00 เวลานี้กระแสผู้อพยพชาวโรฮีนจา กำลังขึ้นสูง เพราะกำลังเป็นที่สนใจของโลกมากขึ้น และที่สำคัญสายตากำลังจับจ้องมาที่ไทย ในฐานะเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็น "ทางผ่าน" ของผู้อพยพกลุ่มนี้ว่าจะมีท่าทีอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร จะยอมให้ตั้งศูนย์อพยพตามแรงกดดันของมหาอำนาจตะวันตกจอม "แส่" หรือไม่ ขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่งนี่คือโอกาสในการ "สร้างชื่อ" พิสูจน์กึ๋นของผู้นำไทยในยุคปัจจุบันคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าอยู่ในระดับใดกันแน่ !!
00 ในท่ามกลางแรงกดดันจากทั่วทิศทั้งในประเทศที่เป็นคนไทยด้วยกันเอง ที่กำลังจับตามองว่า จะดำเนินนโยบายกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร จะยอมตั้งค่ายอพยพในชื่อเนียกว่า "ศูนย์พักพิงชั่วคราว" หรือ ศูนย์กักกันชั่วคราว อ้างว่าเพื่อรอขั้นตอนการดำเนินคดีกับผู้หลบหนีเข้าเมือง ก่อนผลักดันออกไป โดยมีการเล็งพื้นที่ตามเกาะแก่งในภาคใต้ไว้รองรับ แต่คำถามก็คือ เรากำลังทำตามแรงกดดันของมหาอำนาจ เช่น สหรัฐฯ ขณะเดียวกันน่าจับตามองว่าผู้นำ คสช. กำลังใช้โอกาสนี้เพื่อต่อรองให้ได้รับการยอมรับจากตะวันตก หลังจากก่อนหน้านี้ เคยดิสเครดิตมาตลอดถึงขั้น "ห้ามเข้าประเทศ" มาแล้ว
00 อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดกรณีผู้อพยพชาวโรฮีนจาบานปลายขึ้นมา ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่ต้องมีบทบาทสำคัญขึ้นมาทันที เพราะทั้งสหรัฐฯ โดยรมว.ต่างประเทศ จอห์น แครี่ ถึงกับยกหูต่อสายกลางดึกถึง รมว.ต่างประเทศไทย พล.อ.ธนศักดิ์ ปฏิมาประกร แล้วน่าสังเกตก็คือ จากนั้นเราก็ประกาศให้มีการจัดหาสถานที่พักพิงชั่วคราวให้ผู้อพยพพวกนี้ทันที พร้อมทั้งประกาศท่าทีสนับสนุนไทยในการเป็นเจ้าภาพประชุมตัวแทนประเทศที่ได้รับผลกระทบจากผู้อพยพโรฮีนจา ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ ที่กรุงเทพฯ
00 แน่นอนว่า การมีมนุษยธรรมกับเพื่อนมนุษย์ ไม่ว่าเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ใด ศาสนาใด เป็นเรื่องที่ต้องทำโดยจิตสำนึกอยู่แล้ว แต่การทำตัวเป็น "ม้าอารี" แบบเกินฐานะ ประเภท "สร้างเครดิต" แบบไม่มองตัวเอง มันก็ต้องคิดให้หนัก อีกอย่างในเมื่อทุกฝ่ายแม้กระทั่งชาวโรฮีนจา เองก็ยังรับว่า "ไทยคือทางผ่าน" ไม่ใช่ประเทศปลายทาง เราก็ต้องย้ำท่าทีนี้ว่า "ให้ผ่านไปที่อื่น" โดยการส่งน้ำส่งข้าวตามความจำเป็นเพื่อประทังชีวิต แต่ไม่ใช่ให้ที่พักพิง ไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราว กึ่งชั่วคราว เพราะนี่คือปัญหา ทั้งที่ต้นทางและปลายทาง ยังไม่มีทางออก มีแต่ "พวกที่อ้างมนุษยชนแล้วเท่" เท่านั้นที่ได้ประโยชน์
00 ชายแดนใต้โดยเฉพาะที่ยะลาร้อนระอุขึ้นมาอีกครั้ง จากการสร้างสถานการณ์ดิสเครดิตฝ่ายความมั่นคงในกลางใจเมือง ด้วยระเบิดขนาดเล็กแบบพกพารวมหลายสิบจุด และด้วย "กลิ่นแปลกๆ" นี่เองที่ทำให้ รมช.กลาโหม และ ผบ.ทบ. พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ต้องบินด่วนลงพื้นที่ อำนวยการป้องกันและรับมือไม่ให้ลุกลามออกไป และกำลังจับตา "กลุ่มการเมืองในพื้นที" ที่เคลื่อนไหวออกมาพร้อมๆ กับ "ชายแก่ชื่อไม่ใหญ่" คนหนึ่ง ที่ประกาศความพร้อม"กลับมา" พอดี มันน่าคิดเหมือนกันนะ !!
00 พูดเรื่อง รธน.ฉบับใหม่กันบ้าง ล่าสุด อลงกรณ์ พลบุตร สปช. เผยว่า ประธาน สปช. เทียนฉาย กีระนันทน์ ได้ส่งมติของสปช. ที่สนับสนุนให้ทำประชามติ ร่าง รธน.ใหม่ทั้งฉบับกับรัฐบาล และ คสช.แล้ว แต่ที่พิเศษก็คือ มีการขยายเวลาในกระบวนการทำประชามติดังกล่าว เป็น 6 เดือน จากเดิมที่กำหนดใน รธน.ชั่วคราวว่า ภายใน 3 เดือน อ้างว่าเกรงจะไม่ทัน เพราะต้องส่งสำเนารธน. ให้ประชาชน 47 ล้านคน พิจารณาโดยละเอียด นั่นก็หมายความว่า การเลือกตั้งก็ต้องเลื่อนออกไปอีกไม่น้อยกว่า ครึ่งปี แต่ถึงอย่างไรก็ต้องจับตาผลการประชุมระหว่าง ครม. กับคสช. ว่าจะเอาแบบไหน ถ้าเห็นตาม ก็ต้องแก้ไขรธน.ฉบับชั่วคราว อย่างน้อยสองเรื่องแล้วคือ เรื่องการทำประชามติ และเรื่องขยายเวลาจากเดิม 3 เดือนเป็น 6 เดือน !!
00 ในท่ามกลางแรงกดดันจากทั่วทิศทั้งในประเทศที่เป็นคนไทยด้วยกันเอง ที่กำลังจับตามองว่า จะดำเนินนโยบายกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร จะยอมตั้งค่ายอพยพในชื่อเนียกว่า "ศูนย์พักพิงชั่วคราว" หรือ ศูนย์กักกันชั่วคราว อ้างว่าเพื่อรอขั้นตอนการดำเนินคดีกับผู้หลบหนีเข้าเมือง ก่อนผลักดันออกไป โดยมีการเล็งพื้นที่ตามเกาะแก่งในภาคใต้ไว้รองรับ แต่คำถามก็คือ เรากำลังทำตามแรงกดดันของมหาอำนาจ เช่น สหรัฐฯ ขณะเดียวกันน่าจับตามองว่าผู้นำ คสช. กำลังใช้โอกาสนี้เพื่อต่อรองให้ได้รับการยอมรับจากตะวันตก หลังจากก่อนหน้านี้ เคยดิสเครดิตมาตลอดถึงขั้น "ห้ามเข้าประเทศ" มาแล้ว
00 อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดกรณีผู้อพยพชาวโรฮีนจาบานปลายขึ้นมา ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่ต้องมีบทบาทสำคัญขึ้นมาทันที เพราะทั้งสหรัฐฯ โดยรมว.ต่างประเทศ จอห์น แครี่ ถึงกับยกหูต่อสายกลางดึกถึง รมว.ต่างประเทศไทย พล.อ.ธนศักดิ์ ปฏิมาประกร แล้วน่าสังเกตก็คือ จากนั้นเราก็ประกาศให้มีการจัดหาสถานที่พักพิงชั่วคราวให้ผู้อพยพพวกนี้ทันที พร้อมทั้งประกาศท่าทีสนับสนุนไทยในการเป็นเจ้าภาพประชุมตัวแทนประเทศที่ได้รับผลกระทบจากผู้อพยพโรฮีนจา ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ ที่กรุงเทพฯ
00 แน่นอนว่า การมีมนุษยธรรมกับเพื่อนมนุษย์ ไม่ว่าเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ใด ศาสนาใด เป็นเรื่องที่ต้องทำโดยจิตสำนึกอยู่แล้ว แต่การทำตัวเป็น "ม้าอารี" แบบเกินฐานะ ประเภท "สร้างเครดิต" แบบไม่มองตัวเอง มันก็ต้องคิดให้หนัก อีกอย่างในเมื่อทุกฝ่ายแม้กระทั่งชาวโรฮีนจา เองก็ยังรับว่า "ไทยคือทางผ่าน" ไม่ใช่ประเทศปลายทาง เราก็ต้องย้ำท่าทีนี้ว่า "ให้ผ่านไปที่อื่น" โดยการส่งน้ำส่งข้าวตามความจำเป็นเพื่อประทังชีวิต แต่ไม่ใช่ให้ที่พักพิง ไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราว กึ่งชั่วคราว เพราะนี่คือปัญหา ทั้งที่ต้นทางและปลายทาง ยังไม่มีทางออก มีแต่ "พวกที่อ้างมนุษยชนแล้วเท่" เท่านั้นที่ได้ประโยชน์
00 ชายแดนใต้โดยเฉพาะที่ยะลาร้อนระอุขึ้นมาอีกครั้ง จากการสร้างสถานการณ์ดิสเครดิตฝ่ายความมั่นคงในกลางใจเมือง ด้วยระเบิดขนาดเล็กแบบพกพารวมหลายสิบจุด และด้วย "กลิ่นแปลกๆ" นี่เองที่ทำให้ รมช.กลาโหม และ ผบ.ทบ. พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ต้องบินด่วนลงพื้นที่ อำนวยการป้องกันและรับมือไม่ให้ลุกลามออกไป และกำลังจับตา "กลุ่มการเมืองในพื้นที" ที่เคลื่อนไหวออกมาพร้อมๆ กับ "ชายแก่ชื่อไม่ใหญ่" คนหนึ่ง ที่ประกาศความพร้อม"กลับมา" พอดี มันน่าคิดเหมือนกันนะ !!
00 พูดเรื่อง รธน.ฉบับใหม่กันบ้าง ล่าสุด อลงกรณ์ พลบุตร สปช. เผยว่า ประธาน สปช. เทียนฉาย กีระนันทน์ ได้ส่งมติของสปช. ที่สนับสนุนให้ทำประชามติ ร่าง รธน.ใหม่ทั้งฉบับกับรัฐบาล และ คสช.แล้ว แต่ที่พิเศษก็คือ มีการขยายเวลาในกระบวนการทำประชามติดังกล่าว เป็น 6 เดือน จากเดิมที่กำหนดใน รธน.ชั่วคราวว่า ภายใน 3 เดือน อ้างว่าเกรงจะไม่ทัน เพราะต้องส่งสำเนารธน. ให้ประชาชน 47 ล้านคน พิจารณาโดยละเอียด นั่นก็หมายความว่า การเลือกตั้งก็ต้องเลื่อนออกไปอีกไม่น้อยกว่า ครึ่งปี แต่ถึงอย่างไรก็ต้องจับตาผลการประชุมระหว่าง ครม. กับคสช. ว่าจะเอาแบบไหน ถ้าเห็นตาม ก็ต้องแก้ไขรธน.ฉบับชั่วคราว อย่างน้อยสองเรื่องแล้วคือ เรื่องการทำประชามติ และเรื่องขยายเวลาจากเดิม 3 เดือนเป็น 6 เดือน !!