สนช.เตรียมชำแหละงบฯ ปี 59 พฤหัสนี้ ครม.คาดแนวโน้มเศรษฐกิจปีหน้าโตเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์ อิงเศรษฐกิจโลก อัตราเงินเฟ้อต่ำ พร้อมวาง 8 ยุทธศาสตร์ใช้จ่ายบริหารประเทศ
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้นัดประชุมในวันที่ 21 พ.ค. เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 วงเงิน 2,720,000,000,000 บาท ในวาระที่ 1 โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จะมาแถลงต่อสนช.ถึงเหตุผลและหลักการในการเสนองบประมาณจำนวนดังกล่าวในเวลา 11.00 น. จากนั้นจะเปิดโอกาสให้สมาชิกสนช.อภิปรายแสดงความคิดเห็นก่อนลงมติรับหลักการ และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาปรับลดงบประมาณต่อไป
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้จัดทำบันทึกสาระสำคัญโดยระบุถึงภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2559 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.7-4.7 ใกล้ชิดกับการขยายตัวในปี 2558 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก ซึ่งคาดว่าจะทำให้การส่งออกจะสามารถกลับขยายตัวได้มากขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสำคัญมีแนวโน้มจะมีเสถียรภาพและเริ่มปรับเปลี่ยนสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้อุปสงค์ภาคเอกชนดีขึ้น รวมทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง ตามกรอบการขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น และการดำเนินโครงการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐมีความคืบหน้าและชัดเจนตามลำดับ ทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ
อย่างไรก็ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2559 ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญประกอบด้วย แนวโน้มการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของตลาดการเงินสหรัฐฯและตลาดการเงินโลก การปรับของผู้ผลิตน้ำมันสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศโอเปก ที่อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเร็วกว่าการคาดการณ์ รวมทั้งการใช้นโยบายขยายปริมาณเงินในประเทศยังเป็นปัจจัยกดดันด้านค่าเงินและเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวภาคส่งออก สำหรับเสถียรภาพในปี 2559 คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์ต่ำร้อยละ 1.1-2.1 แต่ปรับตัวจากปี 2558 ตามแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลก
งบรายจ่ายประจำปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณปี 2558 จำนวน 145,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 โดยวงเงินงบประมาณดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ
ขณะที่ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ มีด้วย 8 ยุทธศาสตร์ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ สรุปดังนี้
1.ยุทธศาสตร์เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ จำนวน 247,342.7 ล้านบาท เพื่อวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเร่งรัดและผลักดันให้มีการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคง และยั่งยืน แก่เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย พัฒนารายได้จากการท่องเที่ยวและการบริการ ส่งเสริมการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ
2.ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ จำนวน 240,418.3 ล้านบาท เพื่อรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ เทิดทูลและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
3.ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเป็นธรรม จำนวน 222,375.9 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาว เสริมสร้างภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็ง
4.ยุทธศาสตร์การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต จำนวน 994,414.6 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการขยายโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม พัฒนาด้านสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน
5.ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 71,060.4 ล้านบาท เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรและธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพให้มีการใช้ประโยชน์ในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายอย่างสมดุล
6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม จำนวน 27,335.5 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างประเทศไทยให้เป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้โดยพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์
7.ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จำนวน 9,099.3 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและขยายความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศต่างๆ ส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือในการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งการให้บริการด้านการต่างประเทศ ตลอดจนดูแลสิทธิแรงงานไทยในต่างประเทศ
8.ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จำนวน 364,645.7 ล้านบาท เพื่อสร้างสมดุลด้านการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้มีความพร้อม ส่งเสริมให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีบทบาทสำคัญในระดับพื้นที่อย่างบูรณาการ
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้นัดประชุมในวันที่ 21 พ.ค. เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 วงเงิน 2,720,000,000,000 บาท ในวาระที่ 1 โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จะมาแถลงต่อสนช.ถึงเหตุผลและหลักการในการเสนองบประมาณจำนวนดังกล่าวในเวลา 11.00 น. จากนั้นจะเปิดโอกาสให้สมาชิกสนช.อภิปรายแสดงความคิดเห็นก่อนลงมติรับหลักการ และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาปรับลดงบประมาณต่อไป
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้จัดทำบันทึกสาระสำคัญโดยระบุถึงภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2559 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.7-4.7 ใกล้ชิดกับการขยายตัวในปี 2558 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก ซึ่งคาดว่าจะทำให้การส่งออกจะสามารถกลับขยายตัวได้มากขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสำคัญมีแนวโน้มจะมีเสถียรภาพและเริ่มปรับเปลี่ยนสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้อุปสงค์ภาคเอกชนดีขึ้น รวมทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง ตามกรอบการขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น และการดำเนินโครงการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐมีความคืบหน้าและชัดเจนตามลำดับ ทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ
อย่างไรก็ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2559 ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญประกอบด้วย แนวโน้มการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของตลาดการเงินสหรัฐฯและตลาดการเงินโลก การปรับของผู้ผลิตน้ำมันสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศโอเปก ที่อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเร็วกว่าการคาดการณ์ รวมทั้งการใช้นโยบายขยายปริมาณเงินในประเทศยังเป็นปัจจัยกดดันด้านค่าเงินและเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวภาคส่งออก สำหรับเสถียรภาพในปี 2559 คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์ต่ำร้อยละ 1.1-2.1 แต่ปรับตัวจากปี 2558 ตามแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลก
งบรายจ่ายประจำปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณปี 2558 จำนวน 145,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 โดยวงเงินงบประมาณดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ
ขณะที่ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ มีด้วย 8 ยุทธศาสตร์ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ สรุปดังนี้
1.ยุทธศาสตร์เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ จำนวน 247,342.7 ล้านบาท เพื่อวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเร่งรัดและผลักดันให้มีการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคง และยั่งยืน แก่เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย พัฒนารายได้จากการท่องเที่ยวและการบริการ ส่งเสริมการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ
2.ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ จำนวน 240,418.3 ล้านบาท เพื่อรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ เทิดทูลและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
3.ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเป็นธรรม จำนวน 222,375.9 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาว เสริมสร้างภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็ง
4.ยุทธศาสตร์การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต จำนวน 994,414.6 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการขยายโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม พัฒนาด้านสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน
5.ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 71,060.4 ล้านบาท เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรและธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพให้มีการใช้ประโยชน์ในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายอย่างสมดุล
6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม จำนวน 27,335.5 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างประเทศไทยให้เป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้โดยพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์
7.ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จำนวน 9,099.3 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและขยายความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศต่างๆ ส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือในการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งการให้บริการด้านการต่างประเทศ ตลอดจนดูแลสิทธิแรงงานไทยในต่างประเทศ
8.ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จำนวน 364,645.7 ล้านบาท เพื่อสร้างสมดุลด้านการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้มีความพร้อม ส่งเสริมให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีบทบาทสำคัญในระดับพื้นที่อย่างบูรณาการ