**จบจากขั้นตอนการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไปแล้ว เมื่อกลางดึกคืนวันอาทิตย์ที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา เสร็จสิ้นจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วกระบวนการต่อจากนี้ ก็ต้องติดตามชนิดพลาดกันไมได้เช่นกัน
เนื่องจากจะเข้าสู่ขั้นตอนตามรธน.ฉบับชั่วคราว ปี 57 มาตรา 36 ที่จะต้องให้ สปช.- คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เสนอคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรธน.ดังกล่าว ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ
โดยขั้นตอนดังกล่าวถือว่าสำคัญไม่น้อย เพราะในการโหวตเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรธน.ของสปช. ที่จะอยู่ในช่วงประมาณวันที่ 6 สิงหาคม สมาชิก สปช.ไม่สามารถเสนออะไรได้อีกแล้ว
**สปช. ต้องโหวตรับ-ไม่รับร่างรธน.ที่เป็นร่างสุดท้ายอย่างเดียว
ดังนั้น ทางสปช.-ครม.-คสช. หากเห็นว่า ร่างรธน.ร่างแรกดังกล่าว มีปัญหาหรือไม่เห็นด้วยกับมาตราไหน จะต้องทำความเห็นเสนอไปยัง กมธ.ยกร่างฯ ภายในไม่เกิน 25 พ.ค.นี้ พอได้รับคำขอแก้ไขเพิ่มเติม ร่างรธน.มาแล้ว กมธ.ยกร่างฯ ก็มีเวลาอีกประมาณ 60 วัน ในการพิจารณาคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ที่ต้องทำให้แล้วเสร็จไม่เกิน 23 ก.ค. 58 เพื่อส่งร่างทั้งหมดที่ถือเป็นร่างสุดท้ายแล้ว ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีกแล้ว ไปยัง สปช.เพื่อให้ สปช. โหวตภายในไม่เกิน 6 ส.ค.นั่นเอง
จึงต้องรอดูว่า 36 กมธ.ยกร่างฯ จะเอาอย่างไร เมื่อได้รับคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรธน. มาจาก สปช.-ครม.-คสช. แล้ว จะยอมปรับแก้ไขร่างของตัวเองหรือไม่ ?
**ประเมินแล้ว เชื่อได้ว่า กมธ.ยกร่างฯ จะยอมแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตรา แต่การแก้ไขนั้น จะไม่ทำแบบรื้อโครงสร้าง ร่างรธน. เพราะหากไปทำเช่นนั้น จะทำให้เสียเวลาเยอะ เพราะต้องมาแก้ไขในส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วย
หากเป็นเรื่องหลักการใหญ่ๆ เช่น ระบบการเลือกตั้ง –ที่มา ส.ส. หรือเรื่องการตรวจสอบนักการเมืองและข้าราชการประจำ หลักใหญ่ๆ แบบนี้ เชื่อได้ว่า กมธ.ยกร่างฯ ไม่มีทางยอมแก้ไขแน่นอน เพราะหากแก้ก็จะไปกระทบกับส่วนอื่นๆ หมด โดยเฉพาะประเด็นสำคัญๆ ที่กมธ.ยกร่างฯ ชูมาตลอด คงไม่ยอมแก้ไขแน่นอน
ไม่ว่าจะเป็นระบบการเลือกตั้งส.ส.แบบสัดส่วนผสม หรือเรื่องที่มาส.ว. เรื่องใหญ่ๆ เช่นนี้ ประเมินว่า กมธ.ยกร่างฯ คงให้เป็นตามร่างเดิม ยากจะยอมปรับแก้ แต่น่าจะเน้นไปที่การปิดช่องโหว่ต่างๆ ตามที่มีการเสนอแนะกันมา ทั้งจาก สปช.และภาคส่วนอื่นๆ
เพราะต้องยอมรับว่า จากการฟังคำอภิปรายของสมาชิก สปช. ตลอด 7 วันที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ มีการอภิปรายให้เหตุผลในเชิงไม่เห็นด้วยกับร่างรธน. ในบางมาตรา ที่หลายความเห็นมีการอธิบายเหตุผลได้มีน้ำหนักมากพอควร โดยเฉพาะการชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ของ ร่างรธน.ฉบับนี้ จนกมธ.ยกร่างฯ ก็ยอมรับกันหลายคนว่า จะนำไปพิจารณาปรับปรุง ปิดช่องโหว่ตามคำแนะนำ
ไม่ว่าจะเป็น มาตรา 173 ที่ถูกสปช. ท้วงติงว่า จะเปิดช่องให้มีการเลือกคนที่ไม่ได้เป็นส.ส.มาเป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่จำเป็นต้องใช้เสียง 2 ใน 3 เพราะแม้ร่างรธน. มาตรา 172 วรรคสาม จะบัญญัติว่า หากสภาผู้แทนราษฎรจะเลือกคนที่ไม่ได้เป็นส.ส.ต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ที่มากกว่า การเลือกส.ส.มาเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ให้ใช้เสียงแค่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนส.ส. แต่ใน มาตรา 173 มีคำอภิปรายจาก สปช.ว่า หากเกิดกรณีที่ ถ้าพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มาประชุมเป็นครั้งแรกแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 172 วรรคสาม ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความขึ้นกราบบังคมทูลภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุด เป็นนายกรัฐมนตรี
**หมายถึงว่า ถ้าหากในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ถ้ามีการเสนอชื่อแข่งกัน ให้ที่ประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี โดยคนแรกเป็นส.ส. ส่วนอีกคนไม่ได้เป็นส.ส. แต่ปรากฏว่า คนแรกที่เป็นส.ส. เสียงโหวตไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนส.ส. ส่วนคนที่สอง ที่ไม่ได้เป็นส.ส. ก็มีปัญหาเหมือนกัน เพราะเสียงโหวตก็ไม่ถึง 2 ใน 3 ทำให้ที่ประชุมไม่สามารถมีมติเห็นชอบคนเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ก็ให้หยุดพักเอาไว้ แล้วรอไป 30 วัน จากนั้น ประธานสภาฯ ก็เอาคนที่ได้คะแนนมากที่สุดในการโหวต เสนอชื่อทูลเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเท่ากับว่า เป็นการเปิดช่องให้ คนที่ไม่ได้เป็น ส.ส.หากจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ก็ได้
ก็เป็นข้อเป็นห่วงของสปช. ที่กมธ.ยกร่างฯ ก็ยอมรับว่านึกไม่ถึงในกรณีนี้ จึงจะรับไปอุดช่องโหว่เอาไว้ ที่ก็ต้องดูว่าจะไปอุดช่องโหว่ไม่ให้เกิดปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร
แต่แนวโน้มน่าจะออกมา คือ ต้องทำให้ยังไงก็ตาม คนที่ไม่ได้เป็นส.ส.จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องใช้เสียงโหวตจากส.ส.มากกว่าคนที่เป็นส.ส. ซึ่งสูตร 2 ใน 3 ถือว่าค่อนข้างลงตัวแล้ว เพราะหากใช้ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมของเยอรมัน ที่เชื่อว่า กมธ.ยกร่างฯ คงไม่เปลี่ยนแล้ว ถ้าใช้ระบบนี้ พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งไม่น่าจะได้เสียงส.ส.เกินกึ่งหนึ่งเพียงพรรคเดียว แบบที่พรรคไทยรักไทยและพรรคเพื่อไทยเคยทำได้ การตั้งรัฐบาลจะมีหลายพรรคมาก เผลอๆ เสียงส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ก็อาจไม่ถึง 2 ใน 3 แน่นอน การที่จะเอาเสียง 2 ใน 3 มาโหวตเลือกนายกฯ จึงหมายถึงว่า พรรคฝ่ายค้านต้องเอาด้วย ซึ่งเป็นเรื่องยากมากในทางการเมือง
หลักตรงนี้ เชื่อว่า กมธ.ยกร่างฯ น่าจะคงไว้อยู่ แต่จะปิดช่องโหว่เอาไว้ให้รัดกุมตามที่เสียงท้วงติง แม้ในความเป็นจริงทางการเมืองแล้ว มันยากมากที่จะเกิดกรณี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลที่ต้องมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งอยู่แล้วจะไม่โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีที่มาจากส.ส. หรือพวกหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล จนทำให้เสียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง แล้วต้องปล่อยไว้ 30 วัน จนอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ตามที่ สปช.ท้วงติง แต่เพื่อความรอบคอบ กมธ.ยกร่างฯ จะอุดช่องโหว่ตรงนี้ไว้ก็ดีเหมือนกัน จะได้ไม่มีปัญหาการตีความในภายหลัง
ส่วนประเด็นอื่นๆ กมธ.ยกร่างฯ จะยอมปรับเปลี่ยนอะไรหรือไม่ ก็ต้องรอดูว่า คำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรธน. จาก สปช.-ครม.-คสช. จะมีอะไรน่าสนใจ โดยเฉพาะ “ครม.-คสช.” ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่มีการแสดงท่าทีใดๆ อย่างเป็นทางการ เว้นแต่ความเห็นของคนใน ครม.-คสช. บางคนอย่าง วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่ออกมาท้วงติงว่า ร่าง รธน. ดังกล่าว ยาวเกินไป แต่ยังไม่ลงรายละเอียดว่าจะยื่นขอแก้ไขอย่างไร
ทั้งนี้คำขอแก้ไขร่างรธน. ของครม.กับคสช.นั้น ถือว่าสำคัญไม่น้อย แม้ครม.-คสช. จะไม่มีส่วนในการโหวตรับร่างรธน. แต่ต้องไม่ลืมเด็ดขาด ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่คุมทั้ง ครม.และ คสช. เป็นคนให้กำเนิดทั้ง สปช.-กมธ.ยกร่างฯ มากับมือ
**ดังนั้น หากบิ๊กตู่ ยื่นคำขอแก้ไขร่างรธน.ไปในนาม ครม.-คสช. แล้ว กมธ.ยกร่างฯ ทำหูทวนลม ไม่โอเคด้วยสักเรื่อง อาจได้เห็นอะไรดีๆ เกิดขึ้นก็ได้ ?
เนื่องจากจะเข้าสู่ขั้นตอนตามรธน.ฉบับชั่วคราว ปี 57 มาตรา 36 ที่จะต้องให้ สปช.- คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เสนอคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรธน.ดังกล่าว ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ
โดยขั้นตอนดังกล่าวถือว่าสำคัญไม่น้อย เพราะในการโหวตเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรธน.ของสปช. ที่จะอยู่ในช่วงประมาณวันที่ 6 สิงหาคม สมาชิก สปช.ไม่สามารถเสนออะไรได้อีกแล้ว
**สปช. ต้องโหวตรับ-ไม่รับร่างรธน.ที่เป็นร่างสุดท้ายอย่างเดียว
ดังนั้น ทางสปช.-ครม.-คสช. หากเห็นว่า ร่างรธน.ร่างแรกดังกล่าว มีปัญหาหรือไม่เห็นด้วยกับมาตราไหน จะต้องทำความเห็นเสนอไปยัง กมธ.ยกร่างฯ ภายในไม่เกิน 25 พ.ค.นี้ พอได้รับคำขอแก้ไขเพิ่มเติม ร่างรธน.มาแล้ว กมธ.ยกร่างฯ ก็มีเวลาอีกประมาณ 60 วัน ในการพิจารณาคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ที่ต้องทำให้แล้วเสร็จไม่เกิน 23 ก.ค. 58 เพื่อส่งร่างทั้งหมดที่ถือเป็นร่างสุดท้ายแล้ว ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีกแล้ว ไปยัง สปช.เพื่อให้ สปช. โหวตภายในไม่เกิน 6 ส.ค.นั่นเอง
จึงต้องรอดูว่า 36 กมธ.ยกร่างฯ จะเอาอย่างไร เมื่อได้รับคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรธน. มาจาก สปช.-ครม.-คสช. แล้ว จะยอมปรับแก้ไขร่างของตัวเองหรือไม่ ?
**ประเมินแล้ว เชื่อได้ว่า กมธ.ยกร่างฯ จะยอมแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตรา แต่การแก้ไขนั้น จะไม่ทำแบบรื้อโครงสร้าง ร่างรธน. เพราะหากไปทำเช่นนั้น จะทำให้เสียเวลาเยอะ เพราะต้องมาแก้ไขในส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วย
หากเป็นเรื่องหลักการใหญ่ๆ เช่น ระบบการเลือกตั้ง –ที่มา ส.ส. หรือเรื่องการตรวจสอบนักการเมืองและข้าราชการประจำ หลักใหญ่ๆ แบบนี้ เชื่อได้ว่า กมธ.ยกร่างฯ ไม่มีทางยอมแก้ไขแน่นอน เพราะหากแก้ก็จะไปกระทบกับส่วนอื่นๆ หมด โดยเฉพาะประเด็นสำคัญๆ ที่กมธ.ยกร่างฯ ชูมาตลอด คงไม่ยอมแก้ไขแน่นอน
ไม่ว่าจะเป็นระบบการเลือกตั้งส.ส.แบบสัดส่วนผสม หรือเรื่องที่มาส.ว. เรื่องใหญ่ๆ เช่นนี้ ประเมินว่า กมธ.ยกร่างฯ คงให้เป็นตามร่างเดิม ยากจะยอมปรับแก้ แต่น่าจะเน้นไปที่การปิดช่องโหว่ต่างๆ ตามที่มีการเสนอแนะกันมา ทั้งจาก สปช.และภาคส่วนอื่นๆ
เพราะต้องยอมรับว่า จากการฟังคำอภิปรายของสมาชิก สปช. ตลอด 7 วันที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ มีการอภิปรายให้เหตุผลในเชิงไม่เห็นด้วยกับร่างรธน. ในบางมาตรา ที่หลายความเห็นมีการอธิบายเหตุผลได้มีน้ำหนักมากพอควร โดยเฉพาะการชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ของ ร่างรธน.ฉบับนี้ จนกมธ.ยกร่างฯ ก็ยอมรับกันหลายคนว่า จะนำไปพิจารณาปรับปรุง ปิดช่องโหว่ตามคำแนะนำ
ไม่ว่าจะเป็น มาตรา 173 ที่ถูกสปช. ท้วงติงว่า จะเปิดช่องให้มีการเลือกคนที่ไม่ได้เป็นส.ส.มาเป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่จำเป็นต้องใช้เสียง 2 ใน 3 เพราะแม้ร่างรธน. มาตรา 172 วรรคสาม จะบัญญัติว่า หากสภาผู้แทนราษฎรจะเลือกคนที่ไม่ได้เป็นส.ส.ต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ที่มากกว่า การเลือกส.ส.มาเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ให้ใช้เสียงแค่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนส.ส. แต่ใน มาตรา 173 มีคำอภิปรายจาก สปช.ว่า หากเกิดกรณีที่ ถ้าพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มาประชุมเป็นครั้งแรกแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 172 วรรคสาม ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความขึ้นกราบบังคมทูลภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุด เป็นนายกรัฐมนตรี
**หมายถึงว่า ถ้าหากในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ถ้ามีการเสนอชื่อแข่งกัน ให้ที่ประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี โดยคนแรกเป็นส.ส. ส่วนอีกคนไม่ได้เป็นส.ส. แต่ปรากฏว่า คนแรกที่เป็นส.ส. เสียงโหวตไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนส.ส. ส่วนคนที่สอง ที่ไม่ได้เป็นส.ส. ก็มีปัญหาเหมือนกัน เพราะเสียงโหวตก็ไม่ถึง 2 ใน 3 ทำให้ที่ประชุมไม่สามารถมีมติเห็นชอบคนเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ก็ให้หยุดพักเอาไว้ แล้วรอไป 30 วัน จากนั้น ประธานสภาฯ ก็เอาคนที่ได้คะแนนมากที่สุดในการโหวต เสนอชื่อทูลเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเท่ากับว่า เป็นการเปิดช่องให้ คนที่ไม่ได้เป็น ส.ส.หากจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ก็ได้
ก็เป็นข้อเป็นห่วงของสปช. ที่กมธ.ยกร่างฯ ก็ยอมรับว่านึกไม่ถึงในกรณีนี้ จึงจะรับไปอุดช่องโหว่เอาไว้ ที่ก็ต้องดูว่าจะไปอุดช่องโหว่ไม่ให้เกิดปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร
แต่แนวโน้มน่าจะออกมา คือ ต้องทำให้ยังไงก็ตาม คนที่ไม่ได้เป็นส.ส.จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องใช้เสียงโหวตจากส.ส.มากกว่าคนที่เป็นส.ส. ซึ่งสูตร 2 ใน 3 ถือว่าค่อนข้างลงตัวแล้ว เพราะหากใช้ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมของเยอรมัน ที่เชื่อว่า กมธ.ยกร่างฯ คงไม่เปลี่ยนแล้ว ถ้าใช้ระบบนี้ พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งไม่น่าจะได้เสียงส.ส.เกินกึ่งหนึ่งเพียงพรรคเดียว แบบที่พรรคไทยรักไทยและพรรคเพื่อไทยเคยทำได้ การตั้งรัฐบาลจะมีหลายพรรคมาก เผลอๆ เสียงส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ก็อาจไม่ถึง 2 ใน 3 แน่นอน การที่จะเอาเสียง 2 ใน 3 มาโหวตเลือกนายกฯ จึงหมายถึงว่า พรรคฝ่ายค้านต้องเอาด้วย ซึ่งเป็นเรื่องยากมากในทางการเมือง
หลักตรงนี้ เชื่อว่า กมธ.ยกร่างฯ น่าจะคงไว้อยู่ แต่จะปิดช่องโหว่เอาไว้ให้รัดกุมตามที่เสียงท้วงติง แม้ในความเป็นจริงทางการเมืองแล้ว มันยากมากที่จะเกิดกรณี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลที่ต้องมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งอยู่แล้วจะไม่โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีที่มาจากส.ส. หรือพวกหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล จนทำให้เสียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง แล้วต้องปล่อยไว้ 30 วัน จนอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ตามที่ สปช.ท้วงติง แต่เพื่อความรอบคอบ กมธ.ยกร่างฯ จะอุดช่องโหว่ตรงนี้ไว้ก็ดีเหมือนกัน จะได้ไม่มีปัญหาการตีความในภายหลัง
ส่วนประเด็นอื่นๆ กมธ.ยกร่างฯ จะยอมปรับเปลี่ยนอะไรหรือไม่ ก็ต้องรอดูว่า คำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรธน. จาก สปช.-ครม.-คสช. จะมีอะไรน่าสนใจ โดยเฉพาะ “ครม.-คสช.” ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่มีการแสดงท่าทีใดๆ อย่างเป็นทางการ เว้นแต่ความเห็นของคนใน ครม.-คสช. บางคนอย่าง วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่ออกมาท้วงติงว่า ร่าง รธน. ดังกล่าว ยาวเกินไป แต่ยังไม่ลงรายละเอียดว่าจะยื่นขอแก้ไขอย่างไร
ทั้งนี้คำขอแก้ไขร่างรธน. ของครม.กับคสช.นั้น ถือว่าสำคัญไม่น้อย แม้ครม.-คสช. จะไม่มีส่วนในการโหวตรับร่างรธน. แต่ต้องไม่ลืมเด็ดขาด ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่คุมทั้ง ครม.และ คสช. เป็นคนให้กำเนิดทั้ง สปช.-กมธ.ยกร่างฯ มากับมือ
**ดังนั้น หากบิ๊กตู่ ยื่นคำขอแก้ไขร่างรธน.ไปในนาม ครม.-คสช. แล้ว กมธ.ยกร่างฯ ทำหูทวนลม ไม่โอเคด้วยสักเรื่อง อาจได้เห็นอะไรดีๆ เกิดขึ้นก็ได้ ?