ASTVผู้จัดการรายวัน - สมาคมธุรกิจก๊าซยานยนต์ไทยระดมพลเตรียมยื่นหนังสือถึงบิ๊กตู่ 19 พ.ค.นี้คัดค้านการขึ้นภาษีสรรพสามิตแอลพีจี ขึ้นทะเบียนป้ายและอุปกรณ์นำเข้าแอลพีจีเพื่อเบรกการใช้ในภาคขนส่ง ลั่นควรจัดหาให้เท่าเทียมกันทุกภาคแต่ไม่ได้ค้านลอยตัวราคาแอลพีจี ด้านกระทรวงพลังงานชงกพช. ลดสำรองน้ำมันสำเร็จรูป 6% เหลือ 1 % คาดจะลดราคาน้ำมันขายปลีกได้ 9 สตางค์ต่อลิตร
นายสุรศักดิ์ นิตติวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจก๊าซยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ จะรวมตัวไปยื่นหนังสือคัดค้านแนวคิดกระทรวงพลังงานที่จะปรับขึ้นภาษีก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)ให้เท่ากับน้ำมัน ขอให้กรมการขนส่งทางบกปรับขึ้นภาษีป้ายทะเบียนและอุปกรณ์นำเข้ารถยนต์ที่ติดแอลพีจี กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลวันที่ 19พ.ค.นี้เนื่องจากเห็นว่าหากนโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นจริงจะกระทบต่อผู้ประกอบการรับติดตั้งก๊าซแอลพีจีกว่า 1,000 แห่ง สถานีบริการก๊าซแอลพีจีทั่วประเทศ 1,900 – 2,000 แห่ง และมีพนักงานตกงานประมาณ 30,000 คน รวมทั้งผู้ขับรถที่ใช้แอลพีจี กว่า 1.2-1.5 ล้านคันก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 45,000 ล้านบาทต่อปี
“ ตัวแทนสมาคมฯ ทั้งส่วนในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จะมารวมตัวกันยื่นหนังสือคัดค้าน เพราะไม่เช่นนั้นธุรกิจทั้งระบบคงเสียหายหนัก ซึ่งปัจจุบันมีผู้จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกประมาณ 1.23 ล้านคัน แต่ถ้ารวมไม่จดทะเบียนด้วย จะสูงถึง 1.4-1.5 ล้านคัน อยากให้ความเป็นธรรมกับคนกลุ่มนี้ด้วย ส่วนเครือข่ายภาคประชาชนที่ใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคขนส่งจะไปยื่นหนังสือในวันที่26 พ.ค. นี้ ”นายสุรศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้สมาคมฯไม่ได้คัดค้านแนวคิดรัฐบาลที่มีการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีไปสู่ระบบลอยตัวซึ่งปัจจุบันราคาแอลพีจีอยู่ระดับ23.96 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 14บาทต่อลิตรนั้นถือว่าเหมาะสมแล้วซึ่งหากมีการจำหน่ายในระดับที่ต่ำกว่าต้นทุนก็จะทำให้บมจ.ปตท.ในฐานะผู้ผลิตจะไม่มีแรงจูงใจขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้แต่กรณีกระทรวงพลังงานระบุว่าต้องการลดการใช้แอลพีจีภาคขนส่งไม่เห็นด้วยเพราะการใช้ก๊าซแอลพีจีในประเทศแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ภาคครัวเรือนภาคขนส่งและภาคปิโตรเคมีต้องการให้บริหารการใช้ก๊าซให้เพียงพอทั้ง 3 กลุ่ม
**** ชงกพช.ลดสำรองน้ำมันฯลงเหลือ1%
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ (กพช.)ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในวันที่ 14. พ.ค.นี้ จะมีวาระเรื่องการเสนอลดสำรองน้ำมัน เป็นไปตามพ.ร.ก.ป้องกันแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเสนอลดสำรองน้ำมันทางกฎหมายสำหรับน้ำมันสำเร็จรูปลงจาก 6%เหลือเพียง 1 % ส่วนการสำรองน้ำมันดิบยังคงเดิมที่ 6%
โดยแนวทางการเสนอลดสำรองน้ำมันสำเร็จรูปลงมาเหลือ 1% จะช่วยลดต้นทุนการสำรองน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันลงไปด้วย ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปปรับลดลงลิตรละ 9 สตางค์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อประชาชนได้ใช้น้ำมันในราคาที่ถูกลง
เดิมการสำรองน้ำมันตามกฎหมายรวมอยู่ที่ 12% แบ่งเป็นการสำรองน้ำมันดิบ 6%และสำรองน้ำมันสำเร็จรูป 12% หรือคิดเป็น 43 วัน ดังนั้นเมื่อเสนอให้ลดสำรองน้ำมันตามกฎหมายลดลงเหลือเพียง 7% (สำรองน้ำมันดิบ 6%และสำรองน้ำมันสำเร็จรูป 1%) ทำให้ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันไว้ใช้ลดลงจาก 43 วันเหลือ 25 วัน
สาเหตุกรมธุรกิจพลังงาน เสนอให้ปรับลดสำรองน้ำมันตามกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันได้คลี่คลายโดยเฉพาะด้านราคา และการจัดหาพลังงานในต่างประเทศทำได้ง่าย โดยคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบในปีนี้เฉลี่ยไม่เกิน 53 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากมีปริมาณการผลิตน้ำมันล้นตลาดจากการผลิตจากแหล่งShale Gas/Shale Oil รวมทั้งกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่างโอเปกก็ไม่ได้ปรับลดการผลิตลง ส่วนกลุ่มประเทศนอกโอเปกได้เร่งการผลิตน้ำมันมากขึ้น ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเป็นไปได้น้อย ส่วนการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์เพิ่มเป็น 90 วันนั้น จะมีการขอหลักการในการศึกษาเพื่อให้ภาครัฐลงทุนเองและเกิดความมั่คงด้านพลังงานในอนาคต
นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังเสนออีกหลายวาระต่อที่ประชุมกพช.ทั้งเรื่องการจัดทำแผนพีดีพีระยะยาว 20ปี การพิจารณาการกระจายหุ้นโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง(SPRC) เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเดิมมีแผนจะนำเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงไตรมาส 2/2558 อาจจะต้องเลื่อนออกไปเล็กน้อย
รวมไปถึงแนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับสัมปทานปิโตรเลียมที่จะหมดอายุในปี2564 -2565 โดยจะขอหลักการในการเจรจาไม่ว่าจะเป็นรายเก่าหรือรายใหม่ว่า การเจรจาจะต้องจบภายในปี2560 เพื่อให้ประเทศไทยมีปิโตรเลียมใช้ต่อเนื่องไม่ขาดแคลน และ การขยายเวลาการประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากเดิมกำหนดหลักเกณฑ์จะต้องเสร็จในเดือนมีนาคม เป็นเดือนมิถุนายน 2558
แหล่งข่าวจากบริษัทน้ำมัน กล่าวว่า หากกพช.อนุมัติลดสำรองน้ำมันสำเร็จรูปตามกฎหมายเหลือ 1 % จะช่วยลดค่าใช้จ่าย และการบริหารสต็อกน้ำมันทำได้ง่ายขึ้น เพราะปัจจุบันบริษัทฯมีสำรองน้ำมันเชิงพาณิชย์อยู่แล้วประมาณ 3% หรือประมาณ 10 วัน นอกเหนือจากที่สำรองน้ำมันตามกฎหมาย 6% ซึ่งเพียงพอในการบริหารความเสี่ยงด้านน้ำมันระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ ผู้ค้าน้ำมันได้มีการสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 5%เป็น 6%ทั้งน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปมาตั้งแต่พ.ย.56 โดยมีภาระต้นทุนที่เกิดขึ้น ยังไม่ได้มีการผลักภาระไปในราคาขาย เนื่องจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ยังไม่ได้อนุมัติให้ปรับราคาที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มสำรองเมื่อ 2ปีก่อน จึงไม่แน่ใจว่าจะสามารถปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันลงได้ลิตรละ 9 สต.ได้อีกทั้งภาครัฐควรจะปรับลดปริมาณสำรองน้ำมันดิบจาก 6%เหลือ 5% เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศไม่พบความเสี่ยงด้านความมั่นคงด้านพลังงาน
นายสุรศักดิ์ นิตติวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจก๊าซยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ จะรวมตัวไปยื่นหนังสือคัดค้านแนวคิดกระทรวงพลังงานที่จะปรับขึ้นภาษีก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)ให้เท่ากับน้ำมัน ขอให้กรมการขนส่งทางบกปรับขึ้นภาษีป้ายทะเบียนและอุปกรณ์นำเข้ารถยนต์ที่ติดแอลพีจี กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลวันที่ 19พ.ค.นี้เนื่องจากเห็นว่าหากนโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นจริงจะกระทบต่อผู้ประกอบการรับติดตั้งก๊าซแอลพีจีกว่า 1,000 แห่ง สถานีบริการก๊าซแอลพีจีทั่วประเทศ 1,900 – 2,000 แห่ง และมีพนักงานตกงานประมาณ 30,000 คน รวมทั้งผู้ขับรถที่ใช้แอลพีจี กว่า 1.2-1.5 ล้านคันก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 45,000 ล้านบาทต่อปี
“ ตัวแทนสมาคมฯ ทั้งส่วนในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จะมารวมตัวกันยื่นหนังสือคัดค้าน เพราะไม่เช่นนั้นธุรกิจทั้งระบบคงเสียหายหนัก ซึ่งปัจจุบันมีผู้จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกประมาณ 1.23 ล้านคัน แต่ถ้ารวมไม่จดทะเบียนด้วย จะสูงถึง 1.4-1.5 ล้านคัน อยากให้ความเป็นธรรมกับคนกลุ่มนี้ด้วย ส่วนเครือข่ายภาคประชาชนที่ใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคขนส่งจะไปยื่นหนังสือในวันที่26 พ.ค. นี้ ”นายสุรศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้สมาคมฯไม่ได้คัดค้านแนวคิดรัฐบาลที่มีการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีไปสู่ระบบลอยตัวซึ่งปัจจุบันราคาแอลพีจีอยู่ระดับ23.96 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 14บาทต่อลิตรนั้นถือว่าเหมาะสมแล้วซึ่งหากมีการจำหน่ายในระดับที่ต่ำกว่าต้นทุนก็จะทำให้บมจ.ปตท.ในฐานะผู้ผลิตจะไม่มีแรงจูงใจขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้แต่กรณีกระทรวงพลังงานระบุว่าต้องการลดการใช้แอลพีจีภาคขนส่งไม่เห็นด้วยเพราะการใช้ก๊าซแอลพีจีในประเทศแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ภาคครัวเรือนภาคขนส่งและภาคปิโตรเคมีต้องการให้บริหารการใช้ก๊าซให้เพียงพอทั้ง 3 กลุ่ม
**** ชงกพช.ลดสำรองน้ำมันฯลงเหลือ1%
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ (กพช.)ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในวันที่ 14. พ.ค.นี้ จะมีวาระเรื่องการเสนอลดสำรองน้ำมัน เป็นไปตามพ.ร.ก.ป้องกันแก้ไขการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเสนอลดสำรองน้ำมันทางกฎหมายสำหรับน้ำมันสำเร็จรูปลงจาก 6%เหลือเพียง 1 % ส่วนการสำรองน้ำมันดิบยังคงเดิมที่ 6%
โดยแนวทางการเสนอลดสำรองน้ำมันสำเร็จรูปลงมาเหลือ 1% จะช่วยลดต้นทุนการสำรองน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันลงไปด้วย ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปปรับลดลงลิตรละ 9 สตางค์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อประชาชนได้ใช้น้ำมันในราคาที่ถูกลง
เดิมการสำรองน้ำมันตามกฎหมายรวมอยู่ที่ 12% แบ่งเป็นการสำรองน้ำมันดิบ 6%และสำรองน้ำมันสำเร็จรูป 12% หรือคิดเป็น 43 วัน ดังนั้นเมื่อเสนอให้ลดสำรองน้ำมันตามกฎหมายลดลงเหลือเพียง 7% (สำรองน้ำมันดิบ 6%และสำรองน้ำมันสำเร็จรูป 1%) ทำให้ไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันไว้ใช้ลดลงจาก 43 วันเหลือ 25 วัน
สาเหตุกรมธุรกิจพลังงาน เสนอให้ปรับลดสำรองน้ำมันตามกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันได้คลี่คลายโดยเฉพาะด้านราคา และการจัดหาพลังงานในต่างประเทศทำได้ง่าย โดยคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบในปีนี้เฉลี่ยไม่เกิน 53 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากมีปริมาณการผลิตน้ำมันล้นตลาดจากการผลิตจากแหล่งShale Gas/Shale Oil รวมทั้งกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่างโอเปกก็ไม่ได้ปรับลดการผลิตลง ส่วนกลุ่มประเทศนอกโอเปกได้เร่งการผลิตน้ำมันมากขึ้น ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเป็นไปได้น้อย ส่วนการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์เพิ่มเป็น 90 วันนั้น จะมีการขอหลักการในการศึกษาเพื่อให้ภาครัฐลงทุนเองและเกิดความมั่คงด้านพลังงานในอนาคต
นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังเสนออีกหลายวาระต่อที่ประชุมกพช.ทั้งเรื่องการจัดทำแผนพีดีพีระยะยาว 20ปี การพิจารณาการกระจายหุ้นโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง(SPRC) เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเดิมมีแผนจะนำเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงไตรมาส 2/2558 อาจจะต้องเลื่อนออกไปเล็กน้อย
รวมไปถึงแนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับสัมปทานปิโตรเลียมที่จะหมดอายุในปี2564 -2565 โดยจะขอหลักการในการเจรจาไม่ว่าจะเป็นรายเก่าหรือรายใหม่ว่า การเจรจาจะต้องจบภายในปี2560 เพื่อให้ประเทศไทยมีปิโตรเลียมใช้ต่อเนื่องไม่ขาดแคลน และ การขยายเวลาการประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากเดิมกำหนดหลักเกณฑ์จะต้องเสร็จในเดือนมีนาคม เป็นเดือนมิถุนายน 2558
แหล่งข่าวจากบริษัทน้ำมัน กล่าวว่า หากกพช.อนุมัติลดสำรองน้ำมันสำเร็จรูปตามกฎหมายเหลือ 1 % จะช่วยลดค่าใช้จ่าย และการบริหารสต็อกน้ำมันทำได้ง่ายขึ้น เพราะปัจจุบันบริษัทฯมีสำรองน้ำมันเชิงพาณิชย์อยู่แล้วประมาณ 3% หรือประมาณ 10 วัน นอกเหนือจากที่สำรองน้ำมันตามกฎหมาย 6% ซึ่งเพียงพอในการบริหารความเสี่ยงด้านน้ำมันระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ ผู้ค้าน้ำมันได้มีการสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 5%เป็น 6%ทั้งน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปมาตั้งแต่พ.ย.56 โดยมีภาระต้นทุนที่เกิดขึ้น ยังไม่ได้มีการผลักภาระไปในราคาขาย เนื่องจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ยังไม่ได้อนุมัติให้ปรับราคาที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มสำรองเมื่อ 2ปีก่อน จึงไม่แน่ใจว่าจะสามารถปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันลงได้ลิตรละ 9 สต.ได้อีกทั้งภาครัฐควรจะปรับลดปริมาณสำรองน้ำมันดิบจาก 6%เหลือ 5% เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศไม่พบความเสี่ยงด้านความมั่นคงด้านพลังงาน