การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ (7 เม.ย.) มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างฯ เป็นประธาน มีการพิจารณาบทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา และบันทึกเจตนารมณ์ จำนวน 315 มาตรา
นายมานิจ สุขสมจิตร รองประธาน กมธ.ยกร่างฯ คนที่ 2 เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาบทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราและบันทึกเจตนารมณ์ จำนวน 315 มาตรา เสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังนัดการประชุมอีกครั้งในวันที่ 8 เมษายนนี้ จากนั้นจะจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก เพื่อส่งให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อย่างเป็นทางการได้ในวันที่ 17 เมษายน พร้อมกับแจกร่างแรกให้กับสื่อมวลชนได้ในวันที่ 20 เมษายน ซึ่งเป็นวันแรกของการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจาก สปช.
ทั้งนี้ สำหรับร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกยังสามารถปรับปรุงถ้อยคำได้จนถึงวันที่ 17 เมษายน ดังนั้น หากมีการเผยแพร่เนื้อหาของร่างแรกก่อนจะถึงวันที่ 17 เมษายนนี้ อาจผิดกฎหมายได้
ด้าน พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า การประชุมคณะ กมธ.ยกร่างฯ วันที่ 8 เมษายนนี้ จะมีการประชุมครึ่งวัน เพื่อพิจารณาเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิรูปตำรวจเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญ ตามที่คณะ กมธ.ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ สปช.ได้เสนอเข้ามา
ทั้งนี้ หลักการในเนื้อหาของการปฏิรูปตำรวจจะครอบคลุมในเรื่องการทำหน้าที่ของตำรวจ การอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน รวมไปถึงการโยกย้ายข้าราชการตำรวจที่จะคำนึงถึงหลักการสำคัญ เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชน ความเหมาะสม เป็นต้น
นายมานิจ สุขสมจิตร รองประธาน กมธ.ยกร่างฯ คนที่ 2 เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาบทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราและบันทึกเจตนารมณ์ จำนวน 315 มาตรา เสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังนัดการประชุมอีกครั้งในวันที่ 8 เมษายนนี้ จากนั้นจะจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก เพื่อส่งให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อย่างเป็นทางการได้ในวันที่ 17 เมษายน พร้อมกับแจกร่างแรกให้กับสื่อมวลชนได้ในวันที่ 20 เมษายน ซึ่งเป็นวันแรกของการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจาก สปช.
ทั้งนี้ สำหรับร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกยังสามารถปรับปรุงถ้อยคำได้จนถึงวันที่ 17 เมษายน ดังนั้น หากมีการเผยแพร่เนื้อหาของร่างแรกก่อนจะถึงวันที่ 17 เมษายนนี้ อาจผิดกฎหมายได้
ด้าน พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า การประชุมคณะ กมธ.ยกร่างฯ วันที่ 8 เมษายนนี้ จะมีการประชุมครึ่งวัน เพื่อพิจารณาเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิรูปตำรวจเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญ ตามที่คณะ กมธ.ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ สปช.ได้เสนอเข้ามา
ทั้งนี้ หลักการในเนื้อหาของการปฏิรูปตำรวจจะครอบคลุมในเรื่องการทำหน้าที่ของตำรวจ การอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน รวมไปถึงการโยกย้ายข้าราชการตำรวจที่จะคำนึงถึงหลักการสำคัญ เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชน ความเหมาะสม เป็นต้น