**เข้าสู่โค้งสุดท้ายของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ 36 อรหันต์ “คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ”ที่มี “เดอะปี๊ด” บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ร่างออกมากับมือ โดยลุ้นกันรายมาตรา ว่าจะถูกปรับแก้หรือไม่
โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับที่มานายกรัฐมนตรี ที่มาส.ส. ที่มา ส.ว. และ การสรรหาองค์กรอิสระ แถมสมัชชาคุณธรรม กรรมการปรองดอง สภาฯ ต่างๆ นานา ที่พ่วงตามมาเยอะแยะไปหมด ทำให้ฝ่ายการเมืองมองว่า“โหด”เกินกว่าจะรับได้ และถูกมองว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย
ต้องวัดใจ “ดร.ปี๊ด”เหมือนกันว่า หากออกอาการน้อยอก-น้อยใจหรือไม่ ที่รัฐธรรมนูญ ซึ่งยกร่างมากับมือ จะต้องโดนปรับ-โดนแก้ ขีด ฆ่า จนร่างรัฐธรรมนูญแทบไม่เหลือเค้าเดิม ซึ่งอาจจะทำให้เสียเครดิตพอสมควร
ทั้งนี้ การแก้ไขเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อยู่ในอำนาจของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่สามารถทำความเห็น เสนอไปยังกรรมาธิการยกร่างฯ ได้
หัวขบวนที่จะแก้ไข ร่างรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็นคนกันเองที่รู้จักกันดี เป็น“เนติบริกร”ค่ายเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น“มีชัย ฤชุพันธุ์ ”สมาชิก คสช. "วิษณุ เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรี ที่จะระดมสมองขบคิดทางออก-ทางแก้-ทางหนี ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อีกครั้งหนึ่ง
แต่คนที่มีบทบาทในการตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มากที่สุดคนหนึ่งหนีไม่พ้น "พรเพชร วิชิตชลชัย" ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขุนพลข้างกาย"บิ๊กตู่" ตัวจริง
**บทบาทของ พรเพรช ในทางลับมีมากกว่าทางเปิด คอยนำเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ ดอดไปบรีฟให้"บิ๊กตู่"ฟังอยู่บ่อยครั้ง จึงว่ากันว่า คนที่เคาะเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตัวจริง คือพรเพชร ไม่ใช่ใครอื่น
หลังจากที่กรรมาธิการยกร่างฯ ส่งร่างแรก และผ่านการพิจารณาของแม่น้ำสายต่างๆ แล้ว ต้องจับตาก้าวย่างของ พรเพชร ให้ดี เพราะนี่คือเงาของ บิ๊กตู่ ที่ถูกวางตัวให้เกาะติดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมกับให้เตรียม "พิมพ์เขียว"ไว้ล่วงหน้า
ล่าสุด ทั้งกรรมาธิการยกร่างฯ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอให้ คสช. และ ครม. พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อให้มีการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
หากย้อนกลับไปในช่วงการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2557 บรรดา"เนติบริกร"ได้ถกเถียงกันแล้วว่า ควรระบุให้ชัดหรือไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรทำประชาติหรือไม่ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย ทั้งหมดแล้ว ทุกคนเห็นตรงกันเกือบหมดว่า ให้รอประเมินสถานการณ์ทางการเมืองก่อน แล้วมาแก้ไขรัฐธรรมนูญในภายหลัง
ถือเป็นเกมที่วางหมาก คิดโครงกันไว้ก่อนแล้วว่าควรจะเดินกันอย่างไร ไม่ให้ คสช.เสียหลัก-เสียเหลี่ยม มัดคอตัวเองด้วยเรื่องประชามติ เพราะอย่างน้อย หากสถานการณ์ทางการเมืองไม่เอื้ออำนวย ก็สามารถคิดเกมอื่นมาเล่นใหม่ได้
เมื่อถึงเวลาคิดเกมใหม่ "ทีมหน่วยงานความมั่นคง" ประเมินข้อมูลส่งตรงไปยัง บิ๊กตู่แล้วว่า สถานการณ์การเมืองยังคงล่อแหลม และยังยาก ที่พรรคการเมืองอื่นจะสอดแทรกขึ้นมาชนะการเลือกตั้งได้ เพราะคะแนนของพรรคเพื่อไทย ยังคงนำโด่งอยู่ในหลายจังหวัด
หนำซ้ำ ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงอยู่ และต้องยอมรับว่า ยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หากรีบส่งมอบอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งนักการเมืองเข้ามาบริหารประเทศ
"ทีมกุนซือ"ของ บิ๊กตู่ ขบคิดหาทางออกวาง "เกมประชามติ" เพื่อวัดใจพรรคเพื่อไทย-คนเสื้อแดง ไว้ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558 แถมบรรดา "ขุนทหาร" ยังเห็นด้วยกับหมากเกมนี้
ความเคลื่อนไหวของ บิ๊กตู่ ที่มักอ้างข้อจำกัดของการทำประชามติ ว่า ต้องใช้เงิน 3 พันล้านบาท สิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ หรือความเคลื่อนไหวของ "พระสุเทพ ปภากโร" ที่ออกมาบอกว่า ให้นำเงินทำประชามติ มาช่วยเหลือประชาชน เป็นเพียงแค่เกมหลอก-แบ่งหน้ากันเล่น
** ข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ สปช. ที่ "คสช.+ครม." จะนำไปพิจารณาในวันที่ 19 พ.ค.นี้ ฟันธงล่วงหน้าได้เลยว่าต้องเห็นชอบให้ทำประชามติ ส่วนจะสอบถามประชาชนในรูปแบบใด เป็นโจทย์ที่วางตัวให้ "วิษณุ" ต้องนำไปขบคิดอีกครั้งหนึ่ง
เกมประชามติ ที่ถูก"ทีมกุนซือ" เซ็ตเอาไว้ เพื่อวัดใจพรรคเพื่อไทย-แกนนำนปช.-คนเสื้อแดง ต้องการหวังผลทางการเมือง-ความอยู่รอดของคสช.อย่างชัดเจน
**วัดใจหนึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญ ที่กรรมาธิการยกร่างฯ จัดทำขึ้นมา ไม่เป็นที่ถูกใจของพรรคการเมือง และบรรดาแกนนำมวลชน ที่สำคัญเขียนล็อก "พรรคการเมืองค่ายสีแดง" พอสมควร เรียกได้ว่าจะขยับยังไง ก็ติดขัดไปหมด
หากพรรคการเมือง และแกนนำมวลชน อยากกลับมามีอำนาจทางการเมืองโดยเร็ว ก็ต้องรณรงค์ยอมปล่อยให้ "ประชามติ" ผ่านไปได้ด้วยดี แต่ต้องยอมรับให้ได้ว่า ไม่สามารถกลับมาแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้อีก เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยากกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาก
"ทีมกุนซือ" วิเคราะห์ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ออกมาในรูปแบบที่พรรคการเมืองยากจะรับได้ โอกาสที่จะรณรงค์ให้ประชาชนร่วมลงประชามติ จึงมีโอกาสน้อย แม้จะอยากกลับมามีอำนาจทางการเมือง แต่ก็คงไม่อยากที่จะรับเนื้อหาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้
** วัดใจสอง หากพรรคเมือง และแกนนำมวลชน รณรงค์ให้คว่ำประชามติ ก็จะเข้าล็อกของ คสช. ทันที เพราะโอกาสเดียวที่จะอยู่ต่อ โดยที่มีความชอบธรรมมากที่สุด คือ ต้องทำให้พรรคการเมือง และแกนนำมวลชน คว่ำโรดแมป ที่ คสช.สร้างขึ้นมาด้วยมือของตัวเอง
แน่นอนว่าหาก ร่างรัฐธรรมนูญ ถูกคว่ำ แม้ "บิ๊กตู่ - คสช." จะเสียรังวัด แต่ก็ใช้เป็น ข้ออ้างเพื่ออยู่ในอำนาจได้ต่อไป เพื่อนับหนึ่งเริ่มต้นโรดแมปใหม่ได้ แต่ต้องไม่มีอะไรมา "แทรกซ้อน"
บรรทัดนี้ต้องขีดเส้นใต้ไว้ด้วยว่า คสช. จะอยู่ต่อได้ก็ต่อเมื่อไม่มีอะไรมา"แทรกซ้อน"
เพราะหากมองดูแล้ว ถ้าอยู่ต่อด้วยเงื่อนไขอื่น มีหวัง บิ๊กตู่ จะโดนต่อต้านจาก"ขั้วตรงข้าม" มากยิ่งขึ้น แรงต้านเยอะยิ่งอยู่ยาก กงล้อประวัติศาสตร์ อาจจะซ้ำรอย เปิดทางให้มีผู้นำที่มาจากการรัฐประหารคนใหม่ได้
แต่หากพรรคการเมืองและแกนนำมวลชน ปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผ่านการทำประชามติ ก็ไม่เป็นไร ถือว่า"เจ๊า"กันไป แต่ความลำบาก จะตกอยู่กับพรรคการเมืองทันที อย่างน้อยๆ ก็จนกว่าจะหาช่องชำแหละรัฐธรรมนูญยี่ห้อ คสช. ได้
งานนี้วัดใจ "นช.แม้ว-พรรคเพื่อไทย-คนเสื้อแดง" ที่จะต้องคิดแผน-ทำแคมเปญใหม่ ว่าจะทำอย่างไรกับ "เกมประชามติ" ของคสช. ที่มองเหลี่ยมคูแล้วไม่เกิดผลดีต่อตัวเองแม้แต่น้อย
**ชั่วโมงนี้ "เครือข่ายแม้ว" เหมือนเลือดเข้า โดนรุกไล่จนแทบตกกระดาน ต้องมาวัดใจกันว่า จะเดินทางไหนต่อ ไอ้เรื่องจะมีเลือกตั้งเมื่อไรนั้น ต้องลุ้นกันยาวๆ
โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับที่มานายกรัฐมนตรี ที่มาส.ส. ที่มา ส.ว. และ การสรรหาองค์กรอิสระ แถมสมัชชาคุณธรรม กรรมการปรองดอง สภาฯ ต่างๆ นานา ที่พ่วงตามมาเยอะแยะไปหมด ทำให้ฝ่ายการเมืองมองว่า“โหด”เกินกว่าจะรับได้ และถูกมองว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย
ต้องวัดใจ “ดร.ปี๊ด”เหมือนกันว่า หากออกอาการน้อยอก-น้อยใจหรือไม่ ที่รัฐธรรมนูญ ซึ่งยกร่างมากับมือ จะต้องโดนปรับ-โดนแก้ ขีด ฆ่า จนร่างรัฐธรรมนูญแทบไม่เหลือเค้าเดิม ซึ่งอาจจะทำให้เสียเครดิตพอสมควร
ทั้งนี้ การแก้ไขเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อยู่ในอำนาจของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่สามารถทำความเห็น เสนอไปยังกรรมาธิการยกร่างฯ ได้
หัวขบวนที่จะแก้ไข ร่างรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็นคนกันเองที่รู้จักกันดี เป็น“เนติบริกร”ค่ายเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น“มีชัย ฤชุพันธุ์ ”สมาชิก คสช. "วิษณุ เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรี ที่จะระดมสมองขบคิดทางออก-ทางแก้-ทางหนี ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อีกครั้งหนึ่ง
แต่คนที่มีบทบาทในการตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มากที่สุดคนหนึ่งหนีไม่พ้น "พรเพชร วิชิตชลชัย" ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขุนพลข้างกาย"บิ๊กตู่" ตัวจริง
**บทบาทของ พรเพรช ในทางลับมีมากกว่าทางเปิด คอยนำเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ ดอดไปบรีฟให้"บิ๊กตู่"ฟังอยู่บ่อยครั้ง จึงว่ากันว่า คนที่เคาะเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตัวจริง คือพรเพชร ไม่ใช่ใครอื่น
หลังจากที่กรรมาธิการยกร่างฯ ส่งร่างแรก และผ่านการพิจารณาของแม่น้ำสายต่างๆ แล้ว ต้องจับตาก้าวย่างของ พรเพชร ให้ดี เพราะนี่คือเงาของ บิ๊กตู่ ที่ถูกวางตัวให้เกาะติดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมกับให้เตรียม "พิมพ์เขียว"ไว้ล่วงหน้า
ล่าสุด ทั้งกรรมาธิการยกร่างฯ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอให้ คสช. และ ครม. พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อให้มีการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
หากย้อนกลับไปในช่วงการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2557 บรรดา"เนติบริกร"ได้ถกเถียงกันแล้วว่า ควรระบุให้ชัดหรือไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรทำประชาติหรือไม่ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย ทั้งหมดแล้ว ทุกคนเห็นตรงกันเกือบหมดว่า ให้รอประเมินสถานการณ์ทางการเมืองก่อน แล้วมาแก้ไขรัฐธรรมนูญในภายหลัง
ถือเป็นเกมที่วางหมาก คิดโครงกันไว้ก่อนแล้วว่าควรจะเดินกันอย่างไร ไม่ให้ คสช.เสียหลัก-เสียเหลี่ยม มัดคอตัวเองด้วยเรื่องประชามติ เพราะอย่างน้อย หากสถานการณ์ทางการเมืองไม่เอื้ออำนวย ก็สามารถคิดเกมอื่นมาเล่นใหม่ได้
เมื่อถึงเวลาคิดเกมใหม่ "ทีมหน่วยงานความมั่นคง" ประเมินข้อมูลส่งตรงไปยัง บิ๊กตู่แล้วว่า สถานการณ์การเมืองยังคงล่อแหลม และยังยาก ที่พรรคการเมืองอื่นจะสอดแทรกขึ้นมาชนะการเลือกตั้งได้ เพราะคะแนนของพรรคเพื่อไทย ยังคงนำโด่งอยู่ในหลายจังหวัด
หนำซ้ำ ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงอยู่ และต้องยอมรับว่า ยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หากรีบส่งมอบอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งนักการเมืองเข้ามาบริหารประเทศ
"ทีมกุนซือ"ของ บิ๊กตู่ ขบคิดหาทางออกวาง "เกมประชามติ" เพื่อวัดใจพรรคเพื่อไทย-คนเสื้อแดง ไว้ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558 แถมบรรดา "ขุนทหาร" ยังเห็นด้วยกับหมากเกมนี้
ความเคลื่อนไหวของ บิ๊กตู่ ที่มักอ้างข้อจำกัดของการทำประชามติ ว่า ต้องใช้เงิน 3 พันล้านบาท สิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ หรือความเคลื่อนไหวของ "พระสุเทพ ปภากโร" ที่ออกมาบอกว่า ให้นำเงินทำประชามติ มาช่วยเหลือประชาชน เป็นเพียงแค่เกมหลอก-แบ่งหน้ากันเล่น
** ข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ สปช. ที่ "คสช.+ครม." จะนำไปพิจารณาในวันที่ 19 พ.ค.นี้ ฟันธงล่วงหน้าได้เลยว่าต้องเห็นชอบให้ทำประชามติ ส่วนจะสอบถามประชาชนในรูปแบบใด เป็นโจทย์ที่วางตัวให้ "วิษณุ" ต้องนำไปขบคิดอีกครั้งหนึ่ง
เกมประชามติ ที่ถูก"ทีมกุนซือ" เซ็ตเอาไว้ เพื่อวัดใจพรรคเพื่อไทย-แกนนำนปช.-คนเสื้อแดง ต้องการหวังผลทางการเมือง-ความอยู่รอดของคสช.อย่างชัดเจน
**วัดใจหนึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญ ที่กรรมาธิการยกร่างฯ จัดทำขึ้นมา ไม่เป็นที่ถูกใจของพรรคการเมือง และบรรดาแกนนำมวลชน ที่สำคัญเขียนล็อก "พรรคการเมืองค่ายสีแดง" พอสมควร เรียกได้ว่าจะขยับยังไง ก็ติดขัดไปหมด
หากพรรคการเมือง และแกนนำมวลชน อยากกลับมามีอำนาจทางการเมืองโดยเร็ว ก็ต้องรณรงค์ยอมปล่อยให้ "ประชามติ" ผ่านไปได้ด้วยดี แต่ต้องยอมรับให้ได้ว่า ไม่สามารถกลับมาแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้อีก เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยากกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาก
"ทีมกุนซือ" วิเคราะห์ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ออกมาในรูปแบบที่พรรคการเมืองยากจะรับได้ โอกาสที่จะรณรงค์ให้ประชาชนร่วมลงประชามติ จึงมีโอกาสน้อย แม้จะอยากกลับมามีอำนาจทางการเมือง แต่ก็คงไม่อยากที่จะรับเนื้อหาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้
** วัดใจสอง หากพรรคเมือง และแกนนำมวลชน รณรงค์ให้คว่ำประชามติ ก็จะเข้าล็อกของ คสช. ทันที เพราะโอกาสเดียวที่จะอยู่ต่อ โดยที่มีความชอบธรรมมากที่สุด คือ ต้องทำให้พรรคการเมือง และแกนนำมวลชน คว่ำโรดแมป ที่ คสช.สร้างขึ้นมาด้วยมือของตัวเอง
แน่นอนว่าหาก ร่างรัฐธรรมนูญ ถูกคว่ำ แม้ "บิ๊กตู่ - คสช." จะเสียรังวัด แต่ก็ใช้เป็น ข้ออ้างเพื่ออยู่ในอำนาจได้ต่อไป เพื่อนับหนึ่งเริ่มต้นโรดแมปใหม่ได้ แต่ต้องไม่มีอะไรมา "แทรกซ้อน"
บรรทัดนี้ต้องขีดเส้นใต้ไว้ด้วยว่า คสช. จะอยู่ต่อได้ก็ต่อเมื่อไม่มีอะไรมา"แทรกซ้อน"
เพราะหากมองดูแล้ว ถ้าอยู่ต่อด้วยเงื่อนไขอื่น มีหวัง บิ๊กตู่ จะโดนต่อต้านจาก"ขั้วตรงข้าม" มากยิ่งขึ้น แรงต้านเยอะยิ่งอยู่ยาก กงล้อประวัติศาสตร์ อาจจะซ้ำรอย เปิดทางให้มีผู้นำที่มาจากการรัฐประหารคนใหม่ได้
แต่หากพรรคการเมืองและแกนนำมวลชน ปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผ่านการทำประชามติ ก็ไม่เป็นไร ถือว่า"เจ๊า"กันไป แต่ความลำบาก จะตกอยู่กับพรรคการเมืองทันที อย่างน้อยๆ ก็จนกว่าจะหาช่องชำแหละรัฐธรรมนูญยี่ห้อ คสช. ได้
งานนี้วัดใจ "นช.แม้ว-พรรคเพื่อไทย-คนเสื้อแดง" ที่จะต้องคิดแผน-ทำแคมเปญใหม่ ว่าจะทำอย่างไรกับ "เกมประชามติ" ของคสช. ที่มองเหลี่ยมคูแล้วไม่เกิดผลดีต่อตัวเองแม้แต่น้อย
**ชั่วโมงนี้ "เครือข่ายแม้ว" เหมือนเลือดเข้า โดนรุกไล่จนแทบตกกระดาน ต้องมาวัดใจกันว่า จะเดินทางไหนต่อ ไอ้เรื่องจะมีเลือกตั้งเมื่อไรนั้น ต้องลุ้นกันยาวๆ