พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการบินของไทยให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำคู่มือและการฝึกอบรมบุคลากรจะต้องใช้ระยะเวลา จึงทำให้แนวทางการแก้ไขปัญหาล่าช้าออกไปกว่ากำหนดเดิม ซึ่งกำหนดไว้วันที่ 2 มิถุนายนนี้ ออกไปอีก 1-1 เดือนครึ่ง จึงทำให้กระทบสายการบินเส้นทางไปญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน ซึ่งมอบหมายให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เดินทางไปชี้แจงกับองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) ถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ให้รับทราบวันที่ 15 มิถุนายนนี้
นอกจากนี้ มอบหมายให้นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หารือผู้บริหารสายการบินต่างๆ ในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อปรับแผนการบินหลังจากแผนแก้ปัญหามีความล่าช้าออกไป เช่น กาารบินไทย นกแอร์ แอร์เอเชีย เพื่อพิจารณาเรื่องการชดเชยผลกระทบให้กับสายการบิน เพราะจะต้องรอผลสรุปทั้งหมดให้ชัดเจน โดยระยะสั้นต้องเร่งดำเนินการสายการบินตามที่ ICAO มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการส่งสินค้าอันตราย 9 สายการบิน เพื่อให้เป็นตามมาตรฐาน ด้วยการหารือกับผู้ประกอบการสายการบินไทย 7-8 สายการบิน เพื่อจัดส่งผู้เชี่ยวชาญ 18 คน โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์ ร่วมกันจัดทำคู่มือ ฝึกอบรม เพื่อให้ได้มาตรฐานการบิน รวมทั้งกระบวนการออกใบอนุญาตและการออกใบรับรองการขนส่งสินค้าอันตราย โดยต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งยอมรับว่านายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงในเรื่องดังกล่าว
สำหรับแผนระยะยาวต้องดำเนินการให้เสร็จในปี 2558 นั้น ได้เตรียมการแก้โครงสร้างกรมการบินพลเรือน และหน่วยงานทางด้านการบิน ด้วยการตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งชาติ สังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการบิน การตรวจสอบด้านต่างๆ ส่วนการกำกับดูแลท่าอากาศยานทั้ง 28 แห่ง ได้กำหนด 2 แนวทาง คือ การตั้งกรมท่าอากาศยานไทยและการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย โดยจะประชุม เพื่อหาข้อสรุปวันที่ 4 พฤษภาคมนี้
ขณะที่ พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ได้มอบหมายกระทรวงคมนาคมคัดแยกสายการบินที่ผ่านมาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน โดยส่วนที่ไม่ผ่านมาตรฐานจะมีการระงับการบิน ส่วนที่อยู่ในมาตรฐานจะแบ่งเกรดเพื่อความเหมาะสม โดยให้นานาประเทศเข้ามาตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ และให้ชี้แจงต่อ ICAO รวมถึงแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย คาดว่าจะเข้าใจถึงแนวทางในการเร่งแก้ไขของไทย จึงต้องออกไปชี้แจงให้รับทราบ
นอกจากนี้ มอบหมายให้นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หารือผู้บริหารสายการบินต่างๆ ในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อปรับแผนการบินหลังจากแผนแก้ปัญหามีความล่าช้าออกไป เช่น กาารบินไทย นกแอร์ แอร์เอเชีย เพื่อพิจารณาเรื่องการชดเชยผลกระทบให้กับสายการบิน เพราะจะต้องรอผลสรุปทั้งหมดให้ชัดเจน โดยระยะสั้นต้องเร่งดำเนินการสายการบินตามที่ ICAO มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการส่งสินค้าอันตราย 9 สายการบิน เพื่อให้เป็นตามมาตรฐาน ด้วยการหารือกับผู้ประกอบการสายการบินไทย 7-8 สายการบิน เพื่อจัดส่งผู้เชี่ยวชาญ 18 คน โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์ ร่วมกันจัดทำคู่มือ ฝึกอบรม เพื่อให้ได้มาตรฐานการบิน รวมทั้งกระบวนการออกใบอนุญาตและการออกใบรับรองการขนส่งสินค้าอันตราย โดยต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งยอมรับว่านายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงในเรื่องดังกล่าว
สำหรับแผนระยะยาวต้องดำเนินการให้เสร็จในปี 2558 นั้น ได้เตรียมการแก้โครงสร้างกรมการบินพลเรือน และหน่วยงานทางด้านการบิน ด้วยการตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งชาติ สังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการบิน การตรวจสอบด้านต่างๆ ส่วนการกำกับดูแลท่าอากาศยานทั้ง 28 แห่ง ได้กำหนด 2 แนวทาง คือ การตั้งกรมท่าอากาศยานไทยและการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย โดยจะประชุม เพื่อหาข้อสรุปวันที่ 4 พฤษภาคมนี้
ขณะที่ พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ได้มอบหมายกระทรวงคมนาคมคัดแยกสายการบินที่ผ่านมาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน โดยส่วนที่ไม่ผ่านมาตรฐานจะมีการระงับการบิน ส่วนที่อยู่ในมาตรฐานจะแบ่งเกรดเพื่อความเหมาะสม โดยให้นานาประเทศเข้ามาตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ และให้ชี้แจงต่อ ICAO รวมถึงแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย คาดว่าจะเข้าใจถึงแนวทางในการเร่งแก้ไขของไทย จึงต้องออกไปชี้แจงให้รับทราบ