ASTV ผู้จัดการรายวัน – นักวิเคราะห์คาดหลายปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจยังคงกดดันบรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/58 ทิสโก้คาดหลุดแนวรับ 1,500 จุด แนะนำเข้าสะสมรายตัวบริเวณแนวรับช่วง 1400-1480 จุด รวมถึงติดตามการประชุม FED วันที่ 17-18 มี.ค.นี้ ว่าจะมีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ เพราะจะเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะต่อไป
สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด คาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/58 ว่ายังคงมี มีโอกาสหลุดระดับ 1500 จุดสูง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะแรงส่งด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่น้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่เริ่มลดลง หลังการเดินหน้าประเทศมีความล่าช้า-ถูกเลื่อนเวลาออกไป อาทิ การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21, การประมูล 4G และการเบิกจ่ายงบประมาณที่ยังต่ำกว่าเป้าหมายมาก โดยช่วง 5 เดือนแรกของงบประมาณปี 2015 หรือ ช่วงเดือน ต.ค. 2014 – ก.พ. 2015 มีการเบิกจ่ายงบลงทุนไปไม่ถึง 18% เทียบกับเป้าสำหรับช่วง 6 เดือนแรกของรัฐบาลที่วางไว้ที่ 30% สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องใช้ความระมัดระวังในทางปฏิบัติงานมากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการทุจริตและการข้องเกี่ยวกันทางการเมือง ดังนั้น สำจักวิจัยทิสโก้ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ที่ 4.5% เน้นจับตาการประกาศตัวเลข GDP ของไทยไตรมาส 1/2015 ในวันที่ 18 พ.ค. นี้
อย่างไรก็ตาม สำนักวิจัยมองกรอบการปรับฐานลงของดัชนีตลาดหุ้นไทย รอบนี้อยู่บริเวณ 1400-1480 จุด ซึ่งเป็นบริเวณน่าทยอยสะสม โดยแนะนำให้เลือกลงทุนเป็นรายตัว (Selective Buy) ยังเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีสำหรับไตรมาส 2/2015 เราแนะนำหาจังหวะสะสมช่วงตลาดอ่อนตัวในประเด็นหุ้นน่าลงทุนดังต่อไปนี้ (1) หุ้นที่มีแนวโน้มที่ดีทั้งในแง่ของการเติบโตและในแง่ของ upside ที่ยังน่าสนใจ คือ AP (มูลค่าเหมาะสม 7.7 บาท), ASP (5.5 บาท), JAS (9.8 บาท), MAJOR (35.5 บาท), MTLS (25 บาท), SEAFCO (15 บาท), STPI (24.5 บาท) และ (2) หุ้นที่มีอำนาจการผูกขาด และได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลัง แนะนำ BDMS (22 บาท), CPN (52 บาท), HMPRO (11 บาท), TRUE (16.5 บาท), TUF (24 บาท)
สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง ต้องการเทรดดิ้งสั้นๆ หลัง กนง.ลดดอกเบี้ยในขารีบาวด์รอบนี้ เราแนะนำ 2 ประเด็นการลงทุน คือ (1) หุ้นได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยลดลง อาทิ หุ้นอสังหาฯ แนะนำ ANAN, AP เงินทุน-ลีสซิ่ง MTLS, SAWAD, TCAP หุ้นปันผล AIT, ASP, BJCHI, KKP, MAJOR (2) หุ้นได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า - รับเหมาต่างประเทศ STPI, BJCHI อาหาร MALEE, TUF อื่นๆ SITHAI อย่างไรก็ดี เรามอง SET รีบาวด์รอบนี้ไม่น่าเกินระดับ 1570 จุด และต้องติดตามการประชุม FED วันที่ 17-18 มี.ค.นี้ ว่าจะมีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ เพราะจะเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะต่อไป
พร้อมกันนี้นักลงทุนควรจับตาผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FOMC ซึ่ง Deutsche Bank (DB) ซึ่งเป็นพันธมิตรงานด้านวิจัยของทิสโก้ ยังคงมุมมองเดิมตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า FED จะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 16-17 มิ.ย. นี้ โดยคาดว่าจะไม่มีคำว่า “patient” ในการประชุม FED วันที่ 17-18 มี.ค. (การประชุมครั้งนี้ ทางประธาน FED จะมีเปิดโอกาสให้สื่อสักถาม) จากการศึกษาข้อมูลในอดีตรอบกว่า 40 ปีที่ผ่านมา การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ มักทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยจะเกิดความผันผวน 2-3 เดือนล่วงหน้าก่อน FED ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นครั้งแรก และยังจะมีความผันผวนต่อเนื่องอีก 3-4 เดือนถัดไป หลัง FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกไปแล้ว
สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด คาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/58 ว่ายังคงมี มีโอกาสหลุดระดับ 1500 จุดสูง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะแรงส่งด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่น้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่เริ่มลดลง หลังการเดินหน้าประเทศมีความล่าช้า-ถูกเลื่อนเวลาออกไป อาทิ การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21, การประมูล 4G และการเบิกจ่ายงบประมาณที่ยังต่ำกว่าเป้าหมายมาก โดยช่วง 5 เดือนแรกของงบประมาณปี 2015 หรือ ช่วงเดือน ต.ค. 2014 – ก.พ. 2015 มีการเบิกจ่ายงบลงทุนไปไม่ถึง 18% เทียบกับเป้าสำหรับช่วง 6 เดือนแรกของรัฐบาลที่วางไว้ที่ 30% สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องใช้ความระมัดระวังในทางปฏิบัติงานมากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการทุจริตและการข้องเกี่ยวกันทางการเมือง ดังนั้น สำจักวิจัยทิสโก้ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ที่ 4.5% เน้นจับตาการประกาศตัวเลข GDP ของไทยไตรมาส 1/2015 ในวันที่ 18 พ.ค. นี้
อย่างไรก็ตาม สำนักวิจัยมองกรอบการปรับฐานลงของดัชนีตลาดหุ้นไทย รอบนี้อยู่บริเวณ 1400-1480 จุด ซึ่งเป็นบริเวณน่าทยอยสะสม โดยแนะนำให้เลือกลงทุนเป็นรายตัว (Selective Buy) ยังเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีสำหรับไตรมาส 2/2015 เราแนะนำหาจังหวะสะสมช่วงตลาดอ่อนตัวในประเด็นหุ้นน่าลงทุนดังต่อไปนี้ (1) หุ้นที่มีแนวโน้มที่ดีทั้งในแง่ของการเติบโตและในแง่ของ upside ที่ยังน่าสนใจ คือ AP (มูลค่าเหมาะสม 7.7 บาท), ASP (5.5 บาท), JAS (9.8 บาท), MAJOR (35.5 บาท), MTLS (25 บาท), SEAFCO (15 บาท), STPI (24.5 บาท) และ (2) หุ้นที่มีอำนาจการผูกขาด และได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลัง แนะนำ BDMS (22 บาท), CPN (52 บาท), HMPRO (11 บาท), TRUE (16.5 บาท), TUF (24 บาท)
สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง ต้องการเทรดดิ้งสั้นๆ หลัง กนง.ลดดอกเบี้ยในขารีบาวด์รอบนี้ เราแนะนำ 2 ประเด็นการลงทุน คือ (1) หุ้นได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยลดลง อาทิ หุ้นอสังหาฯ แนะนำ ANAN, AP เงินทุน-ลีสซิ่ง MTLS, SAWAD, TCAP หุ้นปันผล AIT, ASP, BJCHI, KKP, MAJOR (2) หุ้นได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า - รับเหมาต่างประเทศ STPI, BJCHI อาหาร MALEE, TUF อื่นๆ SITHAI อย่างไรก็ดี เรามอง SET รีบาวด์รอบนี้ไม่น่าเกินระดับ 1570 จุด และต้องติดตามการประชุม FED วันที่ 17-18 มี.ค.นี้ ว่าจะมีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ เพราะจะเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะต่อไป
พร้อมกันนี้นักลงทุนควรจับตาผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FOMC ซึ่ง Deutsche Bank (DB) ซึ่งเป็นพันธมิตรงานด้านวิจัยของทิสโก้ ยังคงมุมมองเดิมตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า FED จะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 16-17 มิ.ย. นี้ โดยคาดว่าจะไม่มีคำว่า “patient” ในการประชุม FED วันที่ 17-18 มี.ค. (การประชุมครั้งนี้ ทางประธาน FED จะมีเปิดโอกาสให้สื่อสักถาม) จากการศึกษาข้อมูลในอดีตรอบกว่า 40 ปีที่ผ่านมา การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ มักทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยจะเกิดความผันผวน 2-3 เดือนล่วงหน้าก่อน FED ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นครั้งแรก และยังจะมีความผันผวนต่อเนื่องอีก 3-4 เดือนถัดไป หลัง FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกไปแล้ว