**เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับบวรศักดิ์และคณะ จะเกิดขึ้นตามกระแสเรียกร้องของประชาชน หลังจากที่ครม.และ คสช.ยึกยักอยู่นาน สุดท้ายก็ต้านทานแรงกดดันไม่ไหว ต้องแก้ไขร่าง รธน.ชั่วคราว ปี 2557 เพื่อเปิดทางให้มีการทำประชามติ
ขั้นตอนนี้เป็นเรื่องที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะจะมีความหมายต่ออนาคตประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ได้เปิดโอกาสให้มีการร่างรัฐธรรมนูญได้ 7 ชั่วโคตร ทำไม่เสร็จก็เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ จึงมี 3 ประเด็นที่ควรติดตาม
1 . ถ้าทำประชามติผ่าน คสช.จะแปลงร่างไปเป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศที่กำหนดจำนวนไว้ 15 คน เท่ากับ คสช.พอดีหรือไม่ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้หรือไม่ เพราะถือว่าไม่ผิดคำพูดเรื่องตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากเป็นตำแหน่งใหม่ ที่อ้างว่าเกี่ยวกับการปฏิรูป จึงไม่ต้องอยู่บนเงื่อนไขการตรวจสอบแบบนักการเมือง ทั้งๆ ที่อำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้นั้น ถือว่า “ครอบรัฐบาลเลือกตั้ง”ไว้อีกชั้นหนึ่ง ไม่แตกต่างจากการเป็นรัฐบาลเอง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหา“รัฐซ้อนรัฐ”ขึ้นมาในอนาคต
2. การเปิดช่องในร่างรัฐธรรมนูญเรื่องคนนอกเป็นนายกรัฐมนตรี จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ใครบางคนกลับไปรับตำแหน่งนายกอีกครั้งหรือไม่ เพราะที่อ้างว่า ส.ส.ก็ต้องเลือกส.ส.ด้วยกันนั้น ประวัติศาสตร์ชัดเจนว่า พรรคการเมืองจับมือกันไปเชิญ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาเป็นนายกรัฐมนตรีถึงสองสมัย จนเกิดคำพูดว่า “ผมพอแล้ว”พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ จึงได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
ที่สำคัญคือ การเปิดช่องแบบเนียนๆ โดยเริ่มจากเลือกส.ส.เป็นนายกฯเสียงเกินครึ่ง แต่ถ้าเลือกคนนอกเป็นนายกฯ ต้องใช้เสียงสองในสาม ถ้าทั้งสองกรณีนี้มีปัญหา เมื่อครบสามสิบวันไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญได้ ให้ประธานสภาฯ นำรายชื่อคนที่มีคะแนนสูงสุด กราบบังคมทูลเกล้าฯ แต่งตั้งภายใน 15 วัน
เท่ากับว่า คนที่ได้รับเลือกแม้จะคะแนนไม่ถึงตามเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด ก็ได้เป็นนายกฯ ไปโดยปริยาย เท่ากับเปิดโอกาสให้คนนอกเป็นนายกฯ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เสียงสองในสามที่เขียนไว้อำพรางวาระซ่อนเร้นในการสืบทอดอำนาจ
3. ถ้าประชามติไม่ผ่าน ก็กลับมานับหนึ่งใหม่ อำนาจยังคงอยู่ในมือคสช. แบบที่ไม่สามารถกำหนดเวลาได้ว่าจะยาวนานแค่ไหน เพราะไม่มีการระบุให้ชัดเจนว่า จะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาแทนหากร่างดังกล่าวไม่ผ่านการทำประชามติ นอกจากเปิดช่องว่า ให้ตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างชุดใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เท่านั้น
ทั้ง 3 แนวทางนี้ เห็นได้ชัดเจนว่า มีการวางแผนอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่ต้น เพื่อให้มีการคงรักษาอำนาจต่อไป ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่มีการเลือกตั้งก็ตาม
ถ้ามีการเลือกตั้ง คสช. ก็แปลงสภาพมาคุมรัฐบาลอีกที ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง ก็บริหารต่อแบบชิวๆ เพราะคิดว่าประชาชนสนับสนุน
แต่เชื่อเถอะว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แรงสนับสนุนที่เคยได้มากเท่ามาก จะกลายเป็นแรงต้านมากยิ่งกว่าได้ด้วยเช่นเดียวกัน
เพราะทุกอย่างจะค่อยๆ ปรากฏความจริงว่า การรัฐประหารครั้งนี้ ทำเพื่อการปฏิรูปอย่างแท้จริง หรือทำเพื่อจัดสรรอำนาจให้ลงตัวระหว่าง “กลุ่มอำนาจ”กับ “นายทุน”
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะทยอยคลอดออกมา จะเป็นเครื่องชี้วัดชัดเจนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ทำเพื่อคนทำผิดเผาบ้านเผาเมือง หรือเพื่อประเทศ เพราะแค่ในรัฐธรรมนูญก็เปิดทางอภัยโทษแบบผิดปกติ และเข้าข่ายล่วงละเมิดพระราชอำนาจแล้ว ในกฎหมายลูกจะยัดไส้อะไรอีกแค่ไหน
คนไทยอาจยึดติดกับตัวบุคคลก็จริง แต่ถ้าปรากฏความจริงว่า “บุคคล”นั้น ไม่ใช่ “ของจริง”ก็มีประวัติศาสตร์อยู่แล้วว่า พลเมืองที่ตื่นรู้ รักความถูกต้อง จะลุกขึ้นมาสู้ ไม่ว่ากฎหมายกี่ฉบับก็เอาไม่อยู่
อย่าให้ประเทศไทยต้องเดินไปถึงจุดนั้นเลย ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ จะทบทวน และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้วยการให้ความจริงกับประชาชน แทนการด่ากราดก็จะเป็นคุณูปการอย่างยิ่งต่อบ้านเมือง
แต่ถ้าคิดผิดหลงทาง เพราะอยู่ในช่วงที่คนแวดล้อมประสานเสียงว่า “ได้ครับผม ดีครับท่าน เหมาะสมแล้วครับนาย”ก็จะตัดสินใจโดยใช้ “อำนาจ”เป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ยึด"ประเทศ"ตามที่พูดอยู่ทุกวัน
**เส้นทางต่อจากนี้จึงถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งต่อบ้านเมือง ประชาชนต้องมีความหนักแน่น และเข้มแข็งมากพอที่จะแยกแยะถูกผิด ชั่วดี โดยไม่หลงไปกับภาพมายาที่สร้างขึ้นมาว่า “นอกจากลุงตู่แล้ว ไม่มีใครปฏิรูปประเทศได้”
ขั้นตอนนี้เป็นเรื่องที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะจะมีความหมายต่ออนาคตประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ได้เปิดโอกาสให้มีการร่างรัฐธรรมนูญได้ 7 ชั่วโคตร ทำไม่เสร็จก็เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ จึงมี 3 ประเด็นที่ควรติดตาม
1 . ถ้าทำประชามติผ่าน คสช.จะแปลงร่างไปเป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศที่กำหนดจำนวนไว้ 15 คน เท่ากับ คสช.พอดีหรือไม่ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้หรือไม่ เพราะถือว่าไม่ผิดคำพูดเรื่องตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากเป็นตำแหน่งใหม่ ที่อ้างว่าเกี่ยวกับการปฏิรูป จึงไม่ต้องอยู่บนเงื่อนไขการตรวจสอบแบบนักการเมือง ทั้งๆ ที่อำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้นั้น ถือว่า “ครอบรัฐบาลเลือกตั้ง”ไว้อีกชั้นหนึ่ง ไม่แตกต่างจากการเป็นรัฐบาลเอง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหา“รัฐซ้อนรัฐ”ขึ้นมาในอนาคต
2. การเปิดช่องในร่างรัฐธรรมนูญเรื่องคนนอกเป็นนายกรัฐมนตรี จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ใครบางคนกลับไปรับตำแหน่งนายกอีกครั้งหรือไม่ เพราะที่อ้างว่า ส.ส.ก็ต้องเลือกส.ส.ด้วยกันนั้น ประวัติศาสตร์ชัดเจนว่า พรรคการเมืองจับมือกันไปเชิญ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาเป็นนายกรัฐมนตรีถึงสองสมัย จนเกิดคำพูดว่า “ผมพอแล้ว”พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ จึงได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
ที่สำคัญคือ การเปิดช่องแบบเนียนๆ โดยเริ่มจากเลือกส.ส.เป็นนายกฯเสียงเกินครึ่ง แต่ถ้าเลือกคนนอกเป็นนายกฯ ต้องใช้เสียงสองในสาม ถ้าทั้งสองกรณีนี้มีปัญหา เมื่อครบสามสิบวันไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญได้ ให้ประธานสภาฯ นำรายชื่อคนที่มีคะแนนสูงสุด กราบบังคมทูลเกล้าฯ แต่งตั้งภายใน 15 วัน
เท่ากับว่า คนที่ได้รับเลือกแม้จะคะแนนไม่ถึงตามเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด ก็ได้เป็นนายกฯ ไปโดยปริยาย เท่ากับเปิดโอกาสให้คนนอกเป็นนายกฯ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เสียงสองในสามที่เขียนไว้อำพรางวาระซ่อนเร้นในการสืบทอดอำนาจ
3. ถ้าประชามติไม่ผ่าน ก็กลับมานับหนึ่งใหม่ อำนาจยังคงอยู่ในมือคสช. แบบที่ไม่สามารถกำหนดเวลาได้ว่าจะยาวนานแค่ไหน เพราะไม่มีการระบุให้ชัดเจนว่า จะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาแทนหากร่างดังกล่าวไม่ผ่านการทำประชามติ นอกจากเปิดช่องว่า ให้ตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างชุดใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เท่านั้น
ทั้ง 3 แนวทางนี้ เห็นได้ชัดเจนว่า มีการวางแผนอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่ต้น เพื่อให้มีการคงรักษาอำนาจต่อไป ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่มีการเลือกตั้งก็ตาม
ถ้ามีการเลือกตั้ง คสช. ก็แปลงสภาพมาคุมรัฐบาลอีกที ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง ก็บริหารต่อแบบชิวๆ เพราะคิดว่าประชาชนสนับสนุน
แต่เชื่อเถอะว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แรงสนับสนุนที่เคยได้มากเท่ามาก จะกลายเป็นแรงต้านมากยิ่งกว่าได้ด้วยเช่นเดียวกัน
เพราะทุกอย่างจะค่อยๆ ปรากฏความจริงว่า การรัฐประหารครั้งนี้ ทำเพื่อการปฏิรูปอย่างแท้จริง หรือทำเพื่อจัดสรรอำนาจให้ลงตัวระหว่าง “กลุ่มอำนาจ”กับ “นายทุน”
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะทยอยคลอดออกมา จะเป็นเครื่องชี้วัดชัดเจนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ทำเพื่อคนทำผิดเผาบ้านเผาเมือง หรือเพื่อประเทศ เพราะแค่ในรัฐธรรมนูญก็เปิดทางอภัยโทษแบบผิดปกติ และเข้าข่ายล่วงละเมิดพระราชอำนาจแล้ว ในกฎหมายลูกจะยัดไส้อะไรอีกแค่ไหน
คนไทยอาจยึดติดกับตัวบุคคลก็จริง แต่ถ้าปรากฏความจริงว่า “บุคคล”นั้น ไม่ใช่ “ของจริง”ก็มีประวัติศาสตร์อยู่แล้วว่า พลเมืองที่ตื่นรู้ รักความถูกต้อง จะลุกขึ้นมาสู้ ไม่ว่ากฎหมายกี่ฉบับก็เอาไม่อยู่
อย่าให้ประเทศไทยต้องเดินไปถึงจุดนั้นเลย ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ จะทบทวน และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้วยการให้ความจริงกับประชาชน แทนการด่ากราดก็จะเป็นคุณูปการอย่างยิ่งต่อบ้านเมือง
แต่ถ้าคิดผิดหลงทาง เพราะอยู่ในช่วงที่คนแวดล้อมประสานเสียงว่า “ได้ครับผม ดีครับท่าน เหมาะสมแล้วครับนาย”ก็จะตัดสินใจโดยใช้ “อำนาจ”เป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ยึด"ประเทศ"ตามที่พูดอยู่ทุกวัน
**เส้นทางต่อจากนี้จึงถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งต่อบ้านเมือง ประชาชนต้องมีความหนักแน่น และเข้มแข็งมากพอที่จะแยกแยะถูกผิด ชั่วดี โดยไม่หลงไปกับภาพมายาที่สร้างขึ้นมาว่า “นอกจากลุงตู่แล้ว ไม่มีใครปฏิรูปประเทศได้”