แฉ! เจ้าของสนามกอล์ฟโบนันซ่าสุมหัวอดีตบิ๊กสีกากี กู้ฐานะการเงินที่ซวนเซด้วยการระดมเงิน ผกก.ทั่วประเทศสมัครเป็นสมาชิกปีละ 2 หมื่นบาท พริบตาเดียวโกยกว่า 100 ล้าน วอนผู้มีอำนาจตรวจสอบขุด “ดีลอัปยศ” เชื่อเป็นอีกต้นเหตุขบวนการซื้อขายตำแหน่ง
ภาพความสวยงามของธรรมชาติและสิ่งปลูกสร้างในอาณาเขตของโครงการ “โบนันซ่า เขาใหญ่” อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เชื่อว่าหากใครเคยได้ไปเที่ยวชมย่อมพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นสถานที่พักผ่อนมีระดับ แวดล้อมด้วยสีเขียวขจีของธรรมชาติมีทั้งที่ราบ สลับกับที่เนินเป็นระยะๆ กับธารน้ำไหล และเมื่อทอดสายตาออกไปก็พบกับขุนเขารายล้อม นับเป็นทัศนียภาพประทับใจที่ลงตัวมากที่สุดแห่งหนึ่ง
บนพื้นที่ครอบครองหลายพันไร่แห่งนี้ นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ นักธุรกิจใหญ่เขาคือเจ้าของกิจการและถือเป็นเจ้าพ่อโบนันซ่าตัวจริง เห็นได้จากยอดการขายหมู่บ้านมหาเศรษฐี หนึ่งในโครงการโบนันซ่าเขาใหญ่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มีบรรดาผู้มีอันจะกินทั้งนักธุรกิจ นักการเมืองชื่อดังจากพรรคการเมืองใหญ่หลายพรรคตบเท้าเป็นลูกบ้าน “เสี่ยไพวงษ์” กันอย่างคึกคัก รูปแบบสถาปัตย์ของบ้านตากอากาศแต่ละหลังปลูกขึ้นอย่างสวยงามตามรสนิยม บางหลังใช้วัสดุนำเข้าจากต่างประเทศล้วน เช่น ไม้สนทั้งลำ นำไปเป็นผนังบ้านให้ความรู้สึกแปลกตา บ่งบอกถึงฐานะและความเหนือกว่าของผู้ครอบครอง สนนราคาบ้านแต่ละหลังในโครงการนี้เริ่มตั้งแต่ 8 หลักขึ้นไป
ซีอีโอตัวจริงแห่งโบนันซ่าเขาใหญ่เคยพูดถึงแรงบันดาลใจจนผุดอาณาจักรแห่งความฝันนี้ว่าช่วงเศรษฐกิจขยายตัวสมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการลงทุนของต่างชาติทั้งตลาดหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ กระทั่งมาถึงยุค พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐบาลโครงการโบนันซ่า เขาใหญ่ จึงก่อเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ต้องใช้เวลาวางแผนพัฒนาพื้นที่นานถึง 17 ปีเต็มก่อนเนรมิตป่าเขาลำนำไพร 4 พันไร่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
“เสี่ยไพวงษ์” บอกถึงแนวคิดกำหนดรูปแบบโบนันซ่าว่าได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์แนวคาวบอยเรื่อง “Bonanza” จึงไม่แปลกที่สไตล์ตกแต่งอาคาร บ้านเรือนต่างๆ ออกมาในแนวอเมริกันคันทรี โดยวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์มาจากไม้โบนันซ่า หรือต้นสนนำเข้าจากอเมริกาซึ่งถือเป็นจุดแข็ง เป็นบุคลิกเฉพาะของโครงการบ้านพักตากอากาศแห่งนี้จนเชื่อว่า “โบนันซ่า เขาใหญ่” คือผุ้จุดประกายให้ อ.ปากช่อง เป็นดินแดนคาวบอยเมืองไทย
เมื่อมองความสวยงามอันเป็นฉากหน้าแล้ว ภาพสะท้อนอีกมุมหนึ่งก็คือ ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “ระบบอุปถัมภ์” การผูกสัมพันธ์หรือคอนเนกชันระหว่าง “ผู้มีอำนาจ” กับ “นักธุรกิจ” ในห้วง 30 ปีที่ผ่านมา อำนาจและผลประโยชน์จากรูปแบบที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนกลับทำกันอย่างเปิดเผยไม่จำเป็นต้องหลบๆ ซ่อนๆ กันอีกต่อไป
พื้นที่ครอบครองในอาณาจักรโบนันซ่า ของนายไพวงษ์ เตชะณรงค์ มักถูกตรวจสอบเสมอเมื่อเกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง เป็นที่ทราบกันดีว่านักธุรกิจใหญ่ผู้นี้นอกจากจะมีกิจการต่างๆ มากมายเขายังมีชื่อเป็นกระเป๋าเงินคนสำคัญของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ กระทั่งพรรคเพื่อไทย โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศในฐานะนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็น มท.1 ชื่อของนายไพวงษ์ถูกหยิบขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาและมีบทบาทสำคัญต่อโครงการต่างๆ
ปี 2555 หรือที่เรียกว่าเป็นยุคประชาธิปไตยเต็มใบ แต่ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันกลับแพร่หลายไปทุกหย่อมหญ้า ไม่เว้นกระทั่งวงการตำรวจที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นผู้กุมบังเหียนอยู่
และสิ่งที่เป็นข้อสงสัยระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับนายไพวงษ์ เจ้าของกิจการโบนันซ่า เขาใหญ่ ผ่านมาเป็นเวลา 4 ปีจนถึงทุกวันนี้ก็คือ โครงการสนามกอล์ฟตำรวจ หรือ “โบนันซา กอล์ฟ แอนด์คันทรีคลับ” ว่ากันว่านี่คือความเลวร้าย และเป็นที่มาของขบวนการซื้อขายตำแหน่ง มีการปล่อยให้อบายมุขท่วมบ้านท่วมเมืองเพียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อส่วนรวม
โครงการสนามกอล์ฟตำรวจ มีจุดเริ่มมาจากปัญหาความคล่องตัวเกี่ยวกับกระแสการเงินของบริษัท โบนันซ่าฯ เองซึ่งลงทุนพัฒนาพื้นที่ป่าเขาลำเนา และเนรมิตให้เป็นสนามกอล์ฟชั้นเยี่ยม ในพื้นที่กว่า 600 ไร่เป็นสนามกอล์ฟมาตรฐาน 18 หลุม พาร์ 72 มีการว่าจ้าง Mr.Bob Mafarland ดีไซเนอร์ระดับโลกเป็นคนออกแบบ รายจ่ายจำนวนมหาศาลที่อัดเข้าไปกับธุรกิจสนามกอล์ฟ หนี้สินพอกขึ้นมากจนแทบจะล้มละลาย จำเป็นต้องเรียกคืนอย่างรวดเร็ว จึงเกิดไอเดียบรรเจิดยกสนามกอล์ฟโบนันซ่าให้เป็นสวัสดิการข้าราชการตำรวจ โดยมีกติกาว่าผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกหรือเมมบอร์จะต้องอยู่ระดับ พ.ต.อ. หรือ “ผู้กำกับ” เท่านั้น มีค่าบำรุงสมาชิกปีละ 2 หมื่นบาท
สำนักงานตำรวจแห่งชาติในขณะนั้นเห็นดีเห็นงามกับโครงการนี้อย่างเต็มที่ ทั้งที่จริงก็เห็นกันอยู่ทนโท่ว่าเป็นธุรกิจของเอกชน อีกทั้งตามความเป็นจริงตำรวจระดับ ผกก.ที่กระจายกันอยู่ทั่วประเทศมีทั้งที่นิยมเล่นกอล์ฟและไม่เคยเล่น แต่ที่สำคัญคือด้วยระยะทางที่อยู่กันคนละทิศละทาง เช่น รับราชการอยู่ภาคใต้ อยู่ภาคเหนือ หรือตะวันออก จะคุ้มกับค่าน้ำมันหรือเวลาที่เสียไปกับการเดินทางหรือ โครงการสนามกอล์ฟตำรวจโดยอ้างสวัสดิการนั้นจึงเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและถูกต้อง
ดูแล้วมันไม่ใช่สวัสดิการตามที่อ้าง แต่เป็นสวะโยนให้นายตำรวจทั่วประเทศต้องปวดหัว จะร้องก็ไม่ได้เพราะนายใหญ่ใน สตช.เห็นดีเห็นงามด้วย สั่งมาให้ช่วยผู้น้อยจะปฏิเสธได้อย่างไร แม้จะสั่งลงมาด้วยวาจาก็ตาม
นอกจากเป็นวิธีหาเงินหาทองกับตำรวจซึ่งทราบดีอยู่ว่าระดับ พ.ต.อ.แทบทุกคนต้องการไปอยู่พื้นที่ดีๆ ทั้งสิ้น การยอมเสียเงินค่าสมาชิกเพื่อเอาใจนาย เอาใจนักการเมืองแม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นก็เป็นการแสดงออกในการร่วมมือ เป็นหนทางสำเร็จในขั้นต่อๆ ไป
แค่เพียงพริบตาเดียวก็สามารถระดมทุนได้กว่า 100 ล้าน เพราะมีนายตำรวจแห่เป็นสมาชิกจำนวนมาก แต่ที่สุดแล้วหลายรายนำใบสมาชิกไปเลหลังขายจาก 2 หมื่น เป็นหมื่นสอง หรือ 1 หมื่นบาทถ้วนก็มี เพราะเกือบทั้งหมดไม่มีความจำเป็นต้องถ่อมาใช้บริการถึงเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
การตรวจสอบการถือครองที่ดินสนามกอล์ฟโบนันซ่าฯ หรืออีกชื่อหนึ่งคือสนามกอล์ฟตำรวจจึงสมควรถูกขุดคุ้ยข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกลุ่มเอกชนด้วย เช่นการสมัครสมาชิกรายละ 2 หมื่นบาทนั้น กระทำด้วยความสมัครใจหรือมีการบีบบังคับ นอกจากนั้นยังมีรายละเอียดเรื่องการชำระภาษีซึ่งสนามกอล์ฟแห่งนี้มีวัตถุประสงค์ดำเนินการเพื่อการค้าหากำไรทั่วไป หรือสวัสดิการกันแน่
กรณีนี้คงไม่เพียงตอบรับการปฏิรูปประเทศเพียงเท่านั้นแต่ยังเป็นการเริ่มต้นปฏิวัติองค์กรตำรวจที่ยังคงมีสิ่งไม่ถูกต้องหมกเป็นขยะใต้พรมอีกหลายเรื่อง และที่สำคัญหากการตรวจสอบการถือครองที่ดินของเจ้าหน้าที่หลาย ฝ่ายประกอบด้วย ตัวแทนจากทหาร กรมที่ดิน เจ้าหน้าที่จาก ป.ป.ท. ดีเอสไอ เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก บก.ปทส. หากพบว่ามีการบุกรุกป่าสงวนจริงแน่นอนว่าจะต้องมีการเพิกถอนสิทธิ์ และดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้อง
ขณะเดียวกัน โครงการสนามกอล์ฟตำรวจอันเกิดจากการอุปโลกน์ และใช่เล่ห์อุบายระหว่างนักธุรกิจกับตำรวจใหญ่เพียงไม่กี่คนจะต้องยุบ หรือเลิกให้เร็วที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องรอผลการพิสูจน์เอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแต่ประการใดเพราะพฤติการณ์ต่างๆ ย่อมปรากฏชัดเจนถึงความไม่เหมาะสมอยู่แล้ว
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรรีบตัดสินใจสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเร็วที่สุด ตีเหล็กที่กำลังร้อนพร้อมกับปัดกวาด “มรดกบาป” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปในคราวเดียวกันด้วย
ภาพความสวยงามของธรรมชาติและสิ่งปลูกสร้างในอาณาเขตของโครงการ “โบนันซ่า เขาใหญ่” อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เชื่อว่าหากใครเคยได้ไปเที่ยวชมย่อมพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นสถานที่พักผ่อนมีระดับ แวดล้อมด้วยสีเขียวขจีของธรรมชาติมีทั้งที่ราบ สลับกับที่เนินเป็นระยะๆ กับธารน้ำไหล และเมื่อทอดสายตาออกไปก็พบกับขุนเขารายล้อม นับเป็นทัศนียภาพประทับใจที่ลงตัวมากที่สุดแห่งหนึ่ง
บนพื้นที่ครอบครองหลายพันไร่แห่งนี้ นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ นักธุรกิจใหญ่เขาคือเจ้าของกิจการและถือเป็นเจ้าพ่อโบนันซ่าตัวจริง เห็นได้จากยอดการขายหมู่บ้านมหาเศรษฐี หนึ่งในโครงการโบนันซ่าเขาใหญ่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มีบรรดาผู้มีอันจะกินทั้งนักธุรกิจ นักการเมืองชื่อดังจากพรรคการเมืองใหญ่หลายพรรคตบเท้าเป็นลูกบ้าน “เสี่ยไพวงษ์” กันอย่างคึกคัก รูปแบบสถาปัตย์ของบ้านตากอากาศแต่ละหลังปลูกขึ้นอย่างสวยงามตามรสนิยม บางหลังใช้วัสดุนำเข้าจากต่างประเทศล้วน เช่น ไม้สนทั้งลำ นำไปเป็นผนังบ้านให้ความรู้สึกแปลกตา บ่งบอกถึงฐานะและความเหนือกว่าของผู้ครอบครอง สนนราคาบ้านแต่ละหลังในโครงการนี้เริ่มตั้งแต่ 8 หลักขึ้นไป
ซีอีโอตัวจริงแห่งโบนันซ่าเขาใหญ่เคยพูดถึงแรงบันดาลใจจนผุดอาณาจักรแห่งความฝันนี้ว่าช่วงเศรษฐกิจขยายตัวสมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการลงทุนของต่างชาติทั้งตลาดหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ กระทั่งมาถึงยุค พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐบาลโครงการโบนันซ่า เขาใหญ่ จึงก่อเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ต้องใช้เวลาวางแผนพัฒนาพื้นที่นานถึง 17 ปีเต็มก่อนเนรมิตป่าเขาลำนำไพร 4 พันไร่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
“เสี่ยไพวงษ์” บอกถึงแนวคิดกำหนดรูปแบบโบนันซ่าว่าได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์แนวคาวบอยเรื่อง “Bonanza” จึงไม่แปลกที่สไตล์ตกแต่งอาคาร บ้านเรือนต่างๆ ออกมาในแนวอเมริกันคันทรี โดยวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์มาจากไม้โบนันซ่า หรือต้นสนนำเข้าจากอเมริกาซึ่งถือเป็นจุดแข็ง เป็นบุคลิกเฉพาะของโครงการบ้านพักตากอากาศแห่งนี้จนเชื่อว่า “โบนันซ่า เขาใหญ่” คือผุ้จุดประกายให้ อ.ปากช่อง เป็นดินแดนคาวบอยเมืองไทย
เมื่อมองความสวยงามอันเป็นฉากหน้าแล้ว ภาพสะท้อนอีกมุมหนึ่งก็คือ ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “ระบบอุปถัมภ์” การผูกสัมพันธ์หรือคอนเนกชันระหว่าง “ผู้มีอำนาจ” กับ “นักธุรกิจ” ในห้วง 30 ปีที่ผ่านมา อำนาจและผลประโยชน์จากรูปแบบที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนกลับทำกันอย่างเปิดเผยไม่จำเป็นต้องหลบๆ ซ่อนๆ กันอีกต่อไป
พื้นที่ครอบครองในอาณาจักรโบนันซ่า ของนายไพวงษ์ เตชะณรงค์ มักถูกตรวจสอบเสมอเมื่อเกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง เป็นที่ทราบกันดีว่านักธุรกิจใหญ่ผู้นี้นอกจากจะมีกิจการต่างๆ มากมายเขายังมีชื่อเป็นกระเป๋าเงินคนสำคัญของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ กระทั่งพรรคเพื่อไทย โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศในฐานะนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็น มท.1 ชื่อของนายไพวงษ์ถูกหยิบขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาและมีบทบาทสำคัญต่อโครงการต่างๆ
ปี 2555 หรือที่เรียกว่าเป็นยุคประชาธิปไตยเต็มใบ แต่ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันกลับแพร่หลายไปทุกหย่อมหญ้า ไม่เว้นกระทั่งวงการตำรวจที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นผู้กุมบังเหียนอยู่
และสิ่งที่เป็นข้อสงสัยระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับนายไพวงษ์ เจ้าของกิจการโบนันซ่า เขาใหญ่ ผ่านมาเป็นเวลา 4 ปีจนถึงทุกวันนี้ก็คือ โครงการสนามกอล์ฟตำรวจ หรือ “โบนันซา กอล์ฟ แอนด์คันทรีคลับ” ว่ากันว่านี่คือความเลวร้าย และเป็นที่มาของขบวนการซื้อขายตำแหน่ง มีการปล่อยให้อบายมุขท่วมบ้านท่วมเมืองเพียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อส่วนรวม
โครงการสนามกอล์ฟตำรวจ มีจุดเริ่มมาจากปัญหาความคล่องตัวเกี่ยวกับกระแสการเงินของบริษัท โบนันซ่าฯ เองซึ่งลงทุนพัฒนาพื้นที่ป่าเขาลำเนา และเนรมิตให้เป็นสนามกอล์ฟชั้นเยี่ยม ในพื้นที่กว่า 600 ไร่เป็นสนามกอล์ฟมาตรฐาน 18 หลุม พาร์ 72 มีการว่าจ้าง Mr.Bob Mafarland ดีไซเนอร์ระดับโลกเป็นคนออกแบบ รายจ่ายจำนวนมหาศาลที่อัดเข้าไปกับธุรกิจสนามกอล์ฟ หนี้สินพอกขึ้นมากจนแทบจะล้มละลาย จำเป็นต้องเรียกคืนอย่างรวดเร็ว จึงเกิดไอเดียบรรเจิดยกสนามกอล์ฟโบนันซ่าให้เป็นสวัสดิการข้าราชการตำรวจ โดยมีกติกาว่าผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกหรือเมมบอร์จะต้องอยู่ระดับ พ.ต.อ. หรือ “ผู้กำกับ” เท่านั้น มีค่าบำรุงสมาชิกปีละ 2 หมื่นบาท
สำนักงานตำรวจแห่งชาติในขณะนั้นเห็นดีเห็นงามกับโครงการนี้อย่างเต็มที่ ทั้งที่จริงก็เห็นกันอยู่ทนโท่ว่าเป็นธุรกิจของเอกชน อีกทั้งตามความเป็นจริงตำรวจระดับ ผกก.ที่กระจายกันอยู่ทั่วประเทศมีทั้งที่นิยมเล่นกอล์ฟและไม่เคยเล่น แต่ที่สำคัญคือด้วยระยะทางที่อยู่กันคนละทิศละทาง เช่น รับราชการอยู่ภาคใต้ อยู่ภาคเหนือ หรือตะวันออก จะคุ้มกับค่าน้ำมันหรือเวลาที่เสียไปกับการเดินทางหรือ โครงการสนามกอล์ฟตำรวจโดยอ้างสวัสดิการนั้นจึงเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและถูกต้อง
ดูแล้วมันไม่ใช่สวัสดิการตามที่อ้าง แต่เป็นสวะโยนให้นายตำรวจทั่วประเทศต้องปวดหัว จะร้องก็ไม่ได้เพราะนายใหญ่ใน สตช.เห็นดีเห็นงามด้วย สั่งมาให้ช่วยผู้น้อยจะปฏิเสธได้อย่างไร แม้จะสั่งลงมาด้วยวาจาก็ตาม
นอกจากเป็นวิธีหาเงินหาทองกับตำรวจซึ่งทราบดีอยู่ว่าระดับ พ.ต.อ.แทบทุกคนต้องการไปอยู่พื้นที่ดีๆ ทั้งสิ้น การยอมเสียเงินค่าสมาชิกเพื่อเอาใจนาย เอาใจนักการเมืองแม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นก็เป็นการแสดงออกในการร่วมมือ เป็นหนทางสำเร็จในขั้นต่อๆ ไป
แค่เพียงพริบตาเดียวก็สามารถระดมทุนได้กว่า 100 ล้าน เพราะมีนายตำรวจแห่เป็นสมาชิกจำนวนมาก แต่ที่สุดแล้วหลายรายนำใบสมาชิกไปเลหลังขายจาก 2 หมื่น เป็นหมื่นสอง หรือ 1 หมื่นบาทถ้วนก็มี เพราะเกือบทั้งหมดไม่มีความจำเป็นต้องถ่อมาใช้บริการถึงเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
การตรวจสอบการถือครองที่ดินสนามกอล์ฟโบนันซ่าฯ หรืออีกชื่อหนึ่งคือสนามกอล์ฟตำรวจจึงสมควรถูกขุดคุ้ยข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกลุ่มเอกชนด้วย เช่นการสมัครสมาชิกรายละ 2 หมื่นบาทนั้น กระทำด้วยความสมัครใจหรือมีการบีบบังคับ นอกจากนั้นยังมีรายละเอียดเรื่องการชำระภาษีซึ่งสนามกอล์ฟแห่งนี้มีวัตถุประสงค์ดำเนินการเพื่อการค้าหากำไรทั่วไป หรือสวัสดิการกันแน่
กรณีนี้คงไม่เพียงตอบรับการปฏิรูปประเทศเพียงเท่านั้นแต่ยังเป็นการเริ่มต้นปฏิวัติองค์กรตำรวจที่ยังคงมีสิ่งไม่ถูกต้องหมกเป็นขยะใต้พรมอีกหลายเรื่อง และที่สำคัญหากการตรวจสอบการถือครองที่ดินของเจ้าหน้าที่หลาย ฝ่ายประกอบด้วย ตัวแทนจากทหาร กรมที่ดิน เจ้าหน้าที่จาก ป.ป.ท. ดีเอสไอ เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก บก.ปทส. หากพบว่ามีการบุกรุกป่าสงวนจริงแน่นอนว่าจะต้องมีการเพิกถอนสิทธิ์ และดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้อง
ขณะเดียวกัน โครงการสนามกอล์ฟตำรวจอันเกิดจากการอุปโลกน์ และใช่เล่ห์อุบายระหว่างนักธุรกิจกับตำรวจใหญ่เพียงไม่กี่คนจะต้องยุบ หรือเลิกให้เร็วที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องรอผลการพิสูจน์เอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแต่ประการใดเพราะพฤติการณ์ต่างๆ ย่อมปรากฏชัดเจนถึงความไม่เหมาะสมอยู่แล้ว
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรรีบตัดสินใจสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเร็วที่สุด ตีเหล็กที่กำลังร้อนพร้อมกับปัดกวาด “มรดกบาป” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปในคราวเดียวกันด้วย