บอร์ด สปสช.เผยโครงการจัดหายาจำเป็น ราคาแพง ยาต้านพิษ ช่วยป้องกันผู้ป่วยตายมากขึ้น จาก 49 ราย เป็น 466 รายภายใน 3 ปี ส่วนเซรุ่มแก้พิษงู ช่วยผู้ป่วยรอดวิกฤตกว่า 5,000 ราย
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า การคุ้มครองด้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหนึ่งในภารกิจของบอร์ด สปสช. โดยเฉพาะกลุ่มยาที่มีปัญหาการเข้าถึง ยากำพร้า หรือยาที่มีอัตราการใช้ต่ำ แต่จำเป็นต้องใช้ หาซื้อไม่ได้ตามท้องตลาด มีราคาแพงมาก ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มยาต้านพิษ เช่น พิษจากโลหะหนัก และพิษเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินั่ม จากหน่อไม้ปี๊บ และเซรุ่มแก้พิษงู เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยา และหน่วยบริการไม่ต้องแบกรับภาระบอร์ดสปสช.จึงได้จัดงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อใช้สำหรับจัดหายาดังกล่าว โดยมี “คณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและมีปัญหาในการเข้าถึงของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”คัดเลือกยา สำหรับคณะอนุฯ ประกอบด้วย อย. กรมควบคุมโรค สธ. สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย มีศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี ศูนย์พิษวิทยา รพ.ศิริราช รวมทั้งสภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรม (อภ.) และเภสัชกรรมทหาร ร่วมกันออกแบบและดำเนินการ ในช่วงแรก สปสช.ได้เสนอขออนุมัติต่อบอร์ด สปสช.ใช้เงินที่ประหยัดได้จากการประมูลยาบัญชี จ.(2)จำนวน 5 ล้านบาทมาดำเนินการเมื่อปีงบประมาณ 2553 และขยายครอบคลุมกลุ่มเซรุ่มแก้พิษงู เพื่อเพิ่มโอกาสการช่วยชีวิตผู้ป่วย
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวต่อว่า นวัตกรรมที่โดดเด่นคือการเข้าถึงข้อมูลแหล่งสำรองยาให้กับผู้ป่วยได้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์ มาช่วยออกแบบและจัดทำข้อมูลการสำรองยาต้านพิษและเซรุ่มของหน่วยบริการแต่ละระดับ แต่มีระบบการส่งยาที่รวดเร็ว ถือเป็นความสำเร็จภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน และเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในการจัดการยากำพร้าอย่างเป็นระบบ หน่วยผลิตยาในประเทศได้แสดงบทบาทในการสร้างความมั่นคง เช่น การผลิตยาต้านพิษขึ้นใช้เองหลายรายการ โดยความร่วมมือของสภากาชาดไทย เช่น Sodium nitrite, Sodium. Thiosulfate, Methylene blue สำหรับยาที่ผลิตเองไม่ได้ อภ.ก็ทำหน้าที่จัดหา พร้อมทั้งจัดระบบการกระจายยาให้หน่วยบริการทั้งประเทศ โดยมีศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี และ รพ.ศิริราช และศูนย์รักษาพิษจากสัตว์ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแนะนำการเลือกใช้ยาต้านพิษ พร้อมทั้งติดตามประเมินผลให้การรักษาผู้ป่วยหลังจากได้รับยาแล้ว
ด้าน ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จากผลดำเนินงานที่ผ่านมา ช่วยผู้ป่วยที่รับสารพิษรอดชีวิตจากการเข้าถึงยาเพิ่มขึ้นจาก 49 รายในปี 2554 เป็น 466 รายในปี 2557 คณะทำงานฯจึงได้มีมติขยายผลไปยังการจัดการเซรุ่มแก้พิษงู ภายใต้หลักการสำรองตามความเหมาะสมและจำเป็น เนื่องจากกระจายของงูในแต่ละภาคมีความหลากหลายแตกต่างกัน ทำให้สามารถลดงบประมาณในการจัดหาเซรุ่มแก้พิษงูในระดับประเทศ แต่เพิ่มการเข้าถึงเซรุ่มและการช่วยชีวิตผู้ได้รับพิษให้รอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยชีวิตให้รอดพ้นจากพิษต่างๆเหล่านี้ กว่า 5,000รายแล้ว
“หลายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรับสารพิษ ผลจากความร่วมมือดังกล่าว มีการจัดหายาต้านพิษให้กับ รพ.เพื่อใช้รักษา และทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและกลับมาเป็นปกติได้ อย่างกรณีที่เด็กๆ ในโรงเรียน อ.อุ้มผาง จ.ตาก ที่ตรวจพบสารตะกั่วในเลือดต้องได้รับยา succimer ในการรักษา ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มยาต้านพิษที่ สปสช.กำหนดไว้ในการดำเนินการเพื่อการเข้าถึง ส่งผลให้เด็กๆ เหล่านี้รอดพ้นจากภาวะพัฒนาการช้าได้ หรือการส่งยา Botulinem antitoxin ให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดห่างไกล อย่างเชียงใหม่ นครศรีธรรมราช หรือชัยภูมิ โดยจากความร่วมมือของทุกฝ่ายทำให้ผู้ป่วยได้รับพิษจากหน่อไม้ปี้บสามารถได้รับยาภายใน 24 ชม. และหายเป็นปกติได้ทั้งหมด ยังไม่นับกรณีอื่นอีกมาก สิ่งเหล่านี้เป็นมูลค่าที่นับไม่ได้” ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าว.
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า การคุ้มครองด้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหนึ่งในภารกิจของบอร์ด สปสช. โดยเฉพาะกลุ่มยาที่มีปัญหาการเข้าถึง ยากำพร้า หรือยาที่มีอัตราการใช้ต่ำ แต่จำเป็นต้องใช้ หาซื้อไม่ได้ตามท้องตลาด มีราคาแพงมาก ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มยาต้านพิษ เช่น พิษจากโลหะหนัก และพิษเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินั่ม จากหน่อไม้ปี๊บ และเซรุ่มแก้พิษงู เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยา และหน่วยบริการไม่ต้องแบกรับภาระบอร์ดสปสช.จึงได้จัดงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อใช้สำหรับจัดหายาดังกล่าว โดยมี “คณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและมีปัญหาในการเข้าถึงของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”คัดเลือกยา สำหรับคณะอนุฯ ประกอบด้วย อย. กรมควบคุมโรค สธ. สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย มีศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี ศูนย์พิษวิทยา รพ.ศิริราช รวมทั้งสภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรม (อภ.) และเภสัชกรรมทหาร ร่วมกันออกแบบและดำเนินการ ในช่วงแรก สปสช.ได้เสนอขออนุมัติต่อบอร์ด สปสช.ใช้เงินที่ประหยัดได้จากการประมูลยาบัญชี จ.(2)จำนวน 5 ล้านบาทมาดำเนินการเมื่อปีงบประมาณ 2553 และขยายครอบคลุมกลุ่มเซรุ่มแก้พิษงู เพื่อเพิ่มโอกาสการช่วยชีวิตผู้ป่วย
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวต่อว่า นวัตกรรมที่โดดเด่นคือการเข้าถึงข้อมูลแหล่งสำรองยาให้กับผู้ป่วยได้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์ มาช่วยออกแบบและจัดทำข้อมูลการสำรองยาต้านพิษและเซรุ่มของหน่วยบริการแต่ละระดับ แต่มีระบบการส่งยาที่รวดเร็ว ถือเป็นความสำเร็จภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน และเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในการจัดการยากำพร้าอย่างเป็นระบบ หน่วยผลิตยาในประเทศได้แสดงบทบาทในการสร้างความมั่นคง เช่น การผลิตยาต้านพิษขึ้นใช้เองหลายรายการ โดยความร่วมมือของสภากาชาดไทย เช่น Sodium nitrite, Sodium. Thiosulfate, Methylene blue สำหรับยาที่ผลิตเองไม่ได้ อภ.ก็ทำหน้าที่จัดหา พร้อมทั้งจัดระบบการกระจายยาให้หน่วยบริการทั้งประเทศ โดยมีศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี และ รพ.ศิริราช และศูนย์รักษาพิษจากสัตว์ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแนะนำการเลือกใช้ยาต้านพิษ พร้อมทั้งติดตามประเมินผลให้การรักษาผู้ป่วยหลังจากได้รับยาแล้ว
ด้าน ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จากผลดำเนินงานที่ผ่านมา ช่วยผู้ป่วยที่รับสารพิษรอดชีวิตจากการเข้าถึงยาเพิ่มขึ้นจาก 49 รายในปี 2554 เป็น 466 รายในปี 2557 คณะทำงานฯจึงได้มีมติขยายผลไปยังการจัดการเซรุ่มแก้พิษงู ภายใต้หลักการสำรองตามความเหมาะสมและจำเป็น เนื่องจากกระจายของงูในแต่ละภาคมีความหลากหลายแตกต่างกัน ทำให้สามารถลดงบประมาณในการจัดหาเซรุ่มแก้พิษงูในระดับประเทศ แต่เพิ่มการเข้าถึงเซรุ่มและการช่วยชีวิตผู้ได้รับพิษให้รอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยชีวิตให้รอดพ้นจากพิษต่างๆเหล่านี้ กว่า 5,000รายแล้ว
“หลายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรับสารพิษ ผลจากความร่วมมือดังกล่าว มีการจัดหายาต้านพิษให้กับ รพ.เพื่อใช้รักษา และทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและกลับมาเป็นปกติได้ อย่างกรณีที่เด็กๆ ในโรงเรียน อ.อุ้มผาง จ.ตาก ที่ตรวจพบสารตะกั่วในเลือดต้องได้รับยา succimer ในการรักษา ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มยาต้านพิษที่ สปสช.กำหนดไว้ในการดำเนินการเพื่อการเข้าถึง ส่งผลให้เด็กๆ เหล่านี้รอดพ้นจากภาวะพัฒนาการช้าได้ หรือการส่งยา Botulinem antitoxin ให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดห่างไกล อย่างเชียงใหม่ นครศรีธรรมราช หรือชัยภูมิ โดยจากความร่วมมือของทุกฝ่ายทำให้ผู้ป่วยได้รับพิษจากหน่อไม้ปี้บสามารถได้รับยาภายใน 24 ชม. และหายเป็นปกติได้ทั้งหมด ยังไม่นับกรณีอื่นอีกมาก สิ่งเหล่านี้เป็นมูลค่าที่นับไม่ได้” ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าว.