โดยจะเป็นงบเพิ่มเติมในการจัดระบบดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 600 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นครั้งแรก โดยจะนำงบไปรวมกับกองทุนสุขภาพตำบลที่มีงบหมุนเวียนทั่วประเทศปีละกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งจำนวนนี้ 500 ล้านบาทจะใช้ดำเนินการเพื่อให้ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยอัพฤกษ์ อัมพาต เด็กเล็กเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ สปสช. จะช่วยร่วมผลักดันนโยบาย 10 เรื่องของ รมว.สาธารณสุข เช่น ทีมหมอครอบครัวที่ทำงานเชิงรุกด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า บุคลากรส่วนภูมิภาคบางกลุ่มยังเห็นต่างกับระบบบริหารจัดการ สปสช. จะสร้างความเข้าใจอย่างไร นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า การจะตั้งลูกตุ้มที่แกว่งไปมาทั้ง 2 ด้านให้สมดุลนั้นต้องใช้เวลา เช่นเดียวกับเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้ว เจ้าหน้าที่ใน สปสช. เขต ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 - 90 ล้วนมาจากคน สธ. ซึ่งล้วนเป็นพี่น้องกันหมด เป็นรากเหง้าเดียวกัน
เมื่อถามถึงการที่ รมว.สธ. แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาปัญหาสถานะทางการเงิน และปรับปรุงระบบการเงินและบัญชีของหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เพื่อแก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดทุน นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินมาช่วย ซึ่งหลังจากนี้จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อลงพื้นที่ หาข้อมูลในการพิจารณาปัจจัยในการทำให้โรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง และแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งการวางแนวทางจัดทำผังบัญชีของโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อให้เป็นผังบัญชีมาตรฐาน ตรวจสอบได้ ที่สำคัญ จะต้องมีการติดตามเฝ้าระวังประเมินผลสถานะทางการเงิน หรืออาจแต่งตั้งจัดจ้างผู้ประกอบวิชาชีพทางบัญชีมาช่วย เพราะต้องยอมรับว่าโรงพยาบาลแต่ละแห่งไม่ได้มีนักบัญชีทั้งหมด
“นอกจากนี้ ยังเตรียมเงินตอบแทน 3,000 ล้านบาท เพื่อกระจายให้พื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่ห่างไกล ขณะที่เงินที่ตัดจากเงินเดือนบุคลากรร้อยละ 1 ประมาณ 600 ล้านบาท เป็นการกันเงินไว้สำหรับโรงพยาบาลที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ก็จะให้ในเขตที่มีปัญหาหนักโดยเฉพาะ เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ส่วนการช่วยเหลือกลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะและสิทธิก็มีการขอ ครม.เพื่อขยายบุคคลเพิ่ม 280,000 คน เข้ากองทุนคืนสิทธิ ทั้งหมดคือการทำงานเพื่อแก้ปัญหาให้บุคลากรอยู่ได้ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ” นพ.สุรเชษฐ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า โรงพยาบาลขาดทุนถูกมองว่ามีส่วนจากค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันหรือไม่ นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ยังต้องคุยในรายละเอียด ขณะนี้ได้ให้มหาวิทยาลัยนเรศวรศึกษาอยู่ โดยพบว่าค่าตอบแทน 100 บาท มี 53 บาท คือ ค่าอยู่เวร ส่วนรายละเอียดจะปรับแก้อย่างไรให้สอดคล้องกับความเป็นจริง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน ต.ค. นี้ ซึ่งจะเป็นภาระหน้าที่ของปลัด สธ. คนใหม่พอดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 มี.ค.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรักษาการปลัด สธ. แถลงข่าวการเดินหน้าพัฒนาระบบสุขภาพร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาต (สปสช.) ตามนโยบายรัฐบาล ว่า ยอมรับว่าที่ผ่านมา สธ. และ สปสช. มีความเห็นต่าง แต่มีจุดหมายเหมือนกันคือให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี คงต้องหันหน้ามาทำงานร่วมกัน ซึ่งคนทำงานทั้ง สธ. และ สปสช. ต่างก็เป็นพี่น้อง โดยจากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด จาก 2 หน่วยงาน เพื่อเป็นกลไกแก้ไขอุปสรรคในการทำงานต่างๆ ทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2558 ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยจะโอนงบเหมาจ่ายรายหัวให้หน่วยบริการให้ได้ 80% ในต้น เม.ย. นี้ นอกจากนี้ จะเพิ่มงบ สธ. ในปีงบประมาณ 2559 โดยเฉพาะงบลงทุนจะได้เพิ่มเป็น 18,000 ล้านบาท จากเดิม 10,000 ล้านบาท ซึ่ง ครม. อนุมัติแล้ว ส่วน สปสช. จะเพิ่มงบประมาณบัตรทองอีก 10,000 ล้านบาท และจะทำงานร่วมกันในเรื่องการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า งบที่ผลักดันเพิ่มเติม 10,000 ล้านบาทนั้น จะรวมอยู่ทั้งในงบเหมาจ่ายรายหัวและงบอื่นๆ โดยจะเป็นงบเพิ่มเติมในการจัดระบบดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 600 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นครั้งแรก โดยจะนำงบไปรวมกับกองทุนสุขภาพตำบลที่มีงบหมุนเวียนทั่วประเทศปีละกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งจำนวนนี้ 500 ล้านบาทจะใช้ดำเนินการเพื่อให้ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยอัพฤกษ์ อัมพาต เด็กเล็กเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ สปสช. จะช่วยร่วมผลักดันนโยบาย 10 เรื่องของ รมว.สาธารณสุข เช่น ทีมหมอครอบครัวที่ทำงานเชิงรุกด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า บุคลากรส่วนภูมิภาคบางกลุ่มยังเห็นต่างกับระบบบริหารจัดการ สปสช. จะสร้างความเข้าใจอย่างไร นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า การจะตั้งลูกตุ้มที่แกว่งไปมาทั้ง 2 ด้านให้สมดุลนั้นต้องใช้เวลา เช่นเดียวกับเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้ว เจ้าหน้าที่ใน สปสช. เขต ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 - 90 ล้วนมาจากคน สธ. ซึ่งล้วนเป็นพี่น้องกันหมด เป็นรากเหง้าเดียวกัน
เมื่อถามถึงการที่ รมว.สธ. แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาปัญหาสถานะทางการเงิน และปรับปรุงระบบการเงินและบัญชีของหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เพื่อแก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดทุน นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินมาช่วย ซึ่งหลังจากนี้จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อลงพื้นที่ หาข้อมูลในการพิจารณาปัจจัยในการทำให้โรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง และแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งการวางแนวทางจัดทำผังบัญชีของโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อให้เป็นผังบัญชีมาตรฐาน ตรวจสอบได้ ที่สำคัญ จะต้องมีการติดตามเฝ้าระวังประเมินผลสถานะทางการเงิน หรืออาจแต่งตั้งจัดจ้างผู้ประกอบวิชาชีพทางบัญชีมาช่วย เพราะต้องยอมรับว่าโรงพยาบาลแต่ละแห่งไม่ได้มีนักบัญชีทั้งหมด
“นอกจากนี้ ยังเตรียมเงินตอบแทน 3,000 ล้านบาท เพื่อกระจายให้พื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่ห่างไกล ขณะที่เงินที่ตัดจากเงินเดือนบุคลากรร้อยละ 1 ประมาณ 600 ล้านบาท เป็นการกันเงินไว้สำหรับโรงพยาบาลที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ก็จะให้ในเขตที่มีปัญหาหนักโดยเฉพาะ เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ส่วนการช่วยเหลือกลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะและสิทธิก็มีการขอ ครม.เพื่อขยายบุคคลเพิ่ม 280,000 คน เข้ากองทุนคืนสิทธิ ทั้งหมดคือการทำงานเพื่อแก้ปัญหาให้บุคลากรอยู่ได้ และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ” นพ.สุรเชษฐ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า โรงพยาบาลขาดทุนถูกมองว่ามีส่วนจากค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันหรือไม่ นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ยังต้องคุยในรายละเอียด ขณะนี้ได้ให้มหาวิทยาลัยนเรศวรศึกษาอยู่ โดยพบว่าค่าตอบแทน 100 บาท มี 53 บาท คือ ค่าอยู่เวร ส่วนรายละเอียดจะปรับแก้อย่างไรให้สอดคล้องกับความเป็นจริง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน ต.ค. นี้ ซึ่งจะเป็นภาระหน้าที่ของปลัด สธ. คนใหม่พอดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่