“ประจิน”ลุ้นบพ.ญี่ปุ่น (JCAB) ผ่อนปรนมาตรการห้ามเช่าเหมาลำไทยต่อหลังข้อตกลงเดิมครบกำหนดสิ้นเดือนพ.ค.นี้ เผย 1มิ.ย.ใช้คู่มือตรวจมาตรฐานสายการบิน (AOC) ฉบับปรับปรุงใหม่ตามกรอบ ICAO ได้ มั่นใจไม่กระทบแอร์ไลน์ไทย พร้อมรายงาน”นายกฯ” 14 พ.ค.แล้ว แผนปรับโครงสร้างแยกบพ.
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ได้รายงานความคืบหน้าการแก้ไขเพื่อปลดล็อกข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (SSC) ตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้เข้ามาตรวจสอบมาตรฐานของกรมการบินพลเรือน (บพ.) ของประเทศไทยตามโครงการตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยสากล (Universal Safety Oversight Audit Program; USOAP) ต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเร็วกว่าเดิมที่กำหนด วันที่ 22 พ.ค. โดยได้เสนอขอปรับโครงสร้าง บพ.เป็น 2 ส่วนคือ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งชาติ และ กรมการท่าอากาศยาน และขอให้พิจารณาเรื่องบทบาทหน้าที่และอัตรากำลังโดยใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อลดขั้นตอนในการดำเนินการ ซึ่งหากนายกฯเห็นชอบเบื้องต้นจะนำเสนอรายละเอียดโครงสร้างได้ภายในเดือนพ.ค.นี้ ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลักและกฎหมายรอง เช่น พ.ร.บ.การเดินอากาศและพ.ร.บ.การขนส่งทางอากาศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสนอขอให้คณะกรรมการในระดับกระทรวงที่มีผู้แทนจากกฤษฎีกาเข้ามาร่วมดำเนินการ จากเดิมที่จะต้องเสนอเรื่องไปที่กฤษฎีกาเพื่อพิจารณา
ทั้งนี้ เชื่อว่าจะได้รับความเห็นชอบในหลักการเรื่องปรับโครงการ บพ.และการเพิ่มบุคลากร และเรื่องการให้คณะกรรมการระดับกระทรวงปรับปรุงเรื่องกฎหมายส่วนในเรื่องคณะกรรมการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือผู้รอดชีวิต (National Search and Rescue) และคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน (Accident and Incident investigations) จะขออนุมัติหลักการขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรีหากได้รับความเห็นชอบทั้งหมดจะดำเนินการไปพร้อมกันทั้งหมด
“ผมได้มอบหมายให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเร่งรัดการดำเนินการเรื่องการรับรองการขนส่งสินค้าอันตราย (Dangerous Goods) ซึ่งขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 90% และในวันที่ 19-20 พ.ค.นี้จะประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) เพื่อให้ความเห็นเรื่องโครงสร้างและการพัฒนาสนามบินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน”
กรณีที่ทางกรมการบินเรือนของประเทศญี่ปุ่นหรือ Japan Civil Aviation Bureau (JCAB) ผ่อนปรนคำสั่งห้ามสายการบินเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ไฟล์ท) ของไทยเพิ่มเที่ยวบินหรือเปิดเส้นทางบินใหม่ ซึ่งจะสิ้นสุดปลายเดือนพ.ค.นี้นั้น พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ล่าสุดที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้รับเรื่องนี้ไปพิจารณา ซึ่งเชื่อว่า ทาง JCAB จะเข้าใจและให้โอกาสไทย
โดยระบุว่าญี่ปุ่นมีกฎหมายของตัวเอง การพิจารณาจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งหลังจากนี้ทางผู้แทนบพ.จะได้นัดหมายไปหารือกับทาง JCAB ต่อไป
สำหรับกระบวนการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (AOC Certification )ได้มีการปรับปรุงคู่มือจากระบบ Manual และ Check List เป็นฉบับใหม่แล้ว ดังนั้นการตรวจสอบสายการบิน ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้ จะใช้คู่มือฉบับใหม่ที่ปรับปรุงแล้วภายใต้กรอบ ICAO
ส่วนการตรวจสอบ 4 สายการหลัก คือ สายการบินไทย, บางกอกแอร์เวย์ส, แอร์เอเชียและนกสกู๊ต ซึ่งคาดว่าจะเริ่ม 20 มิ.ย.ใช้เวลาประมาณ 20 วัน ซึ่งเป็นเป้าหมายแรก จากนั้นจะตรวจเป็น 16 สายการบินและครบ 28 สายการบินภายใน 1 เดือนครึ่งหรือเสร็จในต้นเดือนส.ค. โดยตั้งใจว่าเมื่อมีการตรวจครบ 4 สายการบินแล้วจะประสานกับ ICAO เพื่อขอให้พิจารณาปลดล็อค SSC ก่อนได้หรือไม่ ซึ่งแนวโน้มคาดว่าจะมีการพิจารณาหลังครบ 28 สายการบินก่อน อย่างไรก็ตาม ในการปรับปรุงแก้ปัญหาทั้งหมดไทยมีความตั้งใจและสามารถดำเนินการได้จริงซึ่งจะต้องทำให้ทาง ICAO เข้าใจ
สำหรับกรณีที่ทางบพ.ของจีนได้เข้ามาตรวจสอบ 5 สายการบินของไทยที่บินไปจีนนั้น เป็นการตรวจในขอบเขตเดียวกับการตรวจสอบระดับลานจอด (Ramp Inspection) เพื่อดูความพร้อมของอากาศยาน นักบินบลูกเรือ บริการและมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ซึ่งได้รับรายงานจากบพ.ว่า ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์มีข้อสังเกตเล็กน้อยที่ไม่ใช่ประเด็นหลักซึ่งยอมรับได้
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ได้รายงานความคืบหน้าการแก้ไขเพื่อปลดล็อกข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (SSC) ตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้เข้ามาตรวจสอบมาตรฐานของกรมการบินพลเรือน (บพ.) ของประเทศไทยตามโครงการตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยสากล (Universal Safety Oversight Audit Program; USOAP) ต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเร็วกว่าเดิมที่กำหนด วันที่ 22 พ.ค. โดยได้เสนอขอปรับโครงสร้าง บพ.เป็น 2 ส่วนคือ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งชาติ และ กรมการท่าอากาศยาน และขอให้พิจารณาเรื่องบทบาทหน้าที่และอัตรากำลังโดยใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อลดขั้นตอนในการดำเนินการ ซึ่งหากนายกฯเห็นชอบเบื้องต้นจะนำเสนอรายละเอียดโครงสร้างได้ภายในเดือนพ.ค.นี้ ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลักและกฎหมายรอง เช่น พ.ร.บ.การเดินอากาศและพ.ร.บ.การขนส่งทางอากาศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสนอขอให้คณะกรรมการในระดับกระทรวงที่มีผู้แทนจากกฤษฎีกาเข้ามาร่วมดำเนินการ จากเดิมที่จะต้องเสนอเรื่องไปที่กฤษฎีกาเพื่อพิจารณา
ทั้งนี้ เชื่อว่าจะได้รับความเห็นชอบในหลักการเรื่องปรับโครงการ บพ.และการเพิ่มบุคลากร และเรื่องการให้คณะกรรมการระดับกระทรวงปรับปรุงเรื่องกฎหมายส่วนในเรื่องคณะกรรมการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือผู้รอดชีวิต (National Search and Rescue) และคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน (Accident and Incident investigations) จะขออนุมัติหลักการขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรีหากได้รับความเห็นชอบทั้งหมดจะดำเนินการไปพร้อมกันทั้งหมด
“ผมได้มอบหมายให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเร่งรัดการดำเนินการเรื่องการรับรองการขนส่งสินค้าอันตราย (Dangerous Goods) ซึ่งขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 90% และในวันที่ 19-20 พ.ค.นี้จะประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) เพื่อให้ความเห็นเรื่องโครงสร้างและการพัฒนาสนามบินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน”
กรณีที่ทางกรมการบินเรือนของประเทศญี่ปุ่นหรือ Japan Civil Aviation Bureau (JCAB) ผ่อนปรนคำสั่งห้ามสายการบินเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ไฟล์ท) ของไทยเพิ่มเที่ยวบินหรือเปิดเส้นทางบินใหม่ ซึ่งจะสิ้นสุดปลายเดือนพ.ค.นี้นั้น พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ล่าสุดที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้รับเรื่องนี้ไปพิจารณา ซึ่งเชื่อว่า ทาง JCAB จะเข้าใจและให้โอกาสไทย
โดยระบุว่าญี่ปุ่นมีกฎหมายของตัวเอง การพิจารณาจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งหลังจากนี้ทางผู้แทนบพ.จะได้นัดหมายไปหารือกับทาง JCAB ต่อไป
สำหรับกระบวนการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (AOC Certification )ได้มีการปรับปรุงคู่มือจากระบบ Manual และ Check List เป็นฉบับใหม่แล้ว ดังนั้นการตรวจสอบสายการบิน ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้ จะใช้คู่มือฉบับใหม่ที่ปรับปรุงแล้วภายใต้กรอบ ICAO
ส่วนการตรวจสอบ 4 สายการหลัก คือ สายการบินไทย, บางกอกแอร์เวย์ส, แอร์เอเชียและนกสกู๊ต ซึ่งคาดว่าจะเริ่ม 20 มิ.ย.ใช้เวลาประมาณ 20 วัน ซึ่งเป็นเป้าหมายแรก จากนั้นจะตรวจเป็น 16 สายการบินและครบ 28 สายการบินภายใน 1 เดือนครึ่งหรือเสร็จในต้นเดือนส.ค. โดยตั้งใจว่าเมื่อมีการตรวจครบ 4 สายการบินแล้วจะประสานกับ ICAO เพื่อขอให้พิจารณาปลดล็อค SSC ก่อนได้หรือไม่ ซึ่งแนวโน้มคาดว่าจะมีการพิจารณาหลังครบ 28 สายการบินก่อน อย่างไรก็ตาม ในการปรับปรุงแก้ปัญหาทั้งหมดไทยมีความตั้งใจและสามารถดำเนินการได้จริงซึ่งจะต้องทำให้ทาง ICAO เข้าใจ
สำหรับกรณีที่ทางบพ.ของจีนได้เข้ามาตรวจสอบ 5 สายการบินของไทยที่บินไปจีนนั้น เป็นการตรวจในขอบเขตเดียวกับการตรวจสอบระดับลานจอด (Ramp Inspection) เพื่อดูความพร้อมของอากาศยาน นักบินบลูกเรือ บริการและมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ซึ่งได้รับรายงานจากบพ.ว่า ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์มีข้อสังเกตเล็กน้อยที่ไม่ใช่ประเด็นหลักซึ่งยอมรับได้