ASTVผู้จัดการรายวัน- "บิ๊กตู่" ถก คตช. ใช้ มาตรา 44 ขจัดคนโกง หรือโยกย้ายขรก.ที่พัวพันทุจริต เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ทันสถานการณ์ หากใช้กระบวนการปกติจะล่าช้า แนะเร่งปฎิรูปกฎหมายจัดซื้อจัดจ้าง สร้างความเสียหายได้ “ณรงค์” เซ็นตั้ง “กมล-พินิจศักดิ์-สุเทพ” ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่ง เลขาฯคุรุสภา-เลขาฯ สกสค.-ผอ.องค์การค้าฯ
เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (21เม.ย.) ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ครั้งที่ 3 โดยมี คณะรัฐมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ อาทิ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผบ.ทบ. พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และ นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้ ก่อนการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การทำงานต่างๆ ต้องเร่งรัดให้เดินหน้าได้ โดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วน แต่หากดำเนินการตามระบบมีความล่าช้า ก็จำเป็นต้องใช้ มาตรา 44 เพื่อปลดล็อกให้การทำงานเร็วขึ้น เพราะรัฐบาลมีเวลาจำกัด แต่ต้องใช้ด้วยความเป็นธรรม รัดกุมและถูกต้อง ทั้งนี้ หากพบว่ามีผู้กระทำความผิด ทุจริต ก็ต้องดำเนินคดี และสิ่งเหล่านี้ทุกรัฐบาลก็ต้องทำเช่นกัน ประชาชนต้องเรียนรู้ว่าหากกระทำความผิด ก็ต้องถูกดำเนินคดี
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการทำงานมีปัญหามาก เนื่องจากที่ผ่านมา กระบวนการยุติธรรมถูกครอบงำ ทำให้การทำงานต่างๆไม่สามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ ถึงวันนี้ข้าราชการทุกคนต้องทำงาน หากมีปัญหาติดขัด ก็ขอให้แจ้งมา
** ต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส
นายต่อตระกูล ยมนาค ประธานคณะอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ด้านการป้องกันการทุจริต กล่าวว่า ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ เพื่อให้เครือข่าย ประชาชนรับรู้มากขึ้น รัฐบาลถึงจะได้รับร่วมมือจากประชาชนมากขึ้น แต่อดีตไม่มีหน่วยงานติดตามทำตามกฎหมายกำหนดไว้ หลาย 10 หน่วยงานไม่เปิดเผยข้อมูล
นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการฯ ป.ป.ท.ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ด้านการปราบปรามการทุจริต กล่าวว่า การปราบปรามการทุจริตประสบปัญหาล่าช้า ทำให้ประชาชนมองว่าไม่ได้ผล คนก็จะไม่กลัว นายกฯ จึงให้นำมาตรการการปกครอง และ วินัยมาใช้ ถ้าเอามาตรการวินัย และการปกครองไปตัดไฟแต่ต้นลม ตั้งแต่ตอนนี้ ทำให้ทุจริตลดลง เพราะฉะนั้น ศอตช. จึงเสนอให้ใช้คำสั่งที่ คสช.ที่ 69 เข้าไปกระตุ้น ในกรณีที่พบผู้บังคับบัญชาทำผิดวินัย โดย ศอตช. เข้าไปตรวจสอบ ถ้าพบผู้บังคับบัญชาการไม่ดำเนินการ จะโดนวินัยเสียเอง จะใช้ พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก ที่กำหนดชัดการขออนุญาตจากหน่วยไหนใช้เวลาเท่าไร และนายกฯ ย้ำว่า นอกจากการร้องเรียนตามพ.ร.บ.อำนวยความสะดวกแล้ว ขอให้มุ่งเน้นความผิดทุกประเภท ที่เคยดำเนินการมา ขอให้ดำเนินการ อย่าได้ละเว้น หรือมีสองมาตรฐาน
นายวิษณุ กล่าวว่า จะเน้นมาตรการปราบปราม 4 ขั้นตอน จากเบาไปหนักสุด คือ 1. ให้ผู้กระทำความผิด หรือมีแนวโน้มว่าจะทำความผิด ต้องรู้จักยั้งคิด หยุดคิดว่าเสี่ยง อย่างทำ ทางที่ดีปฏิบัติตามกฎหมาย พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวก ถ้าเลยขั้นตอนยังคิดไม่เป็น ยังคิดไม่ออกอีกไป จะเลยไป ขั้นที่ 2. ถูกตรวจสอบ ถ้าฝ่าฝืนจะตรวจสอบว่า ที่ทำไปนั้นผิดหรือไม่ ประมาท จงใจหรือไม่ มี สตง. ป.ป.ช., ป.ป.ท. , คตร. เข้ามาตรวจสอบการใช้งบฯ วันนี้มีการตรวจสอบรายงานลับมาถึงนายกฯ เป็นจำนวนมาก และ ขั้นที่ 3 จัดการในทางบริหาร คือโยกย้าย ออกจากพื้นที่เสี่ยง หรือ ล่อแหลม อย่าปล่อยให้อยู่ทำผิดต่อไป หรืออยู่ระหว่างหาหลักฐาน เพื่อที่ดำเนินคดี บางคนปล่อยให้อยู่ บางคนปล่อยให้อยู่ไม่ได้ในภาษากฎหมายที่ว่า“ขืนอยู่อย่างนั้นต่อไป จะไปยุ่งเหยิงกับคดี และพยานหลักฐาน จนเสียรูปคดี”อย่างนี้ ต้องเอาออก และ ขั้นที่ 4 ฟ้องร้องดำเนินคดี เริ่มทยอยนำมาใช้
**เร่งปฏิรูปกม.จัดซื้อ จัดจ้าง
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ด้านการประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า เรื่องที่รัฐบาลต้องการแก้คือ การจัดซื้อจัดจ้างที่รั่วไหลมากที่สุด ที่เวลานี้พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง ที่รับผิดชอบกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง รวมกับทาง สปช.ใกล้แล้วเสร็จ เตรียมส่งเข้าครม.สัปดาห์หน้า ในรัฐบาลชุดนี้ พ.ร.บ.นี้น่าจะแล้วเสร็จ ทำให้การประมูลงานภาครัฐ มีความโปร่งใสมากขึ้น รวมถึง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ ทาง สปช. กำลังแก้ไข ทำให้การเข้าถึงกว้างขวางขึ้น แต่รัฐบาลชุดนี้ จะใช้องค์กรอิสระขับเคลื่อน ตรวจสอบ ป.ป.ช. สตง. ป.ป.ท. ดีเอสไอ จะมานั่งทำงานรวบรวมข้อมูลเสนอนายกฯ ที่จะดำเนินการกับบุคคลที่กระทำความผิด
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริต กล่าวว่า ทางคณะกรรมการ ได้มอบหมายให้ 2 โครงการ ไปจัดทำ ข้อตกลงคุณธรรม ประกอบด้วย
1. โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ เอ็นจีวี จำนวน 489 คัน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งได้มีการจัดทำข้อตกลงแล้ว แต่การจัดซื้อจัดจ้างยังไม่เรียบร้อย
2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ซึ่งผู้สังเกตการณ์ได้เข้าไปดูเรื่องของการทำงานแล้ว
นอกจากนี้ คณะกรรมการร่วมมือป้องกันการทุจริต ที่มี นายประมนต์ สุธีวงศ์ และ นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เป็นประธานได้เสนอโครงการที่จะต้องทำ เรื่องข้อตกลงคุณธรรมเพิ่มอีก 3 โครงการ ประกอบด้วย 1. โครงการเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากระบบอนาล็อก เป็นระบบดิจิตอล ของกรมประชาสัมพันธ์ ที่มีราคากว่า 1,000 ล้านบาท 2. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของกรมศุลกากร ที่มีการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ตู้คอนเทนเนอร์ และ 3.โครงการจัดซื้อเครื่องจักรสำหรับโรงงานยาสูบ
ทั้งนี้ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรี มีดำริว่า น่าจะมีโครงการที่จะเข้ามาทำข้อตกลงคุณธรรม เพิ่มอีก โดยให้แต่ละกระทรวงที่อยู่ 20 กระทรวง เสนอโครงการเข้ามา " อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว
** ต้องใช้ ม.44 แก้ปัญหาความล่าช้า
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า รายชื่อในมือ นายกฯวันนี้ เป็นข้าราชการ จึงต้องหาวิธีการจัดการ บางคนอาจไม่ต้องทำอะไร เพราะยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน แต่บางพวกหากให้อยู่ในหน้าที่เดิมต่อไป อาจเป็นปัญหาเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จนทำให้เสียรูปคดี หรือเป็นปัญหาทางปกครอง ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจไม่เชื่อถือผู้บังคับบัญชา ที่ถูกกล่าวหาด้วยข้อหาใหญ่ จึงต้องจัดการในเชิงบริหาร คือ การโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ จากนี้ไปจะมีการแต่งตั้งโยกย้ายนอกฤดูกาลเกิดขึ้น เพื่อจัดการกับคนบางประเภท
โดยการแต่งตั้งโยกย้ายที่จะเกิดขึ้น จะทำกับบุคคล 3 ประเภท คือ 1. ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง 2. สับเปลี่ยนเพื่อประสิทธิภาพของงาน และ 3. คือผู้ที่ถูกส่งรายชื่อมา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าทั้ง 100 กว่าคน ซึ่งพบว่ามีตั้งแต่ซี 3ถึงซี11 เรียกว่ามีตั้งแต่ผู้น้อยถึงผู้ใหญ่ อาจจะมีทั้งพวกที่ปล่อยให้อยู่ที่เดิม หรือกลุ่มที่อาจจะมีปัญหาต้องโยกย้าย ซึ่งอาจทำตามช่องทางปกติเข้าที่ประชุม ครม. หรือ บางกรณีเป็นข้าราชการระดับสูง อาจหาตำแหน่งรองรับปกติยาก ต้องเอาออกจากกระทรวงที่สังกัด โดยหาตำแหน่งมารองรับ หัวหน้า คสช. อาจต้องใช้อำนาจตาม มาตรา 44 เพื่อสร้างตำแหน่งใหม่รองรับ โดยเอาคนเหล่านี้ออกมา โดยให้หลักประกันว่าเป็นมาตรการชั่วคราว เมื่อการสอบสวนดำเนินการแล้วพบว่าไม่มีความผิดก็กลับไปดำแห่นงเดิม แต่ถ้าผิด ต้องถูกดำเนินคดี
"เหตุที่ต้องใช้มาตรา 44 ในการโยกย้ายข้าราชการ เพราะกระบวนการปกติล่าช้า อาจใช้เวลาหลายเดือน ตำแหน่งที่จะให้บุคคลที่โดนโยกย้ายเข้ามา รัฐบาลกำลังตัดสินใจ แต่ไม่ให้อยู่กระทรวงเดิมแน่นอน ทุกคนอาจจะมาประจำที่สำนักนายกรัฐมนตรี หรือเป็นที่ปรึกษานายกฯ อย่างไรก็ตาม ไม่อยากใช้คำว่า สุสานคนโกง เพราะหลายคนสุดท้ายเขาก็ไม่ได้ผิดอะไร" นายวิษณุ กล่าว
*** เซ็นแต่งตั้ง “กมล-พินิจศักดิ์-สุเทพ”
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร 602/2558 เรื่องมอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และองค์การค้า ของ สกสค. รวมทั้งการดำเนินงานของคณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการ สกสค. และคณะกรรมการบริหารองค์การค้าฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ จึงอาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2558 ลงวันที่ 16 เมษายน 2558 จึงมอบหมายให้รองปลัด ศธ.และข้าราชการ ศธ.ในระดับเดียวกันขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งต่างๆ ไปพลางก่อน ดังนี้ นายกมล ศิริบรรณ รองปลัด ศธ. ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา ,นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ สกสค. และนายสุเทพ ชิตยวงษ์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ โดยให้มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ รมว.ศึกษาธิการ คาดว่าจะมีการนัดหารืออย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า โดยส่วนของตนอันดับแรกจะเข้าไปดูภารกิจว่ามีเรื่องใดที่ต้องเร่งดำเนินงาน รวมถึงจะต้องมอบหมายงานให้รักษาการเลขาธิการ ทั้ง 3 หน่วยงาน เข้าไปดูความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะระบบการเงิน รวมถึงโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการอยู่ว่ามีความไม่โปร่งใสหรือไม่ ที่ต้องลงไปดูเพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ ในอนาคตราบรื่นไร้ปัญหาการทุจริตคือ ปรับแก้กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับองค์ประกอบและโครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการทั้ง3 ชุด ที่จะต้องมีความสมดุลกับอำนาจ รมว.ศึกษาธิการ โดยต่อไปหากคณะกรรมการทั้ง 3 ชุด ทำอะไรที่ไม่ชอบมาพากล หรือส่อไปในทางทุจริต ก็สามารถใช้อำนาจ รมว.ศึกษาธิการ แก้ไขปัญหาได้
“ก่อนหน้านี้ ได้มีการแต่งตั้งผมเป็นประธานคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริง กรณีปัญหาการทุจริตการก่อสร้างอาคารพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ จำนวน 360 ล้านบาท ซึ่งผลออกมาแล้วว่ามีมูลว่ามีการดำเนินการที่ส่อไปในทางทุจริต ส่วนข้อมูลความเสียหายจะอยู่ที่เท่าไรนั้น สกสค.ไม่ได้รายงานให้คณะกรรมการสืบข้อเท็จจริงทราบ โดยผมจะส่งข้อมูลดังกล่าวให้ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการ สกสค.พิจารณา โดยได้เสนอให้ตั้งกรรมการสอบวินัย นายสมศักดิ์ ตาไชย เลขาธิการ สกสค. ที่อยู่ระหว่างยุติการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.”ปลัด ศธ.กล่าว
รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ สกสค. นำเงินสมาชิกโครงการการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.)นำเงิน ไปลงทุนกับบริษัทบิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัด นั้น จำนวน 2,100 ล้านบาท นั้นตนยังไม่ทราบรายละเอียด แต่หากทางเลขาธิการ สกสค.ยืนยันว่า สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย และเป็นมติของคณะกรรมการ ช.พ.ค. เพราะฉะนั้น หากเกิดความเสียหายขึ้น สกสค.และคณะกรรมการช.พ.ค.ที่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องนี้ก็ต้องรับผิดชอบ หาเงินมาคืนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับผลกระทบ
เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (21เม.ย.) ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ครั้งที่ 3 โดยมี คณะรัฐมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ อาทิ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผบ.ทบ. พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และ นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้ ก่อนการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การทำงานต่างๆ ต้องเร่งรัดให้เดินหน้าได้ โดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วน แต่หากดำเนินการตามระบบมีความล่าช้า ก็จำเป็นต้องใช้ มาตรา 44 เพื่อปลดล็อกให้การทำงานเร็วขึ้น เพราะรัฐบาลมีเวลาจำกัด แต่ต้องใช้ด้วยความเป็นธรรม รัดกุมและถูกต้อง ทั้งนี้ หากพบว่ามีผู้กระทำความผิด ทุจริต ก็ต้องดำเนินคดี และสิ่งเหล่านี้ทุกรัฐบาลก็ต้องทำเช่นกัน ประชาชนต้องเรียนรู้ว่าหากกระทำความผิด ก็ต้องถูกดำเนินคดี
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการทำงานมีปัญหามาก เนื่องจากที่ผ่านมา กระบวนการยุติธรรมถูกครอบงำ ทำให้การทำงานต่างๆไม่สามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ ถึงวันนี้ข้าราชการทุกคนต้องทำงาน หากมีปัญหาติดขัด ก็ขอให้แจ้งมา
** ต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส
นายต่อตระกูล ยมนาค ประธานคณะอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ด้านการป้องกันการทุจริต กล่าวว่า ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ เพื่อให้เครือข่าย ประชาชนรับรู้มากขึ้น รัฐบาลถึงจะได้รับร่วมมือจากประชาชนมากขึ้น แต่อดีตไม่มีหน่วยงานติดตามทำตามกฎหมายกำหนดไว้ หลาย 10 หน่วยงานไม่เปิดเผยข้อมูล
นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการฯ ป.ป.ท.ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ด้านการปราบปรามการทุจริต กล่าวว่า การปราบปรามการทุจริตประสบปัญหาล่าช้า ทำให้ประชาชนมองว่าไม่ได้ผล คนก็จะไม่กลัว นายกฯ จึงให้นำมาตรการการปกครอง และ วินัยมาใช้ ถ้าเอามาตรการวินัย และการปกครองไปตัดไฟแต่ต้นลม ตั้งแต่ตอนนี้ ทำให้ทุจริตลดลง เพราะฉะนั้น ศอตช. จึงเสนอให้ใช้คำสั่งที่ คสช.ที่ 69 เข้าไปกระตุ้น ในกรณีที่พบผู้บังคับบัญชาทำผิดวินัย โดย ศอตช. เข้าไปตรวจสอบ ถ้าพบผู้บังคับบัญชาการไม่ดำเนินการ จะโดนวินัยเสียเอง จะใช้ พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก ที่กำหนดชัดการขออนุญาตจากหน่วยไหนใช้เวลาเท่าไร และนายกฯ ย้ำว่า นอกจากการร้องเรียนตามพ.ร.บ.อำนวยความสะดวกแล้ว ขอให้มุ่งเน้นความผิดทุกประเภท ที่เคยดำเนินการมา ขอให้ดำเนินการ อย่าได้ละเว้น หรือมีสองมาตรฐาน
นายวิษณุ กล่าวว่า จะเน้นมาตรการปราบปราม 4 ขั้นตอน จากเบาไปหนักสุด คือ 1. ให้ผู้กระทำความผิด หรือมีแนวโน้มว่าจะทำความผิด ต้องรู้จักยั้งคิด หยุดคิดว่าเสี่ยง อย่างทำ ทางที่ดีปฏิบัติตามกฎหมาย พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวก ถ้าเลยขั้นตอนยังคิดไม่เป็น ยังคิดไม่ออกอีกไป จะเลยไป ขั้นที่ 2. ถูกตรวจสอบ ถ้าฝ่าฝืนจะตรวจสอบว่า ที่ทำไปนั้นผิดหรือไม่ ประมาท จงใจหรือไม่ มี สตง. ป.ป.ช., ป.ป.ท. , คตร. เข้ามาตรวจสอบการใช้งบฯ วันนี้มีการตรวจสอบรายงานลับมาถึงนายกฯ เป็นจำนวนมาก และ ขั้นที่ 3 จัดการในทางบริหาร คือโยกย้าย ออกจากพื้นที่เสี่ยง หรือ ล่อแหลม อย่าปล่อยให้อยู่ทำผิดต่อไป หรืออยู่ระหว่างหาหลักฐาน เพื่อที่ดำเนินคดี บางคนปล่อยให้อยู่ บางคนปล่อยให้อยู่ไม่ได้ในภาษากฎหมายที่ว่า“ขืนอยู่อย่างนั้นต่อไป จะไปยุ่งเหยิงกับคดี และพยานหลักฐาน จนเสียรูปคดี”อย่างนี้ ต้องเอาออก และ ขั้นที่ 4 ฟ้องร้องดำเนินคดี เริ่มทยอยนำมาใช้
**เร่งปฏิรูปกม.จัดซื้อ จัดจ้าง
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ด้านการประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า เรื่องที่รัฐบาลต้องการแก้คือ การจัดซื้อจัดจ้างที่รั่วไหลมากที่สุด ที่เวลานี้พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง ที่รับผิดชอบกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง รวมกับทาง สปช.ใกล้แล้วเสร็จ เตรียมส่งเข้าครม.สัปดาห์หน้า ในรัฐบาลชุดนี้ พ.ร.บ.นี้น่าจะแล้วเสร็จ ทำให้การประมูลงานภาครัฐ มีความโปร่งใสมากขึ้น รวมถึง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ ทาง สปช. กำลังแก้ไข ทำให้การเข้าถึงกว้างขวางขึ้น แต่รัฐบาลชุดนี้ จะใช้องค์กรอิสระขับเคลื่อน ตรวจสอบ ป.ป.ช. สตง. ป.ป.ท. ดีเอสไอ จะมานั่งทำงานรวบรวมข้อมูลเสนอนายกฯ ที่จะดำเนินการกับบุคคลที่กระทำความผิด
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริต กล่าวว่า ทางคณะกรรมการ ได้มอบหมายให้ 2 โครงการ ไปจัดทำ ข้อตกลงคุณธรรม ประกอบด้วย
1. โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ เอ็นจีวี จำนวน 489 คัน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งได้มีการจัดทำข้อตกลงแล้ว แต่การจัดซื้อจัดจ้างยังไม่เรียบร้อย
2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ซึ่งผู้สังเกตการณ์ได้เข้าไปดูเรื่องของการทำงานแล้ว
นอกจากนี้ คณะกรรมการร่วมมือป้องกันการทุจริต ที่มี นายประมนต์ สุธีวงศ์ และ นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เป็นประธานได้เสนอโครงการที่จะต้องทำ เรื่องข้อตกลงคุณธรรมเพิ่มอีก 3 โครงการ ประกอบด้วย 1. โครงการเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากระบบอนาล็อก เป็นระบบดิจิตอล ของกรมประชาสัมพันธ์ ที่มีราคากว่า 1,000 ล้านบาท 2. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของกรมศุลกากร ที่มีการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ตู้คอนเทนเนอร์ และ 3.โครงการจัดซื้อเครื่องจักรสำหรับโรงงานยาสูบ
ทั้งนี้ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรี มีดำริว่า น่าจะมีโครงการที่จะเข้ามาทำข้อตกลงคุณธรรม เพิ่มอีก โดยให้แต่ละกระทรวงที่อยู่ 20 กระทรวง เสนอโครงการเข้ามา " อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว
** ต้องใช้ ม.44 แก้ปัญหาความล่าช้า
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า รายชื่อในมือ นายกฯวันนี้ เป็นข้าราชการ จึงต้องหาวิธีการจัดการ บางคนอาจไม่ต้องทำอะไร เพราะยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน แต่บางพวกหากให้อยู่ในหน้าที่เดิมต่อไป อาจเป็นปัญหาเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จนทำให้เสียรูปคดี หรือเป็นปัญหาทางปกครอง ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจไม่เชื่อถือผู้บังคับบัญชา ที่ถูกกล่าวหาด้วยข้อหาใหญ่ จึงต้องจัดการในเชิงบริหาร คือ การโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ จากนี้ไปจะมีการแต่งตั้งโยกย้ายนอกฤดูกาลเกิดขึ้น เพื่อจัดการกับคนบางประเภท
โดยการแต่งตั้งโยกย้ายที่จะเกิดขึ้น จะทำกับบุคคล 3 ประเภท คือ 1. ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง 2. สับเปลี่ยนเพื่อประสิทธิภาพของงาน และ 3. คือผู้ที่ถูกส่งรายชื่อมา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าทั้ง 100 กว่าคน ซึ่งพบว่ามีตั้งแต่ซี 3ถึงซี11 เรียกว่ามีตั้งแต่ผู้น้อยถึงผู้ใหญ่ อาจจะมีทั้งพวกที่ปล่อยให้อยู่ที่เดิม หรือกลุ่มที่อาจจะมีปัญหาต้องโยกย้าย ซึ่งอาจทำตามช่องทางปกติเข้าที่ประชุม ครม. หรือ บางกรณีเป็นข้าราชการระดับสูง อาจหาตำแหน่งรองรับปกติยาก ต้องเอาออกจากกระทรวงที่สังกัด โดยหาตำแหน่งมารองรับ หัวหน้า คสช. อาจต้องใช้อำนาจตาม มาตรา 44 เพื่อสร้างตำแหน่งใหม่รองรับ โดยเอาคนเหล่านี้ออกมา โดยให้หลักประกันว่าเป็นมาตรการชั่วคราว เมื่อการสอบสวนดำเนินการแล้วพบว่าไม่มีความผิดก็กลับไปดำแห่นงเดิม แต่ถ้าผิด ต้องถูกดำเนินคดี
"เหตุที่ต้องใช้มาตรา 44 ในการโยกย้ายข้าราชการ เพราะกระบวนการปกติล่าช้า อาจใช้เวลาหลายเดือน ตำแหน่งที่จะให้บุคคลที่โดนโยกย้ายเข้ามา รัฐบาลกำลังตัดสินใจ แต่ไม่ให้อยู่กระทรวงเดิมแน่นอน ทุกคนอาจจะมาประจำที่สำนักนายกรัฐมนตรี หรือเป็นที่ปรึกษานายกฯ อย่างไรก็ตาม ไม่อยากใช้คำว่า สุสานคนโกง เพราะหลายคนสุดท้ายเขาก็ไม่ได้ผิดอะไร" นายวิษณุ กล่าว
*** เซ็นแต่งตั้ง “กมล-พินิจศักดิ์-สุเทพ”
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร 602/2558 เรื่องมอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และองค์การค้า ของ สกสค. รวมทั้งการดำเนินงานของคณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการ สกสค. และคณะกรรมการบริหารองค์การค้าฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ จึงอาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2558 ลงวันที่ 16 เมษายน 2558 จึงมอบหมายให้รองปลัด ศธ.และข้าราชการ ศธ.ในระดับเดียวกันขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งต่างๆ ไปพลางก่อน ดังนี้ นายกมล ศิริบรรณ รองปลัด ศธ. ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา ,นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ สกสค. และนายสุเทพ ชิตยวงษ์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ โดยให้มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ รมว.ศึกษาธิการ คาดว่าจะมีการนัดหารืออย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า โดยส่วนของตนอันดับแรกจะเข้าไปดูภารกิจว่ามีเรื่องใดที่ต้องเร่งดำเนินงาน รวมถึงจะต้องมอบหมายงานให้รักษาการเลขาธิการ ทั้ง 3 หน่วยงาน เข้าไปดูความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะระบบการเงิน รวมถึงโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการอยู่ว่ามีความไม่โปร่งใสหรือไม่ ที่ต้องลงไปดูเพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ ในอนาคตราบรื่นไร้ปัญหาการทุจริตคือ ปรับแก้กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับองค์ประกอบและโครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการทั้ง3 ชุด ที่จะต้องมีความสมดุลกับอำนาจ รมว.ศึกษาธิการ โดยต่อไปหากคณะกรรมการทั้ง 3 ชุด ทำอะไรที่ไม่ชอบมาพากล หรือส่อไปในทางทุจริต ก็สามารถใช้อำนาจ รมว.ศึกษาธิการ แก้ไขปัญหาได้
“ก่อนหน้านี้ ได้มีการแต่งตั้งผมเป็นประธานคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริง กรณีปัญหาการทุจริตการก่อสร้างอาคารพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ จำนวน 360 ล้านบาท ซึ่งผลออกมาแล้วว่ามีมูลว่ามีการดำเนินการที่ส่อไปในทางทุจริต ส่วนข้อมูลความเสียหายจะอยู่ที่เท่าไรนั้น สกสค.ไม่ได้รายงานให้คณะกรรมการสืบข้อเท็จจริงทราบ โดยผมจะส่งข้อมูลดังกล่าวให้ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการ สกสค.พิจารณา โดยได้เสนอให้ตั้งกรรมการสอบวินัย นายสมศักดิ์ ตาไชย เลขาธิการ สกสค. ที่อยู่ระหว่างยุติการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.”ปลัด ศธ.กล่าว
รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ สกสค. นำเงินสมาชิกโครงการการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.)นำเงิน ไปลงทุนกับบริษัทบิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัด นั้น จำนวน 2,100 ล้านบาท นั้นตนยังไม่ทราบรายละเอียด แต่หากทางเลขาธิการ สกสค.ยืนยันว่า สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย และเป็นมติของคณะกรรมการ ช.พ.ค. เพราะฉะนั้น หากเกิดความเสียหายขึ้น สกสค.และคณะกรรมการช.พ.ค.ที่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องนี้ก็ต้องรับผิดชอบ หาเงินมาคืนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับผลกระทบ