นักวิเคราะห์คาดหลายปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจยังคงกดดันบรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/58 ทิสโก้ คาดหลุดแนวรับ 1,500 จุด แนะนำเข้าสะสมรายตัวบริเวณแนวรับช่วง 1,400-1,480 จุด รวมถึงติดตามการประชุม FED วันที่ 17-18 มี.ค.นี้ ว่าจะมีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ เพราะจะเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะต่อไป
สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด คาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/58 ว่า ยังคงมี มีโอกาสหลุดระดับ 1,500 จุดสูง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะแรงส่งด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่น้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่เริ่มลดลง หลังการเดินหน้าประเทศมีความล่าช้า ถูกเลื่อนเวลาออกไป เช่น การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 การประมูล 4G และการเบิกจ่ายงบประมาณที่ยังต่ำกว่าเป้าหมายมาก โดยช่วง 5 เดือนแรกของงบประมาณปี 2015 หรือช่วงเดือน ต.ค.2014-ก.พ.2015 มีการเบิกจ่ายงบลงทุนไปไม่ถึง 18% เทียบกับเป้าสำหรับช่วง 6 เดือนแรกของรัฐบาลที่วางไว้ที่ 30% สาเหตุหลักๆ เกิดจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องใช้ความระมัดระวังในทางปฏิบัติงานมากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการทุจริต และการข้องเกี่ยวกันทางการเมือง ดังนั้น สำจักวิจัยทิสโก้ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ที่ 4.5% เน้นจับตาการประกาศตัวเลข GDP ของไทยไตรมาส 1/2015 ในวันที่ 18 พ.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม สำนักวิจัยมองกรอบการปรับฐานลงของดัชนีตลาดหุ้นไทย รอบนี้อยู่บริเวณ 1,400-1,480 จุด ซึ่งเป็นบริเวณน่าทยอยสะสม โดยแนะนำให้เลือกลงทุนเป็นรายตัว (Selective Buy) ยังเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีสำหรับไตรมาส 2/2015 เราแนะนำหาจังหวะสะสมช่วงตลาดอ่อนตัวในประเด็นหุ้นน่าลงทุนดังต่อไปนี้ (1) หุ้นที่มีแนวโน้มที่ดีทั้งในแง่ของการเติบโต และในแง่ของ upside ที่ยังน่าสนใจ คือ AP (มูลค่าเหมาะสม 7.7 บาท), ASP (5.5 บาท), JAS (9.8 บาท), MAJOR (35.5 บาท), MTLS (25 บาท), SEAFCO (15 บาท), STPI (24.5 บาท) และ (2) หุ้นที่มีอำนาจการผูกขาด และได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลัง แนะนำ BDMS (22 บาท), CPN (52 บาท), HMPRO (11 บาท), TRUE (16.5 บาท), TUF (24 บาท)
สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงต้องการเทรดดิ้งสั้นๆ หลัง กนง.ลดดอกเบี้ยในขารีบาวนด์รอบนี้ เราแนะนำ 2 ประเด็นการลงทุน คือ (1) หุ้นได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยลดลง เช่น หุ้นอสังหาฯ แนะนำ ANAN, AP เงินทุน-ลีสซิ่ง MTLS, SAWAD, TCAP หุ้นปันผล AIT, ASP, BJCHI, KKP, MAJOR (2) หุ้นได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า - รับเหมาต่างประเทศ STPI, BJCHI อาหาร MALEE, TUF อื่นๆ SITHAI อย่างไรก็ดี เรามอง SET รีบาวด์รอบนี้ไม่น่าเกินระดับ 1570 จุด และต้องติดตามการประชุม FED วันที่ 17-18 มี.ค.นี้ ว่าจะมีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ เพราะจะเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะต่อไป
พร้อมกันนี้ นักลงทุนควรจับตาผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC ซึ่ง Deutsche Bank (DB) ซึ่งเป็นพันธมิตรงานด้านวิจัยของทิสโก้ ยังคงมุมมองเดิมตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า FED จะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 16-17 มิ.ย.นี้ โดยคาดว่าจะไม่มีคำว่า “patient” ในการประชุม FED วันที่ 17-18 มี.ค. (การประชุมครั้งนี้ทางประธาน FED จะมีเปิดโอกาสให้สื่อสักถาม) จากการศึกษาข้อมูลในอดีตรอบกว่า 40 ปีที่ผ่านมา การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ มักทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยจะเกิดความผันผวน 2-3 เดือนล่วงหน้าก่อน FED ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นครั้งแรก และยังจะมีความผันผวนต่อเนื่องอีก 3-4 เดือนถัดไป หลัง FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกไปแล้ว
สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด คาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/58 ว่า ยังคงมี มีโอกาสหลุดระดับ 1,500 จุดสูง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะแรงส่งด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่น้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่เริ่มลดลง หลังการเดินหน้าประเทศมีความล่าช้า ถูกเลื่อนเวลาออกไป เช่น การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 การประมูล 4G และการเบิกจ่ายงบประมาณที่ยังต่ำกว่าเป้าหมายมาก โดยช่วง 5 เดือนแรกของงบประมาณปี 2015 หรือช่วงเดือน ต.ค.2014-ก.พ.2015 มีการเบิกจ่ายงบลงทุนไปไม่ถึง 18% เทียบกับเป้าสำหรับช่วง 6 เดือนแรกของรัฐบาลที่วางไว้ที่ 30% สาเหตุหลักๆ เกิดจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องใช้ความระมัดระวังในทางปฏิบัติงานมากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการทุจริต และการข้องเกี่ยวกันทางการเมือง ดังนั้น สำจักวิจัยทิสโก้ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ที่ 4.5% เน้นจับตาการประกาศตัวเลข GDP ของไทยไตรมาส 1/2015 ในวันที่ 18 พ.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม สำนักวิจัยมองกรอบการปรับฐานลงของดัชนีตลาดหุ้นไทย รอบนี้อยู่บริเวณ 1,400-1,480 จุด ซึ่งเป็นบริเวณน่าทยอยสะสม โดยแนะนำให้เลือกลงทุนเป็นรายตัว (Selective Buy) ยังเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีสำหรับไตรมาส 2/2015 เราแนะนำหาจังหวะสะสมช่วงตลาดอ่อนตัวในประเด็นหุ้นน่าลงทุนดังต่อไปนี้ (1) หุ้นที่มีแนวโน้มที่ดีทั้งในแง่ของการเติบโต และในแง่ของ upside ที่ยังน่าสนใจ คือ AP (มูลค่าเหมาะสม 7.7 บาท), ASP (5.5 บาท), JAS (9.8 บาท), MAJOR (35.5 บาท), MTLS (25 บาท), SEAFCO (15 บาท), STPI (24.5 บาท) และ (2) หุ้นที่มีอำนาจการผูกขาด และได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลัง แนะนำ BDMS (22 บาท), CPN (52 บาท), HMPRO (11 บาท), TRUE (16.5 บาท), TUF (24 บาท)
สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงต้องการเทรดดิ้งสั้นๆ หลัง กนง.ลดดอกเบี้ยในขารีบาวนด์รอบนี้ เราแนะนำ 2 ประเด็นการลงทุน คือ (1) หุ้นได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยลดลง เช่น หุ้นอสังหาฯ แนะนำ ANAN, AP เงินทุน-ลีสซิ่ง MTLS, SAWAD, TCAP หุ้นปันผล AIT, ASP, BJCHI, KKP, MAJOR (2) หุ้นได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า - รับเหมาต่างประเทศ STPI, BJCHI อาหาร MALEE, TUF อื่นๆ SITHAI อย่างไรก็ดี เรามอง SET รีบาวด์รอบนี้ไม่น่าเกินระดับ 1570 จุด และต้องติดตามการประชุม FED วันที่ 17-18 มี.ค.นี้ ว่าจะมีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ เพราะจะเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะต่อไป
พร้อมกันนี้ นักลงทุนควรจับตาผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC ซึ่ง Deutsche Bank (DB) ซึ่งเป็นพันธมิตรงานด้านวิจัยของทิสโก้ ยังคงมุมมองเดิมตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า FED จะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 16-17 มิ.ย.นี้ โดยคาดว่าจะไม่มีคำว่า “patient” ในการประชุม FED วันที่ 17-18 มี.ค. (การประชุมครั้งนี้ทางประธาน FED จะมีเปิดโอกาสให้สื่อสักถาม) จากการศึกษาข้อมูลในอดีตรอบกว่า 40 ปีที่ผ่านมา การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ มักทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยจะเกิดความผันผวน 2-3 เดือนล่วงหน้าก่อน FED ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นครั้งแรก และยังจะมีความผันผวนต่อเนื่องอีก 3-4 เดือนถัดไป หลัง FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกไปแล้ว