“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “บทเรียนทางการเมือง” ที่คนไทยไม่เคยลืม ซึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาสถานการณ์ความขัดแย้ง และความรุนแรงทางการเมืองได้เกิดขึ้นมาโดยตลอด ส่งผลกระทบเชิงลบในด้านต่างๆ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ เป็นบทเรียนทางการเมือง ที่คนไทยทุกคนไม่เคยลืม
เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและเป็นฐานข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐบาลที่จะบริหารประเทศ ได้ตรงตามความต้องการของประชาชน และจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,476 คน ระหว่างวันที่ 1-7 มี.ค.58 สรุปผลได้ ดังนี้
เมื่อถามว่า บทเรียนทางการเมือง “ดีๆ” ที่คนไทยไม่เคยลืม คือ อันดับ 1 คสช. เข้ามาดูแลบริหารประเทศ ยุติความขัดแย้ง บ้านเมืองสงบ 84.55% อันดับ 2 การเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 76.42% อันดับ 3 ประชาชนตื่นตัวและแสดงออกทางการเมืองมากขึ้น 74.59% อันดับ 4 มีนโยบายช่วยเหลือประชาชน เช่น จำนำข้าว รถเมล์ฟรี 30 บาทรักษาทุกโรค ฯลฯ 66.46% อันดับ 5 มีการตรวจสอบปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นของข้าราชการและนักการเมือง 64.84 %
ด้านคำถามว่า บทเรียนทางการเมือง “ร้ายๆ”ที่คนไทยไม่เคยลืม คือ อันดับ 1 เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 88.21% อันดับ 2 ความขัดแย้งแตกแยกของประชาชน ปิดสนามบิน 2551 เผาเซ็นทรัลเวิลด์ 2553 82.93% อันดับ 3 การทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมือง ทุจริตจำนำข้าว 79.88 % อันดับ 4 การปฏิวัติ รัฐประหาร 77.85 % และอันดับ 5 การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557 เป็นโมฆะ 68.63 %
ส่วนคำถามว่าบทเรียนทางการเมืองที่อยากให้ “คนไทยนำมาใช้ ณ วันนี้”คือ อันดับ 1 คนในชาติต้องรักกัน มีความสามัคคีปรองดอง 86.79% อันดับ 2 ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีความซื่อสัตย์สุจริต ขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม 83.13% อันดับ 3 ควรแสดงออกทางการเมืองอย่างถูกต้องและเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย 70.33% อันดับ 4 เมื่อมีการเลือกตั้ง ควรไปใช้สิทธิ์ เลือกคนดีเข้ามาเป็นผู้แทนของประชาชน 63.62% และอันดับ 5 ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ยึดหลักพอเพียง 62.80%
ขณะที่คำถามว่า ความคิดเห็นกับคำที่ว่า “คนไทยลืมง่าย หน่ายเร็ว”อันดับ 1 เห็นด้วย 69.92% เช่น การทุจริตของนักการเมือง การเคลื่อนไหวชุมนุม คดีสำคัญๆ เหตุการณ์ไม่ดีต่างๆ ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 16.46% เพราะ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลและความสำคัญของเรื่องนั้นๆ แต่ละวันมีเรื่องเกิดขึ้นมากมายฯลฯ และอันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 13.62% เพราะ คนไทยไม่น่าจะลืมง่าย แต่อาจไม่เกี่ยวข้องกับตนเองจึงไม่ได้สนใจ ต้องสนใจเรื่องปากท้องของตนเอง ฯลฯ
เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและเป็นฐานข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐบาลที่จะบริหารประเทศ ได้ตรงตามความต้องการของประชาชน และจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,476 คน ระหว่างวันที่ 1-7 มี.ค.58 สรุปผลได้ ดังนี้
เมื่อถามว่า บทเรียนทางการเมือง “ดีๆ” ที่คนไทยไม่เคยลืม คือ อันดับ 1 คสช. เข้ามาดูแลบริหารประเทศ ยุติความขัดแย้ง บ้านเมืองสงบ 84.55% อันดับ 2 การเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 76.42% อันดับ 3 ประชาชนตื่นตัวและแสดงออกทางการเมืองมากขึ้น 74.59% อันดับ 4 มีนโยบายช่วยเหลือประชาชน เช่น จำนำข้าว รถเมล์ฟรี 30 บาทรักษาทุกโรค ฯลฯ 66.46% อันดับ 5 มีการตรวจสอบปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นของข้าราชการและนักการเมือง 64.84 %
ด้านคำถามว่า บทเรียนทางการเมือง “ร้ายๆ”ที่คนไทยไม่เคยลืม คือ อันดับ 1 เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 88.21% อันดับ 2 ความขัดแย้งแตกแยกของประชาชน ปิดสนามบิน 2551 เผาเซ็นทรัลเวิลด์ 2553 82.93% อันดับ 3 การทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมือง ทุจริตจำนำข้าว 79.88 % อันดับ 4 การปฏิวัติ รัฐประหาร 77.85 % และอันดับ 5 การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557 เป็นโมฆะ 68.63 %
ส่วนคำถามว่าบทเรียนทางการเมืองที่อยากให้ “คนไทยนำมาใช้ ณ วันนี้”คือ อันดับ 1 คนในชาติต้องรักกัน มีความสามัคคีปรองดอง 86.79% อันดับ 2 ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีความซื่อสัตย์สุจริต ขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม 83.13% อันดับ 3 ควรแสดงออกทางการเมืองอย่างถูกต้องและเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย 70.33% อันดับ 4 เมื่อมีการเลือกตั้ง ควรไปใช้สิทธิ์ เลือกคนดีเข้ามาเป็นผู้แทนของประชาชน 63.62% และอันดับ 5 ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ยึดหลักพอเพียง 62.80%
ขณะที่คำถามว่า ความคิดเห็นกับคำที่ว่า “คนไทยลืมง่าย หน่ายเร็ว”อันดับ 1 เห็นด้วย 69.92% เช่น การทุจริตของนักการเมือง การเคลื่อนไหวชุมนุม คดีสำคัญๆ เหตุการณ์ไม่ดีต่างๆ ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 16.46% เพราะ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลและความสำคัญของเรื่องนั้นๆ แต่ละวันมีเรื่องเกิดขึ้นมากมายฯลฯ และอันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 13.62% เพราะ คนไทยไม่น่าจะลืมง่าย แต่อาจไม่เกี่ยวข้องกับตนเองจึงไม่ได้สนใจ ต้องสนใจเรื่องปากท้องของตนเอง ฯลฯ