ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.เร่งเจรจากลุ่มมิตซูบิชิ เล็งสรุปประมูลรถไฟสีแดงสัญญา 3 (งานระบบและรถไฟฟ้า) เสนอบอร์ด เม.ย.นี้ ดันเซ็นสัญญาในก.ค.เผย ล่าสุด เอกชนลดราคาเหลือไม่ถึง 3.3 หมื่นล.แล้ว แต่ต้องเสนอครม.ขอเพิ่มกรอบวงเงิน อีก 3.6 พันล. ด้านบขส.ยื้อย้ายหมอชิตขอใช้พื้นที่ 10-15 ไร่ เป็นที่จอดรถชั่วคราว
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) กาารถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประกวดราคาโครงการรถไฟ สายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาท ว่า เมื่อวันที่ 27 มีนาคม คณะอนุกรรมการประกวดราคา ได้เจรจาต่อรองกับกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ซึ่งล่าสุดได้ปรับลดราคาลงมาอยู่ที่เกือบ 3.3 หมื่นล้านบาทแล้ว จากเสนอราคาที่ 49,000 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่า ราคาสุดท้ายจะเกินกรอบวงเงินที่ร.ฟ.ท.ได้รับอนุมัติไว้ และจะต้องเร่งสรุปและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอเพิ่มกรอบวงเงินเร็วๆนี้
ทั้งนี้ ตามมติครม.ล่าสุดได้เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้ง 3 สัญญา วงเงินรวม 8,140 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างระบบรองรับรถไฟฟ้าในอนาคต เช่น รถไฟความเร็วสูง โดยแบ่งเป็นสัญญา 1(งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วย บมจ.บริษัท ซิโน-ไทย หรือ STEC และ บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น หรือ UNIQ เป็นผู้รับงาน ได้รับค่างานเพิ่ม 4,315 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 29,826 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 (งานโครงสร้างโยธาและสถานี) มีบมจ.อิตาเลียนไทย เป็นผู้รับจ้าง ได้ค่างาน เพิ่ม 3,352 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 21,235 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมรถไฟฟ้า) ได้รับค่างานเพิ่ม 473 ล้านบาท จากกรอบวงเงินเดิม 28,899 ล้านบาท ซึ่งหากเจรจาราคาสุดท้ายมาอยู่ที่ไม่เกิน 3.3 หมื่นล้านบาท เท่ากับเกินกรอบวงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งร.ฟ.ท.จะต้องเสนอขอปรับเพิ่มวงเงินสัญญา 3 อีกประมาณ 3,600 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ไม่รวมกับที่ได้รับจากการปรับแบบไปแล้ว
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะพยายามสรุปผลประมูลและเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณาการเพิ่มกรอบวงเงินให้ได้ภายในเดือนเมษายนนี้ จากนั้นจะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมและครม. คาดว่าอย่างเร็วจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จึงจะสามารถลงนามในสัญญาได้หรือภายในเดือนกรกฎาคม ดำเนินก่อสร้าง 4 ปี แต่จะเจรจากับทางผู้รับงาน ให้เร่งดำเนินการภายใน 3.5
ปีเพื่อให้สามารถเปิดเดินรถสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันและ บางซื่อ-รังสิต ได้ในปี 2562
ส่วนการย้ายสถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิต) ออกจากพื้นที่ก่อสร้างนั้น ล่าสุด ทางบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้เสนอขอใช้พื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อประมาณ 10-15 ไร่ จากที่เป็นสถานีเดิมทั้งหมดประมาณ 33 ไร่ เพื่อใช้เป็นที่จอดรถบางส่วนเป็นการชั่วคราวสำหรับรับส่งผู้โดยสารจากสถานีรถไฟ ซึ่งขณะนี้ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่ให้
เนื่องจากไม่ได้อยู่ในแผนงานตั้งแต่ต้น ที่กำหนดให้ บขขส.ต้องย้ายสถานีขนส่งออกไปอยู่ที่อื่น
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ได้สั่งการให้บขส.เร่าจัดหาพื้นที่ตั้งสถานีขนส่งแห่งใหม่ หลังจากตามผลการศึกษาเดิม ทั้ง บริเวณถนนวิภาวดีขาเข้าและขาออก เมืองทองธานี และไม่เหมาะสม
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) กาารถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประกวดราคาโครงการรถไฟ สายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาท ว่า เมื่อวันที่ 27 มีนาคม คณะอนุกรรมการประกวดราคา ได้เจรจาต่อรองกับกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ซึ่งล่าสุดได้ปรับลดราคาลงมาอยู่ที่เกือบ 3.3 หมื่นล้านบาทแล้ว จากเสนอราคาที่ 49,000 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่า ราคาสุดท้ายจะเกินกรอบวงเงินที่ร.ฟ.ท.ได้รับอนุมัติไว้ และจะต้องเร่งสรุปและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอเพิ่มกรอบวงเงินเร็วๆนี้
ทั้งนี้ ตามมติครม.ล่าสุดได้เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้ง 3 สัญญา วงเงินรวม 8,140 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างระบบรองรับรถไฟฟ้าในอนาคต เช่น รถไฟความเร็วสูง โดยแบ่งเป็นสัญญา 1(งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วย บมจ.บริษัท ซิโน-ไทย หรือ STEC และ บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น หรือ UNIQ เป็นผู้รับงาน ได้รับค่างานเพิ่ม 4,315 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 29,826 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 (งานโครงสร้างโยธาและสถานี) มีบมจ.อิตาเลียนไทย เป็นผู้รับจ้าง ได้ค่างาน เพิ่ม 3,352 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 21,235 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมรถไฟฟ้า) ได้รับค่างานเพิ่ม 473 ล้านบาท จากกรอบวงเงินเดิม 28,899 ล้านบาท ซึ่งหากเจรจาราคาสุดท้ายมาอยู่ที่ไม่เกิน 3.3 หมื่นล้านบาท เท่ากับเกินกรอบวงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งร.ฟ.ท.จะต้องเสนอขอปรับเพิ่มวงเงินสัญญา 3 อีกประมาณ 3,600 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ไม่รวมกับที่ได้รับจากการปรับแบบไปแล้ว
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะพยายามสรุปผลประมูลและเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณาการเพิ่มกรอบวงเงินให้ได้ภายในเดือนเมษายนนี้ จากนั้นจะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมและครม. คาดว่าอย่างเร็วจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จึงจะสามารถลงนามในสัญญาได้หรือภายในเดือนกรกฎาคม ดำเนินก่อสร้าง 4 ปี แต่จะเจรจากับทางผู้รับงาน ให้เร่งดำเนินการภายใน 3.5
ปีเพื่อให้สามารถเปิดเดินรถสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันและ บางซื่อ-รังสิต ได้ในปี 2562
ส่วนการย้ายสถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิต) ออกจากพื้นที่ก่อสร้างนั้น ล่าสุด ทางบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้เสนอขอใช้พื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อประมาณ 10-15 ไร่ จากที่เป็นสถานีเดิมทั้งหมดประมาณ 33 ไร่ เพื่อใช้เป็นที่จอดรถบางส่วนเป็นการชั่วคราวสำหรับรับส่งผู้โดยสารจากสถานีรถไฟ ซึ่งขณะนี้ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่ให้
เนื่องจากไม่ได้อยู่ในแผนงานตั้งแต่ต้น ที่กำหนดให้ บขขส.ต้องย้ายสถานีขนส่งออกไปอยู่ที่อื่น
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ได้สั่งการให้บขส.เร่าจัดหาพื้นที่ตั้งสถานีขนส่งแห่งใหม่ หลังจากตามผลการศึกษาเดิม ทั้ง บริเวณถนนวิภาวดีขาเข้าและขาออก เมืองทองธานี และไม่เหมาะสม