“ปานเทพ”เผยเอกสารเชิญชวนร่วมสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ระบุปริมาณน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในแปลงสัมปทานใหม่ในอ่าวไทยสูงถึง 6.19 แสนล้านบาท แต่กำหนดค่าตอบแทนขั้นต่ำที่เอกชนจ่ายให้แก่รัฐรวมทุกแปลงแค่ 334 ล้าน น้อยกว่ามูลค่าที่ยกให้ผู้รับสัมปทานถึง 185,229 เปอร์เซ็นต็ ซ้ำเพิ่มค่า K ตัวหารรายได้ต่อปี ให้รัฐได้ผลตอบแทนน้อยลงอีก ชี้เมื่อแปลงสัมปทานมีศักยภาพสูงขนาดนี้ ควรบริหารจัดการให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรุ่นที่ 2 ได้โพสต์ข้อความในแฟนเพจ “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์” ตั้งข้อสังเกตต่อเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ว่า
1. รัฐมีข้อมูลการสำรวจแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยแล้ว ทั้ง 2 มิติ (2 D) และ 3 มิติ (3 D) พบว่ามีศักยภาพ จึงมานำเสนอต่อผู้ลงทุน ดังนั้นการอ้างว่าไม่ต้องสำรวจเพราะจะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงจึงฟังไม่ขึ้น จริงหรือไม่?
2. รัฐได้นำเสนอต่อเอกชนในปริมาณการเปิดแปลงสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เฉพาะในอ่าวไทย ทั้ง 6 แปลงซึ่งอยู่รายล้อมแปลงสัมปทานเดิมแล้ว กระทรวงพลังงานประเมินให้เอกชนผู้ที่จะเข้ามารับสัมปทานทราบว่าจะมีปริมาณน้ำมันรวมทั้งสิ้น 191 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 1.34 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมมูลค่าในปัจจุบันประมาณมากกว่า 619,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงมาก ข้ออ้างที่ว่ากระเปาะเล็ก จะพบปิโตรเลียมน้อย จึงขัดแย้งกับข้อมูลของภาครัฐอย่างสิ้นเชิงใช่หรือไม่? และเมื่อรู้ปริมาณและมูลค่าสูงเช่นนี้ รัฐจึงควรพิจารณาบริหารจัดการให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐไม่ใช่เปิดสัมปทาน ทั้งๆ ที่รัฐประเมินปริมาณและมูลค่าอยู่ในระดับสูงอยู่แล้วจริงหรือไม่?
3. เมื่อรัฐรู้มูลค่าทรัพย์สินเฉพาะในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 (เฉพาะในอ่าวไทย)สูงถึง 619,000 ล้านบาท แต่เหตุใดรัฐกลับกำหนดค่าตอบแทนขั้นต่ำที่เอกชนจ่ายให้แก่รัฐที่เรียกว่า Minimum Signature Bonus รวมกันทุกแปลงเพียงแค่ 334 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่จะยกให้เอกชนผู้รับสัมปทานถึง 185,229 % ถามว่าเมื่อเทียบกับความคุ้มค่าในการลงทุนที่แตกต่างกันขนาดนี้ รัฐควรลงทุนเอง หรือควรยกให้เอกชน?
4. ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่รัฐแจ้งกับประชาชนว่าเราจะได้มากนั้น แท้ที่จริงแล้วจากตารางดังกล่าวยังได้ระบุค่า K (ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ) ซึ่งจะนำค่านี้ไปรวมกับ ความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะทั้งหมด (เมตร) ก่อน เมื่อได้ค่าเท่าไหร่แล้วจึงนำไปเป็นตัวหารกับจำนวนรายได้ต่อปี ซึ่งหากผลที่ได้ออกมาต่ำกว่าที่กำหนดผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับการยกเว้นเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ทันที เพราะเหตุใดในปี 2532 รัฐกำหนดค่า K ในอ่าวไทยเอาไว้เพียง 150,000 เมตร บัดนี้รัฐได้เพิ่มตัวช่วยหารนี้มากถึง 600,000 เมตร จะเป็นผลทำให้รัฐจะได้ผลตอบแทนพิเศษน้อยกว่าเดิมมากจริงหรือไม่? และเป็นการเอื้อประโยชน์กับนักลงทุนมากไปหรือไม่?
5. ในปี 2532 ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 18 เหรียญต่อบาร์เรล รัฐได้กำหนดให้ส่วนลดพิเศษ (Special Reduction หรือในตารางคือค่า SR) ให้กับผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่ต้องจ่ายให้รัฐอยู่ที่ 0% เพราะเห็นว่าผู้ลงทุนเอกชนไม่จำเป็นต้องได้ส่วนลดพิเศษใดๆ แล้ว แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 59.27 เหรียญต่อบาร์เรล เหตุใดตารางที่นำเสนอให้เอกชนจึงระบุให้ค่าส่วนลดพิเศษสูงขึ้นไปทุกแปลงถึง 35%?
จากข้อมูลและเหตุผลข้างต้น เมื่อมีข้อมูลรู้ว่าแปลงสัมปทานในอ่าวไทยมีศักยภาพเช่นนี้ รัฐจึงควรกำหนดเป็นนโยบายในการทำให้ปิโตรเลียมเหล่านี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐเอง มีความคุ้มค่าที่จะลงทุนเพื่อการสำรวจ แม้จะอ้างว่ารัฐบาลไทยไม่มีความสามารถที่จะสำรวจหรือผลิตเอง รัฐบาลก็สามารถจ้างเอกชนสำรวจได้ (เงินมีอยู่แล้วในกองทุนน้ำมันที่เรียกเก็บจากประชาชนจนกำไรไป 30,000 กว่าล้านบาท) และจ้างเอกชนเพื่อผลิตได้ และหากมีเหตุอ้างว่าไม่มีเงินลงทุนในการขุดเจาะก็สามารถเปิดประมูลให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนแล้วแข่งกันเสนอผลตอบแทนให้รัฐในระบบแบ่งปันผลผลิตได้ จริงไหม?.
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรุ่นที่ 2 ได้โพสต์ข้อความในแฟนเพจ “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์” ตั้งข้อสังเกตต่อเอกสารนำเสนอของกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ว่า
1. รัฐมีข้อมูลการสำรวจแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยแล้ว ทั้ง 2 มิติ (2 D) และ 3 มิติ (3 D) พบว่ามีศักยภาพ จึงมานำเสนอต่อผู้ลงทุน ดังนั้นการอ้างว่าไม่ต้องสำรวจเพราะจะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงจึงฟังไม่ขึ้น จริงหรือไม่?
2. รัฐได้นำเสนอต่อเอกชนในปริมาณการเปิดแปลงสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เฉพาะในอ่าวไทย ทั้ง 6 แปลงซึ่งอยู่รายล้อมแปลงสัมปทานเดิมแล้ว กระทรวงพลังงานประเมินให้เอกชนผู้ที่จะเข้ามารับสัมปทานทราบว่าจะมีปริมาณน้ำมันรวมทั้งสิ้น 191 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 1.34 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมมูลค่าในปัจจุบันประมาณมากกว่า 619,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงมาก ข้ออ้างที่ว่ากระเปาะเล็ก จะพบปิโตรเลียมน้อย จึงขัดแย้งกับข้อมูลของภาครัฐอย่างสิ้นเชิงใช่หรือไม่? และเมื่อรู้ปริมาณและมูลค่าสูงเช่นนี้ รัฐจึงควรพิจารณาบริหารจัดการให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐไม่ใช่เปิดสัมปทาน ทั้งๆ ที่รัฐประเมินปริมาณและมูลค่าอยู่ในระดับสูงอยู่แล้วจริงหรือไม่?
3. เมื่อรัฐรู้มูลค่าทรัพย์สินเฉพาะในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 (เฉพาะในอ่าวไทย)สูงถึง 619,000 ล้านบาท แต่เหตุใดรัฐกลับกำหนดค่าตอบแทนขั้นต่ำที่เอกชนจ่ายให้แก่รัฐที่เรียกว่า Minimum Signature Bonus รวมกันทุกแปลงเพียงแค่ 334 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่จะยกให้เอกชนผู้รับสัมปทานถึง 185,229 % ถามว่าเมื่อเทียบกับความคุ้มค่าในการลงทุนที่แตกต่างกันขนาดนี้ รัฐควรลงทุนเอง หรือควรยกให้เอกชน?
4. ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่รัฐแจ้งกับประชาชนว่าเราจะได้มากนั้น แท้ที่จริงแล้วจากตารางดังกล่าวยังได้ระบุค่า K (ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ) ซึ่งจะนำค่านี้ไปรวมกับ ความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะทั้งหมด (เมตร) ก่อน เมื่อได้ค่าเท่าไหร่แล้วจึงนำไปเป็นตัวหารกับจำนวนรายได้ต่อปี ซึ่งหากผลที่ได้ออกมาต่ำกว่าที่กำหนดผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับการยกเว้นเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ทันที เพราะเหตุใดในปี 2532 รัฐกำหนดค่า K ในอ่าวไทยเอาไว้เพียง 150,000 เมตร บัดนี้รัฐได้เพิ่มตัวช่วยหารนี้มากถึง 600,000 เมตร จะเป็นผลทำให้รัฐจะได้ผลตอบแทนพิเศษน้อยกว่าเดิมมากจริงหรือไม่? และเป็นการเอื้อประโยชน์กับนักลงทุนมากไปหรือไม่?
5. ในปี 2532 ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 18 เหรียญต่อบาร์เรล รัฐได้กำหนดให้ส่วนลดพิเศษ (Special Reduction หรือในตารางคือค่า SR) ให้กับผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่ต้องจ่ายให้รัฐอยู่ที่ 0% เพราะเห็นว่าผู้ลงทุนเอกชนไม่จำเป็นต้องได้ส่วนลดพิเศษใดๆ แล้ว แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 59.27 เหรียญต่อบาร์เรล เหตุใดตารางที่นำเสนอให้เอกชนจึงระบุให้ค่าส่วนลดพิเศษสูงขึ้นไปทุกแปลงถึง 35%?
จากข้อมูลและเหตุผลข้างต้น เมื่อมีข้อมูลรู้ว่าแปลงสัมปทานในอ่าวไทยมีศักยภาพเช่นนี้ รัฐจึงควรกำหนดเป็นนโยบายในการทำให้ปิโตรเลียมเหล่านี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐเอง มีความคุ้มค่าที่จะลงทุนเพื่อการสำรวจ แม้จะอ้างว่ารัฐบาลไทยไม่มีความสามารถที่จะสำรวจหรือผลิตเอง รัฐบาลก็สามารถจ้างเอกชนสำรวจได้ (เงินมีอยู่แล้วในกองทุนน้ำมันที่เรียกเก็บจากประชาชนจนกำไรไป 30,000 กว่าล้านบาท) และจ้างเอกชนเพื่อผลิตได้ และหากมีเหตุอ้างว่าไม่มีเงินลงทุนในการขุดเจาะก็สามารถเปิดประมูลให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนแล้วแข่งกันเสนอผลตอบแทนให้รัฐในระบบแบ่งปันผลผลิตได้ จริงไหม?.