xs
xsm
sm
md
lg

บินไทยรับมือICAO ดันมาตรฐานขึ้นชั้นนำเอเชีย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน-การบินไทยกางแผนรับมือ ICAO จ้างThird Party ตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย มั่นใจไม่มีปัญหา หวังพลิกวิกฤติเป็นโอกาสขึ้น top class เป็นแอร์ไลน์ปลอดภัยสูงสุดในเอเชียแปซิฟิก ด้าน"จรัมพร"แจงผู้ถือหุ้นแนวโน้มการเงินดีขึ้น เดินตามแผนปฎิรูป เม.ย.Cabin Factor กว่า 77 % ฐานะการเงินยังดี หลังออกหุ้นกู้ 5,000 ล.นักล
งทุนสนใจเกิน2.5 เท่า
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทให้ความสำคัญสูงสุดเรื่องมาตรการด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่กระทรวงคมนาคมและกรมการบินพลเรือน( บพ.) ต้องเร่งแก้ไขปลดล็อกข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (SSC) ตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ระบุ ซึ่งในส่วนของบริษัทฯ จะใช้วิกฤติครั้งนี้เป็นโอกาสโดยตั้งเป้าหมายเป็นสายการบินที่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยสูงสุดในเอเชียแปซิฟิก โดยได้เริ่มดำเนินการแผนรองรับกรณี ICAO ตั้งแต่เดือนม.ค.ที่ผ่านมา
ซึ่งมี 4กระบวนการ เริ่มจาก การถูกตรวจสอบระดับลานจอด (Ramp Inspection) โดยหลังจาก ICAO ประกาศ ตั้งแต่ในเดือนก.พ. ได้รับการตรวจสอบจาก บพ. 4 แห่งทั่วโลก เดือนมี.ค.เป็น 15 แห่ง และเดือนเม.ย. ครึ่งเดือน 14 แห่ง เพิ่มขึ้น 4 เท่า ซึ่งบริษัทฯได้เตรียมการทุกRamp Inspection หากไม่ผ่านจะปรับปรุงได้ทันตามเวลา โดยในการตรวจสอบมาตรฐาน จะมีการดำเนินการตรวจสอบภายในมีการฝีกอบรมลูกเรืออย่างเข้มข้น หรือ Internal Audit และใน 2 สัปดาห์ จะว่าจ้าง บุคคลที่3 (Third Party) จากกลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ เข้ามาตรวจสอบจากนั้น จะถือว่าการบินไทยได้มาตรฐานสูงสุดและยืนยันความเชื่อมั่นเรื่องมาตรฐานของการบินไทย กับทุกบพ.ทั่วโลก ซึ่งจะไม่มีเหตุผลที่จะลดเกรดการบินไทยได้ โดยมั่นใจว่าในเดือนมิ.ย. ทุกอย่างจะเรียบร้อยและมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยจะอยู่ในระดับ top class
"การบินไทยมีความปลอดภัยและได้รับการตรวจสอบจากบพ.ทั่วโลกอยู่แล้ว หลังจากนี้ ทางบพ. ต้องแก้ไข ซึ่งจะมีการส่งแผนปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง (Corrective Action Plan : CAP) ฉบับใหม่ให้ ICAO ในวันที่ 27 เม.ย. หากICAO ยอมรับแผนใหม่จะไม่มีปัญหาอะไร แต่กรณีไม่ยอมรับการบินไทยต้องเตรียมพร้อม กรณีที่จะต้องได้รับการตรวจสอบจากทุก บพ.ทั่วโลกที่ทำการบินเข้าไปแบบเข้มข้น โดยมีแผนงานรองรับชัดเจน"นายจรัมพรกล่าว
เรืออากาศเอกมนตรี จำเรียง รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายกลยุทธ์องค์กรและพัฒนาอย่างยั่งยืน การบินไทย กล่าวว่า ICAO ตรวจสอบบพ.โดยถาม-ตอบ จากแบบคำถาม PQs (Protocal Question) จำนวนทั้งสิ้น กว่า 900 ข้อ ไม่ผ่าน 560 ข้อ ซึ่งมีหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ SSC 33 ข้อ ซึ่งหลักต้องแก้ไขก่อน จากนั่นแก้ที่ 560 ข้อ สุดท้ายแก้ที่สาเหตุ คือ ระบบงาน ,โครงสร้างบพ. ,อัตรากำลัง กฎระเบียบ และผู้กำกับดูแลต้องมีความชัดเจนในการแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีก ซึ่งในส่วนการบินไทยมีแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อดำรงธุรกิจไว้รองรับแล้ว
ทั้งนี้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทฯและการเตรียมพ้อมรองรับ มี 5 ขั้นคือ 1. จะถูกตรวจสอบRamp Inspection ถี่ขึ้น 2. นโยบายของแต่ละประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีที่ออกมา 3. การบินพลเรือนของแต่ละประเทศเข้ามาตรวจสอบมาตรฐาน (Based Audit) ซึ่งการบินไทยได้ตรวจสอบภายในเองและจ้างบุคคลที่3 มาตรวจสอบจะเรียบร้อยในเดือนพ.ค.นี้ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นและพร้อมหาก ICAO จะตรวจสอบ บพ. และสุ่มตรวจมาตรฐานของการบินไทย
4. ลดเกรด Category 1 เป็น Category 2 และ5. การลดเกรดให้อยู่ระดับ Category 3 ซึ่งเป็นการแบนหรือขึ้นแบล็คลิสต์ห้ามบินเข้าประเทศนั้นๆ ซึ่งรุนแรงที่สุด ซึ่งทางองค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) เคยทำสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหภาพยุโรป หรือ เอียซ่า (EASA) จะให้ความสำคัญ ซึ่งมั่นใจว่า เมื่อบริษัท มีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นตามมาตรฐาน จะไม่มีปัญหาและขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณบ่งบอกว่าจะไปถึงระดับ 4 และ5 อย่างไรก็ตาม กรณีร้ายแรงสุดคือ ถูกลดเกรอดและแบน บริษัทมีแผนดำรงธุรกิจคือ ประสานกับสตาร์อัลไลแอนซ์ให้บริการแทนในรูปแบบต่างๆ เพื่อทำการบินแทนในเส้นทางที่กระทบ และนำเครื่องบินไปใช้ในเส้นทางที่ ไม่กระทบ และมีความต้องการสูงแทน เพื่อไม่ทำให้ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) หรือ จานวนที่นั่งผู้โดยสารคูณระยะทางบินเป็นกิโลเมตรตกต่ำ
สำหรับการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปี 2557 เมื่อวันที่ 24 เม.ย.2558 ซึ่งมีนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม รักษาการประธานกรรมการ (บอร์ด) เป็นประธาน ได้ชี้แจงกรณีผู้ถือหุ้น ถึงสาเหตุของผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่อง 2 ปี โดยปี 2556 ขาดทุน 12,000 ล้านบาท ปี 2557 ขาดทุนสุทธิ 15,573 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองทำให้รายได้ลดลง ซึ่งที่ประชุมมีมติงดจ่ายปันผลในปี 2557 ทั้งนี้ บรรยากาศในที่ประชุมผู้ถือหุ้นการประชุมในวันนี้ มีอดีตผู้บริหารระดับสูงของการบินไทย เข้าร่วมประชุมหลายคน เช่น กัปตันโยธิน ภมรมนตรี อดีตผู้บริหารการบินไทย และผู้ถือหุ้นรายย่อยการบินไทย,นายสุเทพ สืบสันติวงศ์ อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย ซึ่งได้ระบุถึงการบริหารงานของบอร์ด ที่ทำให้บริษัทขาดทุน และมีความน่าเคลือบแคลง ในหลายประเด็น โดยบอร์ดไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน
นายจรัมพรกล่าวถึงความคืบหน้าแผนปฎิรูป ว่า การปรับปรุงฝูงบิน ได้มีการปลดระวางเครื่องบืนและทำให้เครื่องบินลดลงจาก 11 แบบเหลือ 8 แบบ และการขายเครืองบินในเวลา 3 เดือน ของปี2558 ขายได้แล้ว10 ลำ ซึ่งดำเนินการได้เข้มข้นมากกว่าปีที่แล้วที่ทั้งปีขายได้รวม 10 ลำ ส่วนการปรับปรุงการปฎิบัติงานและลดต้นทุน และด้านบุคลากร เช่นโครงการร่วมใจจากองค์กร(Mutual Separation Plan: MSP ) หรือ เออร์ลี่รีไทร์ออกมา3 สัปดาห์แล้ว และการปรับปรุงเครือข่ายเส้นทาง ปรับลดกำลังการผลิตลงประมาณ 9.7% ส่วนการขายนั้นฝ่ายการพาณิชย์ได้มีการขายอย่างเข้มข้นและได้มีการบริหารการขายแบบไดนามิคทำให้อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสารต่อเที่ยวบิน (Cabin Factor) เพิ่มขึ้น โดยในช่วงไตรมา1/2558 3 เ Cabin Factorขึ้นมาอยู่ที่ 76% ส่วนเดือนเม.ย.ที่กว่า 77 % ถือว่าเป็นทิศทางที่ดี
ส่วนการออกหุ้นกู้ เมื่อวันที่ 21 เม.ย. ที่ผ่านมา จำนวน 5,000 ล้านบาทและมีหุ้นกู้สำรองสำหรับเสนอขายอีกไม่เกิน 2,000 ล้านบาทได้รับความไว้วางใจจากผู้ลงทุนและสถาบันการเงินสูงกว่าวงเงิน 2.5 เท่า หรือประมาณ 12,000 ล้านบาท ทำให้ได้รับวงเงินกู้เข้ามาถึง7,000 ล้านบาทภายในปลายเดือนเม.ย.นี้ตามแผน แสดงให้เห็นว่าการที่นักลงทุนและสถาบันการเงินยังคงไว้วางใจสถานะการเงินของบริษัทฯ
กำลังโหลดความคิดเห็น