**ในขณะที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรี กำลังพิจารณาการออกอาชญาบัตร (สำรวจเหมืองแร่) กับการออกประทานบัตร (ทำเหมืองแร่) ซึ่งล่าสุด บริษัทเหมืองแร่โปแตช อาเซียน จำกัด มหาชน ที่เจ้าสัวซีพี ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับสอง เพิ่งจะได้รับประทานบัตรไปหมาดๆ หลังรอมายาวนานเกือบ 30 ปี
มีสิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ ควรคิดทบทวนให้ดีก่อนการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติว่า ผลกระทบที่ตามมาเป็นอย่างไร คุ้มค่ากับเงินจำนวนน้อยนิดที่รัฐได้ส่วนเอกชนฟันกำไรจากแผ่นดินไทยหรือไม่
ลองย้อนไปดู“คดีคลิตี้”ซึ่งบริษัทตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานเหมืองตะกั่วในปี พ.ศ.2510 และปิดกิจการไปในปี พ.ศ.2542 ส่วนเหมืองแร่ปิดถาวรในปี 2544 ผ่านไป 10 ปี ในปี 2554 ชาวบ้านคลิตี้เห็นว่าน้ำในลำห้วยขุ่น ตอผุดขึ้นมาให้เห็นว่า “โรงแต่งแร่ ที่อยู่ต้นลำห้วยคลิตี้ ปล่อยน้ำในบ่อกักเก็บแร่สารตะกั่วลงสู่ลำห้วยตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2541 ซึ่งในขณะนั้น ทางบริษัทถูกกรมทรัพยากรธรณีสั่งระงับกิจการชั่วคราว 120 วัน และปรับ 2,000 บาท
คดียืดเยื้อยาวนานจนถึงปี 2556 จึงสิ้นสุด ใช้เวลายาวนานถึง 15 ปี ศาลปกครองสูงสุด จึงมีคำสั่งให้กรมควบคุมมลพิษ ชดเชยชาวบ้านคนละ 1.7 แสนบาท และฟื้นฟูลำห้วยให้สารตะกั่วไม่เกินค่ามาตรฐานอย่างน้อย 1 ปี
**จนถึงขณะนี้ ปริมาณสารตะกั่วที่ปนเปื้อนอยู่ในลำห้วยคลิตี้อาจจะเบาบางลงแล้ว แต่ยังคงมีสารตะกั่วเกินค่าปกติในเด็ก ซึ่งเท่ากับว่าเหมืองปิดไป 10 กว่าปีแล้ว แต่ผลกระทบที่เกิดกับวิถีชีวิตชุมชนยังคงอยู่
โดยในระยะแรกตั้งแต่ปี 2536-2537 ประชาชนเริ่มมีอาการเจ็บป่วย บวม และเสียชีวิต เด็กแรกเกิดป่วยมีพัฒนาการช้า เนื่องจากปริมาณสารตะกั่วในเลือดของประชาชนสูงถึง 30-50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ชาวบ้านไม่สามารถดื่มน้ำในห้วยคลิตี้และกินปลาที่อาศัยอยู่ในลำห้วยได้ ในขณะที่สุขภาพของประชาชนยังคงมีความเสี่ยง แต่เอกชนปิดเหมืองเปิดตูดแน่บโกยกำไรไปเรียบร้อย ทิ้งชุมชนให้ทุกข์ระทมอยู้ข้างหลัง
คราวนี้ลองมาดูตัวอย่างโครงการเหมืองแร่โปแตช ที่จังหวัดอุดรธานีกันดูบ้าง เผื่อรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จะได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมา และทบทวนนโยบายที่เตรียมจะออกประทานบัตรให้กับบริษัทอีกสองแห่ง
โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี เป็นเหมืองแร่ใต้ดิน ครอบคลุมพื้นที่ 7 หมื่นไร่ กำลังการผลิตปีละ 2 ล้านตัน สำรวจกันในปี 2516 ทำสัญญาในปี 2527 ซึ่งปัจจุบัน บริษัทเอเซียแปซิฟิค โปแตช คอร์ปอร์เรชั่น ธุรกิจในเครือบริษัทอิตาเลี่ยนไทย จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าของ เริ่มมองเห็นผลกระทบที่ตามมาแล้ว คือ
1)ผลกระทบต่อเกษตรกรรมอันเป็นเศรษฐกิจหลักของชุมชนจากปัญหาการขยายตัวของดินเค็มและน้ำเค็มจากการแต่งแร่รวมถึงความเค็มของกองเกลือ
2)เกิดผลกระทบด้านสุขภาพจากมลพิษขณะทำเหมือง ฝุ่นเกลือ ฯลฯ และยังทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงในระยะยาวด้วย
3)ความเสี่ยงจากดินทรุด เหมืองถล่ม อุบัติเหตุจากการทำเหมือง
4)ความเสี่ยงจากการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งจะกระทบต่อวิถีชีวิตท้องถิ่น
5)ความเสี่ยงที่ชุมชนไม่สามารถควบคุมได้ เพราะสามารถดำเนินการเหมืองแร่ใต้ดินที่อยู่ลึกเกิน 100 เมตร โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน
ในขณะที่ผลกระทบต่างๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กลับอนุญาตประทานบัตร (ทำเหมืองแร่โปแตช) ให้กับบริษัทเหมืองแร่โปแตช อาเซียน จำกัด (มหาชน) ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยผ่านความเห็นชอบรายงานสิ่งแวดล้อมเลยแต่มาผ่านพรวดๆ ในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จนใช้เวลาแค่ 7 เดือนก็ออกประทานบัตรได้
รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศเป็นวาระแห่งชาติเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ แต่ความไม่เป็นธรรมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติกลับมองข้ามชีวิตชาวบ้าน โดยเฉพาะการอนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่โปแตชอย่างรวดเร็ว จาก จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในธุรกิจเหมืองแร่ อันอาจจะถูกนำไปนินทาว่าเป็นปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนก็เป็นได้
**หากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ทบทวนเรื่องนี้ก็ไม่แตกต่างอะไรกับสุภาษิตไทยที่ว่า “มือถือสากปากถือศีล”เพราะการทำเหมืองที่อ้างว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสร้างรายได้ให้กับประเทศนั้น ไปเบียดเบียนวิถีชีวิตประชาชนระยะยาว ก่อให้เกิดความเจ็บป่วย รวมถึงความขัดแย้งที่นับวันจะทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ จากการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่เป็นธรรม เห็นเงินสำคัญกว่าชีวิตคน
อำนาจในมือ พล.อ.ประยุทธ์ ขณะนี้ สามารถสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้กับคนไทยได้ หรือไม่ ก็สร้างความไม่เป็นธรรมกับคนตัวเล็กตัวน้อยที่ไม่มีทางสู้อย่างมหาศาล จึงต้องใช้ “ธรรมนำอำนาจ”
ไม่ใช่ใช้ “อำนาจแสวงหาประโยชน์”แม้จะอ้างว่าประเทศได้ประโยชน์ก็ตาม
พล.อ.ประยุทธ์ ได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 ไว้สวยหรู โดยจำแนกออกเป็น 11 ด้าน ที่น่าสนใจคือ ข้อ 9) แถลงไว้ว่า “การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลกำลังดำเนินการสวนทางกับนโยบายของตัวเอง เพราะ ครม.อนุมัติหลักการพระราชบัญญัติแร่ เปิดโอกาสให้เอกชนได้รับสัมปทานโดยที่ชุมชนขาดโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับนโยบาย อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังให้ความสำคัญกับการทำเหมืองแร่ มากกว่าการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พล.อ.ประยุทธ์ มักประกาศเสมอว่า จะเข้ามาทำในสิ่งที่รัฐบาลเลือกตั้งทำไม่ได้ นี่คือหนึ่งในตัวอย่างนั้น แต่เป็นผลงานชิ้นโบว์ดำ ที่แม้แต่รัฐบาลเลือกตั้งยังไม่กล้าทำ
มีสิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ ควรคิดทบทวนให้ดีก่อนการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติว่า ผลกระทบที่ตามมาเป็นอย่างไร คุ้มค่ากับเงินจำนวนน้อยนิดที่รัฐได้ส่วนเอกชนฟันกำไรจากแผ่นดินไทยหรือไม่
ลองย้อนไปดู“คดีคลิตี้”ซึ่งบริษัทตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานเหมืองตะกั่วในปี พ.ศ.2510 และปิดกิจการไปในปี พ.ศ.2542 ส่วนเหมืองแร่ปิดถาวรในปี 2544 ผ่านไป 10 ปี ในปี 2554 ชาวบ้านคลิตี้เห็นว่าน้ำในลำห้วยขุ่น ตอผุดขึ้นมาให้เห็นว่า “โรงแต่งแร่ ที่อยู่ต้นลำห้วยคลิตี้ ปล่อยน้ำในบ่อกักเก็บแร่สารตะกั่วลงสู่ลำห้วยตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2541 ซึ่งในขณะนั้น ทางบริษัทถูกกรมทรัพยากรธรณีสั่งระงับกิจการชั่วคราว 120 วัน และปรับ 2,000 บาท
คดียืดเยื้อยาวนานจนถึงปี 2556 จึงสิ้นสุด ใช้เวลายาวนานถึง 15 ปี ศาลปกครองสูงสุด จึงมีคำสั่งให้กรมควบคุมมลพิษ ชดเชยชาวบ้านคนละ 1.7 แสนบาท และฟื้นฟูลำห้วยให้สารตะกั่วไม่เกินค่ามาตรฐานอย่างน้อย 1 ปี
**จนถึงขณะนี้ ปริมาณสารตะกั่วที่ปนเปื้อนอยู่ในลำห้วยคลิตี้อาจจะเบาบางลงแล้ว แต่ยังคงมีสารตะกั่วเกินค่าปกติในเด็ก ซึ่งเท่ากับว่าเหมืองปิดไป 10 กว่าปีแล้ว แต่ผลกระทบที่เกิดกับวิถีชีวิตชุมชนยังคงอยู่
โดยในระยะแรกตั้งแต่ปี 2536-2537 ประชาชนเริ่มมีอาการเจ็บป่วย บวม และเสียชีวิต เด็กแรกเกิดป่วยมีพัฒนาการช้า เนื่องจากปริมาณสารตะกั่วในเลือดของประชาชนสูงถึง 30-50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ชาวบ้านไม่สามารถดื่มน้ำในห้วยคลิตี้และกินปลาที่อาศัยอยู่ในลำห้วยได้ ในขณะที่สุขภาพของประชาชนยังคงมีความเสี่ยง แต่เอกชนปิดเหมืองเปิดตูดแน่บโกยกำไรไปเรียบร้อย ทิ้งชุมชนให้ทุกข์ระทมอยู้ข้างหลัง
คราวนี้ลองมาดูตัวอย่างโครงการเหมืองแร่โปแตช ที่จังหวัดอุดรธานีกันดูบ้าง เผื่อรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จะได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมา และทบทวนนโยบายที่เตรียมจะออกประทานบัตรให้กับบริษัทอีกสองแห่ง
โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี เป็นเหมืองแร่ใต้ดิน ครอบคลุมพื้นที่ 7 หมื่นไร่ กำลังการผลิตปีละ 2 ล้านตัน สำรวจกันในปี 2516 ทำสัญญาในปี 2527 ซึ่งปัจจุบัน บริษัทเอเซียแปซิฟิค โปแตช คอร์ปอร์เรชั่น ธุรกิจในเครือบริษัทอิตาเลี่ยนไทย จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าของ เริ่มมองเห็นผลกระทบที่ตามมาแล้ว คือ
1)ผลกระทบต่อเกษตรกรรมอันเป็นเศรษฐกิจหลักของชุมชนจากปัญหาการขยายตัวของดินเค็มและน้ำเค็มจากการแต่งแร่รวมถึงความเค็มของกองเกลือ
2)เกิดผลกระทบด้านสุขภาพจากมลพิษขณะทำเหมือง ฝุ่นเกลือ ฯลฯ และยังทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงในระยะยาวด้วย
3)ความเสี่ยงจากดินทรุด เหมืองถล่ม อุบัติเหตุจากการทำเหมือง
4)ความเสี่ยงจากการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งจะกระทบต่อวิถีชีวิตท้องถิ่น
5)ความเสี่ยงที่ชุมชนไม่สามารถควบคุมได้ เพราะสามารถดำเนินการเหมืองแร่ใต้ดินที่อยู่ลึกเกิน 100 เมตร โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน
ในขณะที่ผลกระทบต่างๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กลับอนุญาตประทานบัตร (ทำเหมืองแร่โปแตช) ให้กับบริษัทเหมืองแร่โปแตช อาเซียน จำกัด (มหาชน) ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยผ่านความเห็นชอบรายงานสิ่งแวดล้อมเลยแต่มาผ่านพรวดๆ ในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จนใช้เวลาแค่ 7 เดือนก็ออกประทานบัตรได้
รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศเป็นวาระแห่งชาติเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ แต่ความไม่เป็นธรรมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติกลับมองข้ามชีวิตชาวบ้าน โดยเฉพาะการอนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่โปแตชอย่างรวดเร็ว จาก จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในธุรกิจเหมืองแร่ อันอาจจะถูกนำไปนินทาว่าเป็นปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนก็เป็นได้
**หากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ทบทวนเรื่องนี้ก็ไม่แตกต่างอะไรกับสุภาษิตไทยที่ว่า “มือถือสากปากถือศีล”เพราะการทำเหมืองที่อ้างว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสร้างรายได้ให้กับประเทศนั้น ไปเบียดเบียนวิถีชีวิตประชาชนระยะยาว ก่อให้เกิดความเจ็บป่วย รวมถึงความขัดแย้งที่นับวันจะทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ จากการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่เป็นธรรม เห็นเงินสำคัญกว่าชีวิตคน
อำนาจในมือ พล.อ.ประยุทธ์ ขณะนี้ สามารถสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้กับคนไทยได้ หรือไม่ ก็สร้างความไม่เป็นธรรมกับคนตัวเล็กตัวน้อยที่ไม่มีทางสู้อย่างมหาศาล จึงต้องใช้ “ธรรมนำอำนาจ”
ไม่ใช่ใช้ “อำนาจแสวงหาประโยชน์”แม้จะอ้างว่าประเทศได้ประโยชน์ก็ตาม
พล.อ.ประยุทธ์ ได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 ไว้สวยหรู โดยจำแนกออกเป็น 11 ด้าน ที่น่าสนใจคือ ข้อ 9) แถลงไว้ว่า “การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลกำลังดำเนินการสวนทางกับนโยบายของตัวเอง เพราะ ครม.อนุมัติหลักการพระราชบัญญัติแร่ เปิดโอกาสให้เอกชนได้รับสัมปทานโดยที่ชุมชนขาดโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับนโยบาย อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังให้ความสำคัญกับการทำเหมืองแร่ มากกว่าการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พล.อ.ประยุทธ์ มักประกาศเสมอว่า จะเข้ามาทำในสิ่งที่รัฐบาลเลือกตั้งทำไม่ได้ นี่คือหนึ่งในตัวอย่างนั้น แต่เป็นผลงานชิ้นโบว์ดำ ที่แม้แต่รัฐบาลเลือกตั้งยังไม่กล้าทำ