เมื่อเวลา 14.00น. วานนี้ (20 เม.ย.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้สั่งการให้ ครม.ทุกคน กลับไปดูร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ นำเสนอ ที่จะต้องมีส่วนที่ ครม. และ คสช. ต้องรับผิดชอบด้วย โดยให้ ครม.ทุกกระทรวง ไปศึกษารายละเอียดทุกมาตรา โดย พล.อ.ประยุทธ์ ให้แนวทางไว้ว่า ให้ดูในแต่ละเรื่อง ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน ที่เกี่ยวกับกระทรวง ทบวง กรมนั้น ได้หรือไม่ อย่างไร
อีกทั้งให้ครม.ไปดูว่า การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการของแต่ละกระทรวง ถือ เป็นสิ่งที่ดีแต่ต้องมีรายละเอียดชัดเจนว่า การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนนั้น จะเข้ามาตั้งแต่ช่วงจังหวะไหน ของการบริหารราชการในแต่ละกระทรวง และจะสามารถทำให้การบริหารราชการเป็นไปได้จริงหรือไม่ เนื่องจากการใช้อำนาจเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเป็นห่วงว่าการจัดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยไม่กำหนดรายละเอียดให้ชัดเจน อาจทำให้การบริหารราชการมีข้อขัดข้อง
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้สั่งการให้ ครม.ไปดูว่า ประชาชนจะได้อะไรจากมาตราต่างๆ ของรัฐธรรมนูญ โดยให้แต่ละกระทรวงรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมด และเสนอไปที่คณะทำงานที่มี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฏหมายเป็นประธาน ภายในวันที่ 14 พ.ค. และจะจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง ครม. และ คสช. ในวันที่19 พ.ค. ที่จะหยิบยกข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญของแต่ละกระทรวงมาพูดคุย จากนั้น จะจัดทำเป็นหนังสือแจ้งไปคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อไปสู่ขั้นตอนในการแปรญัตติ ที่ทางคณะกรรมาธิการยกร่างฯ อาจเชิญครม.และ คสช.ไปชี้แจงว่า ต้องการแก้ไขในประเด็นใด และมีเหตุผลอย่างไร
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวภายหลังการประชุมครม. ถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะนี้ จะกระทบกับโรดแมป หรือไม่ ว่า "อย่ามาถามผม ถ้าถามผม ผมก็บอกมาทุกครั้งแล้วว่า โรดแมป ก็คือโรดแมป ก็ต้องดูว่าปัญหาต่างๆ จะทำให้โรดแมป เดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ และถ้าไปต่อไม่ได้ จะทำกันอย่างไร อยากถามว่าวันนี้ ประเทศต้องการปฏิรูปหรือไม่ ถ้าต้องการปฏิรูป ก็จำเป็นจะต้องมีกลไกพิเศษขึ้นมา เพราะถ้าจะปล่อยให้เป็นแบบเดิม มันก็คงได้ผลแบบเดิม บางคนบอกว่าให้เอารัฐธรรมนูญปี 2540 บ้าง บางคนก็บอกให้เอาปี 2550 มาใช้บ้าง ไม่ต้องไปเขียนใหม่ให้เมื่อย แต่ผมอยากถามว่า แล้วมันทำได้หรือไม่ อย่างความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันก่อน 22 พฤษภาคม 2557 ในเรื่องว่าควรปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง หรือ เลือกตั้งก่อนปฏิรูป ขอร้องว่า อย่านำเรื่องนี้มาปนกัน และอย่านำมาทวงถามกับผมว่า จะปฏิรูปก่อน หรือหลังเลือกตั้งก็ได้ เพราะผมยึดอำนาจมาแล้ว มันคนละเวลากัน ผมไม่ต้องการทำอะไรให้วุ่นวาย พยายามทำทุกอย่างให้เดินหน้าไปได้ และเท่าที่อยู่ทำงานมา 6 เดือน ทุกอย่างก็ชัดเจนแล้ว อย่าบอกว่ารัฐบาลนี้ไม่มีผลงาน ไม่มีความก้าวหน้า เพราะงานที่สำเร็จแล้วก็มี อยู่ระหว่างดำเนินการก็มี เป็นแผนงานในอนาคตที่จะเริ่มต้น ใหม่ก็มี มีเป็นร้อยเป็นพันเรื่อง ไม่ใช่ว่าผมสั่งไปเรื่อย พูดไปเรื่อย เหมือนที่สื่อวิพากษ์วิจารณ์" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**ประชามติหรือไม่ รอสปช.อภิปรายก่อน
เมื่อถามว่า ช่วงจังหวะเวลาใด ที่จะใช้อำนาจของหัวหน้า คสช.ตัดสินว่า จะทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ให้ผ่านช่วงเวลา 7 วันนี้ ที่ สปช. อภิปรายร่างรัฐธรรมนูญไปก่อน ซึ่งต้องไปดูว่า จำเป็นจะต้องมีขั้นตอนที่ว่า หาก สปช.เสนอให้ไปแก้ไข หรือ ครม.เสนอให้ไปแก้ไข และทางคณะกรรมาธิการฯ แก้ไขหรือไม่ ถ้าไม่แก้ แล้วยืนยันจะส่งต่อไป จะมีปัญหาอะไรหรือไม่ ตอนนี้ต้องรับฟังทั้งหมด เพราะอยู่ในขั้นตอนของการรับฟังความคิดเห็นจาก สปช. ก่อน จากนั้นก็จะต้องมาฟังความคิดเห็นจาก ครม. และ คสช. หลังจากวันที่ 19-20 พ.ค. ซึ่งก็จะมีการเสนอขึ้นไปทั้ง 2 ทาง ให้รู้ว่า ควรจะต้องทำอย่างไร ตนยังไม่อยากใช้อำนาจอะไรตรงนี้ หลังจากนี้ก็จะส่งความคิดเห็นทั้งหมดไปยังคณะกรรมาธิการฯ ตามเวลาที่กำหนด ส่วนกรรมาธิการฯ จะแก้หรือไม่ อยู่ที่เขา ถ้าไม่แก้แล้วดันต่อไปก็ต้องมาดูว่า จะได้รับการยอมรับหรือไม่ ก็ต้องมาว่ากันอีกที
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัจจัยที่จะทำให้บ้านเมืองยังไม่เกิดความสงบเรียบร้อย เนื่องจากกลุ่มอำนาจเก่ายังมีกำลังอยู่ นายกรัฐมนตรีจะทำอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "คงจะต้องสวดมนต์มั้ง ต้องสวดมนต์ไหว้พระ ทุกวันนี้ผมก็สวดมนต์ทุกวัน และไม่เคยขออะไรให้ตัวเองแต่ขอให้กับประเทศชาติทุกวัน เวลาไหว้พระ ก็ขอให้ประเทศชาติปลอดภัยทำงานได้สำเร็จ ขอให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย ไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง เพราะถ้าขออะไรให้ตัวเอง ก็จะสบายเพียงคนเดียว ผมเข้ามาเพื่อต้องการให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ ไม่ได้ไปทวงบุญคุณกับใคร ผมทำงานมาตลอดชีพ ไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง เพราะผมไม่เคยอยากเป็นอะไรทั้งสิ้น แล้วมันถึงได้เป็น แต่ถ้ายิ่งขอ ยิ่งไม่ได้เป็น ยิ่งวิ่งเต้น ยิ่งต้องไม่ได้ ถ้ามาขอกับผม ผมก็ไม่ให้"
เมื่อถามย้ำว่าแล้วจะทำอย่างไร ไม่ให้กลุ่มการเมืองเก่า มีอำนาจขึ้นมาอีก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สื่อก็ต้องไปช่วยกันขอร้อง และไปบอก รวมทั้งปรามกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย พวกสื่อเคยเขียนปรามกันบ้างไหม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงตรงนี้ได้ ถามหานักข่าวมติชน ทันที โดยกล่าวว่า ไหนมติชนอยู่ไหน ให้ยกมือขึ้น เป็นเพื่อนกันไม่เป็นไร ยกมือขึ้น " ดูซิ ดูข้างในของคุณ พี่ไม่ได้ว่าอะไร เวลาพวกคุณเขียนข่าวเข้าไป มีรายละเอียด มีรายละเอียดต่างๆ แล้วเจ้านายเธอลงทุกอันหรือไม่ ตอบมา ก็ต้องบอกเขาให้หมดว่า รายละเอียดผมพูดอย่างไร ที่ผ่านมาผมพูดดีทุกวันเลยนะ ไม่เคยพูดอะไรเสีย แล้วมันลงเสียมาหมด ไม่เข้าใจมันเขียนได้ยังไงวะ เอาละ ไม่โกรธ ขี้เกียจ"
**ลั่นปฏิรูปเปลี่ยนโฉมการเมือง
เมื่อถามว่า กลุ่มการเมืองที่ยังเคลื่อนไหวขณะนี้ มีการขยายตัวหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า กลุ่มเหล่านี้ไม่ได้ขยายตัว แต่พยายามดิ้นรน เพื่อต่อสู้ในทางการเมืองของเขา บางทีเขาก็ลืมว่า วันนี้เรามีทั้งกฎหมาย มีทั้ง พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือแม้แต่การประกาศใช้ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็ออกไปหมดแล้ว ดังนั้นถ้า จะเข้ามาปกครองประเทศ ทุกคนจะต้องเคารพกฎหมาย วันนี้ จะเอากฎหมายอะไรกันอีก จะให้ใช้แรงกว่านี้ หรืออย่างไร พอประกาศใช้กฎหมาย ก็วิจารณ์ว่าละเมิดสิทธิเสรีภาพ พอใช้กฎหมายเบาๆ ก็ไม่เชื่อกันอีก อย่าลืมว่า วันนี้ประเทศเราต้องการปฏิรูป ต้องการทำให้ประเทศมีความเข้มแข็ง มีเศรษฐกิจยั่งยืน ไม่เกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีก และรัฐธรรมนูญก็ต้องมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น อาจจะต้องมีกระบวนการปฏิรูปใส่ลงไปด้วย ทั้งหมดนี้เรียกว่าการปฏิรูป ถ้าปฏิรูปแล้วยังใช้กฎหมายเดิม คนเดิมๆ ยังเข้ามาในการเลือกตั้งอีก ทุกอย่างก็เหมือนเดิมหมด สื่อช่วยไปถามอีกฝ่ายให้หน่อยได้หรือไม่ว่า อนาคตถ้าอนาคตเข้ามาเป็นนักการเมือง แล้วจะทำอะไรบ้าง เอามาเทียบกับสิ่งที่ตนได้ทำมา อย่างเรื่องการค้าขายผลิตผลทางการเกษตร จะได้เกิดความเข้าใจทั้ง ข้าว อ้อย น้ำตาล แต่ยอมรับว่า ของตนช้ากว่าแน่นอน เพราะไม่ได้เอาเงินไปให้ แต่ของเขาให้เงินลงไปแล้วก็จบ เลิก ปัญหาก็ยังไม่หมด ไม่มีความเข้มแข็ง นโยบายไม่มีความต่อเนื่อง
เมื่อถามว่ามั่นใจหรือไม่ว่า กลุ่มการเมืองที่ยังพยายามดิ้นรนอยู่ในขณะนั้น จะไม่สามารถเอาชนะโรดแมปที่วางไว้ได้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ถ้าให้ผมใช้อำนาจทั้งหมด ผมก็มั่นใจอยู่แล้ว แต่ก็คงถามว่าจะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายอะไรขึ้นหรือไม่ อย่าให้ผมจำเป็นจะต้องใช้แบบนั้น มันยังมีอีกหลายวิธีการ แต่ประชาชนจะต้องอยู่กับผม"
เมื่อถามว่า แล้วจะมีแนวโน้มที่นายกฯ จะใช้อำนาจเด็ดขาดในการจัดการตรงนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวปฏิเสธว่า ยัง ไม่อยากให้มี และไม่อยากให้ต้องใช้ สื่อก็ช่วยกันหามาตรการไปกดดันอีกฝ่ายหนึ่งบ้าง ไม่ใช่มากดดันตนข้างเดียว สื่อจะต้องทำตัวเหมือนเป็นกรรมการกลาง ตั้งคำถามกับทั้ง 2 ฝ่าย ยืนยันว่าวันนี้ฝ่ายตนเล่นตามกติกา แต่อีกฝ่ายกลับเล่นนอกกติกา มันถึงจำเป็นจะต้องมีวันนี้ เนื่องจากทุกอย่างปนเป เรรวนไปหมด ระบบข้าราชการเสียหาย มีการทุจริต ไม่โปร่งใส แต่พอตรวจสอบก็ร้องว่าไม่เป็นธรรม กล่าวหาว่า เล่นเพียงข้างเดียว
" ยืนยันว่าข้างอื่นก็เล่นอยู่ มีการเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ อย่างเช่น ในเรื่องการก่อการร้ายต่างๆ ที่มีการฟ้องร้อง ทางฝ่าย กปปส. มีการมอบตัวต่อศาลทั้งหมด แล้วถึงมีการประกันตัวออกมา ส่วนอีกข้างไม่มอบตัว ถ่วงเวลาจนถึงที่สุดถึงจะเข้ามอบตัว พอเสร็จก็ประกันตัวออกมา แล้วก็มาโวยวายข้างนอกว่าไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรม เรื่องนี้เห็นชัดว่ามีความแตกต่าง เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าผมเข้าข้างใคร ทุกคนต้องตัดสินให้ได้ว่า อะไร คืออะไร อะไรคือถูก อะไรคือผิด คำว่าเสรีภาพ ความเท่าเทียม หรือสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว ประเทศชาติไปไม่ได้" นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้ฝ่ายการเมืองออกมาแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เรื่องของร่างรัฐธรรมนูญ และการเมือง สามารถที่จะทำได้ ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สามารถทำได้ แต่อย่าให้นอกกรอบ หรือทำให้เกิดความวุ่นวาย แต่ถ้าออกมาพูดจาตำหนิรัฐบาลบ่อยๆ มันก็ไม่ค่อยดี โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ก็ต้องมีการปรามกันบ้าง ซึ่งตนก็ปราบมาแล้วหลายครั้ง วันนี้เองก็ได้สั่งการให้ติดตามความเคลื่อนไหวทั้งในส่วนของโทรทัศน์ วิทยุ เว็บไซต์ โซเชียลเนตเวิร์ก ซึ่งตนยังได้รับรายงานว่า ยังมีอยู่หลายสถานีก็คงต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล ไม่เช่นนั้นก็จะกลับมาแบบเดิมอีก ตนไม่เข้าใจว่า หัวจิตหัวใจทำด้วยอะไร แต่ไม่รู้เป็นพวกไหน หัวจิตหัวใจจะให้เป็นอยู่อย่างนี้ และมีความขัดแย้งต่อไปอย่างนั้นหรือ โดยใช้คำว่าประชาธิปไตย เลือกตั้ง อย่างเดียวเท่านั้นหรือ ถึงจะเรียบร้อย ตนอยากถามว่า ถ้าเป็นจริงมันจะเรียบร้อยหรือไม่ อย่างครั้งที่แล้ว เลือกตั้งได้หรือไม่ คิดกันหรือไม่ว่า ถ้าเลือกตั้งแล้วจะตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ ตนเองก็ยังไม่รู้เลย
** ห่วงหลังเลือกตั้ง จัดรัฐบาลไม่ได้
เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ ว่า จะเชิญตัวแทนพรรคการเมืองมาพูดคุย หรือลงสัตยาบัน เพื่อความสงบเรียบร้อย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พุทโธ่ กฎหมายยังไม่รับกันเลย จะให้มาลงนามอะไร มันไม่ใช่การทำสงครามในต่างประเทศ มันไม่ได้รบกันถึงขนาดนั้น
เมื่อถามว่า ตอนนี้มีปัจจัยอะไรที่นายกฯ ถึงคิดว่าเมื่อเลือกตั้งแล้ว จะไม่มีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ได้มีปัจจัยอะไร แต่วิเคราะห์จากสถานการณ์ วันนี้ขนาดยังไม่เลือกตั้ง ก็มีการทะเลาะกันไปมา เดี๋ยวอาจจะเลือกตั้งก็ได้ การบริหารประเทศต้องมีการวิเคราะห์ และวางแผนล่วงหน้า ไม่ใช่แค่ตอบสื่อไปวันๆ และที่ตนทำทั้งหมด คิดไว้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาและคิดไปถึงขนาดที่ถึงเวลาที่ตนจะได้พักผ่อน แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่
เมื่อถามว่า เมื่อรัฐธรรมนูญออกมา จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนจะไปบังคับให้ใครยอมรับไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่า เขาจะยอมรับหรือไม่ เขารักประเทศไทยกันหรือเปล่า ต้องการจะให้ลดความขัดแย้งกันหรือไม่ มันถึงจะนำไปสู่เรื่องอื่นๆ ต่อไปได้ แต่ถ้าคิดว่าถ้าจะไปได้ต้องมีการนิรโทษกรรมก่อน มันจะเป็นไปได้อย่างไร วันนี้ยังไม่รู้จะยอมรับความผิดกันเลย ก็ขอให้ยอมรับความผิดกันก่อน ใครผิดใครถูกก็ว่ากันมา แล้วถึงจะไปยังขั้นตอนนิรโทษ หรือสร้างความปรองดอง ขอให้สงสารชาวบ้าน และประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องบ้าง อย่าลืมว่าเดิมปัญหามันมี และมีความขัดแย้งกันในกลุ่มประชาชนนับสิบล้านคน แล้วประชาชนมีประชากรทั้งสิ้น 70 กว่าล้าน แล้วถามกันบ้างหรือไม่ว่า คนตรงกลางเหล่านี้ไปอยู่ที่ไหน และเขาจะเอาอย่างไร
"ผมขอถามว่าคนตรงกลางเหล่านี้ จะเอาอย่างไร จะเลือกตั้ง หรือไม่เลือกตั้ง จะปฏิรูปหรือไม่ปฏิรูป แล้วถ้ายังเกิดความขัดแย้งแบบเดิม จะเอาอย่างไร เรื่องนี้ก็ต้องไปช่วยกันถาม ไม่ใช่เรื่องของผมแล้ว " นายกรัฐมนตรี กล่าว
** ชี้ คสช.-ครม.มีส่วนมากในการท้วงติงร่างรธน.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย กล่าวถึง การเปิดอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ของ สปช. ระหว่างวันที่ 20 – 26 เม.ย. ว่า การประชุมสปช.ครั้งนี้ ยังไม่นำไปสู่การลงมติว่า ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ แต่หลังจากวันที่ 26 เม.ย. ทางกมธ.ยกร่างฯ จะขอความเห็นจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) และ สปช. ซึ่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดให้องค์กรเหล่านี้ สามารถขอแก้ไขได้ โดยครม.เองเตรียมเอาไว้แล้วหลายเรื่อง ส่วน คสช. จะแยกออกไปต่างหาก แต่คำข้อแก้ไขเหล่านี้ กมธ.ยกร่างฯ อาจจะแก้ตามหรือไม่ก็ได้ จากนั้นเดือน ส.ค.จะนำกลับมาให้สปช. ลงมติ ว่าจะให้ผ่านหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในการขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ หาก คสช.และครม. มีความเห็นทักท้วงตรงกัน น้ำหนักจะดีมาก ส่วนที่พรรคการเมืองเสนอให้ใช้อำนาจ มาตรา 44 ในการทำประชามติ แทนการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ แต่คงโกลาหลอลหม่านพิลึก ยืดยาว ไม่สร้างความพึงพอใจให้แก่คนได้ เพราะไม่รู้ว่าหลักเกณฑ์ที่เขียนไปนั้น มาจากหลักคิดของใคร เดี๋ยวจะมีการบอกว่า เป็นความคิดทหาร ดังนั้น หลายหัวดีกว่าหัวเดียว ควรจะไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ช่วยกันคิดกรรมวิธี แล้วไม่เสียเวลา เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดเวลาไว้ชัดเจน
รองนายกฯ กล่าวว่า สำหรับคำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่ 4 /2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานดําเนินการเพื่อประโยชน์แก่การจัดทํารัฐธรรมนูญและการปฏิรูป ประกอบด้วย ตน ในฐานะตัวแทน ครม. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะตัวแทน คสช. น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานสปช. รองประธาน สนช. 1 คน และ รองประธานกมธ.ยกร่างฯ 1 คน โดยจะมีการประชุมกันใน 1 – 2 วันนี้ เพราะนายกฯเร่งรัดอยากให้เร็ว และได้ขอให้นายวุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ช่วยประสานกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาผู้เชี่ยวชาญ ว่าใครสามารถมาได้ในเวลารวดเร็ว ขณะนี้มีรายชื่ออยู่ประมาณ 6 – 7 คนแล้ว ซึ่งบุคคลเหล่านี้สถาบันพระปกเกล้า และกต. เคยเชิญมา โดยรายชื่อจะนำมาเข้าคณะทำงานให้เลือก ซึ่งตนคิดว่าคงไม่สามารถเลือกได้อย่างใจนึก ต้องดูความว่างของบุคคลดังกล่าวด้วย ยกตัวอย่าง หากเราชอบผู้เชี่ยวชาญ X แต่เขามาไม่ได้ ชอบผู้เชี่ยวชาญ Y แต่แพงมาก อาจจำเป็นต้องเอาผู้เชี่ยวชาญ Z
อีกทั้งให้ครม.ไปดูว่า การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการของแต่ละกระทรวง ถือ เป็นสิ่งที่ดีแต่ต้องมีรายละเอียดชัดเจนว่า การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนนั้น จะเข้ามาตั้งแต่ช่วงจังหวะไหน ของการบริหารราชการในแต่ละกระทรวง และจะสามารถทำให้การบริหารราชการเป็นไปได้จริงหรือไม่ เนื่องจากการใช้อำนาจเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเป็นห่วงว่าการจัดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยไม่กำหนดรายละเอียดให้ชัดเจน อาจทำให้การบริหารราชการมีข้อขัดข้อง
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้สั่งการให้ ครม.ไปดูว่า ประชาชนจะได้อะไรจากมาตราต่างๆ ของรัฐธรรมนูญ โดยให้แต่ละกระทรวงรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมด และเสนอไปที่คณะทำงานที่มี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฏหมายเป็นประธาน ภายในวันที่ 14 พ.ค. และจะจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง ครม. และ คสช. ในวันที่19 พ.ค. ที่จะหยิบยกข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญของแต่ละกระทรวงมาพูดคุย จากนั้น จะจัดทำเป็นหนังสือแจ้งไปคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อไปสู่ขั้นตอนในการแปรญัตติ ที่ทางคณะกรรมาธิการยกร่างฯ อาจเชิญครม.และ คสช.ไปชี้แจงว่า ต้องการแก้ไขในประเด็นใด และมีเหตุผลอย่างไร
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวภายหลังการประชุมครม. ถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะนี้ จะกระทบกับโรดแมป หรือไม่ ว่า "อย่ามาถามผม ถ้าถามผม ผมก็บอกมาทุกครั้งแล้วว่า โรดแมป ก็คือโรดแมป ก็ต้องดูว่าปัญหาต่างๆ จะทำให้โรดแมป เดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ และถ้าไปต่อไม่ได้ จะทำกันอย่างไร อยากถามว่าวันนี้ ประเทศต้องการปฏิรูปหรือไม่ ถ้าต้องการปฏิรูป ก็จำเป็นจะต้องมีกลไกพิเศษขึ้นมา เพราะถ้าจะปล่อยให้เป็นแบบเดิม มันก็คงได้ผลแบบเดิม บางคนบอกว่าให้เอารัฐธรรมนูญปี 2540 บ้าง บางคนก็บอกให้เอาปี 2550 มาใช้บ้าง ไม่ต้องไปเขียนใหม่ให้เมื่อย แต่ผมอยากถามว่า แล้วมันทำได้หรือไม่ อย่างความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันก่อน 22 พฤษภาคม 2557 ในเรื่องว่าควรปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง หรือ เลือกตั้งก่อนปฏิรูป ขอร้องว่า อย่านำเรื่องนี้มาปนกัน และอย่านำมาทวงถามกับผมว่า จะปฏิรูปก่อน หรือหลังเลือกตั้งก็ได้ เพราะผมยึดอำนาจมาแล้ว มันคนละเวลากัน ผมไม่ต้องการทำอะไรให้วุ่นวาย พยายามทำทุกอย่างให้เดินหน้าไปได้ และเท่าที่อยู่ทำงานมา 6 เดือน ทุกอย่างก็ชัดเจนแล้ว อย่าบอกว่ารัฐบาลนี้ไม่มีผลงาน ไม่มีความก้าวหน้า เพราะงานที่สำเร็จแล้วก็มี อยู่ระหว่างดำเนินการก็มี เป็นแผนงานในอนาคตที่จะเริ่มต้น ใหม่ก็มี มีเป็นร้อยเป็นพันเรื่อง ไม่ใช่ว่าผมสั่งไปเรื่อย พูดไปเรื่อย เหมือนที่สื่อวิพากษ์วิจารณ์" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**ประชามติหรือไม่ รอสปช.อภิปรายก่อน
เมื่อถามว่า ช่วงจังหวะเวลาใด ที่จะใช้อำนาจของหัวหน้า คสช.ตัดสินว่า จะทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ให้ผ่านช่วงเวลา 7 วันนี้ ที่ สปช. อภิปรายร่างรัฐธรรมนูญไปก่อน ซึ่งต้องไปดูว่า จำเป็นจะต้องมีขั้นตอนที่ว่า หาก สปช.เสนอให้ไปแก้ไข หรือ ครม.เสนอให้ไปแก้ไข และทางคณะกรรมาธิการฯ แก้ไขหรือไม่ ถ้าไม่แก้ แล้วยืนยันจะส่งต่อไป จะมีปัญหาอะไรหรือไม่ ตอนนี้ต้องรับฟังทั้งหมด เพราะอยู่ในขั้นตอนของการรับฟังความคิดเห็นจาก สปช. ก่อน จากนั้นก็จะต้องมาฟังความคิดเห็นจาก ครม. และ คสช. หลังจากวันที่ 19-20 พ.ค. ซึ่งก็จะมีการเสนอขึ้นไปทั้ง 2 ทาง ให้รู้ว่า ควรจะต้องทำอย่างไร ตนยังไม่อยากใช้อำนาจอะไรตรงนี้ หลังจากนี้ก็จะส่งความคิดเห็นทั้งหมดไปยังคณะกรรมาธิการฯ ตามเวลาที่กำหนด ส่วนกรรมาธิการฯ จะแก้หรือไม่ อยู่ที่เขา ถ้าไม่แก้แล้วดันต่อไปก็ต้องมาดูว่า จะได้รับการยอมรับหรือไม่ ก็ต้องมาว่ากันอีกที
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัจจัยที่จะทำให้บ้านเมืองยังไม่เกิดความสงบเรียบร้อย เนื่องจากกลุ่มอำนาจเก่ายังมีกำลังอยู่ นายกรัฐมนตรีจะทำอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "คงจะต้องสวดมนต์มั้ง ต้องสวดมนต์ไหว้พระ ทุกวันนี้ผมก็สวดมนต์ทุกวัน และไม่เคยขออะไรให้ตัวเองแต่ขอให้กับประเทศชาติทุกวัน เวลาไหว้พระ ก็ขอให้ประเทศชาติปลอดภัยทำงานได้สำเร็จ ขอให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย ไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง เพราะถ้าขออะไรให้ตัวเอง ก็จะสบายเพียงคนเดียว ผมเข้ามาเพื่อต้องการให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ ไม่ได้ไปทวงบุญคุณกับใคร ผมทำงานมาตลอดชีพ ไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง เพราะผมไม่เคยอยากเป็นอะไรทั้งสิ้น แล้วมันถึงได้เป็น แต่ถ้ายิ่งขอ ยิ่งไม่ได้เป็น ยิ่งวิ่งเต้น ยิ่งต้องไม่ได้ ถ้ามาขอกับผม ผมก็ไม่ให้"
เมื่อถามย้ำว่าแล้วจะทำอย่างไร ไม่ให้กลุ่มการเมืองเก่า มีอำนาจขึ้นมาอีก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สื่อก็ต้องไปช่วยกันขอร้อง และไปบอก รวมทั้งปรามกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย พวกสื่อเคยเขียนปรามกันบ้างไหม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงตรงนี้ได้ ถามหานักข่าวมติชน ทันที โดยกล่าวว่า ไหนมติชนอยู่ไหน ให้ยกมือขึ้น เป็นเพื่อนกันไม่เป็นไร ยกมือขึ้น " ดูซิ ดูข้างในของคุณ พี่ไม่ได้ว่าอะไร เวลาพวกคุณเขียนข่าวเข้าไป มีรายละเอียด มีรายละเอียดต่างๆ แล้วเจ้านายเธอลงทุกอันหรือไม่ ตอบมา ก็ต้องบอกเขาให้หมดว่า รายละเอียดผมพูดอย่างไร ที่ผ่านมาผมพูดดีทุกวันเลยนะ ไม่เคยพูดอะไรเสีย แล้วมันลงเสียมาหมด ไม่เข้าใจมันเขียนได้ยังไงวะ เอาละ ไม่โกรธ ขี้เกียจ"
**ลั่นปฏิรูปเปลี่ยนโฉมการเมือง
เมื่อถามว่า กลุ่มการเมืองที่ยังเคลื่อนไหวขณะนี้ มีการขยายตัวหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า กลุ่มเหล่านี้ไม่ได้ขยายตัว แต่พยายามดิ้นรน เพื่อต่อสู้ในทางการเมืองของเขา บางทีเขาก็ลืมว่า วันนี้เรามีทั้งกฎหมาย มีทั้ง พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือแม้แต่การประกาศใช้ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็ออกไปหมดแล้ว ดังนั้นถ้า จะเข้ามาปกครองประเทศ ทุกคนจะต้องเคารพกฎหมาย วันนี้ จะเอากฎหมายอะไรกันอีก จะให้ใช้แรงกว่านี้ หรืออย่างไร พอประกาศใช้กฎหมาย ก็วิจารณ์ว่าละเมิดสิทธิเสรีภาพ พอใช้กฎหมายเบาๆ ก็ไม่เชื่อกันอีก อย่าลืมว่า วันนี้ประเทศเราต้องการปฏิรูป ต้องการทำให้ประเทศมีความเข้มแข็ง มีเศรษฐกิจยั่งยืน ไม่เกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีก และรัฐธรรมนูญก็ต้องมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น อาจจะต้องมีกระบวนการปฏิรูปใส่ลงไปด้วย ทั้งหมดนี้เรียกว่าการปฏิรูป ถ้าปฏิรูปแล้วยังใช้กฎหมายเดิม คนเดิมๆ ยังเข้ามาในการเลือกตั้งอีก ทุกอย่างก็เหมือนเดิมหมด สื่อช่วยไปถามอีกฝ่ายให้หน่อยได้หรือไม่ว่า อนาคตถ้าอนาคตเข้ามาเป็นนักการเมือง แล้วจะทำอะไรบ้าง เอามาเทียบกับสิ่งที่ตนได้ทำมา อย่างเรื่องการค้าขายผลิตผลทางการเกษตร จะได้เกิดความเข้าใจทั้ง ข้าว อ้อย น้ำตาล แต่ยอมรับว่า ของตนช้ากว่าแน่นอน เพราะไม่ได้เอาเงินไปให้ แต่ของเขาให้เงินลงไปแล้วก็จบ เลิก ปัญหาก็ยังไม่หมด ไม่มีความเข้มแข็ง นโยบายไม่มีความต่อเนื่อง
เมื่อถามว่ามั่นใจหรือไม่ว่า กลุ่มการเมืองที่ยังพยายามดิ้นรนอยู่ในขณะนั้น จะไม่สามารถเอาชนะโรดแมปที่วางไว้ได้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ถ้าให้ผมใช้อำนาจทั้งหมด ผมก็มั่นใจอยู่แล้ว แต่ก็คงถามว่าจะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายอะไรขึ้นหรือไม่ อย่าให้ผมจำเป็นจะต้องใช้แบบนั้น มันยังมีอีกหลายวิธีการ แต่ประชาชนจะต้องอยู่กับผม"
เมื่อถามว่า แล้วจะมีแนวโน้มที่นายกฯ จะใช้อำนาจเด็ดขาดในการจัดการตรงนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวปฏิเสธว่า ยัง ไม่อยากให้มี และไม่อยากให้ต้องใช้ สื่อก็ช่วยกันหามาตรการไปกดดันอีกฝ่ายหนึ่งบ้าง ไม่ใช่มากดดันตนข้างเดียว สื่อจะต้องทำตัวเหมือนเป็นกรรมการกลาง ตั้งคำถามกับทั้ง 2 ฝ่าย ยืนยันว่าวันนี้ฝ่ายตนเล่นตามกติกา แต่อีกฝ่ายกลับเล่นนอกกติกา มันถึงจำเป็นจะต้องมีวันนี้ เนื่องจากทุกอย่างปนเป เรรวนไปหมด ระบบข้าราชการเสียหาย มีการทุจริต ไม่โปร่งใส แต่พอตรวจสอบก็ร้องว่าไม่เป็นธรรม กล่าวหาว่า เล่นเพียงข้างเดียว
" ยืนยันว่าข้างอื่นก็เล่นอยู่ มีการเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ อย่างเช่น ในเรื่องการก่อการร้ายต่างๆ ที่มีการฟ้องร้อง ทางฝ่าย กปปส. มีการมอบตัวต่อศาลทั้งหมด แล้วถึงมีการประกันตัวออกมา ส่วนอีกข้างไม่มอบตัว ถ่วงเวลาจนถึงที่สุดถึงจะเข้ามอบตัว พอเสร็จก็ประกันตัวออกมา แล้วก็มาโวยวายข้างนอกว่าไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรม เรื่องนี้เห็นชัดว่ามีความแตกต่าง เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าผมเข้าข้างใคร ทุกคนต้องตัดสินให้ได้ว่า อะไร คืออะไร อะไรคือถูก อะไรคือผิด คำว่าเสรีภาพ ความเท่าเทียม หรือสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว ประเทศชาติไปไม่ได้" นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้ฝ่ายการเมืองออกมาแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เรื่องของร่างรัฐธรรมนูญ และการเมือง สามารถที่จะทำได้ ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สามารถทำได้ แต่อย่าให้นอกกรอบ หรือทำให้เกิดความวุ่นวาย แต่ถ้าออกมาพูดจาตำหนิรัฐบาลบ่อยๆ มันก็ไม่ค่อยดี โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ก็ต้องมีการปรามกันบ้าง ซึ่งตนก็ปราบมาแล้วหลายครั้ง วันนี้เองก็ได้สั่งการให้ติดตามความเคลื่อนไหวทั้งในส่วนของโทรทัศน์ วิทยุ เว็บไซต์ โซเชียลเนตเวิร์ก ซึ่งตนยังได้รับรายงานว่า ยังมีอยู่หลายสถานีก็คงต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล ไม่เช่นนั้นก็จะกลับมาแบบเดิมอีก ตนไม่เข้าใจว่า หัวจิตหัวใจทำด้วยอะไร แต่ไม่รู้เป็นพวกไหน หัวจิตหัวใจจะให้เป็นอยู่อย่างนี้ และมีความขัดแย้งต่อไปอย่างนั้นหรือ โดยใช้คำว่าประชาธิปไตย เลือกตั้ง อย่างเดียวเท่านั้นหรือ ถึงจะเรียบร้อย ตนอยากถามว่า ถ้าเป็นจริงมันจะเรียบร้อยหรือไม่ อย่างครั้งที่แล้ว เลือกตั้งได้หรือไม่ คิดกันหรือไม่ว่า ถ้าเลือกตั้งแล้วจะตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ ตนเองก็ยังไม่รู้เลย
** ห่วงหลังเลือกตั้ง จัดรัฐบาลไม่ได้
เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ ว่า จะเชิญตัวแทนพรรคการเมืองมาพูดคุย หรือลงสัตยาบัน เพื่อความสงบเรียบร้อย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พุทโธ่ กฎหมายยังไม่รับกันเลย จะให้มาลงนามอะไร มันไม่ใช่การทำสงครามในต่างประเทศ มันไม่ได้รบกันถึงขนาดนั้น
เมื่อถามว่า ตอนนี้มีปัจจัยอะไรที่นายกฯ ถึงคิดว่าเมื่อเลือกตั้งแล้ว จะไม่มีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ได้มีปัจจัยอะไร แต่วิเคราะห์จากสถานการณ์ วันนี้ขนาดยังไม่เลือกตั้ง ก็มีการทะเลาะกันไปมา เดี๋ยวอาจจะเลือกตั้งก็ได้ การบริหารประเทศต้องมีการวิเคราะห์ และวางแผนล่วงหน้า ไม่ใช่แค่ตอบสื่อไปวันๆ และที่ตนทำทั้งหมด คิดไว้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาและคิดไปถึงขนาดที่ถึงเวลาที่ตนจะได้พักผ่อน แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่
เมื่อถามว่า เมื่อรัฐธรรมนูญออกมา จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนจะไปบังคับให้ใครยอมรับไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่า เขาจะยอมรับหรือไม่ เขารักประเทศไทยกันหรือเปล่า ต้องการจะให้ลดความขัดแย้งกันหรือไม่ มันถึงจะนำไปสู่เรื่องอื่นๆ ต่อไปได้ แต่ถ้าคิดว่าถ้าจะไปได้ต้องมีการนิรโทษกรรมก่อน มันจะเป็นไปได้อย่างไร วันนี้ยังไม่รู้จะยอมรับความผิดกันเลย ก็ขอให้ยอมรับความผิดกันก่อน ใครผิดใครถูกก็ว่ากันมา แล้วถึงจะไปยังขั้นตอนนิรโทษ หรือสร้างความปรองดอง ขอให้สงสารชาวบ้าน และประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องบ้าง อย่าลืมว่าเดิมปัญหามันมี และมีความขัดแย้งกันในกลุ่มประชาชนนับสิบล้านคน แล้วประชาชนมีประชากรทั้งสิ้น 70 กว่าล้าน แล้วถามกันบ้างหรือไม่ว่า คนตรงกลางเหล่านี้ไปอยู่ที่ไหน และเขาจะเอาอย่างไร
"ผมขอถามว่าคนตรงกลางเหล่านี้ จะเอาอย่างไร จะเลือกตั้ง หรือไม่เลือกตั้ง จะปฏิรูปหรือไม่ปฏิรูป แล้วถ้ายังเกิดความขัดแย้งแบบเดิม จะเอาอย่างไร เรื่องนี้ก็ต้องไปช่วยกันถาม ไม่ใช่เรื่องของผมแล้ว " นายกรัฐมนตรี กล่าว
** ชี้ คสช.-ครม.มีส่วนมากในการท้วงติงร่างรธน.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย กล่าวถึง การเปิดอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ของ สปช. ระหว่างวันที่ 20 – 26 เม.ย. ว่า การประชุมสปช.ครั้งนี้ ยังไม่นำไปสู่การลงมติว่า ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ แต่หลังจากวันที่ 26 เม.ย. ทางกมธ.ยกร่างฯ จะขอความเห็นจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) และ สปช. ซึ่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดให้องค์กรเหล่านี้ สามารถขอแก้ไขได้ โดยครม.เองเตรียมเอาไว้แล้วหลายเรื่อง ส่วน คสช. จะแยกออกไปต่างหาก แต่คำข้อแก้ไขเหล่านี้ กมธ.ยกร่างฯ อาจจะแก้ตามหรือไม่ก็ได้ จากนั้นเดือน ส.ค.จะนำกลับมาให้สปช. ลงมติ ว่าจะให้ผ่านหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในการขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ หาก คสช.และครม. มีความเห็นทักท้วงตรงกัน น้ำหนักจะดีมาก ส่วนที่พรรคการเมืองเสนอให้ใช้อำนาจ มาตรา 44 ในการทำประชามติ แทนการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ แต่คงโกลาหลอลหม่านพิลึก ยืดยาว ไม่สร้างความพึงพอใจให้แก่คนได้ เพราะไม่รู้ว่าหลักเกณฑ์ที่เขียนไปนั้น มาจากหลักคิดของใคร เดี๋ยวจะมีการบอกว่า เป็นความคิดทหาร ดังนั้น หลายหัวดีกว่าหัวเดียว ควรจะไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ช่วยกันคิดกรรมวิธี แล้วไม่เสียเวลา เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดเวลาไว้ชัดเจน
รองนายกฯ กล่าวว่า สำหรับคำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่ 4 /2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานดําเนินการเพื่อประโยชน์แก่การจัดทํารัฐธรรมนูญและการปฏิรูป ประกอบด้วย ตน ในฐานะตัวแทน ครม. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะตัวแทน คสช. น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานสปช. รองประธาน สนช. 1 คน และ รองประธานกมธ.ยกร่างฯ 1 คน โดยจะมีการประชุมกันใน 1 – 2 วันนี้ เพราะนายกฯเร่งรัดอยากให้เร็ว และได้ขอให้นายวุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ช่วยประสานกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาผู้เชี่ยวชาญ ว่าใครสามารถมาได้ในเวลารวดเร็ว ขณะนี้มีรายชื่ออยู่ประมาณ 6 – 7 คนแล้ว ซึ่งบุคคลเหล่านี้สถาบันพระปกเกล้า และกต. เคยเชิญมา โดยรายชื่อจะนำมาเข้าคณะทำงานให้เลือก ซึ่งตนคิดว่าคงไม่สามารถเลือกได้อย่างใจนึก ต้องดูความว่างของบุคคลดังกล่าวด้วย ยกตัวอย่าง หากเราชอบผู้เชี่ยวชาญ X แต่เขามาไม่ได้ ชอบผู้เชี่ยวชาญ Y แต่แพงมาก อาจจำเป็นต้องเอาผู้เชี่ยวชาญ Z