ผมเข้าไปร่วมเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อ 40 ปีมาแล้วคือเมื่อ พ.ศ. 2517 นอกจากจะเป็นกรรมการแล้ว ผมยังเป็นรองประธานกรรมการเผยแพร่มติและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอีกด้วย คณะกรรมการชุดนี้มีท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นประธาน ท่านจึงมอบงานด้านนี้ทั้งหมดให้ผมดูแล
เมื่อเราไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ปรากฏว่าสิ่งที่ประชาชนจำนวนมากร้องเรียนมาคือ ความทุกข์ยากเดือดร้อน เรียกได้ว่ามีอยู่ทุกหย่อมหญ้า ผมจึงเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญนั้นจะไม่มีความหมายอะไรเลย ตราบเท่าที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีความทุกข์ร้อนอยู่
40 ปีให้หลัง เราก็มีการร่างรัฐธรรมนูญอีก สภาปฏิรูปแห่งชาติตั้งสมาชิกเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน และผมก็สมัครเข้าไปเป็นกรรมาธิการคนหนึ่งด้วย แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่ได้รับเลือก ผมมีความหวังว่าครั้งนี้เราคงได้รัฐธรรมนูญที่เหมาะสมสำหรับเมืองไทย
จุดใหญ่ของรัฐธรรมนูญมีอยู่สองประเภทคือ การประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการวางมาตรการในการถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ แต่เราจะคาดหวังให้รัฐธรรมนูญแก้พฤติกรรมของนักการเมืองนั้นไม่ได้ แม้ว่าจะควบคุมพฤติกรรมของนักการเมืองให้ไม่ออกนอกกรอบมากเกินไปได้ก็ตาม
เมื่อดูองค์ประกอบของสภาปฏิรูปแล้ว จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งออกเป็นด้านๆ ถึง 11 ด้าน และในการร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องรับฟังความคิดเห็นจากทั้ง 11 ด้านซึ่งเวลานี้ก็มีการลงรายละเอียดไปว่าอยากให้รัฐธรรมนูญสนับสนุนพลังงานทดแทน ดังนั้นเราจึงจะพอคาดคิดได้ว่า ปัญหาหนึ่งก็คือทำอย่างไรจึงจะไม่ให้มีการลงรายละเอียดมากเกินไป เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่เอกสารที่จะบรรจุทุกเรื่องลงไปได้ น่าจะเป็นเพียงหลักการหรือเรื่องใหญ่ๆ เท่านั้น
นอกจากสมาชิกสภาปฏิรูป 11 กลุ่มแล้ว สภาปฏิรูปก็ยังต้องฟังความคิดเห็นจากประชาชนอีกด้วย ซึ่งทำได้จากการฟังความเห็นของกลุ่มที่มีความสนใจเหมืนอย่างที่มีการตั้ง “สภากระจก” ซึ่งผมสนับสนุนอย่างเต็มที่ ผมแน่ใจว่าสภาปฏิรูปโดยคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะจัดตั้งศูนย์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนขึ้น และในเวลานี้เราก็มีเอกสารที่รวบรวมความเห็นที่ทาง คสช.ได้จัดทำเวทีล่วงหน้าไว้แล้ว ประกอบกับสิ่งที่ได้จากสมัชชาที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี และคณะกรรมการปฏิรูปที่คุณอานันท์ ปันยารชุน เคยทำไว้ หากคณะกรรมาธิการยกร่างฯ มีคณะผู้ช่วยรวบรวม และจัดลำดับความสำคัญของประเด็นต่างๆ ไว้ก็จะเป็นประโยชน์มาก
เนื่องจากเวลามีอยู่น้อย คณะกรรมการยกร่างฯ จึงต้องหาแนวทาง และวิธีการทำงานของคณะกรรมการยกร่างฯ ซึ่งมีอยู่สองแนวทาง แนวทางแรกก็คือการพิจารณาแบบเรียงมาตราซึ่งต้องใช้เวลายาวนานมาก อีกแนวทางหนึ่งก็คือ ดูว่าหมวดใดที่กรรมการมีความเห็นพ้องต้องกัน ก็สามารถตกลงกันได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหมวดและมาตราที่อาจมีปัญหาข้อถกเถียงกันมาก ก็เก็บไว้พิจารณาทีหลัง สำหรับแนวทางที่สองนี้ ผมคิดว่าเหมาะสมกว่า เพราะการตกลงกันในเรื่องที่เห็นพ้องต้องกันอยู่แล้ว ทำให้บรรยากาศของการประชุมเป็นไปด้วยดี ผมเคยไปเป็นที่ปรึกษาของสหประชาชาติในกัมพูชา ตอนที่มีการร่างรัฐธรรมนูญก็ได้ใช้วิธีนี้ ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จลงได้ด้วยดี
เมื่อเป็นเช่นนี้ คณะกรรมการยกร่างฯ ก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาตั้งแต่มาตราแรก แต่อาจนำเอาหมวดสิทธิเสรีภาพ และหมวดที่มีปัญหาน้อย เช่น แนวนโยบายแห่งชาติมาพิจารณาก่อนก็จะเป็นการดี ส่วนหมวดที่ว่าด้วยคณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรอิสระก็รอไว้พิจารณาภายหลัง
ผมคาดว่าประเด็นที่จะมีการถกเถียงกันมาก ก็คงจะเกี่ยวกับนักการเมือง คือ เรื่องการเลือกตั้ง และอำนาจที่นักการเมืองจะมี ตลอดจนข้อห้ามในการใช้อำนาจอย่างการที่จะออกนโยบายประชานิยมสุดโต่ง หรือการเข้ามาแทรกแซงการใช้งบประมาณ และการแต่งตั้งข้าราชการ เป็นต้น อีกเรื่องหนึ่งก็คือ อำนาจขององค์กรอิสระซึ่งคาดว่าจะมีผู้เสนอให้ทบทวน หรืออาจไปถึงการยกเลิกองค์กรอิสระบางแห่งก็เป็นไปได้
เมื่อเราไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ปรากฏว่าสิ่งที่ประชาชนจำนวนมากร้องเรียนมาคือ ความทุกข์ยากเดือดร้อน เรียกได้ว่ามีอยู่ทุกหย่อมหญ้า ผมจึงเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญนั้นจะไม่มีความหมายอะไรเลย ตราบเท่าที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีความทุกข์ร้อนอยู่
40 ปีให้หลัง เราก็มีการร่างรัฐธรรมนูญอีก สภาปฏิรูปแห่งชาติตั้งสมาชิกเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน และผมก็สมัครเข้าไปเป็นกรรมาธิการคนหนึ่งด้วย แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่ได้รับเลือก ผมมีความหวังว่าครั้งนี้เราคงได้รัฐธรรมนูญที่เหมาะสมสำหรับเมืองไทย
จุดใหญ่ของรัฐธรรมนูญมีอยู่สองประเภทคือ การประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการวางมาตรการในการถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ แต่เราจะคาดหวังให้รัฐธรรมนูญแก้พฤติกรรมของนักการเมืองนั้นไม่ได้ แม้ว่าจะควบคุมพฤติกรรมของนักการเมืองให้ไม่ออกนอกกรอบมากเกินไปได้ก็ตาม
เมื่อดูองค์ประกอบของสภาปฏิรูปแล้ว จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งออกเป็นด้านๆ ถึง 11 ด้าน และในการร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องรับฟังความคิดเห็นจากทั้ง 11 ด้านซึ่งเวลานี้ก็มีการลงรายละเอียดไปว่าอยากให้รัฐธรรมนูญสนับสนุนพลังงานทดแทน ดังนั้นเราจึงจะพอคาดคิดได้ว่า ปัญหาหนึ่งก็คือทำอย่างไรจึงจะไม่ให้มีการลงรายละเอียดมากเกินไป เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่เอกสารที่จะบรรจุทุกเรื่องลงไปได้ น่าจะเป็นเพียงหลักการหรือเรื่องใหญ่ๆ เท่านั้น
นอกจากสมาชิกสภาปฏิรูป 11 กลุ่มแล้ว สภาปฏิรูปก็ยังต้องฟังความคิดเห็นจากประชาชนอีกด้วย ซึ่งทำได้จากการฟังความเห็นของกลุ่มที่มีความสนใจเหมืนอย่างที่มีการตั้ง “สภากระจก” ซึ่งผมสนับสนุนอย่างเต็มที่ ผมแน่ใจว่าสภาปฏิรูปโดยคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะจัดตั้งศูนย์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนขึ้น และในเวลานี้เราก็มีเอกสารที่รวบรวมความเห็นที่ทาง คสช.ได้จัดทำเวทีล่วงหน้าไว้แล้ว ประกอบกับสิ่งที่ได้จากสมัชชาที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี และคณะกรรมการปฏิรูปที่คุณอานันท์ ปันยารชุน เคยทำไว้ หากคณะกรรมาธิการยกร่างฯ มีคณะผู้ช่วยรวบรวม และจัดลำดับความสำคัญของประเด็นต่างๆ ไว้ก็จะเป็นประโยชน์มาก
เนื่องจากเวลามีอยู่น้อย คณะกรรมการยกร่างฯ จึงต้องหาแนวทาง และวิธีการทำงานของคณะกรรมการยกร่างฯ ซึ่งมีอยู่สองแนวทาง แนวทางแรกก็คือการพิจารณาแบบเรียงมาตราซึ่งต้องใช้เวลายาวนานมาก อีกแนวทางหนึ่งก็คือ ดูว่าหมวดใดที่กรรมการมีความเห็นพ้องต้องกัน ก็สามารถตกลงกันได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหมวดและมาตราที่อาจมีปัญหาข้อถกเถียงกันมาก ก็เก็บไว้พิจารณาทีหลัง สำหรับแนวทางที่สองนี้ ผมคิดว่าเหมาะสมกว่า เพราะการตกลงกันในเรื่องที่เห็นพ้องต้องกันอยู่แล้ว ทำให้บรรยากาศของการประชุมเป็นไปด้วยดี ผมเคยไปเป็นที่ปรึกษาของสหประชาชาติในกัมพูชา ตอนที่มีการร่างรัฐธรรมนูญก็ได้ใช้วิธีนี้ ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จลงได้ด้วยดี
เมื่อเป็นเช่นนี้ คณะกรรมการยกร่างฯ ก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาตั้งแต่มาตราแรก แต่อาจนำเอาหมวดสิทธิเสรีภาพ และหมวดที่มีปัญหาน้อย เช่น แนวนโยบายแห่งชาติมาพิจารณาก่อนก็จะเป็นการดี ส่วนหมวดที่ว่าด้วยคณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรอิสระก็รอไว้พิจารณาภายหลัง
ผมคาดว่าประเด็นที่จะมีการถกเถียงกันมาก ก็คงจะเกี่ยวกับนักการเมือง คือ เรื่องการเลือกตั้ง และอำนาจที่นักการเมืองจะมี ตลอดจนข้อห้ามในการใช้อำนาจอย่างการที่จะออกนโยบายประชานิยมสุดโต่ง หรือการเข้ามาแทรกแซงการใช้งบประมาณ และการแต่งตั้งข้าราชการ เป็นต้น อีกเรื่องหนึ่งก็คือ อำนาจขององค์กรอิสระซึ่งคาดว่าจะมีผู้เสนอให้ทบทวน หรืออาจไปถึงการยกเลิกองค์กรอิสระบางแห่งก็เป็นไปได้