พล.ท.นาวิน ดำริกาญจน์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กรณีพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างฯ ระบุว่า กมธ.ยกร่างฯ อาจจะมีการยืดหยุ่น ปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ อาทิ เรื่องคณะกรรมการกลั่นกรองผู้สมัครส.ว.จังหวัด หรือ ตัด แก้ไขเนื้อหาใน ภาค 4 การปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง มาตรา 298 เรื่องการมีคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ ว่า เข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของ พล.อ.เลิศรัตน์ ไม่ใช่มติของกมธ.ยกร่างฯ ซึ่งทุกมาตรา ทุกคำพูด สามารถแก้ไขได้หมด จะปรับ ตัด ลด แต่จะทำอะไรต้องดูให้ดี เพราะทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันหมด และที่ พล.อ.เลิศรัตน์พูดมานั้น ก็มีโอกาสเป็นไปได้หมด เพราะเป็นประเด็นที่มีปัญหา เป็นเรื่องที่คนพูดกันเยอะ แต่อย่ายึดติดว่าเป็นมติกมธ.ยกร่างฯ เพราะยังไม่มีประชุม ดังนั้นในช่วง 60 วันนี้ ทุกอย่างเปลี่ยนได้หมด เพราะยังไม่จบ
" ทำขนมอย่าบ่นก่อนว่าทำไมใส่แป้งก่อน ใส่ไข่ก่อน ช่างมันเถอะ รอชิมดีกว่า ทุกอย่างจะชัดเจนรอให้ครบ 60 วัน หลังจากนี้เนื่องจากทุกเรื่องต้องถกเถียงกัน มันเชื่อมโยงกันหมด หากมีการเอาส่วนไหนออกไป ก็ต้องเติมส่วนอื่นเข้ามา" พล.ท.นาวิน กล่าว
พล.ท.นาวิน กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่ต้องแก้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนตัวคิดว่ามีมากมายหลายเรื่อง แต่ในหมวดปฏิรูป เราคงไม่ยุ่ง เพราะเรื่องนี้ค่อนข้างลงตัวแล้ว ส่วนในเรื่องของการเมือง อย่างไรต้องปรับแน่นอน เพราะมีการบ่นกันเยอะ อาทิ เรื่องที่มาส.ส. - ส.ว. รูปแบบการลงคะแนน โดยประเด็นเหล่านี้ เราอาจจะปรับนิดหน่อย แล้วมันก็ดีได้ ซึ่งส่วนใหญ่ประเด็นที่มีปัญหา เราก็คิดแล้วจะมีการแก้อย่างไร ซึ่งทุกคนก็มีแนวทางของตนเอง โดยอะไรที่มีปัญหาอย่านิ่งเฉยคิดไม่เหมือนกันก็เอามาดู จะได้แก้ได้ถูกต้อง
ส่วนกระแสเรียกร้องให้มีการปรับแก้ไข เรื่องสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์นั้น ต้องถามก่อนอยากมีการปฏิรูปหรือไม่ หากอยากมี แล้วไม่มีสภาขับเคลื่อน ไม่มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ จะเดินหน้าอย่างไร จะให้นักการเมืองมาทำหรือ สรุป คือต้องมีคนมาเดินหน้า แต่อาจจะมาดูว่าควรมีสององค์กร หรือหนึ่งองค์กร เพื่อเป็นตัวตายตัวแทน โดยหากจำนวนคน หรือที่มาไม่เหมาะสม เราก็อาจจะมาดูเหตุผลที่เขาวิจารณ์ แต่อย่างไรคิดว่า กมธ.ยกร่างฯ คงไม่เปลี่ยนหลักการ เราคงไม่ยอมขนาดนั้น
** หนุนตัดกก.กลั่นกรองผู้สมัครส.ว.
นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ มีแนวโน้มยอมแก้ไขเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาส.ว. และตัดกรรมการกลั่นกรองผู้สมัครส.ว.เลือกตั้งออก ว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะหลายฝ่ายก็มีการออกมาแสดงความคิดเห็น และท้วงติงในประเด็นดังกล่าว ซึ่งการเลือกตั้งส.ว. 77 จังหวัด ก็ควรให้ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ตัดสินใจที่จะเลือกตั้ง ส.ว.ของตนเอง ไม่ใช่ต้องให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองผู้สมัครส.ว.จังหวัด แล้วมาให้ประชาชนเลือก
" อย่างการคัดเลือกสปช. ที่ต้องผ่านคณะกรรมการการคัดเลือก ก็ถูกข้อครหาว่าเล่นพรรคเล่นพวก ล็อกตัวบุคคล มีการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยว ดังนั้น หากยกเลิกก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะตัดปัญหาตรงนี้อออกไป เชื่อว่าจะลดกระแสการต่อต้านรัฐธรรมนูญลงได้" นายพีระศักดิ์ กล่าว
**เตรียมสรุปความเห็นส่งกมธ.ยกร่างฯ
นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า ในวันที่ 18 พ.ค.นี้ กลุ่มของตนที่เข้าชื่อกัน 26 คน มี น.ส.รสนา โตสิตระกูล สปช.ด้านพลังงาน นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ สปช.ด้านสื่อสารมวลชน นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธาน กมธ.ปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานกมธ.ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น เตรียมสรุปคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ในประเด็นเรื่องสื่อสารมวลชน เรื่องการคอร์รัปชัน เรื่องพลเมือง และเรื่องศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
ส่วนกรณีที่ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ไม่มั่นใจว่า จะสามารถสร้างความปรองดองได้สำเร็จ เพราะ 2 พรรคการเมืองใหญ่ ยังแสดงจุดยืนเดิม นายประสาร มองว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ นายบวรศักดิ์ คงเพราะต้องการบอกกล่าวกับสังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้พร้อมกับนำไปพิจารณาว่า ควรทำอย่างไร ว่าท่าทีของผู้ขัดแย้งไม่ลดราวาศอก ยังอยู่ในสภาพเดิม ยังคงมีมิจฉาวาทะคำพูดที่ไม่ส่อแสดงให้เกิดความปรองดอง เพราะถ้าอยากจะปรองดอง ก็ต้องนำไปคิดไม่ใช่ยังแค้นฝังหุ่นอยู่แบบนี้
** ลุ้นครม.-คสช.เดินหน้าประชามติ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ อดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้รับฟังความเห็นภาคส่วนต่างๆ อย่างจริงใจ เพื่อให้รัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับจากประชาชน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไปได้ จึงต้องคำนึงถึงหลัก 5 ประการคือ 1. หลักการประชาธิปไตยเสรี ไม่ใช่หลักการประชาธิปไตยชี้นำ 2. คำนึงถึงสิทธิที่เท่าเทียมของประชาชน 3. สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน 4. ยึดโยงหลักนิติรัฐ นิติธรรม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ 5. ควรหลีกเลี่ยงการบัญญัติข้อความที่จะทำให้เกิดความเข้าใจว่าเป็น"วาระซ่อนเร้น"
"ผมเชื่อว่า กรรมาธิการยกร่างฯ มีเจตนาดี แต่ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ได้รับการยอมรับ โอกาสที่ประเทศจะเดินหน้าก็ลำบาก เพราะจะมีโรคแทรกซ้อน ดังนั้นจากนี้ไป จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดที่กรรมาธิการฯ จะทำให้รัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับ ด้วยการพิจารณาข้อเสนอของทุกฝ่าย"
ส่วนการทำประชามตินั้น นายองอาจ กล่าวว่า นับตั้งแต่กรรมาธิการฯ มีมติให้ทำประชามติส่งไปยัง ครม. และ คสช.แล้ว แต่ที่ผ่านมารัฐบาลเคยพูดว่าเสนอได้ แต่ไม่มีน้ำหนัก จึงอยากให้มองข้อเสนอใหม่ จะมองว่าไม่มีน้ำหนักไม่ได้ เนื่องจากความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้รัฐบาลและคสช.ให้มีประชามติในร่างรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่ารัฐบาล และคสช. จะหลีกเลี่ยงที่จะผูกมัดตัวเองในเรื่องการทำประชามติเพราะกลัวคนเข้าใจว่าต้องการอยู่ในอำนาจนั้น ในขณะนี้ความเห็น สปช. และ สนช. ต่างก็เห็นว่าควรทำประชามติ ดังนั้นรัฐบาลและคสช. จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า จะทำประชามติหรือไม่อย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลสำคัญในการตัดสินใจเรื่องนี้ เพื่อให้ประเทศเดินหน้า
นายองอาจ กล่าวว่า เวลาในการตัดสินใจมีไม่มากแล้ว เนื่องจากวันสุดท้ายของการปรับปรุงเนื้อหา จะจบในวันที่ 29 ก.ค. จากนั้น วันที่ 6 ส.ค. ที่ประชุม สปช. ก็จะลงมติรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญนี้
"พล.อ.ประยุทธ์ มีเวลาไม่มาก ถ้าตัดสินใจให้ทำประชามติ เพราะถ้าสปช. รับรัฐธรรมนูญนี้ กระบวนการก็คงเกิดหลัง สปช. รับมติ หรือแม้ สปช.ไม่รับรัฐธรรมนูญ กระบวนการทำประชามติ ก็ควรดำเนินการโดยแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2557 จึงเหลือเวลาอีกไม่มาก วันที่ 19 พ.ค.ที่จะมีการประชุมแม่น้ำสองสาย จะเป็นโอกาสสำคัญของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่จะพิสูจน์ตัวเองว่า เข้ามาแก้ไขประเทศบ้านเมืองให้สัมฤทธิ์ผลหรือไม่ จึงหวังว่า การทำประชามติ จะมีส่วนสำคัญทำให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ และสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐธรรมนูญใหม่" นายองอาจ กล่าว
**สปช.เปิดเว็บไซต์"เสียงปฏิรูป"
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช เลขานุการ กมธ.วิสามัญประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 พ.ค. เวลา 09.00 น. ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา 1 นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พร้อมด้วคณะกรรมาธิการวิสามัญประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป สภาปฏิรูปแห่งชาติ และสมาชิก สปช. จะร่วมกันแถลงข่าว เปิดตัวเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์"เสียงปฏิรูป" เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการเผยแพร่การทำงานของ สปช. ในเชิงรุก รวมถึงความคืบหน้าในการปฏิรูปด้านต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ ทั้งการทำงาน ของสปช. และ สปช.ประจำจังหวัดต่างๆ ตลอดถึงรายงานความคืบหน้าของคณะกรรมาธิการปฏิรูปของ สปช. ทั้ง 18 คณะ และคณะกรรมาธิการวิสามัญของ สปช. อีก 5 คณะ
ทั้งนี้ เว็บไซต์ดังกล่าว จะเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารไปถึงประชาชนให้ได้รับรู้ในเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญ อาทิ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสปช. ความเคลื่อนไหวของกฎหมายฉบับต่างๆ รวมถึงความคืบหน้า และความเคลื่อนไหวในการร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งในส่วนของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และภาคส่วนต่างๆ เป็นต้น
"ทางกมธ.วิสามัญประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูปมั่นใจว่า เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ "เสียงปฏิรูป"จะเป็นศูนย์กลางการให้ข่าวสารของสปช.ให้กับประชาชนได้เข้าใจถึงการทำงานด้านการปฎิรูปของสปช.ได้ตลอดเวลา โดยเรามีทีมงานที่เป็นมืออาชีพด้านการข่าว รวมถึงมีสปช.เข้ามาทำเว็บไซต์ดังกล่าวด้วย" นายบุญเลิศ กล่าว
" ทำขนมอย่าบ่นก่อนว่าทำไมใส่แป้งก่อน ใส่ไข่ก่อน ช่างมันเถอะ รอชิมดีกว่า ทุกอย่างจะชัดเจนรอให้ครบ 60 วัน หลังจากนี้เนื่องจากทุกเรื่องต้องถกเถียงกัน มันเชื่อมโยงกันหมด หากมีการเอาส่วนไหนออกไป ก็ต้องเติมส่วนอื่นเข้ามา" พล.ท.นาวิน กล่าว
พล.ท.นาวิน กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่ต้องแก้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนตัวคิดว่ามีมากมายหลายเรื่อง แต่ในหมวดปฏิรูป เราคงไม่ยุ่ง เพราะเรื่องนี้ค่อนข้างลงตัวแล้ว ส่วนในเรื่องของการเมือง อย่างไรต้องปรับแน่นอน เพราะมีการบ่นกันเยอะ อาทิ เรื่องที่มาส.ส. - ส.ว. รูปแบบการลงคะแนน โดยประเด็นเหล่านี้ เราอาจจะปรับนิดหน่อย แล้วมันก็ดีได้ ซึ่งส่วนใหญ่ประเด็นที่มีปัญหา เราก็คิดแล้วจะมีการแก้อย่างไร ซึ่งทุกคนก็มีแนวทางของตนเอง โดยอะไรที่มีปัญหาอย่านิ่งเฉยคิดไม่เหมือนกันก็เอามาดู จะได้แก้ได้ถูกต้อง
ส่วนกระแสเรียกร้องให้มีการปรับแก้ไข เรื่องสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์นั้น ต้องถามก่อนอยากมีการปฏิรูปหรือไม่ หากอยากมี แล้วไม่มีสภาขับเคลื่อน ไม่มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ จะเดินหน้าอย่างไร จะให้นักการเมืองมาทำหรือ สรุป คือต้องมีคนมาเดินหน้า แต่อาจจะมาดูว่าควรมีสององค์กร หรือหนึ่งองค์กร เพื่อเป็นตัวตายตัวแทน โดยหากจำนวนคน หรือที่มาไม่เหมาะสม เราก็อาจจะมาดูเหตุผลที่เขาวิจารณ์ แต่อย่างไรคิดว่า กมธ.ยกร่างฯ คงไม่เปลี่ยนหลักการ เราคงไม่ยอมขนาดนั้น
** หนุนตัดกก.กลั่นกรองผู้สมัครส.ว.
นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ มีแนวโน้มยอมแก้ไขเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาส.ว. และตัดกรรมการกลั่นกรองผู้สมัครส.ว.เลือกตั้งออก ว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะหลายฝ่ายก็มีการออกมาแสดงความคิดเห็น และท้วงติงในประเด็นดังกล่าว ซึ่งการเลือกตั้งส.ว. 77 จังหวัด ก็ควรให้ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ตัดสินใจที่จะเลือกตั้ง ส.ว.ของตนเอง ไม่ใช่ต้องให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองผู้สมัครส.ว.จังหวัด แล้วมาให้ประชาชนเลือก
" อย่างการคัดเลือกสปช. ที่ต้องผ่านคณะกรรมการการคัดเลือก ก็ถูกข้อครหาว่าเล่นพรรคเล่นพวก ล็อกตัวบุคคล มีการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยว ดังนั้น หากยกเลิกก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะตัดปัญหาตรงนี้อออกไป เชื่อว่าจะลดกระแสการต่อต้านรัฐธรรมนูญลงได้" นายพีระศักดิ์ กล่าว
**เตรียมสรุปความเห็นส่งกมธ.ยกร่างฯ
นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า ในวันที่ 18 พ.ค.นี้ กลุ่มของตนที่เข้าชื่อกัน 26 คน มี น.ส.รสนา โตสิตระกูล สปช.ด้านพลังงาน นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ สปช.ด้านสื่อสารมวลชน นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธาน กมธ.ปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานกมธ.ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น เตรียมสรุปคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ในประเด็นเรื่องสื่อสารมวลชน เรื่องการคอร์รัปชัน เรื่องพลเมือง และเรื่องศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
ส่วนกรณีที่ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ไม่มั่นใจว่า จะสามารถสร้างความปรองดองได้สำเร็จ เพราะ 2 พรรคการเมืองใหญ่ ยังแสดงจุดยืนเดิม นายประสาร มองว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ นายบวรศักดิ์ คงเพราะต้องการบอกกล่าวกับสังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้พร้อมกับนำไปพิจารณาว่า ควรทำอย่างไร ว่าท่าทีของผู้ขัดแย้งไม่ลดราวาศอก ยังอยู่ในสภาพเดิม ยังคงมีมิจฉาวาทะคำพูดที่ไม่ส่อแสดงให้เกิดความปรองดอง เพราะถ้าอยากจะปรองดอง ก็ต้องนำไปคิดไม่ใช่ยังแค้นฝังหุ่นอยู่แบบนี้
** ลุ้นครม.-คสช.เดินหน้าประชามติ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ อดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้รับฟังความเห็นภาคส่วนต่างๆ อย่างจริงใจ เพื่อให้รัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับจากประชาชน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไปได้ จึงต้องคำนึงถึงหลัก 5 ประการคือ 1. หลักการประชาธิปไตยเสรี ไม่ใช่หลักการประชาธิปไตยชี้นำ 2. คำนึงถึงสิทธิที่เท่าเทียมของประชาชน 3. สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน 4. ยึดโยงหลักนิติรัฐ นิติธรรม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ 5. ควรหลีกเลี่ยงการบัญญัติข้อความที่จะทำให้เกิดความเข้าใจว่าเป็น"วาระซ่อนเร้น"
"ผมเชื่อว่า กรรมาธิการยกร่างฯ มีเจตนาดี แต่ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ได้รับการยอมรับ โอกาสที่ประเทศจะเดินหน้าก็ลำบาก เพราะจะมีโรคแทรกซ้อน ดังนั้นจากนี้ไป จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดที่กรรมาธิการฯ จะทำให้รัฐธรรมนูญได้รับการยอมรับ ด้วยการพิจารณาข้อเสนอของทุกฝ่าย"
ส่วนการทำประชามตินั้น นายองอาจ กล่าวว่า นับตั้งแต่กรรมาธิการฯ มีมติให้ทำประชามติส่งไปยัง ครม. และ คสช.แล้ว แต่ที่ผ่านมารัฐบาลเคยพูดว่าเสนอได้ แต่ไม่มีน้ำหนัก จึงอยากให้มองข้อเสนอใหม่ จะมองว่าไม่มีน้ำหนักไม่ได้ เนื่องจากความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้รัฐบาลและคสช.ให้มีประชามติในร่างรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่ารัฐบาล และคสช. จะหลีกเลี่ยงที่จะผูกมัดตัวเองในเรื่องการทำประชามติเพราะกลัวคนเข้าใจว่าต้องการอยู่ในอำนาจนั้น ในขณะนี้ความเห็น สปช. และ สนช. ต่างก็เห็นว่าควรทำประชามติ ดังนั้นรัฐบาลและคสช. จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า จะทำประชามติหรือไม่อย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลสำคัญในการตัดสินใจเรื่องนี้ เพื่อให้ประเทศเดินหน้า
นายองอาจ กล่าวว่า เวลาในการตัดสินใจมีไม่มากแล้ว เนื่องจากวันสุดท้ายของการปรับปรุงเนื้อหา จะจบในวันที่ 29 ก.ค. จากนั้น วันที่ 6 ส.ค. ที่ประชุม สปช. ก็จะลงมติรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญนี้
"พล.อ.ประยุทธ์ มีเวลาไม่มาก ถ้าตัดสินใจให้ทำประชามติ เพราะถ้าสปช. รับรัฐธรรมนูญนี้ กระบวนการก็คงเกิดหลัง สปช. รับมติ หรือแม้ สปช.ไม่รับรัฐธรรมนูญ กระบวนการทำประชามติ ก็ควรดำเนินการโดยแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2557 จึงเหลือเวลาอีกไม่มาก วันที่ 19 พ.ค.ที่จะมีการประชุมแม่น้ำสองสาย จะเป็นโอกาสสำคัญของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่จะพิสูจน์ตัวเองว่า เข้ามาแก้ไขประเทศบ้านเมืองให้สัมฤทธิ์ผลหรือไม่ จึงหวังว่า การทำประชามติ จะมีส่วนสำคัญทำให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ และสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐธรรมนูญใหม่" นายองอาจ กล่าว
**สปช.เปิดเว็บไซต์"เสียงปฏิรูป"
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช เลขานุการ กมธ.วิสามัญประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 พ.ค. เวลา 09.00 น. ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา 1 นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พร้อมด้วคณะกรรมาธิการวิสามัญประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป สภาปฏิรูปแห่งชาติ และสมาชิก สปช. จะร่วมกันแถลงข่าว เปิดตัวเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์"เสียงปฏิรูป" เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการเผยแพร่การทำงานของ สปช. ในเชิงรุก รวมถึงความคืบหน้าในการปฏิรูปด้านต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ ทั้งการทำงาน ของสปช. และ สปช.ประจำจังหวัดต่างๆ ตลอดถึงรายงานความคืบหน้าของคณะกรรมาธิการปฏิรูปของ สปช. ทั้ง 18 คณะ และคณะกรรมาธิการวิสามัญของ สปช. อีก 5 คณะ
ทั้งนี้ เว็บไซต์ดังกล่าว จะเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารไปถึงประชาชนให้ได้รับรู้ในเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญ อาทิ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสปช. ความเคลื่อนไหวของกฎหมายฉบับต่างๆ รวมถึงความคืบหน้า และความเคลื่อนไหวในการร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งในส่วนของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และภาคส่วนต่างๆ เป็นต้น
"ทางกมธ.วิสามัญประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูปมั่นใจว่า เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ "เสียงปฏิรูป"จะเป็นศูนย์กลางการให้ข่าวสารของสปช.ให้กับประชาชนได้เข้าใจถึงการทำงานด้านการปฎิรูปของสปช.ได้ตลอดเวลา โดยเรามีทีมงานที่เป็นมืออาชีพด้านการข่าว รวมถึงมีสปช.เข้ามาทำเว็บไซต์ดังกล่าวด้วย" นายบุญเลิศ กล่าว