ASTVผู้จัดการรายวัน-“ปานเทพ”ตั้งคำถาม สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 รัฐมีข้อมูลชัดแล้ว 6 แปลงในอ่าวไทยมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมูลค่าเกือบ 6.2 แสนล้านบาท แต่กลับยังใช้วิธีให้สัมปทาน แทนที่จะบริหารให้กรรมสิทธิ์เป็นของรัฐ ซ้ำกำหนดเงินลงทุนให้เปล่าขั้นต่ำวันลงนามสัญญาแค่ 330 ล้าน น้อยกว่ามูลค่าจริงเกือบ 2 แสนเปอร์เซ็นต์ แถมยังเพิ่มค่า K ให้เอกชนจ่ายผลตอบแทนพิเศษน้อยลงไปอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (11 มี.ค.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรุ่นที่ 2 ได้โพสต์ข้อความในแฟนเพจ “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์” แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยตั้งหัวข้อว่า “ไหนว่ากระเปาะเล็ก?” ทั้งหมด 3 ตอน มีใจความสรุปได้ว่า การที่ประเทศไทยจะเลือกใช้สัมปทาน แบ่งปันผลผลิต หรือจ้างผลิตนั้น ในเบื้องต้น ถ้าเห็นว่ารัฐไม่มีข้อมูลพื้นฐานว่ามีศักยภาพเลย การเปิดให้สัมปทานไปเลยก็คงไม่มีใครว่าอะไร ยกเว้นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิของชุมชน แต่ถ้าเรารู้ว่าพื้นที่ใดจะมีศักยภาพ รัฐก็ควรจะจ้างสำรวจตามมา เพื่อให้ข้อมูลตกเป็นของรัฐ และในการสำรวจที่ลึกลงไปอีกในขั้นต่อมา คือ การตรวจสอบโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบ 2 มิติ หรือละเอียดลงไปกว่านั้น คือ การตรวจแบบ 3 มิติ จึงจะทำให้รู้ข้อมูลว่าพื้นที่เหล่านั้นมีศักภาพหรือไม่? มีปริมาณเท่าไร? และมีความน่าจะเป็นเท่าไร? เมื่อรู้ 2 ข้อมูลสำคัญนี้แล้ว จึงจะนำมาสู่การประเมินความคุ้มค่าในผลตอบแทนของการลงทุนได้ และถ้ารู้ถึงขั้นนั้นได้ก็จะเกิดการตัดสินใจได้ว่ารัฐควรจะเปิดให้มีการแข่งขันราคากันจ้างรัฐบาลเพื่อผลิตปิโตรเลียม หรือรัฐควรเปิดประมูลให้เกิดการแข่งขันในระบบแบ่งปันผลผลิตว่า "ใครให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุด" โดยให้ปิโตรเลียมตกเป็นของรัฐ
นายปานเทพยังได้ตั้งคำถามและข้อสังเกตจากเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2557 ซึ่งพบว่า รัฐมีข้อมูลการสำรวจแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยแล้ว ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ พบว่ามีศักยภาพ จึงมานำเสนอต่อผู้ลงทุน ดังนั้น การอ้างว่าไม่ต้องสำรวจ เพราะจะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงจึงฟังไม่ขึ้น จริงหรือไม่?
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวระบุว่า ทั้ง 6 แปลงสัมปทานในอ่าวไทย ล้วนแล้วแต่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีการสำรวจแล้วทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ พอสมควรจนถึงขั้นประเมินมูลค่าปิโตรเลียมว่าจะมีน้ำมัน 191 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่าประมาณ 362,258 ล้านบาท และมีก๊าซอีกประมาณ 1.34 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นเงินมูลค่าประมาณ 257,280 ล้านบาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น 619,538 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการประเมินทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยของกระทรวงพลังงานที่สูงมาก
“ข้ออ้างที่ว่ากระเปาะเล็ก จะพบปิโตรเลียมน้อย จึงขัดแย้งกับข้อมูลของภาครัฐอย่างสิ้นเชิงใช่หรือไม่? และเมื่อรู้ปริมาณและมูลค่าสูงเช่นนี้ รัฐจึงควรพิจารณาบริหารจัดการให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ไม่ใช่เปิดสัมปทานทั้งๆ ที่รัฐประเมินปริมาณและมูลค่าอยู่ในระดับสูงอยู่แล้วจริงหรือไม่?”นายปานเทพระบุ
นายปานเทพยังตั้งคำถามอีกว่า เมื่อรัฐรู้มูลค่าทรัพย์สินเฉพาะในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 (เฉพาะในอ่าวไทย)สูงถึง 619,000 ล้านบาท แต่เหตุใดรัฐกลับกำหนดหรือประเมินการลงทุนเงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา ที่เรียกว่า Minimum Signature Bonus รวมกันทุกแปลงในอ่าวไทยเพียงแค่ 330 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่จะยกให้เอกชนผู้รับสัมปทานถึง 187,475%
ทั้งนี้ จากเอกสารรายละเอียดของกระทรวงพลังงานได้ระบุอย่างชัดเจนว่า พื้นที่ในอ่าวไทย 6 แปลง มีปริมาณงานและเงินขั้นต่ำ ซึ่งเป็นข้อผูกพันช่วงที่ 1 ในการสำรวจ คือ แปลงละ 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (112 ล้านบาท) รวม 6 แปลง ก็เพียงแค่ 672 ล้านบาท ต่อให้มีการจ่ายเงินรวมกับค่าเงินให้เปล่าในการลงนามสัญญา 6 แปลง อีก 330 ล้านบาท ก็ได้เพียง 1,002 ล้านบาท สำหรับค่าเปิดขุมทรัพย์ 619,000 ล้านบาท อย่างนี้หรอกหรือที่เขาเรียกว่าคุ้มค่า?
นายปานเทพระบุอีกว่า ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่รัฐแจ้งกับประชาชนว่าเราจะได้มากนั้น แท้ที่จริงแล้วจากตารางดังกล่าวยังได้ระบุค่า K (ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ) ซึ่งจะนำค่านี้ไปรวมกับความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะทั้งหมด (เมตร) ก่อน เมื่อได้ค่าเท่าไรแล้วจึงนำไปเป็นตัวหารกับจำนวนรายได้ต่อปี ซึ่งหากผลที่ได้ออกมาต่ำกว่าที่กำหนดผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับการยกเว้นเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษทันที เพราะเหตุใดในปี 2532 รัฐกำหนดค่า K ในอ่าวไทยเอาไว้เพียง 150,000 เมตร บัดนี้รัฐได้เพิ่มตัวช่วยหารนี้มากถึง 600,000 เมตร จะเป็นผลทำให้รัฐจะได้ผลตอบแทนพิเศษน้อยกว่าเดิมมากจริงหรือไม่? และเป็นการเอื้อประโยชน์กับนักลงทุนมากไปหรือไม่?
“จากข้อมูลและเหตุผลข้างต้น เมื่อมีข้อมูลรู้ว่าแปลงสัมปทานในอ่าวไทยมีศักยภาพเช่นนี้ รัฐจึงควรกำหนดเป็นนโยบายในการทำให้ปิโตรเลียมเหล่านี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐเอง มีความคุ้มค่าที่จะลงทุนเพื่อการสำรวจเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่กระทรวงพลังงานประเมินเองกว่า 600,000 ล้านบาท แม้จะอ้างว่ารัฐบาลไทยไม่มีความสามารถที่จะสำรวจหรือผลิตเอง รัฐบาลก็สามารถจ้างเอกชนสำรวจได้ (เงินมีอยู่แล้วในกองทุนน้ำมันที่รัฐเก็บจากประชาชนจนกำไรไป 35,000 กว่าล้านบาท) เมื่อพบว่ามีปิโตรเลียมมากก็สามารถจ้างเอกชนเพื่อผลิตได้ และหากมีเหตุอ้างว่าไม่มีเงินลงทุนในการขุดเจาะก็สามารถเปิดประมูลให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนแล้วแข่งกันเสนอผลตอบแทนให้รัฐในระบบแบ่งปันผลผลิตได้ จริงไหม?”นายปานเทพสรุปในตอนท้าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (11 มี.ค.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรุ่นที่ 2 ได้โพสต์ข้อความในแฟนเพจ “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์” แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยตั้งหัวข้อว่า “ไหนว่ากระเปาะเล็ก?” ทั้งหมด 3 ตอน มีใจความสรุปได้ว่า การที่ประเทศไทยจะเลือกใช้สัมปทาน แบ่งปันผลผลิต หรือจ้างผลิตนั้น ในเบื้องต้น ถ้าเห็นว่ารัฐไม่มีข้อมูลพื้นฐานว่ามีศักยภาพเลย การเปิดให้สัมปทานไปเลยก็คงไม่มีใครว่าอะไร ยกเว้นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิของชุมชน แต่ถ้าเรารู้ว่าพื้นที่ใดจะมีศักยภาพ รัฐก็ควรจะจ้างสำรวจตามมา เพื่อให้ข้อมูลตกเป็นของรัฐ และในการสำรวจที่ลึกลงไปอีกในขั้นต่อมา คือ การตรวจสอบโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบ 2 มิติ หรือละเอียดลงไปกว่านั้น คือ การตรวจแบบ 3 มิติ จึงจะทำให้รู้ข้อมูลว่าพื้นที่เหล่านั้นมีศักภาพหรือไม่? มีปริมาณเท่าไร? และมีความน่าจะเป็นเท่าไร? เมื่อรู้ 2 ข้อมูลสำคัญนี้แล้ว จึงจะนำมาสู่การประเมินความคุ้มค่าในผลตอบแทนของการลงทุนได้ และถ้ารู้ถึงขั้นนั้นได้ก็จะเกิดการตัดสินใจได้ว่ารัฐควรจะเปิดให้มีการแข่งขันราคากันจ้างรัฐบาลเพื่อผลิตปิโตรเลียม หรือรัฐควรเปิดประมูลให้เกิดการแข่งขันในระบบแบ่งปันผลผลิตว่า "ใครให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุด" โดยให้ปิโตรเลียมตกเป็นของรัฐ
นายปานเทพยังได้ตั้งคำถามและข้อสังเกตจากเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2557 ซึ่งพบว่า รัฐมีข้อมูลการสำรวจแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยแล้ว ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ พบว่ามีศักยภาพ จึงมานำเสนอต่อผู้ลงทุน ดังนั้น การอ้างว่าไม่ต้องสำรวจ เพราะจะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงจึงฟังไม่ขึ้น จริงหรือไม่?
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวระบุว่า ทั้ง 6 แปลงสัมปทานในอ่าวไทย ล้วนแล้วแต่ติดแปลงสัมปทานเดิม มีการสำรวจแล้วทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ พอสมควรจนถึงขั้นประเมินมูลค่าปิโตรเลียมว่าจะมีน้ำมัน 191 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่าประมาณ 362,258 ล้านบาท และมีก๊าซอีกประมาณ 1.34 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นเงินมูลค่าประมาณ 257,280 ล้านบาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น 619,538 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการประเมินทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยของกระทรวงพลังงานที่สูงมาก
“ข้ออ้างที่ว่ากระเปาะเล็ก จะพบปิโตรเลียมน้อย จึงขัดแย้งกับข้อมูลของภาครัฐอย่างสิ้นเชิงใช่หรือไม่? และเมื่อรู้ปริมาณและมูลค่าสูงเช่นนี้ รัฐจึงควรพิจารณาบริหารจัดการให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ไม่ใช่เปิดสัมปทานทั้งๆ ที่รัฐประเมินปริมาณและมูลค่าอยู่ในระดับสูงอยู่แล้วจริงหรือไม่?”นายปานเทพระบุ
นายปานเทพยังตั้งคำถามอีกว่า เมื่อรัฐรู้มูลค่าทรัพย์สินเฉพาะในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 (เฉพาะในอ่าวไทย)สูงถึง 619,000 ล้านบาท แต่เหตุใดรัฐกลับกำหนดหรือประเมินการลงทุนเงินให้เปล่าขั้นต่ำในวันลงนามสัญญา ที่เรียกว่า Minimum Signature Bonus รวมกันทุกแปลงในอ่าวไทยเพียงแค่ 330 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่จะยกให้เอกชนผู้รับสัมปทานถึง 187,475%
ทั้งนี้ จากเอกสารรายละเอียดของกระทรวงพลังงานได้ระบุอย่างชัดเจนว่า พื้นที่ในอ่าวไทย 6 แปลง มีปริมาณงานและเงินขั้นต่ำ ซึ่งเป็นข้อผูกพันช่วงที่ 1 ในการสำรวจ คือ แปลงละ 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (112 ล้านบาท) รวม 6 แปลง ก็เพียงแค่ 672 ล้านบาท ต่อให้มีการจ่ายเงินรวมกับค่าเงินให้เปล่าในการลงนามสัญญา 6 แปลง อีก 330 ล้านบาท ก็ได้เพียง 1,002 ล้านบาท สำหรับค่าเปิดขุมทรัพย์ 619,000 ล้านบาท อย่างนี้หรอกหรือที่เขาเรียกว่าคุ้มค่า?
นายปานเทพระบุอีกว่า ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่รัฐแจ้งกับประชาชนว่าเราจะได้มากนั้น แท้ที่จริงแล้วจากตารางดังกล่าวยังได้ระบุค่า K (ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ) ซึ่งจะนำค่านี้ไปรวมกับความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะทั้งหมด (เมตร) ก่อน เมื่อได้ค่าเท่าไรแล้วจึงนำไปเป็นตัวหารกับจำนวนรายได้ต่อปี ซึ่งหากผลที่ได้ออกมาต่ำกว่าที่กำหนดผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับการยกเว้นเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษทันที เพราะเหตุใดในปี 2532 รัฐกำหนดค่า K ในอ่าวไทยเอาไว้เพียง 150,000 เมตร บัดนี้รัฐได้เพิ่มตัวช่วยหารนี้มากถึง 600,000 เมตร จะเป็นผลทำให้รัฐจะได้ผลตอบแทนพิเศษน้อยกว่าเดิมมากจริงหรือไม่? และเป็นการเอื้อประโยชน์กับนักลงทุนมากไปหรือไม่?
“จากข้อมูลและเหตุผลข้างต้น เมื่อมีข้อมูลรู้ว่าแปลงสัมปทานในอ่าวไทยมีศักยภาพเช่นนี้ รัฐจึงควรกำหนดเป็นนโยบายในการทำให้ปิโตรเลียมเหล่านี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐเอง มีความคุ้มค่าที่จะลงทุนเพื่อการสำรวจเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่กระทรวงพลังงานประเมินเองกว่า 600,000 ล้านบาท แม้จะอ้างว่ารัฐบาลไทยไม่มีความสามารถที่จะสำรวจหรือผลิตเอง รัฐบาลก็สามารถจ้างเอกชนสำรวจได้ (เงินมีอยู่แล้วในกองทุนน้ำมันที่รัฐเก็บจากประชาชนจนกำไรไป 35,000 กว่าล้านบาท) เมื่อพบว่ามีปิโตรเลียมมากก็สามารถจ้างเอกชนเพื่อผลิตได้ และหากมีเหตุอ้างว่าไม่มีเงินลงทุนในการขุดเจาะก็สามารถเปิดประมูลให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนแล้วแข่งกันเสนอผลตอบแทนให้รัฐในระบบแบ่งปันผลผลิตได้ จริงไหม?”นายปานเทพสรุปในตอนท้าย