กลุ่มซีพีพาผู้ร่วมทุนรายใหญ่จากฮ่องกงและจีน พบ”ประจิน”ยันพร้อมลงทุนรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง วงเงิน 1.52 แสนล้านบาท รูปแบบ PPP นัดส่งแผนลงทุนเพิ่ม 9 พ.ค. “ประจิน”สั่งเร่งแผนชงครม.ขออนุมัติปลายพ.ค.พร้อมสายกรุงเทพ-หัวหิน ซึ่งกลุ่ม”ไทยเบฟ”สนใจ
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ กลุ่มซีพี เข้าพบวานนี้ (23 เม.ย.) ว่า จากที่ทางกลุ่มซีพีได้เคยมายื่นข้อเสนอแสดงความสนในการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด เทรน) เส้นทาง กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 194 กม. วงเงินลงทุน 152,712 ล้านบาทนั้น ทางคณะทำงานของกลุ่มซีพี ซึ่งมีนายธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการ, นายคณิต แสงสุพรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร, นายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา ที่ปรึกษาและนายสัณฑศักย์ รัศมีรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้นำผู้แทน 2 บริษัทผู้ร่วมทุนคอนซอร์เตียมเข้าพบ คือ บริษัท CITIC Construction Co.,Ltd. จากประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทด้านก่อสร้าง ออกแบบ ที่ปรึกษา มีสถาบันการเงินสนับสนุนครบวงจร และบริษัท ไหหนาน กรุ๊ป (HNA Group) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างท่าเรือ สนามบินและรถไฟเพื่อยืนยันในส่วนของความพร้อม ซึ่งตนได้ยืนยันว่านโยบายรัฐบาลต้องการให้นักลงทุนไทยเป็นแกนนำ และใช้เงินลงทุนภายในประเทศ ซึ่งทางกลุ่มซีพีและผู้ร่วมทุนรับทราบและยอมรับ
ทั้งนี้ ทางกลุ่มซีพีจะต้องกลับไปศึกษารายละเอียดการลงทุนเพิ่มเติม ทั้งการก่อสร้างและการลงทุน PPP รูปแบบใด ซึ่งเบื้องต้นซีพีแจ้งว่ามีความเชี่ยวชาญในการการดำเนินงานในรูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer) คือ ก่อสร้างเสร็จแล้ว บริหารก่อนโอนกิจการเป็นของรัฐ
นอกจากนี้ จะต้องลงพื้นที่เพื่อสำรวจรายละเอียด จุดก่อสร้างสถานี ตั้งแต่ ลาดกระบัง-บางปะกง-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง โดยให้เสนอข้อมูลมาอีกครั้งในวันที่ 9 พ.ค. จากนั้น จะให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำข้อมูลไปศึกษาและสรุปเพื่อให้ชัดเจนภายในวันที่ 16 พ.ค. โดยคาดว่าปลายเดือนพ.ค.นี้ จะสรุปรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการโดยมีเงื่อนไขว่าจะดำเนินการเมื่อโครงการผ่านการพิจารณาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาสิ่งแวดล้อม 4 จุด
พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า รัฐบาลต้องการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่สนใจเสนอแผนลงทุนเข้ามา ซึ่งนอกจากนี้ ทางบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้เสนอลงทุนรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. วงเงินประมาณ 81,136.20 ล้านบาท โดยจะมีการนัดหารือเพิ่มเติมในเดือนพ.ค.นี้ เช่นกัน ซึ่งหากสามารถสรุปรายละเอียดได้ จะนำเสนอครม.เพื่อขออนุมัติไปพร้อมกัน
“ต้องเร่งรัดโครงการเพราะรัฐบาลต้องการเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง เพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้า และให้เกิดการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ซึ่ง เส้นทางสายตะวันออก จะมีทั้งรถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตรของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สำหรับผู้โดยสารและสินค้า รถไฟไทย-จีน ขนาดราง 1.435 เมตร ความเร็วปานกลาง ช่วง แก่งคอย-มาบตาพุด สำหรับผู้โดยสารเป็นหลักและสินค้าเป็นรอง รถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะเป็นทางยกระดับ และยังมีบางช่วงที่เป็นโครงการร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ช่วงกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และ กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ระยะทาง 139 กม. เพื่อจัดสรรในการใช้พื้นที่เขตทาง”
อย่างไรก็ตาม จะเปิดประกวดราคาตามขั้นตอนการร่วมทุน PPP ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งหากมีผู้สนใจเพียงรายเดียว จะต้องเสนอครม. พิจารณาเพื่อดำเนินการโดยคณะกรรมการมาตรา 16 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 เจรจา หากมีผู้เสนอหลายราย จะเข้ากระบวนการประกวดราคาคัดเลือก โดยพิจารณาข้อเสนอด้านคุณสมบัติ เทคนิค และราคา ซึ่งขณะนี้เส้นทางกรุงเทพ-พัทยา-ระยองมี กลุ่มซีพีรายเดียว ส่วนกรุงเทพ-หัวหินมีไทยเบฟฯ
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ กลุ่มซีพี เข้าพบวานนี้ (23 เม.ย.) ว่า จากที่ทางกลุ่มซีพีได้เคยมายื่นข้อเสนอแสดงความสนในการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด เทรน) เส้นทาง กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 194 กม. วงเงินลงทุน 152,712 ล้านบาทนั้น ทางคณะทำงานของกลุ่มซีพี ซึ่งมีนายธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการ, นายคณิต แสงสุพรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร, นายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา ที่ปรึกษาและนายสัณฑศักย์ รัศมีรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้นำผู้แทน 2 บริษัทผู้ร่วมทุนคอนซอร์เตียมเข้าพบ คือ บริษัท CITIC Construction Co.,Ltd. จากประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทด้านก่อสร้าง ออกแบบ ที่ปรึกษา มีสถาบันการเงินสนับสนุนครบวงจร และบริษัท ไหหนาน กรุ๊ป (HNA Group) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างท่าเรือ สนามบินและรถไฟเพื่อยืนยันในส่วนของความพร้อม ซึ่งตนได้ยืนยันว่านโยบายรัฐบาลต้องการให้นักลงทุนไทยเป็นแกนนำ และใช้เงินลงทุนภายในประเทศ ซึ่งทางกลุ่มซีพีและผู้ร่วมทุนรับทราบและยอมรับ
ทั้งนี้ ทางกลุ่มซีพีจะต้องกลับไปศึกษารายละเอียดการลงทุนเพิ่มเติม ทั้งการก่อสร้างและการลงทุน PPP รูปแบบใด ซึ่งเบื้องต้นซีพีแจ้งว่ามีความเชี่ยวชาญในการการดำเนินงานในรูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer) คือ ก่อสร้างเสร็จแล้ว บริหารก่อนโอนกิจการเป็นของรัฐ
นอกจากนี้ จะต้องลงพื้นที่เพื่อสำรวจรายละเอียด จุดก่อสร้างสถานี ตั้งแต่ ลาดกระบัง-บางปะกง-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง โดยให้เสนอข้อมูลมาอีกครั้งในวันที่ 9 พ.ค. จากนั้น จะให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำข้อมูลไปศึกษาและสรุปเพื่อให้ชัดเจนภายในวันที่ 16 พ.ค. โดยคาดว่าปลายเดือนพ.ค.นี้ จะสรุปรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการโดยมีเงื่อนไขว่าจะดำเนินการเมื่อโครงการผ่านการพิจารณาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาสิ่งแวดล้อม 4 จุด
พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า รัฐบาลต้องการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่สนใจเสนอแผนลงทุนเข้ามา ซึ่งนอกจากนี้ ทางบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้เสนอลงทุนรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. วงเงินประมาณ 81,136.20 ล้านบาท โดยจะมีการนัดหารือเพิ่มเติมในเดือนพ.ค.นี้ เช่นกัน ซึ่งหากสามารถสรุปรายละเอียดได้ จะนำเสนอครม.เพื่อขออนุมัติไปพร้อมกัน
“ต้องเร่งรัดโครงการเพราะรัฐบาลต้องการเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง เพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้า และให้เกิดการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ซึ่ง เส้นทางสายตะวันออก จะมีทั้งรถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตรของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สำหรับผู้โดยสารและสินค้า รถไฟไทย-จีน ขนาดราง 1.435 เมตร ความเร็วปานกลาง ช่วง แก่งคอย-มาบตาพุด สำหรับผู้โดยสารเป็นหลักและสินค้าเป็นรอง รถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะเป็นทางยกระดับ และยังมีบางช่วงที่เป็นโครงการร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ช่วงกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และ กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ระยะทาง 139 กม. เพื่อจัดสรรในการใช้พื้นที่เขตทาง”
อย่างไรก็ตาม จะเปิดประกวดราคาตามขั้นตอนการร่วมทุน PPP ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งหากมีผู้สนใจเพียงรายเดียว จะต้องเสนอครม. พิจารณาเพื่อดำเนินการโดยคณะกรรมการมาตรา 16 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 เจรจา หากมีผู้เสนอหลายราย จะเข้ากระบวนการประกวดราคาคัดเลือก โดยพิจารณาข้อเสนอด้านคุณสมบัติ เทคนิค และราคา ซึ่งขณะนี้เส้นทางกรุงเทพ-พัทยา-ระยองมี กลุ่มซีพีรายเดียว ส่วนกรุงเทพ-หัวหินมีไทยเบฟฯ