สธ.เตือนอีก ต้ม “หน่อไม้ต้มอัดปี๊บ” ให้สุกนาน 15 นาที กำจัดเชื้อคลอสทรีเดียม โบทูลินัม ชี้เสี่ยงกล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพาต หยุดหายใจ ย้ำกินหน่อไม้แล้วมีอาการผิดปกติ ตาพร่ามัว ลิ้นแข็ง ชาตามมือ ให้รีบพบแพทย์
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เชื้อคลอสทรีเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) พบทั่วไปในธรรมชาติ พืชผักที่ปลูกในดิน โดยเชื้อทนความแห้งแล้งได้ดี และปะปนกับอาหารแห้ง เช่น เครื่องเทศแป้ง เป็นต้น เชื้อโรคจะปล่อยสารพิษโบทูลินัมที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โรคพิษโบทูลิซึมพบได้ประปรายทั่วโลก สำหรับประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บที่ไม่ได้ต้ม หรือหน่อไม้ต้มบรรจุถุงพลาสติกที่ชาวบ้านเรียกว่า หน่อไม้ซิ่ง มีรายงานครั้งแรกปี 2541 ที่จังหวัดน่าน ผู้ป่วย 13 ราย เสียชีวิต 2 ราย พบประปรายบางปี โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง จึงขอย้ำเตือนประชาชนที่นิยมบริโภคหน่อไม้ต้มอัดปี๊บหรือบรรจุในถุงพลาสติก โดยเฉพาะเมนูที่ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือใช้ตำ เช่น ใส่ผสมรวมในส้มตำ ซุปหน่อไม้ เป็นต้น ก่อนนำมาบริโภคทุกครั้งขอให้นำมาต้มซ้ำในน้ำให้เดือดนาน 15 นาที เพื่อให้ความร้อนทำลายเชื้อโรคทุกชนิดที่ปนเปื้อน หากพบปี๊บที่บรรจุหน่อไม้บวมไม่ควรซื้อมาบริโภค ในกรณีที่พบมีกลิ่นหรือสีผิดปกติ ไม่ควรนำมารับประทานหรือลองชิม ขอให้นำไปทำลายทิ้งโดยการฝังดิน
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้อคลอสทรีเดียมโบทูลินัม มีทั้งหมด 4 ชนิด คือ (1. ชนิดเอ มีพิษรุนแรง อัตราการตายสูงถึงร้อยละ 60-70 (2. ชนิดบี ทนความร้อนสูง มีชีวิตอยู่ในอาหารนานกว่าชนิดอื่น อัตราการตายร้อยละ 25 (3. ชนิดอี พบในอาหารทะเล (4. ชนิดเอฟ พบในอาหารทะเล มีอัตราการตายต่ำ อย่างไรก็ดี สารพิษเหล่านี้ทำลายได้ง่ายโดยการต้มให้เดือดนาน 15 นาที หากประชาชนที่รับประทานอาหารที่สงสัยมีการปนเปื้อนสารพิษโบทูลินัม และมีอาการผิดปกติ เช่น อาการอ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัว หนังตาตก ปากแห้งกลืนไม่ได้ หรือพูดลำบาก ซึ่งอาจมีอาการท้องเสียท้องผูก หรือท้องบวมโตได้ ต่อมากล้ามเนื้อจะเกิดอัมพาต เริ่มจากใบหน้าลงไปไหล่ แขนส่วนบนและล่าง ต้นขา และน่อง ตามลำดับ ขอให้บอกญาติและรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ยาต้านพิษ หรือแอนติท็อกซิน (antitoxin) และดูแลระบบการหายใจอย่างใกล้ชิด ป้องกันภาวะหายใจล้มเหลว ขณะเดียวกันจะเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนโรค เพื่อเร่งหาสาเหตุและควบคุมการระบาด โดยเฉพาะอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เชื้อคลอสทรีเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) พบทั่วไปในธรรมชาติ พืชผักที่ปลูกในดิน โดยเชื้อทนความแห้งแล้งได้ดี และปะปนกับอาหารแห้ง เช่น เครื่องเทศแป้ง เป็นต้น เชื้อโรคจะปล่อยสารพิษโบทูลินัมที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โรคพิษโบทูลิซึมพบได้ประปรายทั่วโลก สำหรับประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บที่ไม่ได้ต้ม หรือหน่อไม้ต้มบรรจุถุงพลาสติกที่ชาวบ้านเรียกว่า หน่อไม้ซิ่ง มีรายงานครั้งแรกปี 2541 ที่จังหวัดน่าน ผู้ป่วย 13 ราย เสียชีวิต 2 ราย พบประปรายบางปี โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง จึงขอย้ำเตือนประชาชนที่นิยมบริโภคหน่อไม้ต้มอัดปี๊บหรือบรรจุในถุงพลาสติก โดยเฉพาะเมนูที่ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือใช้ตำ เช่น ใส่ผสมรวมในส้มตำ ซุปหน่อไม้ เป็นต้น ก่อนนำมาบริโภคทุกครั้งขอให้นำมาต้มซ้ำในน้ำให้เดือดนาน 15 นาที เพื่อให้ความร้อนทำลายเชื้อโรคทุกชนิดที่ปนเปื้อน หากพบปี๊บที่บรรจุหน่อไม้บวมไม่ควรซื้อมาบริโภค ในกรณีที่พบมีกลิ่นหรือสีผิดปกติ ไม่ควรนำมารับประทานหรือลองชิม ขอให้นำไปทำลายทิ้งโดยการฝังดิน
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้อคลอสทรีเดียมโบทูลินัม มีทั้งหมด 4 ชนิด คือ (1. ชนิดเอ มีพิษรุนแรง อัตราการตายสูงถึงร้อยละ 60-70 (2. ชนิดบี ทนความร้อนสูง มีชีวิตอยู่ในอาหารนานกว่าชนิดอื่น อัตราการตายร้อยละ 25 (3. ชนิดอี พบในอาหารทะเล (4. ชนิดเอฟ พบในอาหารทะเล มีอัตราการตายต่ำ อย่างไรก็ดี สารพิษเหล่านี้ทำลายได้ง่ายโดยการต้มให้เดือดนาน 15 นาที หากประชาชนที่รับประทานอาหารที่สงสัยมีการปนเปื้อนสารพิษโบทูลินัม และมีอาการผิดปกติ เช่น อาการอ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัว หนังตาตก ปากแห้งกลืนไม่ได้ หรือพูดลำบาก ซึ่งอาจมีอาการท้องเสียท้องผูก หรือท้องบวมโตได้ ต่อมากล้ามเนื้อจะเกิดอัมพาต เริ่มจากใบหน้าลงไปไหล่ แขนส่วนบนและล่าง ต้นขา และน่อง ตามลำดับ ขอให้บอกญาติและรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ยาต้านพิษ หรือแอนติท็อกซิน (antitoxin) และดูแลระบบการหายใจอย่างใกล้ชิด ป้องกันภาวะหายใจล้มเหลว ขณะเดียวกันจะเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนโรค เพื่อเร่งหาสาเหตุและควบคุมการระบาด โดยเฉพาะอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่