วานนี้ (8 เม.ย.) นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการประชุม กมธ.ยกร่างว่า จะมีการพิจารณาในประเด็นที่ยังค้างอยู่ คือ เรื่องการปฏิรูปตำรวจที่ทางสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอเข้ามาเป็นเรื่องสุดท้าย ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเขียนหลักการใหญ่ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยในส่วนอื่นได้ตรวจร่างรัฐธรรมนูญเกือบเสร็จแล้ว และจะเห็นร่างสุดท้ายได้ในวันที่ 17 เม.ย.นี้ แต่ในวันนี้ (9 เม.ย) จะไม่มีการประชุม เนื่องจากมีประชุมสัมมนาร่วมกับสปช. ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่าการสัมมนาดังกล่าว เป็นเพียงการล็อบบี้ล่วงหน้า เพื่อให้สปช.รับร่างรัฐ ธรรมนูญนั้น ตนไม่ทราบข่าวนี้ และไม่คิดว่าจะมีการล็อบบี้เกิดขึ้น
ส่วนแนวทางการใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อดำเนินการออกเสียงประชามติ นายคำนูณ มองว่า วิธีที่สะดวกที่สุดคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ตามที่รัฐธรรมนูญได้เปิดช่องไว้ ส่วนความเห็นที่เสนอให้ทำประชามติเป็นรายมาตรา เป็นความเห็นที่สามารถนำมาพิจารณาได้ แต่ตามหลักการที่ผ่านมาจะเป็นการทำประชามติทั้งฉบับ หากทำรายประเด็น จะทำให้ยืดเยื้อ ส่วนจะใช้วิธีการเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญเก่าหรือไม่นั่น ต้องรอให้มีความแน่นอนว่าจะแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการเรื่องนี้ก่อน จึงจะหารือกัน
ทั้งนี้ การประชุมแม่น้ำ 5 สายเมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา ถือว่าได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงานระหว่างกัน และเชื่อว่าน่าจะมีความเข้าใจต่อร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น ซึ่งในส่วนกรรมาธิการฯ ก็มีความมั่นใจที่จะชี้แจงต่อ สปช. อยู่ตลอดเวลา เพราะแนวคิดในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับฟังความเห็นที่แตกต่างอยู่เสมอ โดยขอให้รอดูการพิจารณาขั้นสุดท้ายช่วง 60 วัน ของการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือวันที่ 25 พ.ค. -23 ก.ค.58 เพราะคงมีประเด็นที่ขอแปรญัตติเข้ามาให้ทบทวนมาก โดยหลังจากนั้น จะไม่สามารถแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้อีก
นายคำนูณ ยังกล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงการยกร่างรัฐธรรมนูญโดยขอให้เร่งทำความเข้าใจกับต่างชาติ และประชาชน เพราะไม่ต้องการกลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 เนื่องจากอาจเกิดปัญหาตามมาอีก ว่า ที่ผ่านมากมธ.ยกร่างฯ ก็มีการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะอยู่ตลอดเวลา ส่วนท่าทีของนายกฯ เช่นนี้ จะสะท้อนว่า ไม่มีการทำประชามติเปรียบเทียบระหว่างร่างรัฐธรรมนูญใหม่ กับรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งหรือไม่นั้น ยังเร็วเกินไปที่จะพูด เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะมีการทำประชามติ หรือไม่
ถ้าทำ จะทำก่อนหรือหลังการลงมติของสปช. และจะตั้งคำถามอย่างไร
**ปฏิรูปตำรวจยึดตามร่างเดิม
นายมานิจ สุขสมจิตร รองประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 2 เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีการทบทวนถ้อยคำ และเจตนารมณ์ที่เหลือเป็นส่วนสุดท้ายที่ค้างพิจารณา คือหมวดเกี่ยวกับการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในส่วนการปฏิรูปตำรวจ มาตรา 282 (8) โดยให้ยึดถ้อยคำตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของสปช. เสนอมาโดยไม่มีการแก้ไข ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานที่ไม่ใช่ภารกิจตำรวจ ไม่เกี่ยวกับการป้องกันและอาชญากรรมให้ส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ไม่ให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ และให้แต่งตั้งตามหลักคุณธรรม โดยให้กระจายอำนาจการบริหารงานสู่จังหวัด
ด้านกระบวนการการมีส่วนร่วมกิจการตำรวจ ปรับระบบสอบสวนให้เป็นอิสระ ให้อัยการ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ สอบสวนร่วมกับหน่วยงานสอบสวนในกรณีประชาชนร้องขอความเป็นธรรม และปรับปรุงงานนิติเวชศาสตร์ให้อิสระ มีระบบริหารงานยึดหลักความรู้ความชำนาญ กระจายอำนาจ บริหารงบประมาณ ให้มีหน่วยปฏิบัติในพื้นที่อย่างเพียงพอมีประสิทธิภาพ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประเด็นดังกล่าวทางกรรมาธิการยกร่างฯส่วนน้อย ได้เสนอให้มีการระบุถึงการปฏิรูปให้ชัดเจนว่ามีอะไรบ้างที่เป็นรูปธรรม ขณะที่กรรมาธิการส่วนใหญ่เห็นว่า ยังมีสมาชิก สปช. อีกมากที่จะเสนอความเห็นว่า ควรต้องปฏิรูปตำรวจอย่างไรบ้าง หลังการอภิปรายถกเถียงกันหลายชั่วโมง ที่สุดที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่า ให้ยืนยันตามแนวทางที่กรรมาธิการ ปฏิรูปกฎหมายฯเสนอมา เพราะหลังการอภิปรายของที่ประชุมสปช.ระหว่าง วันที่ 20-26 ม.ย. อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก ในช่วงเวลา 60 วันสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ทางกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้นัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 10 เม.ย.นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ในวันที่ 20-26 เม.ย.
** กมธ.ยกร่างหนุนทำประชามติ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า รู้สึกพอใจที่ทางกมธ.ยกร่างฯ สามารถพิจารณาทบทวนร่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญรายมาตรา และบันทึกเจตนารมณ์ทั้ง 315 มาตรา เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยหลังจากนี้ก็จะเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก ให้ทางสปช.ได้พิจารณาภายในวันที่ 17 เม.ย.นี้
นายเจษฎ์ โทณะวณิก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ระบุว่า หากทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้วประชาชนไม่เห็นชอบ จะต้องเริ่มต้นยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน ถ้าหากย้อนกลับไปเอารัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ก็เชื่อว่าจะเป็นปัญหาเหมือนเดิม เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงจำเป็นต้องยกร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ทั้งหมด และถ้าต้องเริ่มต้นกระบวนการใหม่ทั้งหมดแล้วจะเกิดปัญหาอะไรหรือไม่นั้น ก็คงเป็นเรื่องของอนาคต
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นขณะนี้พบว่า เสียงส่วนใหญ่ของกมธ.ยกร่างฯ เห็นว่าควรมีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้เหตุผลว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้รัฐธรรมนูญ 2550 มีความเข้มแข็ง คือ การทำประชามติ ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ก็ควรจะมีการทำประชามติ
** เชิญตปท.มาแชร์ประสบการณ์
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การที่จะให้นักวิชาการจากต่างชาติมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญว่า ตามความคิดของนายกฯ คือ จะมีคณะทำงานชุดหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงาน ประกอบด้วยหลายฝ่าย ทั้งกมธ.ยกร่างฯ รัฐบาล และพึ่งพาสถาบันอุดมศึกษา และกระทรวงการต่างประเทศ มาช่วยกันคิด และแนะนำว่า มีนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญอยู่ที่ไหน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นจากประเทศฝรั่งเศส หรือ เยอรมนี อาจจะเป็นประเทศอื่นก็ได้ นายกฯ พูดเพียงยกตัวอย่างเท่านั้น และจะเอาตามความสะดวกเราก็คงไม่ได้ เพราะเราต้องการความรวดเร็ว ต้องดูความสะดวกของฝั่งที่จะเชิญมา และต้องดูเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย นายกรัฐมนตรี ก็บอกให้คุยกับทาง นิด้า หรือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ สถาบันพระปกเกล้า กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ มีประสบการณ์ เมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาพูดก่อนแล้ว เราก็ต้องการตรงนี้ เชิญมาอธิบาย มาตอบคำถาม ไม่ใช่ให้มาวิจารณ์รัฐธรรมนูญไทย เพราะเราเองยังไม่มีเวลาจะไปวิจารณ์เลย ฉะนั้นจะให้เขามาเล่ามากกว่า แล้วให้คนไทยที่เคยไปเรียนที่นั่น มาช่วยซักถาม โดยถือหลักว่าคนที่เชิญมาต้องเป็นกลาง
" คือนายกฯ เกิดความคิดว่า ประเทศเราเกิดวิกฤติ และนำมาสู่การยึดอำนาจ นำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญ นำมาสู่การปฏิรูป มันมีหรือไม่ ประเทศที่มีลักษณะคล้ายกัน อาจจะไม่ครบชุดอย่างเรา แต่คล้ายกัน คือ เกิดวิกฤติและเกิดความเปลี่ยนแปลง และทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งพอพูดอย่างนี้ ทุกคนก็บอกว่า เยอรมนี กับฝรั่งเศส โดยเฉพาะฝรั่งเศส ปฏิวัติมาไม่รู้กี่สิบครั้งแล้ว ปฏิวัติมีกษัตริย์ แล้วก็ล้มกษัตริย์ ปฏิวัติใหม่ แล้วก็มีประธานาธิบดี แล้วล้มประธานาธิบดี กลับไปมีกษัตริย์ ตอนนี้เขาถึงเรียกว่า สมัยสาธารณรัฐที่ 5 เพราะมันผ่านการเป็นสาธารณรัฐมาแล้ว 4 หน มีกษัตริย์มา 4-5 หน นี่คือ ตัวอย่างว่า จะเชิญมา ถ้าถามว่าเมื่อไหร่ ตอบว่าเร็วที่สุด เพราะว่ามาตอนรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ แต่ย้ำว่า 1. ไม่ได้ให้มาวิจารณ์ รัฐธรรมนูญไทย 2. ไม่ได้มาสอนคนไทย ให้มาเล่าเรื่องของเขา เขาไม่ต้องพูดเรื่องเมืองไทยสักประโยคเดียว พูดเรื่องของเขา แต่เราอยากรู้อะไรค่อยถามเขา"
เมื่อถามว่า ถ้ามีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ จะทำอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ก็แล้วไป แล้วจะทำอย่างไร ถ้าไม่เห็นด้วยก็เลิก หรือ ก็รู้ว่าแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เพียงแต่มันได้ประโยชน์ที่จะได้เรียนรู้ น่าจะทำมาก่อนหน้านี้ แต่ว่าตอนนั้นก็นึกว่า ไม่มีความจำเป็นต้องทำ วันนี้มันมีหลายประเด็นที่น่าจะฟัง ย้ำอีกครั้งว่า ไม่ได้ไปลอกของเขามา
เมื่อถามถึงรูปแบบการแลกเปลี่ยนกับต่างชาติ นายวิษณุ กล่าวว่า เคยทำมาแล้วหลายครั้ง จะเปิดเผยทุกอย่าง ให้สื่อเข้าฟังด้วย ดีไม่ดีจะออกอากาศแทนรายการคืนความสุขให้คนในชาติด้วย ฟังจนจบเลย แต่ยังไม่รู้จะใช้เวลานานหรือไม่ ตอนนี้ยังไม่รู้จะเชิญใครเลย ไม่รู้จะเชิญประเทศอะไร มาเมื่อไหร่
ส่วนแนวทางการใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อดำเนินการออกเสียงประชามติ นายคำนูณ มองว่า วิธีที่สะดวกที่สุดคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ตามที่รัฐธรรมนูญได้เปิดช่องไว้ ส่วนความเห็นที่เสนอให้ทำประชามติเป็นรายมาตรา เป็นความเห็นที่สามารถนำมาพิจารณาได้ แต่ตามหลักการที่ผ่านมาจะเป็นการทำประชามติทั้งฉบับ หากทำรายประเด็น จะทำให้ยืดเยื้อ ส่วนจะใช้วิธีการเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญเก่าหรือไม่นั่น ต้องรอให้มีความแน่นอนว่าจะแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการเรื่องนี้ก่อน จึงจะหารือกัน
ทั้งนี้ การประชุมแม่น้ำ 5 สายเมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา ถือว่าได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงานระหว่างกัน และเชื่อว่าน่าจะมีความเข้าใจต่อร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น ซึ่งในส่วนกรรมาธิการฯ ก็มีความมั่นใจที่จะชี้แจงต่อ สปช. อยู่ตลอดเวลา เพราะแนวคิดในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับฟังความเห็นที่แตกต่างอยู่เสมอ โดยขอให้รอดูการพิจารณาขั้นสุดท้ายช่วง 60 วัน ของการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือวันที่ 25 พ.ค. -23 ก.ค.58 เพราะคงมีประเด็นที่ขอแปรญัตติเข้ามาให้ทบทวนมาก โดยหลังจากนั้น จะไม่สามารถแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้อีก
นายคำนูณ ยังกล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงการยกร่างรัฐธรรมนูญโดยขอให้เร่งทำความเข้าใจกับต่างชาติ และประชาชน เพราะไม่ต้องการกลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 เนื่องจากอาจเกิดปัญหาตามมาอีก ว่า ที่ผ่านมากมธ.ยกร่างฯ ก็มีการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะอยู่ตลอดเวลา ส่วนท่าทีของนายกฯ เช่นนี้ จะสะท้อนว่า ไม่มีการทำประชามติเปรียบเทียบระหว่างร่างรัฐธรรมนูญใหม่ กับรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งหรือไม่นั้น ยังเร็วเกินไปที่จะพูด เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะมีการทำประชามติ หรือไม่
ถ้าทำ จะทำก่อนหรือหลังการลงมติของสปช. และจะตั้งคำถามอย่างไร
**ปฏิรูปตำรวจยึดตามร่างเดิม
นายมานิจ สุขสมจิตร รองประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 2 เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีการทบทวนถ้อยคำ และเจตนารมณ์ที่เหลือเป็นส่วนสุดท้ายที่ค้างพิจารณา คือหมวดเกี่ยวกับการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในส่วนการปฏิรูปตำรวจ มาตรา 282 (8) โดยให้ยึดถ้อยคำตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของสปช. เสนอมาโดยไม่มีการแก้ไข ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานที่ไม่ใช่ภารกิจตำรวจ ไม่เกี่ยวกับการป้องกันและอาชญากรรมให้ส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ไม่ให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ และให้แต่งตั้งตามหลักคุณธรรม โดยให้กระจายอำนาจการบริหารงานสู่จังหวัด
ด้านกระบวนการการมีส่วนร่วมกิจการตำรวจ ปรับระบบสอบสวนให้เป็นอิสระ ให้อัยการ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ สอบสวนร่วมกับหน่วยงานสอบสวนในกรณีประชาชนร้องขอความเป็นธรรม และปรับปรุงงานนิติเวชศาสตร์ให้อิสระ มีระบบริหารงานยึดหลักความรู้ความชำนาญ กระจายอำนาจ บริหารงบประมาณ ให้มีหน่วยปฏิบัติในพื้นที่อย่างเพียงพอมีประสิทธิภาพ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประเด็นดังกล่าวทางกรรมาธิการยกร่างฯส่วนน้อย ได้เสนอให้มีการระบุถึงการปฏิรูปให้ชัดเจนว่ามีอะไรบ้างที่เป็นรูปธรรม ขณะที่กรรมาธิการส่วนใหญ่เห็นว่า ยังมีสมาชิก สปช. อีกมากที่จะเสนอความเห็นว่า ควรต้องปฏิรูปตำรวจอย่างไรบ้าง หลังการอภิปรายถกเถียงกันหลายชั่วโมง ที่สุดที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่า ให้ยืนยันตามแนวทางที่กรรมาธิการ ปฏิรูปกฎหมายฯเสนอมา เพราะหลังการอภิปรายของที่ประชุมสปช.ระหว่าง วันที่ 20-26 ม.ย. อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก ในช่วงเวลา 60 วันสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ทางกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้นัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 10 เม.ย.นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ในวันที่ 20-26 เม.ย.
** กมธ.ยกร่างหนุนทำประชามติ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า รู้สึกพอใจที่ทางกมธ.ยกร่างฯ สามารถพิจารณาทบทวนร่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญรายมาตรา และบันทึกเจตนารมณ์ทั้ง 315 มาตรา เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยหลังจากนี้ก็จะเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก ให้ทางสปช.ได้พิจารณาภายในวันที่ 17 เม.ย.นี้
นายเจษฎ์ โทณะวณิก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ระบุว่า หากทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้วประชาชนไม่เห็นชอบ จะต้องเริ่มต้นยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน ถ้าหากย้อนกลับไปเอารัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ก็เชื่อว่าจะเป็นปัญหาเหมือนเดิม เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงจำเป็นต้องยกร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ทั้งหมด และถ้าต้องเริ่มต้นกระบวนการใหม่ทั้งหมดแล้วจะเกิดปัญหาอะไรหรือไม่นั้น ก็คงเป็นเรื่องของอนาคต
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นขณะนี้พบว่า เสียงส่วนใหญ่ของกมธ.ยกร่างฯ เห็นว่าควรมีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้เหตุผลว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้รัฐธรรมนูญ 2550 มีความเข้มแข็ง คือ การทำประชามติ ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ก็ควรจะมีการทำประชามติ
** เชิญตปท.มาแชร์ประสบการณ์
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การที่จะให้นักวิชาการจากต่างชาติมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญว่า ตามความคิดของนายกฯ คือ จะมีคณะทำงานชุดหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงาน ประกอบด้วยหลายฝ่าย ทั้งกมธ.ยกร่างฯ รัฐบาล และพึ่งพาสถาบันอุดมศึกษา และกระทรวงการต่างประเทศ มาช่วยกันคิด และแนะนำว่า มีนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญอยู่ที่ไหน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นจากประเทศฝรั่งเศส หรือ เยอรมนี อาจจะเป็นประเทศอื่นก็ได้ นายกฯ พูดเพียงยกตัวอย่างเท่านั้น และจะเอาตามความสะดวกเราก็คงไม่ได้ เพราะเราต้องการความรวดเร็ว ต้องดูความสะดวกของฝั่งที่จะเชิญมา และต้องดูเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย นายกรัฐมนตรี ก็บอกให้คุยกับทาง นิด้า หรือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ สถาบันพระปกเกล้า กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ มีประสบการณ์ เมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาพูดก่อนแล้ว เราก็ต้องการตรงนี้ เชิญมาอธิบาย มาตอบคำถาม ไม่ใช่ให้มาวิจารณ์รัฐธรรมนูญไทย เพราะเราเองยังไม่มีเวลาจะไปวิจารณ์เลย ฉะนั้นจะให้เขามาเล่ามากกว่า แล้วให้คนไทยที่เคยไปเรียนที่นั่น มาช่วยซักถาม โดยถือหลักว่าคนที่เชิญมาต้องเป็นกลาง
" คือนายกฯ เกิดความคิดว่า ประเทศเราเกิดวิกฤติ และนำมาสู่การยึดอำนาจ นำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญ นำมาสู่การปฏิรูป มันมีหรือไม่ ประเทศที่มีลักษณะคล้ายกัน อาจจะไม่ครบชุดอย่างเรา แต่คล้ายกัน คือ เกิดวิกฤติและเกิดความเปลี่ยนแปลง และทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งพอพูดอย่างนี้ ทุกคนก็บอกว่า เยอรมนี กับฝรั่งเศส โดยเฉพาะฝรั่งเศส ปฏิวัติมาไม่รู้กี่สิบครั้งแล้ว ปฏิวัติมีกษัตริย์ แล้วก็ล้มกษัตริย์ ปฏิวัติใหม่ แล้วก็มีประธานาธิบดี แล้วล้มประธานาธิบดี กลับไปมีกษัตริย์ ตอนนี้เขาถึงเรียกว่า สมัยสาธารณรัฐที่ 5 เพราะมันผ่านการเป็นสาธารณรัฐมาแล้ว 4 หน มีกษัตริย์มา 4-5 หน นี่คือ ตัวอย่างว่า จะเชิญมา ถ้าถามว่าเมื่อไหร่ ตอบว่าเร็วที่สุด เพราะว่ามาตอนรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ แต่ย้ำว่า 1. ไม่ได้ให้มาวิจารณ์ รัฐธรรมนูญไทย 2. ไม่ได้มาสอนคนไทย ให้มาเล่าเรื่องของเขา เขาไม่ต้องพูดเรื่องเมืองไทยสักประโยคเดียว พูดเรื่องของเขา แต่เราอยากรู้อะไรค่อยถามเขา"
เมื่อถามว่า ถ้ามีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ จะทำอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ก็แล้วไป แล้วจะทำอย่างไร ถ้าไม่เห็นด้วยก็เลิก หรือ ก็รู้ว่าแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เพียงแต่มันได้ประโยชน์ที่จะได้เรียนรู้ น่าจะทำมาก่อนหน้านี้ แต่ว่าตอนนั้นก็นึกว่า ไม่มีความจำเป็นต้องทำ วันนี้มันมีหลายประเด็นที่น่าจะฟัง ย้ำอีกครั้งว่า ไม่ได้ไปลอกของเขามา
เมื่อถามถึงรูปแบบการแลกเปลี่ยนกับต่างชาติ นายวิษณุ กล่าวว่า เคยทำมาแล้วหลายครั้ง จะเปิดเผยทุกอย่าง ให้สื่อเข้าฟังด้วย ดีไม่ดีจะออกอากาศแทนรายการคืนความสุขให้คนในชาติด้วย ฟังจนจบเลย แต่ยังไม่รู้จะใช้เวลานานหรือไม่ ตอนนี้ยังไม่รู้จะเชิญใครเลย ไม่รู้จะเชิญประเทศอะไร มาเมื่อไหร่