โดย...อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ผมจะใช้เวลาว่างที่มีเหลืออยู่จริงจากบทบาทหน้าที่ต่างๆ ในแต่ละวันเพื่อการอ่าน เหตุผลของการอ่านสำหรับผมมีไม่มาก ผมไม่ได้คิดจะอ่านหนังสือเพื่อฆ่าเวลา ผมไม่ได้คิดจะอ่านหนังสือเพื่อหาความรู้ แต่ผมจะอ่านหนังสือเพราะอยากอ่าน
ผมมีหนังสือที่อยากอ่านในบัญชีของตัวเองหลายเล่ม หนังสือเรื่อง พม่าเสียเมือง ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นับเป็นหนึ่งในรายการที่อยากอ่าน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ผมไม่มีเวลาอ่านอย่างต่อเนื่องเพื่อตั้งใจอ่านรวดเดียวให้จบ
ทฤษฎีการแบ่งเวลาจำเป็นจะต้องถูกนำมาใช้สำหรับมนุษย์อย่างผม วิธีการง่ายๆ คือ พกหนังสือความยาว 276 หน้าเล่มนี้ไปกับผมทุกที่ในรอบหนึ่งสัปดาห์ แม้ขณะเข้าห้องน้ำทำธุรกรรม ขณะนั่งรอคิวทำภารกิจบางอย่างในธนาคาร หรือร้านค้าก็เปิดหนังสืออ่านต่อจากที่ค้างไว้ โดยมีที่คั่นหนังสือ เป็นตัวช่วย อ่านไป อ่านไป จนผ่านไป 1 สัปดาห์ก็ไม่รู้ตัวว่าอ่านจบเล่มแล้วตั้งแต่ตอนไหน แต่สิ่งที่ใช้ตลอดเวลาที่อ่านหนังสืออยู่มี 2 สิ่ง คือ ตอบคำถามให้ได้ว่า ใจความสำคัญในหนังสือคืออะไร และมีความสุขไหม เมื่อได้อ่านในสิ่งที่อยากอ่านแล้ว
พม่าเสียเมืองเป็นวรรณกรรมชั้นดีที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนขึ้นจากบันทึกของฝรั่งอังกฤษผู้หนึ่งซึ่งโดดเด่นและงดงามในการใช้ภาษาไทย เหตุที่พม่าเสียเมืองนั้น จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้ามางลองทำศึกได้รับชัยเหนือมอญและรวมชาติพม่าได้ แต่หลังจากนั้นเกิดเสียจริตเพราะความยิ่งใหญ่ ลุ่มหลงในอำนาจ ความเก่งกาจของตนเองซึ่งพันธุกรรมแห่งการเสียจริตนี้ได้ตกทอดมาถึงพระเจ้าสีป่อ พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายของราชวงศ์อลองพระที่ทำให้พม่าต้องเสียเมืองแก่ฝรั่งอังกฤษในการศึกสงครามในปี พ.ศ. 2367
พระเจ้าสีป่อนั้น ได้รับการสถาปนาให้ปกครองพม่า โดยความช่วยเหลือจากอดีตพระมเหสีรอง (อเลนันดอ) และขุนนางผู้ใหญ่ที่มองเห็นความอ่อนแอในพระเจ้าสีป่อ ประกอบกับความที่พระมเหสีรองในขณะนั้นที่เห็นว่า พระเจ้ามินดง ผู้ปกครองพม่าสมัยนั้นทรงพระประชวรและอยู่ในวัยชรา จึงต้องการรวบอำนาจการปกครองไว้
เมื่อคิดทำการใหญ่ ก็ต้องตัดไม้ไม่ไว้หน่อ พระมเหสีรอง (อเลนันดอ) ได้เสนอให้พระเจ้าสีป่อสำเร็จโทษเจ้านายและขุนนาง ที่เห็นว่า เป็นปฏิปักษ์ด้วยวิธีการอันโหดเหี้ยมทารุณ เมื่อได้รวบอำนาจการปกครองไว้ในกำมือแล้ว พระมเหสีรอง (อเลนันดอ) ก็ใช้อำนาจผ่านพระเจ้าสีป่อ ฝ่ายพระเจ้าสีป่อ เมื่อบริหารกิจการแผ่นดินไม่ได้ แต่เงินในท้องพระคลังร่อยหรอลงไปเป็นอันมาก จึงหาวิธีในการเก็บเงินเข้าคลัง โดยเริ่มต้นจากมาตรการเก็บภาษีอากร และออกหวยเบอร์
เมื่อผู้คนสนุกกับอบายมุข ศีลธรรมตกต่ำลง และอาชญากรรมสวนทางกลับสูงขึ้น เมื่อผู้ปกครองหลงใหลในลาภยศและฟุ่มเฟือย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงจนถึงขั้นที่ต้องแก้ปัญหาด้วยการคบฝรั่ง เมื่อเห็นโอกาสในการหาเงิน ขุนนางต่างๆ ก็เสนอให้พระเจ้าสีป่อเปิดให้ฝรั่งสัมปทานป่าไม้ เหมืองแร่ และทรัพยากรธรรมชาติ จนนายเมอร์สิเออร์ ฮาส กงสุลฝรั่งเศส ขณะนั้นเข้ามาให้คำสัญญาว่า จะช่วยเหลือทางการเงินและการทหารแก่พม่า เพียงแค่พม่ายอมให้ฝรั่งเศส สัมปทานป่าไม้ได้ ด้วยความรู้เท่าไม่ทันของพม่าที่ทะนงตนว่า ฝรั่งเศสให้ท้าย จึงคิดไปเอาชนะคะคานอังกฤษ ซึ่งมีอำนาจเหนือฝรั่งเศส และครองอินเดียอยู่ด้วยการพยายามเรียกปรับเงินชดเชยจากอังกฤษ โดยห้างบอมเบย์ ผู้ได้รับสัมปทานไม้จากพม่า ด้วยข้อหาว่า เสียภาษีไม่ครบจากไม้แปดหมื่นท่อน แต่เสียภาษีเพียงสองหมื่นสามพันท่อนเท่านั้น
เมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างพม่ากับอังกฤษ ฝรั่งเศส ในฐานะเบี้ยล่างของอังกฤษก็ถอนตัวออกไป ฝ่ายอังกฤษขอให้มีการผ่อนผันเพื่อให้อนุญาโตตุลาการเป็นคนกลางชี้ขาด ว่า ถ้าอังกฤษทำผิดจริง จะเสียค่าปรับให้ตามที่พม่าร้องขอ แต่ด้วยความที่พม่า โดยพระเจ้าสีป่อคิดมโนเอาเองว่า ฝรั่งเศสหนุนหลังจึงสั่งยึดแพและท่อนซุงที่ห้างบอมเบย์ของอังกฤษได้สัมปทานไว้ทั้งหมด และประกาศว่า ไม่ให้สัมปทานป่าไม้สัก จนกว่าอังกฤษจะจ่ายค่าปรับ หลังจากมีหนังสือตอบโต้กันไม่นาน ทางการอังกฤษส่งหนังสือเตือนพม่า ว่าให้ต้อนรับทูตที่ของอังกฤษที่ส่งไปจากอินเดีย เพื่อพิจารณาความระหว่างกัน แต่พม่าไม่ยอมรับข้อเสนอและเงื่อนไขคิดการกับขุนนาง ว่า จะทำสงครามกับอังกฤษ แต่อัครมหาเสนาบดีของพม่าบอกว่า ให้ยอมรับเงื่อนไขอังกฤษเสียเถอะ ไม่เช่นนั้นจะเกิดอันตรายต่อพม่า เมื่อเกิดความไม่ลงรอยกัน อังกฤษจึงยื่นคำขาดต่อพม่า แล้วส่งนายพลคนหนึ่งเป็นแม่ทัพทำสงครามยึดหัวเมืองต่างๆ ของพม่า จนถึงกรุงมัณฑะเลย์ จนในที่สุด พระเจ้าสีป่อต้องเรียกประชุมข้าราชบริพารเป็นการด่วน แต่ก็สายเกินไป เพราะเสียงปืนใหญ่ที่ยิงเมืองเมียงยานดังสนั่นถึงกรุงมัณฑะเลย์ อัครมหาเสนาบดีของพม่าบอกว่า ให้ยอมแพ้อังกฤษแต่โดยดีเพื่อรักษาราชวงศ์และพระชนม์ชีพไว้
วันสุดท้ายของรัตนะอังวะก็มาถึง เรือรบอังกฤษและทหารเข้ายึดกรุงมัณฑะเลย์และพระราชวัง จนพระเจ้าสีป่อต้องประกาศสละราชสมบัติ และพระนคร จึงทำให้พระเจ้าสีป่อ และบริวารตกเป็นนักโทษของอังกฤษที่ตรึงตราบาปไว้ในหัวใจของตนเองว่า พม่าที่เคยรุ่งเรืองด้วยอำนาจและศฤงคารทั้งปวงต้องสิ้นสุดพระราชประวัติและสิ้นพระชนม์ ด้วยคำประกาศสั้นๆ ของอุปราชอินเดียในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2428
บทเรียนจากพม่าเสียเมือง1จึงเป็นบทเรียนที่สะท้อนให้เห็นว่า โลกนั้นกลมทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอาจเกิดขึ้นวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาคล้ายกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของโลก อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตกาลอีกก็ได้ เพียงเปลี่ยนเงื่อนไขแค่บุคคล เวลา สถานที่ แต่เนื้อหาในเหตุการณ์อาจคล้ายคลึงกันนั่น จึงเป็นเหตุผลพอเพียงที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ต่างๆ ในฐานะของ "บทเรียน"
1อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. 2557. ประวัติศาสตร์ เพื่อนบ้านอาเซียน ในวรรณกรรม เรื่องพม่า เสียเมือง. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(1): 99-104.
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ผมจะใช้เวลาว่างที่มีเหลืออยู่จริงจากบทบาทหน้าที่ต่างๆ ในแต่ละวันเพื่อการอ่าน เหตุผลของการอ่านสำหรับผมมีไม่มาก ผมไม่ได้คิดจะอ่านหนังสือเพื่อฆ่าเวลา ผมไม่ได้คิดจะอ่านหนังสือเพื่อหาความรู้ แต่ผมจะอ่านหนังสือเพราะอยากอ่าน
ผมมีหนังสือที่อยากอ่านในบัญชีของตัวเองหลายเล่ม หนังสือเรื่อง พม่าเสียเมือง ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นับเป็นหนึ่งในรายการที่อยากอ่าน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ผมไม่มีเวลาอ่านอย่างต่อเนื่องเพื่อตั้งใจอ่านรวดเดียวให้จบ
ทฤษฎีการแบ่งเวลาจำเป็นจะต้องถูกนำมาใช้สำหรับมนุษย์อย่างผม วิธีการง่ายๆ คือ พกหนังสือความยาว 276 หน้าเล่มนี้ไปกับผมทุกที่ในรอบหนึ่งสัปดาห์ แม้ขณะเข้าห้องน้ำทำธุรกรรม ขณะนั่งรอคิวทำภารกิจบางอย่างในธนาคาร หรือร้านค้าก็เปิดหนังสืออ่านต่อจากที่ค้างไว้ โดยมีที่คั่นหนังสือ เป็นตัวช่วย อ่านไป อ่านไป จนผ่านไป 1 สัปดาห์ก็ไม่รู้ตัวว่าอ่านจบเล่มแล้วตั้งแต่ตอนไหน แต่สิ่งที่ใช้ตลอดเวลาที่อ่านหนังสืออยู่มี 2 สิ่ง คือ ตอบคำถามให้ได้ว่า ใจความสำคัญในหนังสือคืออะไร และมีความสุขไหม เมื่อได้อ่านในสิ่งที่อยากอ่านแล้ว
พม่าเสียเมืองเป็นวรรณกรรมชั้นดีที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนขึ้นจากบันทึกของฝรั่งอังกฤษผู้หนึ่งซึ่งโดดเด่นและงดงามในการใช้ภาษาไทย เหตุที่พม่าเสียเมืองนั้น จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้ามางลองทำศึกได้รับชัยเหนือมอญและรวมชาติพม่าได้ แต่หลังจากนั้นเกิดเสียจริตเพราะความยิ่งใหญ่ ลุ่มหลงในอำนาจ ความเก่งกาจของตนเองซึ่งพันธุกรรมแห่งการเสียจริตนี้ได้ตกทอดมาถึงพระเจ้าสีป่อ พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายของราชวงศ์อลองพระที่ทำให้พม่าต้องเสียเมืองแก่ฝรั่งอังกฤษในการศึกสงครามในปี พ.ศ. 2367
พระเจ้าสีป่อนั้น ได้รับการสถาปนาให้ปกครองพม่า โดยความช่วยเหลือจากอดีตพระมเหสีรอง (อเลนันดอ) และขุนนางผู้ใหญ่ที่มองเห็นความอ่อนแอในพระเจ้าสีป่อ ประกอบกับความที่พระมเหสีรองในขณะนั้นที่เห็นว่า พระเจ้ามินดง ผู้ปกครองพม่าสมัยนั้นทรงพระประชวรและอยู่ในวัยชรา จึงต้องการรวบอำนาจการปกครองไว้
เมื่อคิดทำการใหญ่ ก็ต้องตัดไม้ไม่ไว้หน่อ พระมเหสีรอง (อเลนันดอ) ได้เสนอให้พระเจ้าสีป่อสำเร็จโทษเจ้านายและขุนนาง ที่เห็นว่า เป็นปฏิปักษ์ด้วยวิธีการอันโหดเหี้ยมทารุณ เมื่อได้รวบอำนาจการปกครองไว้ในกำมือแล้ว พระมเหสีรอง (อเลนันดอ) ก็ใช้อำนาจผ่านพระเจ้าสีป่อ ฝ่ายพระเจ้าสีป่อ เมื่อบริหารกิจการแผ่นดินไม่ได้ แต่เงินในท้องพระคลังร่อยหรอลงไปเป็นอันมาก จึงหาวิธีในการเก็บเงินเข้าคลัง โดยเริ่มต้นจากมาตรการเก็บภาษีอากร และออกหวยเบอร์
เมื่อผู้คนสนุกกับอบายมุข ศีลธรรมตกต่ำลง และอาชญากรรมสวนทางกลับสูงขึ้น เมื่อผู้ปกครองหลงใหลในลาภยศและฟุ่มเฟือย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงจนถึงขั้นที่ต้องแก้ปัญหาด้วยการคบฝรั่ง เมื่อเห็นโอกาสในการหาเงิน ขุนนางต่างๆ ก็เสนอให้พระเจ้าสีป่อเปิดให้ฝรั่งสัมปทานป่าไม้ เหมืองแร่ และทรัพยากรธรรมชาติ จนนายเมอร์สิเออร์ ฮาส กงสุลฝรั่งเศส ขณะนั้นเข้ามาให้คำสัญญาว่า จะช่วยเหลือทางการเงินและการทหารแก่พม่า เพียงแค่พม่ายอมให้ฝรั่งเศส สัมปทานป่าไม้ได้ ด้วยความรู้เท่าไม่ทันของพม่าที่ทะนงตนว่า ฝรั่งเศสให้ท้าย จึงคิดไปเอาชนะคะคานอังกฤษ ซึ่งมีอำนาจเหนือฝรั่งเศส และครองอินเดียอยู่ด้วยการพยายามเรียกปรับเงินชดเชยจากอังกฤษ โดยห้างบอมเบย์ ผู้ได้รับสัมปทานไม้จากพม่า ด้วยข้อหาว่า เสียภาษีไม่ครบจากไม้แปดหมื่นท่อน แต่เสียภาษีเพียงสองหมื่นสามพันท่อนเท่านั้น
เมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างพม่ากับอังกฤษ ฝรั่งเศส ในฐานะเบี้ยล่างของอังกฤษก็ถอนตัวออกไป ฝ่ายอังกฤษขอให้มีการผ่อนผันเพื่อให้อนุญาโตตุลาการเป็นคนกลางชี้ขาด ว่า ถ้าอังกฤษทำผิดจริง จะเสียค่าปรับให้ตามที่พม่าร้องขอ แต่ด้วยความที่พม่า โดยพระเจ้าสีป่อคิดมโนเอาเองว่า ฝรั่งเศสหนุนหลังจึงสั่งยึดแพและท่อนซุงที่ห้างบอมเบย์ของอังกฤษได้สัมปทานไว้ทั้งหมด และประกาศว่า ไม่ให้สัมปทานป่าไม้สัก จนกว่าอังกฤษจะจ่ายค่าปรับ หลังจากมีหนังสือตอบโต้กันไม่นาน ทางการอังกฤษส่งหนังสือเตือนพม่า ว่าให้ต้อนรับทูตที่ของอังกฤษที่ส่งไปจากอินเดีย เพื่อพิจารณาความระหว่างกัน แต่พม่าไม่ยอมรับข้อเสนอและเงื่อนไขคิดการกับขุนนาง ว่า จะทำสงครามกับอังกฤษ แต่อัครมหาเสนาบดีของพม่าบอกว่า ให้ยอมรับเงื่อนไขอังกฤษเสียเถอะ ไม่เช่นนั้นจะเกิดอันตรายต่อพม่า เมื่อเกิดความไม่ลงรอยกัน อังกฤษจึงยื่นคำขาดต่อพม่า แล้วส่งนายพลคนหนึ่งเป็นแม่ทัพทำสงครามยึดหัวเมืองต่างๆ ของพม่า จนถึงกรุงมัณฑะเลย์ จนในที่สุด พระเจ้าสีป่อต้องเรียกประชุมข้าราชบริพารเป็นการด่วน แต่ก็สายเกินไป เพราะเสียงปืนใหญ่ที่ยิงเมืองเมียงยานดังสนั่นถึงกรุงมัณฑะเลย์ อัครมหาเสนาบดีของพม่าบอกว่า ให้ยอมแพ้อังกฤษแต่โดยดีเพื่อรักษาราชวงศ์และพระชนม์ชีพไว้
วันสุดท้ายของรัตนะอังวะก็มาถึง เรือรบอังกฤษและทหารเข้ายึดกรุงมัณฑะเลย์และพระราชวัง จนพระเจ้าสีป่อต้องประกาศสละราชสมบัติ และพระนคร จึงทำให้พระเจ้าสีป่อ และบริวารตกเป็นนักโทษของอังกฤษที่ตรึงตราบาปไว้ในหัวใจของตนเองว่า พม่าที่เคยรุ่งเรืองด้วยอำนาจและศฤงคารทั้งปวงต้องสิ้นสุดพระราชประวัติและสิ้นพระชนม์ ด้วยคำประกาศสั้นๆ ของอุปราชอินเดียในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2428
บทเรียนจากพม่าเสียเมือง1จึงเป็นบทเรียนที่สะท้อนให้เห็นว่า โลกนั้นกลมทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอาจเกิดขึ้นวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาคล้ายกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของโลก อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตกาลอีกก็ได้ เพียงเปลี่ยนเงื่อนไขแค่บุคคล เวลา สถานที่ แต่เนื้อหาในเหตุการณ์อาจคล้ายคลึงกันนั่น จึงเป็นเหตุผลพอเพียงที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ต่างๆ ในฐานะของ "บทเรียน"
1อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. 2557. ประวัติศาสตร์ เพื่อนบ้านอาเซียน ในวรรณกรรม เรื่องพม่า เสียเมือง. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(1): 99-104.