นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงต่อที่ประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ถึงกรณีมีข้อวิพากษ์วิจารณ์การตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ เป็นการสืบทอดอำนาจ ว่า ขอยืนยันว่าไม่ใช่เป็นการสืบทอดอำนาจ แต่เป็นการต่องานปฏิรูปเฉพาะที่เป็นภาคสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งเป็นงานที่กระทำได้ยากในระบบการเมืองปกติ เพราะทราบดีว่า นโยบายที่มีความสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลายครั้ง ไม่สามารถที่จะผ่านระบบรัฐสภาในสถานการณ์ปกติได้ เพราะจะต้องอาศัยเสียงจากนักการเมือง ก็จะมีประเด็นที่ต้องระวัง เรื่องคะแนนเสียง หรือคะแนนนิยม ที่จะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป จึงเป็นการยากที่จะทำให้เกิดการปฏิรูปได้ เช่น เรื่องภาษีมรดก ที่รัฐบาลชุดที่แล้วพยายามจะดำเนินการ แต่ถ้าคำนึงถึงคะแนนนิยมในทางการเมืองจากการเลือกตั้ง จากปกติธรรมดายากที่จะผ่านได้ และ ที่กำหนดให้มี สปช.ร่วมด้วย 60 คน ก็เพื่อให้มีการต่อเนื่อง เพราะทิศทางการปฏิรูปที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ เป็นแนวคิดที่มาจาก คณะกรรมาธิการ18 คณะของสปช. และสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นอีก 36 วาระการปฏิรูป กับ7 วาระการพัฒนา ซึ่งได้สรุปโดยสังเขป นำมาอยู่ในรัฐธรรมนูญ 21 มาตรา ขอย้ำว่ากลไกในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ จะดำเนินไปเป็นเพียงเนื้อหาที่ระบุไว้ในมาตรา ว่าด้วยการปฏิรูปเท่านั้น ไม่ใช่นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินตามปกติ
นายคำนูณ ยังกล่าวถึงตารางเวลาการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ว่า หลังจากร่างรัฐธรรมนูญประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว สนช.จะต้องทำหน้าที่พิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 12 ฉบับ โดย 3 ฉบับ ที่เป็นแก้วสามประการในการจัดการเลือกตั้ง คือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะกรรมการเลือกตั้ง ที่สนช.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับร่าง
ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่เหลืออีก 9 ฉบับ สนช.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน หลังจากได้รับร่าง นอกจากนี้ ยังมีพ.ร.บ.ที่มีความจำเป็นต้องให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ อีกจำนวนหนึ่ง จะส่งให้ สนช.พิจารณาให้แล้วเสร็จ ตามบทเฉพาะกาลภายใน 120 วัน นับแต่วันได้รับร่างด้วย เท่าที่สำรวจมีประมาณ 21 ฉบับ ถือว่าเป็นภารกิจที่หนักมากของ สนช. จึงเป็นเหตุผลที่ สนช. จะยังคงทำหน้าที่ต่อไป หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้ โดยเบ็ดเสร็จประมาณ 240 วัน หรือ 8 เดือน ขณะที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ และ สปช. จะไปตั้งแต่วันประชุมรัฐสภานัดแรก โดยกำหนด 210 วัน หรือ 7 เดือน
"การอยู่ต่อเช่นนั้น ไม่อาจจะเรียกว่าเป็นการสืบทอดอำนาจได้ แต่เป็นการอยู่ต่อ เพื่อทำงานหนักอย่างยิ่ง เพราะปกติทุกวันนี้ ก็ทำงานหนักมากอยู่แล้ว แต่หลังมีรัฐธรรมนูญใหม่ จะมีภาระหนักขึ้น ต้องพิจารณากฎหมายถึง 27 ฉบับ เพราะเรามีประวัติจากรัฐธรรมนูญปี 40 กับ ปี 50 ว่าถ้าปล่อยให้พิจารณาเฉพาะกฎหมายลูกที่สำคัญจริงๆ เพียง 3 ฉบับ แล้วไปบัญญัติว่า กฎหมายอื่นที่จำเป็นให้ทำภายใน1 ปี 2 ปี จะเห็นว่า ไม่เคยทำได้เสร็จตามกำหนด บางฉบับเขียนให้มีบางองค์กรเพื่อช่วยเหลือการปราบปรามคอร์รัปชัน เช่น รัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 270 บอกให้มีผู้ไต่สวนอิสระ จนรัฐธรรมนูญเลิกใช้ไป กฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยังไม่สามารถประกาศใช้ได้ จึงเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่ต้องการให้หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้ว กลไกลต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นด้วย พวกเราจึงจำเป็นต้องเร่งทำงานแข่งกับเวลา โดยคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้ตั้งอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ลูก และที่จำเป็นขึ้นมา 11 คณะ แต่ไม่สามารถพิจารณาให้เสร็จโดยเร็วได้เพราะร่างรัฐธรรมนูญ ยังไม่นิ่ง ยังมีโอกาสได้รับการแก้ไข จนกว่าจะถึงวันที่ 23 ก.ค. 58 และจะส่งร่างต่างๆ เหล่านี้ให้พิจารณาได้ก็ต่อเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วเท่านั้น จึงยืนยันว่า เป็นการอยู่เพื่อทำงาน และให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญบรรลุผล" นายคำนูณ กล่าว
ทั้งนี้ สมาชิก สนช.ได้แสดงความเห็นในบางประเด็น อาทิ นายกิตติ วะสีนนท์ สนช. ขอความกระจ่างแนวความคิดเรื่องการลงประชามติ เพราะ รัฐธรรมนูญปี 50 ก็ทำ และจะช่วยให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นที่รับรู้มากขึ้น และมีพลังสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิก สนช. แสดงความเห็นว่า เห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศ เพราะประเทศนี้วิกฤตจากปัญหา จากการกระทำของนักการเมือง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่อยากให้คิดถึงคือ การปฏิรูปนักการเมืองด้วย และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ออกมาแล้วไม่มีผลบังคับใช้ เช่น การถอดถอนนักการเมือง ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มอบอำนาจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปถอดถอนนักการเมือง พร้อมกับการเลือกตั้ง ส.ส. การทำเช่นนี้ จะไม่สามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้เลย แม้แต่คนเดียว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะเชื่อว่า ประชาชนไม่มีความเข้าใจเรื่องการถอดถอน ว่าเป็นระบวนการทางการเมืองที่จะป้องกันผู้มีมลทินสามารถเข้ามาใช้อำนาจรัฐได้ ไม่ใช่เป็นการนำคนผิดมาลงโทษ ด้วยพฤติกรรมของผู้ถูกถอดถอน เพียง ‘ส่อว่า’นั้น ก็ถูกถอดถอนเสียแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้นั้นมาสร้างความเสียหายแก่รัฐ และเชื่อว่าเมื่อนำไปให้ประชาชนถอดถอนแล้ว ประชาชนไม่ได้มีการติดตามพฤติกรรมตลอด และระยะเวลาที่ถูกถอดถอน กับระยะเวลาผู้ไปใช้สิทธิ์ มีระยะเวลานานเกินไป ทำให้ประชาชนลืมพฤติกรรมเหล่านั้น
" อีกทั้งวัฒนธรรมของคนไทยในการพิจารณาลงโทษใคร หากการกระทำของบุคคลนั้นไม่กระทบกับผลประโยชน์ของตนเอง ก็จะพยายามหลีกเลี่ยง จนเกิดคำว่า “ปล่อยมันไป” โดยไม่คิดว่าต่อไปคนเหล่านั้นจะไปสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างไร การมอบอาจการถอดถอนให้กับประชาชน จะไม่มีผลในทางกฎหมาย แม้แต่รัฐธรรมนูญ 50 มอบอำนาจถอดถอนให้กับส.ว. ไปดูประวัติศาสตร์ได้ ไม่เคยถอดถอนใครได้แม้แต่คนเดียว เพราะส.ว.ส่วนใหญ่เห็นว่า พฤติกรรมของคนที่ถูกถอดถอนเป็นเรื่องไกลตัว ผมจึงคิดว่า การที่บัญญัติให้ประชาชนถอดถอน ไม่มีผลในทางปฏิบัติ เสนอว่ากรุณาเอาอำนาจที่มอบให้ประชาชน และส.ว. เอาคืนไปให้ศาลฎีกา ยังคิดว่าจะเกิดผลทางปฏิบัติได้มากกว่า" พล.อ.สมเจตน์ กล่าว
นพ.เจตน์ ศิรธารนนท์ สมาชิกสนช. กล่าวว่า การคาดการณ์ จะอยู่ 240 วัน เป็นเพียงแต่การคาดการณ์ เพราะไม่รู้ว่า ส.ว. ที่มาจากการสรรหา 200 คน จะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามนั้น เช่น ให้เป็นเหมือนปี 50 คือครึ่งหนึ่งจากเลือกตั้ง อีกครึ่งจากสรรหา พบกันครึ่งทาง ถ้าเป็นเช่นนั้น อาจจะไม่ใช่ 240วัน ถ้าเป็นเช่นนั่น มีการเตรียมแผนสำรองไว้หรือไม่
นายคำนูณ ชี้แจงว่า จะรับทุกข้อสังเกตไปประกอบการพิจารณา แต่ยืนยันว่า ที่พิจารณาขณะนี้ เป็นเพียงร่างแรกที่เริ่มเสร็จสมบูรณ์ แต่ก็ได้รับฟังทุกภาคส่วน สมาชิกสนช. สามารถส่งความเห็นมาได้ทุกทาง ส่วนการทำประชามติ หลายฝ่ายเห็นด้วย แต่สถานะทางกฎหมาย ต้องถือว่ายังไม่มีประชามติ หากจะมี ก็ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวก่อน โดยครม.เสนอให้เสร็จก่อน 6 ส.ค. เพราะจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสปช. และนำขึ้นทูลเกล้าก่อน วันที่ 4 ก.ย.58
นายคำนูณ ยังกล่าวถึงตารางเวลาการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ว่า หลังจากร่างรัฐธรรมนูญประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว สนช.จะต้องทำหน้าที่พิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 12 ฉบับ โดย 3 ฉบับ ที่เป็นแก้วสามประการในการจัดการเลือกตั้ง คือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะกรรมการเลือกตั้ง ที่สนช.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับร่าง
ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่เหลืออีก 9 ฉบับ สนช.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน หลังจากได้รับร่าง นอกจากนี้ ยังมีพ.ร.บ.ที่มีความจำเป็นต้องให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ อีกจำนวนหนึ่ง จะส่งให้ สนช.พิจารณาให้แล้วเสร็จ ตามบทเฉพาะกาลภายใน 120 วัน นับแต่วันได้รับร่างด้วย เท่าที่สำรวจมีประมาณ 21 ฉบับ ถือว่าเป็นภารกิจที่หนักมากของ สนช. จึงเป็นเหตุผลที่ สนช. จะยังคงทำหน้าที่ต่อไป หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้ โดยเบ็ดเสร็จประมาณ 240 วัน หรือ 8 เดือน ขณะที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ และ สปช. จะไปตั้งแต่วันประชุมรัฐสภานัดแรก โดยกำหนด 210 วัน หรือ 7 เดือน
"การอยู่ต่อเช่นนั้น ไม่อาจจะเรียกว่าเป็นการสืบทอดอำนาจได้ แต่เป็นการอยู่ต่อ เพื่อทำงานหนักอย่างยิ่ง เพราะปกติทุกวันนี้ ก็ทำงานหนักมากอยู่แล้ว แต่หลังมีรัฐธรรมนูญใหม่ จะมีภาระหนักขึ้น ต้องพิจารณากฎหมายถึง 27 ฉบับ เพราะเรามีประวัติจากรัฐธรรมนูญปี 40 กับ ปี 50 ว่าถ้าปล่อยให้พิจารณาเฉพาะกฎหมายลูกที่สำคัญจริงๆ เพียง 3 ฉบับ แล้วไปบัญญัติว่า กฎหมายอื่นที่จำเป็นให้ทำภายใน1 ปี 2 ปี จะเห็นว่า ไม่เคยทำได้เสร็จตามกำหนด บางฉบับเขียนให้มีบางองค์กรเพื่อช่วยเหลือการปราบปรามคอร์รัปชัน เช่น รัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 270 บอกให้มีผู้ไต่สวนอิสระ จนรัฐธรรมนูญเลิกใช้ไป กฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยังไม่สามารถประกาศใช้ได้ จึงเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่ต้องการให้หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้ว กลไกลต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นด้วย พวกเราจึงจำเป็นต้องเร่งทำงานแข่งกับเวลา โดยคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้ตั้งอนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ลูก และที่จำเป็นขึ้นมา 11 คณะ แต่ไม่สามารถพิจารณาให้เสร็จโดยเร็วได้เพราะร่างรัฐธรรมนูญ ยังไม่นิ่ง ยังมีโอกาสได้รับการแก้ไข จนกว่าจะถึงวันที่ 23 ก.ค. 58 และจะส่งร่างต่างๆ เหล่านี้ให้พิจารณาได้ก็ต่อเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วเท่านั้น จึงยืนยันว่า เป็นการอยู่เพื่อทำงาน และให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญบรรลุผล" นายคำนูณ กล่าว
ทั้งนี้ สมาชิก สนช.ได้แสดงความเห็นในบางประเด็น อาทิ นายกิตติ วะสีนนท์ สนช. ขอความกระจ่างแนวความคิดเรื่องการลงประชามติ เพราะ รัฐธรรมนูญปี 50 ก็ทำ และจะช่วยให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นที่รับรู้มากขึ้น และมีพลังสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิก สนช. แสดงความเห็นว่า เห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศ เพราะประเทศนี้วิกฤตจากปัญหา จากการกระทำของนักการเมือง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่อยากให้คิดถึงคือ การปฏิรูปนักการเมืองด้วย และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ออกมาแล้วไม่มีผลบังคับใช้ เช่น การถอดถอนนักการเมือง ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มอบอำนาจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปถอดถอนนักการเมือง พร้อมกับการเลือกตั้ง ส.ส. การทำเช่นนี้ จะไม่สามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้เลย แม้แต่คนเดียว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะเชื่อว่า ประชาชนไม่มีความเข้าใจเรื่องการถอดถอน ว่าเป็นระบวนการทางการเมืองที่จะป้องกันผู้มีมลทินสามารถเข้ามาใช้อำนาจรัฐได้ ไม่ใช่เป็นการนำคนผิดมาลงโทษ ด้วยพฤติกรรมของผู้ถูกถอดถอน เพียง ‘ส่อว่า’นั้น ก็ถูกถอดถอนเสียแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้นั้นมาสร้างความเสียหายแก่รัฐ และเชื่อว่าเมื่อนำไปให้ประชาชนถอดถอนแล้ว ประชาชนไม่ได้มีการติดตามพฤติกรรมตลอด และระยะเวลาที่ถูกถอดถอน กับระยะเวลาผู้ไปใช้สิทธิ์ มีระยะเวลานานเกินไป ทำให้ประชาชนลืมพฤติกรรมเหล่านั้น
" อีกทั้งวัฒนธรรมของคนไทยในการพิจารณาลงโทษใคร หากการกระทำของบุคคลนั้นไม่กระทบกับผลประโยชน์ของตนเอง ก็จะพยายามหลีกเลี่ยง จนเกิดคำว่า “ปล่อยมันไป” โดยไม่คิดว่าต่อไปคนเหล่านั้นจะไปสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างไร การมอบอาจการถอดถอนให้กับประชาชน จะไม่มีผลในทางกฎหมาย แม้แต่รัฐธรรมนูญ 50 มอบอำนาจถอดถอนให้กับส.ว. ไปดูประวัติศาสตร์ได้ ไม่เคยถอดถอนใครได้แม้แต่คนเดียว เพราะส.ว.ส่วนใหญ่เห็นว่า พฤติกรรมของคนที่ถูกถอดถอนเป็นเรื่องไกลตัว ผมจึงคิดว่า การที่บัญญัติให้ประชาชนถอดถอน ไม่มีผลในทางปฏิบัติ เสนอว่ากรุณาเอาอำนาจที่มอบให้ประชาชน และส.ว. เอาคืนไปให้ศาลฎีกา ยังคิดว่าจะเกิดผลทางปฏิบัติได้มากกว่า" พล.อ.สมเจตน์ กล่าว
นพ.เจตน์ ศิรธารนนท์ สมาชิกสนช. กล่าวว่า การคาดการณ์ จะอยู่ 240 วัน เป็นเพียงแต่การคาดการณ์ เพราะไม่รู้ว่า ส.ว. ที่มาจากการสรรหา 200 คน จะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามนั้น เช่น ให้เป็นเหมือนปี 50 คือครึ่งหนึ่งจากเลือกตั้ง อีกครึ่งจากสรรหา พบกันครึ่งทาง ถ้าเป็นเช่นนั้น อาจจะไม่ใช่ 240วัน ถ้าเป็นเช่นนั่น มีการเตรียมแผนสำรองไว้หรือไม่
นายคำนูณ ชี้แจงว่า จะรับทุกข้อสังเกตไปประกอบการพิจารณา แต่ยืนยันว่า ที่พิจารณาขณะนี้ เป็นเพียงร่างแรกที่เริ่มเสร็จสมบูรณ์ แต่ก็ได้รับฟังทุกภาคส่วน สมาชิกสนช. สามารถส่งความเห็นมาได้ทุกทาง ส่วนการทำประชามติ หลายฝ่ายเห็นด้วย แต่สถานะทางกฎหมาย ต้องถือว่ายังไม่มีประชามติ หากจะมี ก็ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวก่อน โดยครม.เสนอให้เสร็จก่อน 6 ส.ค. เพราะจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสปช. และนำขึ้นทูลเกล้าก่อน วันที่ 4 ก.ย.58