วานนี้ (1เม.ย.) นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ ''สภาปฏิรูปแห่งชาติกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ" โดยบรรยายถึงขั้นตอน เมื่อรับร่างรัฐธรรมนูญมาจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว สปช.ต้องศึกษาวิเคราะห์การปฏิรูป ตามมาตรา 27 เสนอความเห็น และพิจารณาให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ โดยขั้นตอนนี้จะไม่มีการอภิปรายแล้ว หากเห็นชอบ ก็ให้นำร่างรัฐธรรมนูญ กราบบังคมทูลฯ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย หากไม่เห็นชอบสปช. และกมธ.ยกร่างฯ ก็จะสิ้นสุดในวันนั้น ซึ่งถ้าไม่เห็นชอบ ตามที่ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ มักบอกว่า เป็นแฝดอินจัน ต้องตายตกตามกัน ในกรณีนี้ทางคสช. เริ่มหาสมาชิกสปช. และกมธ. ยกร่างฯ ใหม่ ซึ่งจะเป็นคนเดิมไม่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ ถ้าสมาชิกสปช. ไม่เห็นชอบ ซึ่งรัฐธรรมนูญฯชั่วคราว ได้เตรียมทางออกเอาไว้แล้ว แต่ไม่ถือเป็นการกดดันการทำงานของสปช. ให้สปช. มีความเห็นคล้อยตามกรรมาธิการยกร่างฯ เพียงแต่ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน
"สัมพันธภาพของ สปช. กับ กมธ.ยกร่างฯ มีความลึกซึ้ง ถ้าจะเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนกับในพระคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ ซึ่งพระเจ้าเหน็บเอาซี่โครงของอดัม มาสร้างอีฟ คือเอาไปจากสปช. จำนวน 20 คน ความผูกพันก็แน่นแฟ้น เมื่อหัวหน้าคสช. เสนอคนทำหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็เอารองประธานสปช. คนที่หนึ่ง เป็นประธานกมธ. เวลาประชุมสมาชิกสปช.ที่เป็นกมธ.ยกร่างฯ ก็มาประชุมด้วย และทางกมธ.ยกร่างฯ ก็เชิญ สมาชิกสปช. และบุคคลภายนอกสังเกตการณ์การประชุมคณะกมธ.ยกร่างฯ เพื่อความโปร่งใส ว่าไม่มีพิมพ์เขียวร่างรัฐธรรมนูญจากฝ่ายใด ได้ผลดีว่าที่สุดแล้ว กมธ.ก็ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ไม่ได้ปรากฏว่าเป็นพิมพ์เขียวกับใคร ซึ่งในวันอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ร่างแรกวันที่ 20 - 26 เม.ย.นี้ ก็มีคำถามว่า แล้วรองประธานสปช. คนที่ 1 ที่เป็นประธาน คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ทำหน้าที่ได้หรือไม่นั้น ผมเห็นว่า สามารถทำได้ แต่น่าเกลียด เพราะต้องชี้แจง และตอบคำถามของสมาชิก"
นายเทียนฉาย ระบุว่า ถ้ามีการอภิปรายเสร็จในวันที่ 26 เม.ย. แล้ว สปช.-ครม.-คสช. อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ จนถึงวันที่ 25 พ.ค. จากนั้นทางกรรมาธิการกลับไปทำร่างรัฐธรรมนูญอีกรอบ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามกำหนด ปลายเดือนกรกฎาคม กมธ. ยกร่างฯ เสนอร่าง รัฐธรรมนูญต่อ สปช. ต้องให้ความเห็นชอบ ซึ่งในต้นเดือนสิงหาคม ก็รู้เรื่องในเงื่อนไขปัจจุบัน เพราะยังไม่มีวาระพิจารณาประชามติ มีแต่คำพูดจา และมีเสียงเรียกร้องของประชาชน ซึ่งทางสปช. ไม่มีหน้าที่กำหนดให้ทำประชามติ ทางรัฏฐาธิปัตย์ ต้องตัดสิน เพราะเรื่องนี้มีผลอย่างมาก
ทั้งนี้ สิ่งน่าสนใจในเวลานี้ก็คือ สปช.กับ กมธ.ยกร่างฯ ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่ เพราะสปช.บางราย มีความเห็นไม่ตรงกับกมธ.ยกร่างฯ ซึ่งตนเห็นว่าในคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ด้วยกันก็ยังไม่เห็นตรงกัน ถือเป็นวิสัยธรรมดา เพราะขณะนี้ยังมีความสมานฉันท์แน่นแฟ้นกันอยู่ ส่วนที่มีข้อสังเกตเรื่องการสืบทอดอำนาจ ผ่านการตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาตินั้น ตนเห็นว่าเพราะภาระของสภาปฏิรูปแห่งชาติ คือให้ข้อเสนอแนะในการปฏิรูป ที่พวกตนอาสาทำหน้าที่ เพราะประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่เข้าตาจน ย้อนไปวันที่ 22 พ.ค. จะเกิดเหตุอะไรบ้าง
ดังนั้นในขณะนี้ สปช.จับงานปฏิรูปอะไรก็เป็นประเด็นปัญหา ซึ่งถ้าปฏิรูปจริงๆ ก็ไม่สำเร็จภายใน 1 ปี อย่างเช่น จะหวังให้ 15 ปีข้างหน้า คนไทยทุกคนต้องจบปริญญาตรี แล้วหลังจากนั้นใครจะดูแผนเหล่านี้ ซึ่งความจำเป็นต้องมีองค์กรที่ต้องทำ ไม่ใช่เป็นการสืบทอด แต่เป็น วอชด็อก (Watch Dog)ของประชาชนชาวไทย
ส่วนที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำชับไม่ให้นำร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังยกร่างฯ มาพูด เพราะเกรงว่าจะเป็นประเด็นขัดแย้งกันในสังคมนั้น นายเทียนฉาย กล่าวว่า ขณะนี้ร่างแรกยังไม่แล้วเสร็จ หากวิพากษ์กันไป ก็จะกลายเป็นประเด็นได้ ส่วนข้อเสนอของ นายสังสิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิก สปช. ให้มีมาตรการแซงชั่น หากคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ไม่ยอมพิจารณาตามข้อท้วงติงของ สปช. นายเทียนฉาย มองว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะพูดเรื่องนี้ และเข้าใจว่าข้อเสนอดังกล่าว น่าจะเป็นช่วงสุดท้ายของการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือหลังวันที่ 23 ก.ค.นี้
"สัมพันธภาพของ สปช. กับ กมธ.ยกร่างฯ มีความลึกซึ้ง ถ้าจะเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนกับในพระคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ ซึ่งพระเจ้าเหน็บเอาซี่โครงของอดัม มาสร้างอีฟ คือเอาไปจากสปช. จำนวน 20 คน ความผูกพันก็แน่นแฟ้น เมื่อหัวหน้าคสช. เสนอคนทำหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็เอารองประธานสปช. คนที่หนึ่ง เป็นประธานกมธ. เวลาประชุมสมาชิกสปช.ที่เป็นกมธ.ยกร่างฯ ก็มาประชุมด้วย และทางกมธ.ยกร่างฯ ก็เชิญ สมาชิกสปช. และบุคคลภายนอกสังเกตการณ์การประชุมคณะกมธ.ยกร่างฯ เพื่อความโปร่งใส ว่าไม่มีพิมพ์เขียวร่างรัฐธรรมนูญจากฝ่ายใด ได้ผลดีว่าที่สุดแล้ว กมธ.ก็ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ไม่ได้ปรากฏว่าเป็นพิมพ์เขียวกับใคร ซึ่งในวันอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ร่างแรกวันที่ 20 - 26 เม.ย.นี้ ก็มีคำถามว่า แล้วรองประธานสปช. คนที่ 1 ที่เป็นประธาน คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ทำหน้าที่ได้หรือไม่นั้น ผมเห็นว่า สามารถทำได้ แต่น่าเกลียด เพราะต้องชี้แจง และตอบคำถามของสมาชิก"
นายเทียนฉาย ระบุว่า ถ้ามีการอภิปรายเสร็จในวันที่ 26 เม.ย. แล้ว สปช.-ครม.-คสช. อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ จนถึงวันที่ 25 พ.ค. จากนั้นทางกรรมาธิการกลับไปทำร่างรัฐธรรมนูญอีกรอบ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามกำหนด ปลายเดือนกรกฎาคม กมธ. ยกร่างฯ เสนอร่าง รัฐธรรมนูญต่อ สปช. ต้องให้ความเห็นชอบ ซึ่งในต้นเดือนสิงหาคม ก็รู้เรื่องในเงื่อนไขปัจจุบัน เพราะยังไม่มีวาระพิจารณาประชามติ มีแต่คำพูดจา และมีเสียงเรียกร้องของประชาชน ซึ่งทางสปช. ไม่มีหน้าที่กำหนดให้ทำประชามติ ทางรัฏฐาธิปัตย์ ต้องตัดสิน เพราะเรื่องนี้มีผลอย่างมาก
ทั้งนี้ สิ่งน่าสนใจในเวลานี้ก็คือ สปช.กับ กมธ.ยกร่างฯ ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่ เพราะสปช.บางราย มีความเห็นไม่ตรงกับกมธ.ยกร่างฯ ซึ่งตนเห็นว่าในคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ด้วยกันก็ยังไม่เห็นตรงกัน ถือเป็นวิสัยธรรมดา เพราะขณะนี้ยังมีความสมานฉันท์แน่นแฟ้นกันอยู่ ส่วนที่มีข้อสังเกตเรื่องการสืบทอดอำนาจ ผ่านการตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาตินั้น ตนเห็นว่าเพราะภาระของสภาปฏิรูปแห่งชาติ คือให้ข้อเสนอแนะในการปฏิรูป ที่พวกตนอาสาทำหน้าที่ เพราะประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่เข้าตาจน ย้อนไปวันที่ 22 พ.ค. จะเกิดเหตุอะไรบ้าง
ดังนั้นในขณะนี้ สปช.จับงานปฏิรูปอะไรก็เป็นประเด็นปัญหา ซึ่งถ้าปฏิรูปจริงๆ ก็ไม่สำเร็จภายใน 1 ปี อย่างเช่น จะหวังให้ 15 ปีข้างหน้า คนไทยทุกคนต้องจบปริญญาตรี แล้วหลังจากนั้นใครจะดูแผนเหล่านี้ ซึ่งความจำเป็นต้องมีองค์กรที่ต้องทำ ไม่ใช่เป็นการสืบทอด แต่เป็น วอชด็อก (Watch Dog)ของประชาชนชาวไทย
ส่วนที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำชับไม่ให้นำร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังยกร่างฯ มาพูด เพราะเกรงว่าจะเป็นประเด็นขัดแย้งกันในสังคมนั้น นายเทียนฉาย กล่าวว่า ขณะนี้ร่างแรกยังไม่แล้วเสร็จ หากวิพากษ์กันไป ก็จะกลายเป็นประเด็นได้ ส่วนข้อเสนอของ นายสังสิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิก สปช. ให้มีมาตรการแซงชั่น หากคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ไม่ยอมพิจารณาตามข้อท้วงติงของ สปช. นายเทียนฉาย มองว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะพูดเรื่องนี้ และเข้าใจว่าข้อเสนอดังกล่าว น่าจะเป็นช่วงสุดท้ายของการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือหลังวันที่ 23 ก.ค.นี้