"เอนก" แจงกก.ปรองดองแห่งชาติฯ นวัตกรรมใหม่ สร้างไทยให้รักสามัคคี วอน สปช. ช่วยทำสำเร็จ ยัน พ.ร.ฎ.อภัยโทษไม่ละเมิดพระราชอำนาจ "เจิมศักดิ์" โวยร่างแม่บทให้ตีความเอง หวั่นบางคนรีบกลับไทย กราบขออภัยแล้วจบ "บวรศักดิ์" แจงไม่น่ากลัวอย่างที่คิด หากในหลวงไม่ทรงลงนามก็จบ
ในการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญของสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อวานนี้ (26 เม.ย.) นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์กมธ.ยกร่างฯ ชี้แจงประเด็นปรองดองว่า ทางกมธ.ยกร่างฯ 36 คน อาจจะมีความขัดแย้งกันหลายเรื่อง แต่เรื่องหนึ่งที่เห็นร่วมกันมาตั้งแต่ต้น คือรัฐธรรมนูญ นี้มีเป้าหมายให้มีการปฏิรูป และปรองดอง ใน มาตรา 297 และ 298 ให้มีคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง แก้ไขความขัดแย้ง สร้างความรักสามัคคีให้เกิดขึ้นระหว่างสีเหลือง สีแดง หรือฝ่ายที่สาม หรือขยายไปถึง 3 จังหวัดภาคใต้ ก็ได้ ต้องมีนวัตกรรมมากที่สุด เพราะบทเรียนที่ได้จากต่างประเทศจะเห็นว่า การสร้างความปรองดองหลังจากที่มีการชนะสงครามกันแล้ว โดยเป็นการสร้างความปรองดองระหว่างฝ่ายชนะ กับฝ่ายแพ้ แต่ไทยไม่มีแพ้ชนะ และเราไม่อยากเห็นเช่นนั้น จึงเริ่มหาหนทางให้ทุกฝ่ายมีความสำนึกผิด มีเมตตา ให้อภัยกันและกัน ด้วยการเริ่มการปรองดอง แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะแต่ละฝ่ายล้วนแต่คิดว่าตนถูก อีกฝ่ายผิด อีกฝ่ายขาวอีกฝ่ายดำ นอกจากพยายามสามัคคีแล้ว ต้องให้เกียรติกันและกัน
นายเอนก กล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้ จะมีความเป็นอิสระจำนวน15 คนไม่ใช่ลูกน้องรัฐบาล หรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิคนกลาง และรับรู้ปัญหา 10 คน และอีก 5 คน มาจากคู่ขัดแย้ง หรือไม่ยอมรับว่าขัดแย้ง แต่ปรารถนาจะร่วมแก้ความขัดแย้ง มีวาระ 5 ปี โดยนายกฯ เป็นคนแต่งตั้ง และเสนอให้มีการโปรดเกล้าฯ ซึ่งนายกฯ จะเป็นฝ่ายที่สาม ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นปรปักษ์กัน และไม่ใช่ตั้งได้ตามใจชอบต้องระมัดระวัง และ มีคุณสมบัติตามกฎหมายลูกกำหนด ส่วนการทำงานจะเป็นการต่อยอดทางความคิด ทางข้อมูลประสบการณ์ จากฝ่ายต่างๆ รวมถึงเอาประสบการณ์จากต่างประเทศมาประกอบด้วย และต้อง คำนึงถึงหลักการสากลและเหมาะสมทางวัฒนธรรมด้วย โดยคณะกรรมการฯจะเป็นเวทีสมองผนึกกำลังทุกฝ่าย
"เท่าที่ผมได้คุยกับแกนนำคู่ขัดแย้ง และฝ่ายที่อยู่ตรงกลาง พอมาพอสมควร พอที่จะให้ความมั่นใจได้ว่าสิ่งนี้จะเป็นทางออกของบ้านเมือง หากรัฐธรรมนูญไม่กีดกันฝ่ายใดให้ออกไปจากอำนาจอย่างสิ้นเชิง ไม่มีแพ้ชนะ เมื่อมารวมกับรายละเอียดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญนี้ บ้านเมืองน่าจะกลับคืนสู่ปกติได้"
ส่วนเรื่องการออก พ.ร.ฎ.อภัยโทษ ไม่ใช่แปลว่าคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติฯ จะเสนอเองได้ แต่ต้องขอพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ไม่ได้ล่วงละเมิดพระราชอำนาจ อย่างแน่นอน เพราะรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างนี้ ก็บัญญัติไว้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจอภัยโทษ การจะตราพ.ร.ฎ.ให้อภัยโทษ ต้องโทษต้องถึงที่สุดแล้วมีการ รับโทษแล้ว และสำนึกผิดต่อคณะกรรมการอิสระ และต่อราชการตามปกติด้วย ไม่ต่างกับกรณีอื่นๆ ต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรมด้วย ไม่ใช่อภัยโทษสุ่มสี่สุ่มห้า อย่างที่สมาชิกเป็นห่วง แม้แต่ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็อาจจะเกิดได้ แต่ในรูปการเสนอความคิดเห็นต่อรัฐบาล และรัฐบาลจะต้องเป็นคนตราขึ้นมา ให้เป็นพ.ร.บ.แต่เราเองไม่มีอำนาจ ที่จะออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้ ยันยันว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จะเป็นวัฒนธรรมที่มุ่งมั่นที่จะฝั่นฝ่าวิกฤตของประเทศให้ได้อย่างไร ซึ่งประวัติศาสตร์ไทยเคยผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง แต่วิกฤตที่กำลังประสบอยู่ขณะนี้คือความปรองดองและความสามัคคี เชื่อว่า สปช. และประชาชนจะร่วมมือกัน เพื่อให้เราฝ่าวิกฤตออกไปให้ได้ ผมกลัวว่าเราจะสูญเสียลักษณะประจำชาติ หากความมืดมน อับจน ท้อแท้จะเข้ามาครอบงำจิตใจ จึงขอเรียกร้องพวกเราว่าต้องช่วยกันฝันฝ่าไป เพราะพระสยามเทวาธิราชจะช่วยคนที่ช่วยตนเองเท่านั้น หลายอย่างยังไม่มีรายละเอียด เช่น สมัชชาพลเมือง คืออะไร ผมเองก็งง แต่เราต้องมาเรียนรู้ด้วยกัน ตอนไหนต้องใช้ไฟฉายส่องก็ต้องใช้เรื่องที่มีความสำคัญ ยืนยันว่าเรายึดบ้านเมืองเป็นสำคัญ”
ด้าน นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สปช.ตั้งคำถามว่า ที่บอกว่าการอภัยโทษคดีต้องถึงที่สุด และต้องผ่านระบบการพิจารณาตามปกติก่อนคือ บุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเพื่อออก พ.ร.ฎ.อภัยโทษ ผ่านระบบประพฤติตัวดี แต่ในมาตรา 298 (6) อยู่ตรงไหน นี่คือ รัฐธรรมนูญไม่ใช่ข้อความทางวิชาการ ที่เขียนแบบนี้แล้วให้ไปคิดเอาเอง ว่าต้องผ่านขั้นตอนอย่างไร แต่ในวงเล็บ 6 บอกว่า เสนอให้มีการตรา พ.ร.ฎ.อภัยโทษ แก่บุคคลที่ให้ความจริงอันเป็นระโยชน์อย่างยิ่งแก่การดำเนินงาน และผู้ที่ได้แสดงความสำนึกผิดต่อคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติแล้ว มีตรงไหนที่บอกว่าได้ผ่านการพิจารณาของศาลถึงที่สุดแล้ว ถ้าตรงนี้เป็นกฎหมายแม่บท แปลว่า คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจที่เสนอ พรฏ.อภัยโทษ ก็แปลว่ารัฐธรรมนูญใหญ่กว่ากฎระเบียบที่เคยทำ
"ถ้าเป็นเช่นนี้ มีปัญหาแน่นอน ถ้าเป็นกฎหมายปั๊บ จะมีบุคคลเดินทางเข้ามาในไทย กราบ15 คน ว่าผมสำนึกผิดแล้ว ทุกอย่างจบ เพราะว่าขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญมันโอเว่อร์รูมหมดเลย กฎระเบียบที่ต้องกลับมารับโทษแล้วหลังจากนั้นประพฤติตัวดีที่เป็นกฎหมาย ที่บอกว่าตีให้ไปความต่อเอาเองคงไม่ได้" นายเจิมศักดิ์ กล่าว
ขณะที่ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ชี้แจงว่า การอภัยโทษไม่ได้เป็นการล้างความผิด แต่เป็นการล้างแต่โทษ ฉะนั้นทะเบียนประวัติอาชญากร ยังไม่ลบ และพระราชอำนาจนี้พระมหากษัตริย์ทรงใช้ได้ 2 รูปแบบ คือ 1. ทรงใช้เป็นการเฉพาะราย ที่ชัดเจนที่สุดคือพระราชการทานอภัยโทษแก่นักโทษที่จองจำในเรือนจำในคดีอาญา คนที่จะขอได้คือผู้ที่ได้รับโทษ และ 2. การอภัยโทษทั่วไป เช่นกรณีที่ได้รับการลงโทษทางวินัยแล้วมีการถวายฏีกาขอความเป็นธรรม ทรงใช้พระราชอำนาจนี้ในหลายกรณี เช่น ในกรณีวิกฤตตุลาการมีการปลดออกไล่ออก และขอพระราช
ทานอภัยโทษ ล่าสุดคือ พ.ร.ฎ.อภัยโทษ เนื่องในวโรกาส สมเด็จพระเทพฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา คณะกรรมการฯ ชุดนี้ไม่มีสิทธิ์ที่ให้อภัยโทษกับใคร ไม่ใช่เป็นการล่วงละเมิดพระราชอำนาจ แต่เป็นการเสนอพ.ร.ฎ.ที่เป็นเงื่อนไขให้ ครม.เป็นผู้พิจารณาตามหลักทั่วไป หากนายกฯ เห็นด้วย ก็จะนำความกราบบังคมทูล และลงนามสนองพระราชโองการ เมื่อเสนอไปก็เป็นไปตาม มาตรา 194 ถ้าไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย พ.ร.ฎ.ก็ไม่มีผลใช้บังคับ ต่างกับ พ.ร.บ. ที่หากรัฐสภาเห็นชอบแล้วนายกฯ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถ้าพระราชทานคืนมา หรือไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย หรือถ้าครบ 90 วันแล้วไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย ก็สามารถเรียกประชุมรัฐสภา มีมติยืนยันก็ทูลเกล้าฯ อีกครั้ง
"มาตรา 298 จึงไม่มีอะไรน่ากลัวทั้งสิ้น เพราะเป็นการเสนอพ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนไขเท่านั้นว่า ใครมาให้ความจริงอันเป็นประโยชน์และสำนึกผิดอย่างไร จึงไม่ใช่เป็นกรณีที่เป็น พ.ร.ฎ.อภัยโทษ โดยระบุชื่อคน ซึ่งถ้าทำอย่างนั้น ขัดรัฐธรรมนูญเหมือนพ.ร.ฎ.ทั้งปวง ที่ตราขึ้นในวโรกาสต่างๆ และ ครม.ต้องเป็นคนพิจารณาถ้าไม่เห็นด้วยก็จบ คณะกรรมการนี้ทำอะไรต่อไม่ได้ ถึงแม้ทูลเกล้าฯ ขึ้นไปไม่ทรงลงปรมาภิไธย ก็จบ เป็นพระราชอำนาจเด็ดขาดยิ่งกว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต้องขอบคุณสมาชิกกรุณามีหูตาละเอียดถี่ถ้วน ทำให้เรามีโอกาสได้ชี้แจงประเด็นนี้" นายบวรศักดิ์ กล่าว
ด้านนายเจิมศักดิ์ แย้งว่า ข้อความใน (6 ) บัญญัติว่า ... เสนอให้มีการตราพ.ร.ฎ.อภัยโทษ แก่บุคคลผู้ให้ความจริง... ถ้อยคำ ทำให้เข้าใจว่าเป็นบุคคลไม่ใช่แก่การกระทำ และผู้กระทำด้วย แล้วจะให้เข้าใจอย่างไร ฉะนั้น ถามว่าถ้าเป็นอย่างนี้ ไม่มีการพูดถึงขั้นตอนอย่างที่พูด ดังนั้นตนเสนอให้บัญญัติไว้ในตอนท้ายว่า ให้คณะกรรมการชุดนี้ จำกัดบทบาทให้อยู่ในการรับรองความน่าเชื่อถือของคำให้การและเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ และประสานให้มีการดำเนินการต่างๆ นำไปสู่การปรองดอง ผนวกเรื่องเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาพิพากษาว่าบุคคลนั้น มีความผิดหรือไม่อย่างรวดเร็ว และเชื่อมการดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษเข้าด้วยกัน อย่างย่นย่อ ให้ครบเงื่อนไขตามหลักการตามรัฐธรรมนูญและวิธีการ และวรรคสุดท้าย บัญญัติสอดรับกับ (6) ให้ครม.สภา และหน่วยงานต่างๆ จะต้องให้ความร่วมมือ ตกลงมันเป็นเรื่องของบุคคลใช่หรือไม่
นายบวรศักดิ์ ยืนยันว่า ตนไม่ขอตอบคำถามนี้ เพราะได้อธิบายชัดเจนแล้ว คนที่อ่านรัฐธรรมนูญเข้าใจดี ก็รู้ว่านี่เป็นเงื่อนไขทั่วไป ไม่ได้กำหนดให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ที่เขียนไว้เช่นนั้นก็เหมือนพ.ร.ฎ.ทั่วไป ที่จะต้องเขียนเงื่อนไขอย่างนี้
ในการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญของสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อวานนี้ (26 เม.ย.) นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์กมธ.ยกร่างฯ ชี้แจงประเด็นปรองดองว่า ทางกมธ.ยกร่างฯ 36 คน อาจจะมีความขัดแย้งกันหลายเรื่อง แต่เรื่องหนึ่งที่เห็นร่วมกันมาตั้งแต่ต้น คือรัฐธรรมนูญ นี้มีเป้าหมายให้มีการปฏิรูป และปรองดอง ใน มาตรา 297 และ 298 ให้มีคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง แก้ไขความขัดแย้ง สร้างความรักสามัคคีให้เกิดขึ้นระหว่างสีเหลือง สีแดง หรือฝ่ายที่สาม หรือขยายไปถึง 3 จังหวัดภาคใต้ ก็ได้ ต้องมีนวัตกรรมมากที่สุด เพราะบทเรียนที่ได้จากต่างประเทศจะเห็นว่า การสร้างความปรองดองหลังจากที่มีการชนะสงครามกันแล้ว โดยเป็นการสร้างความปรองดองระหว่างฝ่ายชนะ กับฝ่ายแพ้ แต่ไทยไม่มีแพ้ชนะ และเราไม่อยากเห็นเช่นนั้น จึงเริ่มหาหนทางให้ทุกฝ่ายมีความสำนึกผิด มีเมตตา ให้อภัยกันและกัน ด้วยการเริ่มการปรองดอง แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะแต่ละฝ่ายล้วนแต่คิดว่าตนถูก อีกฝ่ายผิด อีกฝ่ายขาวอีกฝ่ายดำ นอกจากพยายามสามัคคีแล้ว ต้องให้เกียรติกันและกัน
นายเอนก กล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้ จะมีความเป็นอิสระจำนวน15 คนไม่ใช่ลูกน้องรัฐบาล หรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิคนกลาง และรับรู้ปัญหา 10 คน และอีก 5 คน มาจากคู่ขัดแย้ง หรือไม่ยอมรับว่าขัดแย้ง แต่ปรารถนาจะร่วมแก้ความขัดแย้ง มีวาระ 5 ปี โดยนายกฯ เป็นคนแต่งตั้ง และเสนอให้มีการโปรดเกล้าฯ ซึ่งนายกฯ จะเป็นฝ่ายที่สาม ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นปรปักษ์กัน และไม่ใช่ตั้งได้ตามใจชอบต้องระมัดระวัง และ มีคุณสมบัติตามกฎหมายลูกกำหนด ส่วนการทำงานจะเป็นการต่อยอดทางความคิด ทางข้อมูลประสบการณ์ จากฝ่ายต่างๆ รวมถึงเอาประสบการณ์จากต่างประเทศมาประกอบด้วย และต้อง คำนึงถึงหลักการสากลและเหมาะสมทางวัฒนธรรมด้วย โดยคณะกรรมการฯจะเป็นเวทีสมองผนึกกำลังทุกฝ่าย
"เท่าที่ผมได้คุยกับแกนนำคู่ขัดแย้ง และฝ่ายที่อยู่ตรงกลาง พอมาพอสมควร พอที่จะให้ความมั่นใจได้ว่าสิ่งนี้จะเป็นทางออกของบ้านเมือง หากรัฐธรรมนูญไม่กีดกันฝ่ายใดให้ออกไปจากอำนาจอย่างสิ้นเชิง ไม่มีแพ้ชนะ เมื่อมารวมกับรายละเอียดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญนี้ บ้านเมืองน่าจะกลับคืนสู่ปกติได้"
ส่วนเรื่องการออก พ.ร.ฎ.อภัยโทษ ไม่ใช่แปลว่าคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติฯ จะเสนอเองได้ แต่ต้องขอพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ไม่ได้ล่วงละเมิดพระราชอำนาจ อย่างแน่นอน เพราะรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างนี้ ก็บัญญัติไว้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจอภัยโทษ การจะตราพ.ร.ฎ.ให้อภัยโทษ ต้องโทษต้องถึงที่สุดแล้วมีการ รับโทษแล้ว และสำนึกผิดต่อคณะกรรมการอิสระ และต่อราชการตามปกติด้วย ไม่ต่างกับกรณีอื่นๆ ต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรมด้วย ไม่ใช่อภัยโทษสุ่มสี่สุ่มห้า อย่างที่สมาชิกเป็นห่วง แม้แต่ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็อาจจะเกิดได้ แต่ในรูปการเสนอความคิดเห็นต่อรัฐบาล และรัฐบาลจะต้องเป็นคนตราขึ้นมา ให้เป็นพ.ร.บ.แต่เราเองไม่มีอำนาจ ที่จะออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้ ยันยันว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จะเป็นวัฒนธรรมที่มุ่งมั่นที่จะฝั่นฝ่าวิกฤตของประเทศให้ได้อย่างไร ซึ่งประวัติศาสตร์ไทยเคยผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง แต่วิกฤตที่กำลังประสบอยู่ขณะนี้คือความปรองดองและความสามัคคี เชื่อว่า สปช. และประชาชนจะร่วมมือกัน เพื่อให้เราฝ่าวิกฤตออกไปให้ได้ ผมกลัวว่าเราจะสูญเสียลักษณะประจำชาติ หากความมืดมน อับจน ท้อแท้จะเข้ามาครอบงำจิตใจ จึงขอเรียกร้องพวกเราว่าต้องช่วยกันฝันฝ่าไป เพราะพระสยามเทวาธิราชจะช่วยคนที่ช่วยตนเองเท่านั้น หลายอย่างยังไม่มีรายละเอียด เช่น สมัชชาพลเมือง คืออะไร ผมเองก็งง แต่เราต้องมาเรียนรู้ด้วยกัน ตอนไหนต้องใช้ไฟฉายส่องก็ต้องใช้เรื่องที่มีความสำคัญ ยืนยันว่าเรายึดบ้านเมืองเป็นสำคัญ”
ด้าน นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สปช.ตั้งคำถามว่า ที่บอกว่าการอภัยโทษคดีต้องถึงที่สุด และต้องผ่านระบบการพิจารณาตามปกติก่อนคือ บุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเพื่อออก พ.ร.ฎ.อภัยโทษ ผ่านระบบประพฤติตัวดี แต่ในมาตรา 298 (6) อยู่ตรงไหน นี่คือ รัฐธรรมนูญไม่ใช่ข้อความทางวิชาการ ที่เขียนแบบนี้แล้วให้ไปคิดเอาเอง ว่าต้องผ่านขั้นตอนอย่างไร แต่ในวงเล็บ 6 บอกว่า เสนอให้มีการตรา พ.ร.ฎ.อภัยโทษ แก่บุคคลที่ให้ความจริงอันเป็นระโยชน์อย่างยิ่งแก่การดำเนินงาน และผู้ที่ได้แสดงความสำนึกผิดต่อคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติแล้ว มีตรงไหนที่บอกว่าได้ผ่านการพิจารณาของศาลถึงที่สุดแล้ว ถ้าตรงนี้เป็นกฎหมายแม่บท แปลว่า คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจที่เสนอ พรฏ.อภัยโทษ ก็แปลว่ารัฐธรรมนูญใหญ่กว่ากฎระเบียบที่เคยทำ
"ถ้าเป็นเช่นนี้ มีปัญหาแน่นอน ถ้าเป็นกฎหมายปั๊บ จะมีบุคคลเดินทางเข้ามาในไทย กราบ15 คน ว่าผมสำนึกผิดแล้ว ทุกอย่างจบ เพราะว่าขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญมันโอเว่อร์รูมหมดเลย กฎระเบียบที่ต้องกลับมารับโทษแล้วหลังจากนั้นประพฤติตัวดีที่เป็นกฎหมาย ที่บอกว่าตีให้ไปความต่อเอาเองคงไม่ได้" นายเจิมศักดิ์ กล่าว
ขณะที่ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ชี้แจงว่า การอภัยโทษไม่ได้เป็นการล้างความผิด แต่เป็นการล้างแต่โทษ ฉะนั้นทะเบียนประวัติอาชญากร ยังไม่ลบ และพระราชอำนาจนี้พระมหากษัตริย์ทรงใช้ได้ 2 รูปแบบ คือ 1. ทรงใช้เป็นการเฉพาะราย ที่ชัดเจนที่สุดคือพระราชการทานอภัยโทษแก่นักโทษที่จองจำในเรือนจำในคดีอาญา คนที่จะขอได้คือผู้ที่ได้รับโทษ และ 2. การอภัยโทษทั่วไป เช่นกรณีที่ได้รับการลงโทษทางวินัยแล้วมีการถวายฏีกาขอความเป็นธรรม ทรงใช้พระราชอำนาจนี้ในหลายกรณี เช่น ในกรณีวิกฤตตุลาการมีการปลดออกไล่ออก และขอพระราช
ทานอภัยโทษ ล่าสุดคือ พ.ร.ฎ.อภัยโทษ เนื่องในวโรกาส สมเด็จพระเทพฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา คณะกรรมการฯ ชุดนี้ไม่มีสิทธิ์ที่ให้อภัยโทษกับใคร ไม่ใช่เป็นการล่วงละเมิดพระราชอำนาจ แต่เป็นการเสนอพ.ร.ฎ.ที่เป็นเงื่อนไขให้ ครม.เป็นผู้พิจารณาตามหลักทั่วไป หากนายกฯ เห็นด้วย ก็จะนำความกราบบังคมทูล และลงนามสนองพระราชโองการ เมื่อเสนอไปก็เป็นไปตาม มาตรา 194 ถ้าไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย พ.ร.ฎ.ก็ไม่มีผลใช้บังคับ ต่างกับ พ.ร.บ. ที่หากรัฐสภาเห็นชอบแล้วนายกฯ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถ้าพระราชทานคืนมา หรือไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย หรือถ้าครบ 90 วันแล้วไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย ก็สามารถเรียกประชุมรัฐสภา มีมติยืนยันก็ทูลเกล้าฯ อีกครั้ง
"มาตรา 298 จึงไม่มีอะไรน่ากลัวทั้งสิ้น เพราะเป็นการเสนอพ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนไขเท่านั้นว่า ใครมาให้ความจริงอันเป็นประโยชน์และสำนึกผิดอย่างไร จึงไม่ใช่เป็นกรณีที่เป็น พ.ร.ฎ.อภัยโทษ โดยระบุชื่อคน ซึ่งถ้าทำอย่างนั้น ขัดรัฐธรรมนูญเหมือนพ.ร.ฎ.ทั้งปวง ที่ตราขึ้นในวโรกาสต่างๆ และ ครม.ต้องเป็นคนพิจารณาถ้าไม่เห็นด้วยก็จบ คณะกรรมการนี้ทำอะไรต่อไม่ได้ ถึงแม้ทูลเกล้าฯ ขึ้นไปไม่ทรงลงปรมาภิไธย ก็จบ เป็นพระราชอำนาจเด็ดขาดยิ่งกว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต้องขอบคุณสมาชิกกรุณามีหูตาละเอียดถี่ถ้วน ทำให้เรามีโอกาสได้ชี้แจงประเด็นนี้" นายบวรศักดิ์ กล่าว
ด้านนายเจิมศักดิ์ แย้งว่า ข้อความใน (6 ) บัญญัติว่า ... เสนอให้มีการตราพ.ร.ฎ.อภัยโทษ แก่บุคคลผู้ให้ความจริง... ถ้อยคำ ทำให้เข้าใจว่าเป็นบุคคลไม่ใช่แก่การกระทำ และผู้กระทำด้วย แล้วจะให้เข้าใจอย่างไร ฉะนั้น ถามว่าถ้าเป็นอย่างนี้ ไม่มีการพูดถึงขั้นตอนอย่างที่พูด ดังนั้นตนเสนอให้บัญญัติไว้ในตอนท้ายว่า ให้คณะกรรมการชุดนี้ จำกัดบทบาทให้อยู่ในการรับรองความน่าเชื่อถือของคำให้การและเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ และประสานให้มีการดำเนินการต่างๆ นำไปสู่การปรองดอง ผนวกเรื่องเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาพิพากษาว่าบุคคลนั้น มีความผิดหรือไม่อย่างรวดเร็ว และเชื่อมการดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษเข้าด้วยกัน อย่างย่นย่อ ให้ครบเงื่อนไขตามหลักการตามรัฐธรรมนูญและวิธีการ และวรรคสุดท้าย บัญญัติสอดรับกับ (6) ให้ครม.สภา และหน่วยงานต่างๆ จะต้องให้ความร่วมมือ ตกลงมันเป็นเรื่องของบุคคลใช่หรือไม่
นายบวรศักดิ์ ยืนยันว่า ตนไม่ขอตอบคำถามนี้ เพราะได้อธิบายชัดเจนแล้ว คนที่อ่านรัฐธรรมนูญเข้าใจดี ก็รู้ว่านี่เป็นเงื่อนไขทั่วไป ไม่ได้กำหนดให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ที่เขียนไว้เช่นนั้นก็เหมือนพ.ร.ฎ.ทั่วไป ที่จะต้องเขียนเงื่อนไขอย่างนี้