ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.จ่อปิดดีลสัญญา 3 งานระบบและเดินรถสายสีแดง แย้มกลุ่มมิตซูบิชิยอมลดราคาเหลือไม่ถึง 3.4 หมื่นล.แม้เกินกรอบวงเงินแต่รับได้ เหตุราคาเก่าคิดไว้นานแล้ว เตรียมสรุปเสนอครม.ขอเพิ่มกรอบ “ปลัดคมนาคม”คาดสรุปในเม.ย.เซ็นสัญญา เร่งเปิดเดินรถตลอดสายในปี 61 พร้อมเร่งทำทางเชื่อมสีแดงกับสีม่วง ที่สถานีบางซ่อนอำนวยความสะดวก
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังความคืบหน้าโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ของการถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่สถานีบางซ่อนซึ่งเป็นจุดเขื่อมต่อ ของ 2 โครงการ วานนี้ (25 ก.พ.) ว่า เนื่องจากการประกวดราคา สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาท ยังไม่สามารถสรุปผลการเจรจาต่อรองกับกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ซึ่งเสนอราคาที่ 49,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสรุปผลในเดือนเมษายนนี้ โดยหากวงเงินสุดท้ายเกินกรอบที่ได้รับอนุมัติ ร.ฟ.ท.จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติ ซึ่งคาดว่าจะลงนามในสัญญากันได้ในเดือนพฤษภาคม ดำเนินก่อสร้าง 4 ปี จะทำให้การเดินรถเชื่อมของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันและ บางซื่อ-รังสิตเชื่อมต่อกันสมบูรณ์แบบ พร้อมกันนี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมสรุป โครงการสายสีแดงส่วนต่อขยายจาก รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ซึ่งผ่านการพิจารณาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) แล้วเสนอครม.ขออนุมัติต่อไปด้วย
โดยก่อนหน้านี้ร.ฟ.ท.ได้นำรถดีเซลรางมา เปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้ฟรี ช่วง ตลิ่งชัน-บางบำหรุ เริ่มเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555 เพื่อเป็นการรักษารางในระหว่างที่รอการจัดซื้อระบบรถไฟฟ้าแล้วเสร็จและเปิดเดินรถได้ในปี 2561 แต่เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารน้อยมากเฉลี่ย 10-12 คน ไม่คุ้มค่า จึงหยุดบริการไปหลายเดือนแล้ว แต่ยังคงวิ่งรถเปล่าเพื่อเป็นการรักษาทางต่อไปแต่หากสายสีม่วงเปิดเดินรถในปี 2559 คาดว่าจะทำให้การเชื่อมต่อที่สถานีบางซ่อน มีความสะดวกมากขึ้น อาจจะพิจารณาเปิดเดินรถดีเซลขึ้นอีกครั้ง
รายงานข่าวจากร.ฟ.ท.แจ้งว่า การเจรจาราคากับกลุ่ม MHSC สรุปราคาล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการประเมินราคาที่ร.ฟ.ท.รับได้ว่าไม่ควรเกิน 3.5 หมื่นล้านบาทเนื่องจากวงเงินเดิม ที่2.79 หมื่นล้านบาทกำหนดมานานแล้ว โดยจะมีการเสนอครม.ขอเพิ่มกรอบวงเงินต่อไป
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า ได้ข้อสรุปเรื่องการก่อสร้างสะพานกลับรถสะพานกลับรถ (U-Turn) 2 ตัว คือ บริเวณ หมู่บ้านภาณุรังสี และไทรน้อย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้กระทรวงคมนาคมและ ร.ฟ.ท.ดำเนินการก่อสร้าง หลังจากโครงการสายสีแดงกระทบต่อเดินทางของประชาชน โดยให้ร.ฟ.ท.นำเรื่องเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) เพื่อของบประมาณในการออกแบบประมาณ 3 ล้านบาท ค่าก่อสร้างประมาณ 200 ล้านบาทระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 3 ปี โดยให้ประสานกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย( กทพ.)เพื่อออกแบบให้สอดคล้องกับทางพิเศษ ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย
ส่วนการเชื่อมต่อที่สถานีบางซ่อนของสายสีแดงกับสายสีม่วงนั้น ได้สรุปให้ร.ฟ.ม.เป็นผู้ลงทุนออกออกแบบและก่อสร้าง ทางเชื่อมต่อบนพื้นที่ประมาณ 800 ตารางเมตรซึ่งเป็นของร.ฟ.ท.โดยให้ใช้วิธีเช่าใช้พื้นที่จาก ร.ฟ.ท.ไปดำเนินการพร้อมทั้งได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ไปด้วย โดยค่าก่อสร้างทางเชื่อมต่อประมาณ 24 ล้านบาท ซึ่งรฟม.ได้ออกแบบเบื้องต้นไว้แล้วคาดว่าจะก่อสร้างประมาณ 1 ปีกว่า จะเสร็จพร้อมกับการเปิดเดินรถสายสีม่วงจะทำให้ระชาชนเดินเชื่อมต่อกันได้สะดวกรวมถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและคนชรา ด้วย
“ทางร.ฟ.ท.ต้องรายงานบอร์ด ให้รับทราบ เพื่อให้ รฟม.เข้ามาดำเนินการในพื้นที่ของร.ฟ.ท.ในลักษณะการเช่าใช้พื้นที่ ซึ่งเหตุผลที่ให้รฟม.เป็นผู้ดำเนินการเนื่องจาก สายสีม่วงของรฟม.ยังอยู่ระหว่างก่อสร้างจะสะดวกมากกว่าให้ ร.ฟ.ท.ทำเพราะงานก่อสร้างสายสีแดงเสร็จแล้ว อีกทั้งเรื่องการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ รฟม.จะมีความคล่องตัวมากกว่า”นางสร้อยทิพย์กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า นายกรัฐมนตรีต้องการให้มีการเชื่อมต่อกันของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก จึงมีการเสนอให้กระทรวงคมนาคมยกเลิกมติ ครม.เดิม และปรับหลักเกณฑ์ในการสรรหาผู้เดินรถใหม่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ประชาชนมากที่สุด ซึ่งนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า การลงทุนทางรางรัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุน ส่วนเอกชนจะลงทุนในเรื่องของตัวรถและระบบสัญญาณ
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังความคืบหน้าโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ของการถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่สถานีบางซ่อนซึ่งเป็นจุดเขื่อมต่อ ของ 2 โครงการ วานนี้ (25 ก.พ.) ว่า เนื่องจากการประกวดราคา สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาท ยังไม่สามารถสรุปผลการเจรจาต่อรองกับกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ซึ่งเสนอราคาที่ 49,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสรุปผลในเดือนเมษายนนี้ โดยหากวงเงินสุดท้ายเกินกรอบที่ได้รับอนุมัติ ร.ฟ.ท.จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติ ซึ่งคาดว่าจะลงนามในสัญญากันได้ในเดือนพฤษภาคม ดำเนินก่อสร้าง 4 ปี จะทำให้การเดินรถเชื่อมของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันและ บางซื่อ-รังสิตเชื่อมต่อกันสมบูรณ์แบบ พร้อมกันนี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมสรุป โครงการสายสีแดงส่วนต่อขยายจาก รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ซึ่งผ่านการพิจารณาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) แล้วเสนอครม.ขออนุมัติต่อไปด้วย
โดยก่อนหน้านี้ร.ฟ.ท.ได้นำรถดีเซลรางมา เปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้ฟรี ช่วง ตลิ่งชัน-บางบำหรุ เริ่มเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555 เพื่อเป็นการรักษารางในระหว่างที่รอการจัดซื้อระบบรถไฟฟ้าแล้วเสร็จและเปิดเดินรถได้ในปี 2561 แต่เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารน้อยมากเฉลี่ย 10-12 คน ไม่คุ้มค่า จึงหยุดบริการไปหลายเดือนแล้ว แต่ยังคงวิ่งรถเปล่าเพื่อเป็นการรักษาทางต่อไปแต่หากสายสีม่วงเปิดเดินรถในปี 2559 คาดว่าจะทำให้การเชื่อมต่อที่สถานีบางซ่อน มีความสะดวกมากขึ้น อาจจะพิจารณาเปิดเดินรถดีเซลขึ้นอีกครั้ง
รายงานข่าวจากร.ฟ.ท.แจ้งว่า การเจรจาราคากับกลุ่ม MHSC สรุปราคาล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการประเมินราคาที่ร.ฟ.ท.รับได้ว่าไม่ควรเกิน 3.5 หมื่นล้านบาทเนื่องจากวงเงินเดิม ที่2.79 หมื่นล้านบาทกำหนดมานานแล้ว โดยจะมีการเสนอครม.ขอเพิ่มกรอบวงเงินต่อไป
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า ได้ข้อสรุปเรื่องการก่อสร้างสะพานกลับรถสะพานกลับรถ (U-Turn) 2 ตัว คือ บริเวณ หมู่บ้านภาณุรังสี และไทรน้อย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้กระทรวงคมนาคมและ ร.ฟ.ท.ดำเนินการก่อสร้าง หลังจากโครงการสายสีแดงกระทบต่อเดินทางของประชาชน โดยให้ร.ฟ.ท.นำเรื่องเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) เพื่อของบประมาณในการออกแบบประมาณ 3 ล้านบาท ค่าก่อสร้างประมาณ 200 ล้านบาทระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 3 ปี โดยให้ประสานกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย( กทพ.)เพื่อออกแบบให้สอดคล้องกับทางพิเศษ ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย
ส่วนการเชื่อมต่อที่สถานีบางซ่อนของสายสีแดงกับสายสีม่วงนั้น ได้สรุปให้ร.ฟ.ม.เป็นผู้ลงทุนออกออกแบบและก่อสร้าง ทางเชื่อมต่อบนพื้นที่ประมาณ 800 ตารางเมตรซึ่งเป็นของร.ฟ.ท.โดยให้ใช้วิธีเช่าใช้พื้นที่จาก ร.ฟ.ท.ไปดำเนินการพร้อมทั้งได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ไปด้วย โดยค่าก่อสร้างทางเชื่อมต่อประมาณ 24 ล้านบาท ซึ่งรฟม.ได้ออกแบบเบื้องต้นไว้แล้วคาดว่าจะก่อสร้างประมาณ 1 ปีกว่า จะเสร็จพร้อมกับการเปิดเดินรถสายสีม่วงจะทำให้ระชาชนเดินเชื่อมต่อกันได้สะดวกรวมถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและคนชรา ด้วย
“ทางร.ฟ.ท.ต้องรายงานบอร์ด ให้รับทราบ เพื่อให้ รฟม.เข้ามาดำเนินการในพื้นที่ของร.ฟ.ท.ในลักษณะการเช่าใช้พื้นที่ ซึ่งเหตุผลที่ให้รฟม.เป็นผู้ดำเนินการเนื่องจาก สายสีม่วงของรฟม.ยังอยู่ระหว่างก่อสร้างจะสะดวกมากกว่าให้ ร.ฟ.ท.ทำเพราะงานก่อสร้างสายสีแดงเสร็จแล้ว อีกทั้งเรื่องการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ รฟม.จะมีความคล่องตัวมากกว่า”นางสร้อยทิพย์กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า นายกรัฐมนตรีต้องการให้มีการเชื่อมต่อกันของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก จึงมีการเสนอให้กระทรวงคมนาคมยกเลิกมติ ครม.เดิม และปรับหลักเกณฑ์ในการสรรหาผู้เดินรถใหม่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ประชาชนมากที่สุด ซึ่งนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า การลงทุนทางรางรัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุน ส่วนเอกชนจะลงทุนในเรื่องของตัวรถและระบบสัญญาณ