ASTVผู้จัดการรายวัน- หลวงปู่พุทธอิสระ ร้องดีเอสไอ ขอให้ตรวจสอบทรัพย์สินเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และ กรรมการมหาเถรสมาคม ขอให้รับคดีเลื่อนสมณศักดิ์ "ธัมมชโย" เป็นคดีพิเศษ พร้อมขออัยการสูงสุด รื้อคดีธรรมกายขึ้นฟ้องใหม่ ด้านสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา (สนพ.) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยุบ กมธ.ปฏิรูปศาสนา ชุด "ไพบูลย์" ถ้าไม่ยุบ เจอม็อบพระ 12 มี.ค.นี้แน่ อดีตพระลูกวัดธรรมกาย แจงที่มาทรัพย์ต่อปปง.ระบุทำธุรกิจอัญมณี -ดีเอสไอนัด สถาพร แจงปมพัวพันยักยอกเงินสหกนณ์10 มี.ค.นี้
เมื่อวานนี้ (3 มี.ค.) หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เข้ายื่นหนังสือถึงอัยการสูงสุด ขอให้ตรวจสอบเหตุผลในการสั่งฟ้องพระธัมมชโย หรือ นายไชยบูลย์ สุทธิผล ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ และเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังยักยอกทรัพย์ และเหตุผลในการเปลี่ยนคณะพนักงานอัยการ ที่รับผิดชอบสำนวนคดีในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี รวมถึงเหตุผลในการยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญา ซึ่งเป็นความผิดต่อแผ่นดิน ที่ไม่อาจยอมความได้ ดังนั้นจึงขอให้อัยการสูงสุด พิจารณาคำร้อง และนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลอีกครั้ง โดยมีนายพรศักดิ์ ศรีณรงค์ อธิบดีอัยการสำนักคดีอาญา และ นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นตัวแทนรับหนังสือจากหลวงปู่พุทธะอิสระ เพื่อเสนอให้อัยการสูงสุด พิจารณาต่อไป
จากนั้นหลวงปู่พุทธะอิสระ เดินทางไปยื่นหนังสือถึง นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ขอให้ดีเอสไอ ตรวจสอบเส้นทางทางการเงิน และ ทรัพย์สินทั้งหมด ของ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เนื่องจากมีการก่อสร้างอาคารจอดรถ สร้างพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล วงเงิน 300 ล้านบาท รูปหล่อหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ด้วยทองคำบริสุทธิ์น้ำหนัก 1 ตัน รวมถึงการครอบครองรถยนต์หรูหมายเลขทะเบียน ขม 99 กทม. ต้องสงสัยเลี่ยงภาษี และ ตรวจสอบ กรรมการมหาเถรสมาคม รวมทั้งการเบิกจ่ายเงินประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช และเงินประจำตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ว่าใช้จ่ายถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่
หลวงปู่พุทธะอิสระ ระบุด้วยว่า จากการตรวจสอบพบว่า มหาเถรณสมาคมได้ขอพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์แก่ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมกาย ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ซึ่งเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ แก่เจ้าพนักงาน เนื่องจาก พระธัมมชโยต้องอาบัติปราชิก ไม่อาจกลับมาบวชได้อีก จึงขอให้รับคดีนี้ เป็นคดีพิเศษ ด้วย โดยมีพ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารคดีพิเศษ รับหนังสือร้องเรียนแทน
หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าวว่า หวังว่าทางดีเอสไอ จะช่วยติตดตามตรวจสอบตามข้อร้องเรียนที่ได้ยื่นไป และรับเป็นคดีพิเศษ อย่างน้อยก็เพื่อช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนา และดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในแต่ละฐานความผิดที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา
ด้าน พ.ต.ต.วรณัน กล่าวว่า เบื้องต้นทางดีเอสไอ จะรับเรื่องร้องเรียนนี้ไว้ตรวจสอบ ตามข้อกฎหมายว่าจะสามารถดำเนินการได้อย่างไร ซึ่งจะเป็นการดำเนินการตามกรอบของกฎหมาย คาดว่าต้องใช้เวลาในการตรวจสอบระยะหนึ่ง
**ขู่ระดมม็อบพระ12 มี.ค.ถ้าไม่เลิกปฏิรูป
พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จันทสาโร) รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในฐานะที่ปรึกษาสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา (สนพ.) กล่าวว่า หลังจากที่ สนพ. พร้อมด้วยองค์กรทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง แสดงจุดยืนเรียกร้องให้มีการยุบคณะกรรมการปฏิรูปฯ พระพุทธศาสนาภายใน 15 วันนั้น หากพบว่ารัฐบาล และ สนช. ยังคงนิ่งเฉย ทางสนพ.ยังคงยืนยันจะนิมนต์พระสงฆ์ และฆราวาสจำนวนมาก ร่วมชุมนุมในวันที่ 12 มี.ค. นี้ อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ สนพ.ขอยืนยันว่า กรอบการชุมนุมของคณะสงฆ์ให้ยุบคณะกรรมการปฏิรูปฯพระพุทธศาสนา จะไม่ใช้ความรุนแรงแข็งกร้าว แต่อย่างใด ไม่มีการตะโกนด่าทอหยาบคาย แต่จะเน้นความสงบตามกรอบในพระธรรมวินัย และอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง เหมาะสมแก่สมณสารูปของบรรพชิต
สำหรับกิจกรรมการชุมนุมนั้น ทาง สนพ. กำหนดกรอบไว้ประกอบด้วย การสวดเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อดลใจให้รัฐบาลและ สนช. ดำเนินการตามข้อเรียกร้อง , กิจกรรมเวทีเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยพระสงฆ์และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียง ,การออกแถลงการณ์ข้อเรียกร้อง และยื่นหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
"มีองค์กรทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แสดงความเห็นไปในทิศทางเดียวกับ สนพ. เรียกร้องให้ยุบคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา เห็นได้ชัดเจนว่า องค์ทางพระพุทธศาสนาแต่ละแห่ง พร้อมใจกันออกมาแสดงจุดยืนเพื่อปกป้องพระศาสนา ส่วนการชุมนุมนั้น มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ว่า จะต้องมีผู้เข้าร่วมชุมนุมเท่าใด ทุกอย่างให้เป็นตามกำลังศรัทธา แต่ละองค์กรพุทธ หรือคณะสงฆ์ในแต่ละภาค จะนิมนต์พระสงฆ์และฆราวาส ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละบุคคล ซึ่งขอให้บุคคลที่มาเป็นไปด้วยความเต็มใจ มิใช่บังคับเอามา จะมากันมากหรือน้อย มิใช่สาระสำคัญ เพียงให้มีความตั้งใจปกป้องพระพุทธศาสนา" พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าว
ขณะที่ สมาคมนักวิชาการพระพุทธศาสนา(สนพ.) ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 เรื่องแนวทางในการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาคณะสงฆ์และมหาเถรสมาคม โดยระบุว่า เนื่องจากมีกลุ่มบุคคลที่พยายามสร้างสถานการณ์ให้เกิดความเสียหายแตกแยก โดยรวมต่อพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะคณะสงฆ์ และ มส. ซึ่งอ้างถึงแนวทางปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา และมีความพยายามดำเนินการต่างๆ ต่อคณะสงฆ์ และ มส. ให้เชื่อมโยงกับวัดพระธรรมกายนั้น สนพ.เห็นว่า การกระทำของกลุ่มดังกล่าว มีเจตนาอย่างชัดแจ้ง ที่กระทำต่อคณะสงฆ์ และมส. อันไม่เหมาะสม จึงชี้แจงข้อเท็จจริงในแนวทางการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาคณะสงฆ์และมส. ดังนี้
1. สนพ. มีอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนาอันชัดแจ้งด้วยหลักวิชาทางพระพุทธศาสนา โดยยึดหลักพระธรรมวินัยและกฎหมายคณะสงฆ์เป็นแนวทางในการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาตามหน้าที่ชาวพุทธของความเป็นพุทธบริษัท
2. การพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาคณะสงฆ์และมส. ที่ถูกกระทำย่ำยีอยู่ในขณะนี้ของ สนพ. ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับกรณีวัดพระธรรมกาย
3. ให้กลุ่มบุคคล ประกอบด้วย คณะกรรมการปฏิรูปฯพระพุทธศาสนาบางคน และพระพุทธะอิสระ ยุติการกระทำใดที่ละเมิดต่อพระธรรมวินัย และไม่เคารพกฏหมายบ้านเมือง และให้ยุติการสร้างความแตกแยกในศาสนจักร โดยเฉพาะการล่วงเกินใส่ร้ายคณะสงฆ์ และ มส. ซึ่งเป็นองค์กรปกครองสูงสุดโดยเร็ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะสงฆ์และชาวพุทธ ได้ออกแถลงการณ์ แสดงจุดยืนให้ยกเลิกคณะกรรมการปฏิรูปฯพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด องค์กรนิสิตวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มจร. ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 ยกเลิกคณะกรรมการปฏิรูปฯพระพุทธศาสนา ขอให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาดำเนินการให้เหมาะสมดีงาม ในการสืบทอดสถาบันพระพุทธศาสนาอันเป็นที่พึ่งทางจิตใจชาวไทยมาช้านาน นอกจากนี้ พระวัดคลองเมือง จ.พิษณุโลก ยังได้ส่งหนังสือแสดงจุดยืนให้ยุบคณะกรรมการปฏิรูปฯ พระพุทธศาสนาด้วย
*** อดีตพระลูกวัดธรรมกาย แจงทรัพย์สินต่อปปง.
วานนี้( 3 มี.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นายสถาพร วัฒนาศิรินุกุล ประธานกรรมการบ.เอส.ดับบลิว.โฮลดิ้งกรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด ผู้รับโอนหุ้น และเช็คเงินสดจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ผู้ต้องหาคดียักยอกเงินสหกรณ์ พร้อมนายอเนก สมประเสริฐ ทนายความ นำเอกสารและหลักฐานมายื่นชี้แจงต่อเจ้าพนักงาน ปปง. และเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อชี้แจงกรณีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับโอนเงินจากนายศุภชัย และวัดพระธรรมกาย
นายอเนก กล่าวว่า ประเด็นหลักในการชี้แจงในวันนี้คือเรื่องการอายัดหุ้นของ บริษัท เอส.ดับบลิว.โฮลดิ้งกรุ๊ป มูลค่า 1,110 ล้านบาท ซึ่งทางปปง.ได้มีการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเงินจำนวนหลายพันล้านบาทที่นายสถาพร นำมาใช้ในการลงทุนทำธุรกิจ ภายหลังที่สึกออกมาจากวัดพระธรรมกาย ทั้งนี้ในส่วนของบริษัทก็มีการชี้แจงไปตามข้อเท็จจริงแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งต้องเป็นไปตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยการชี้แจงวันนี้ทาง ปปง. เป็นฝ่ายนัดนายสถาพรให้เข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริง
อย่างไรก็ตาม นายสถาพรยินดีให้ความร่วมมือทุกอย่าง และยินดีตอบทุกประเด็นข้อสงสัย เพราะเราไม่มีการปกปิดข้อมูลอะไรกัน ซึ่งการมาในวันนี้เป็นการแสดงจุดยืนว่ามีความบริสุทธิ์ใจเกี่ยวกับการได้มาของหุ้นดังกล่าว
นายอเนก กล่าวอีกว่า การชี้แจงครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ซึ่ง เคยชี้แจงกับดีเอสไอไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2557 สำหรับครั้งนี้เป็นการชี้แจงกับทางเจ้าหน้าที่ ปปง.และดีเอสไอ โดยหลังจากนี้ดีเอสไอได้นัดนายสถาพรเข้าชี้แจงอีกครั้งในวันที่ 10 มี.ค. เวลา 13.30 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ในประเด็นรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย และคาดว่าในวันนั้นนายสถาพรจะแถลงข่าวหลังการชี้แจงเสร็จ เพราะนายสถาพรมีความอัดอั้นใจที่ต้องการชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยเช่นกัน
“ยืนยันไม่มีการหลบหนี แต่เป็นเรื่องที่ต้องอธิบายกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเชื่อหรือไม่นั้นก็ต้องว่ากันไป สำหรับวันนี้เข้าพบเจ้าหน้าที่ปปง.เพื่อชี้แจงตั้งแต่เวลา 9.30 น. กระทั่งชี้แจงเสร็จช่วงเวลาประมาณ 15.00 น.และ นั่งพูดคุยกันในประเด็นที่ทางเจ้าหน้าที่สงสัย โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่เคร่งเครียดแต่อย่างใด เพียงแต่ยังไม่ขอตอบคำถามสื่อมวลชนมากนัก” นายอเนก กล่าว
ด้านนายนพดล อุเทน ผอ.กองคดี1 ปปง.เผยว่า นายสถาพรได้ชี้แจงถึงที่ไปที่มาของทรัพย์สินทั้งหมด เบื้องต้นระบุว่าทรัพย์สินที่ปปง.ทำการตรวจยึดและอายัดไว้นั้นได้มาจากการประกอบธุรกิจอัญมณี
ส่วนกรณีที่รู้จักเกี่ยวข้องหรือได้รับการโอนเงินจากนายศุภชัยเมื่อปี พ.ศ.2553ยังไม่แน่ชัดว่าขณะที่ได้รับเงินจากนายศุภชัยนั้นนายสถาพรยังอยู่ในสถานะภาพการเป็นพระอยู่หรือไม่ เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบ ซึ่งในส่วนของรายละเอียดที่ลึกลงไปกว่านี้คงต้องรอให้นายสถาพรเป็นผู้แถลงเองจะดีกว่าเพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อรูปคดี
ขณะที่นายสถาพรกล่าวว่า ตนได้ชี้แจงกับ ปปง.ในรายละเอียดเรื่องของเอกสารต่างๆรวมทั้งหุ้นและที่ไปที่มาของทรัพย์สินทั้งหมด ทั้งส่วนของตนและบริษัท ซึ่งตนยืนยันว่าทั้งหมดมีที่ไปที่มาและเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ทั้งนี้ในส่วนกรณีที่ปรากฎเป็นข่าวว่าตนเคยบวชเรียนอยู่ที่วัดธรรมกายนานกว่า 20 ปี นั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะตนนั้นเริ่มบวชเรียนอยู่ที่วัดมฤคทายวันตั้งแต่ตอนอายุ 17 ปี ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ที่วัดพระธรรมกายอีกหลายปีแต่ไม่ถึง 10 ปี และสึกออกมาในช่วงปลายปี 53 จากนั้นหันมาทำธุรกิจดังกล่าว
ส่วนจะถูกผิดหรือไม่นั้นอยู่ที่ดุลพินิจพิจารณาของ ปปง. ซึ่งก่อนหน้านี้ DSI ก็เคยเรียกตนเข้าไปชี้แจงพร้อมกับแจ้งว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตามการมาชี้แจงในวันนี้ทางปปง.ก็ให้ความเป็นธรรมเปิดโอกาสให้ตนได้ชี้แจง เพราะตนเองที่มาวันนี้ก็มาด้วยความสมัครใจ แต่ในส่วนของรายละเอียดตนยังไม่ขอพูดเนื่องจากในวันนี้ตนเหนื่อยล้ามาก จึงอยากขอให้รอแถลงข่าวชี้แจงจากตนอีกครั้ง ซึ่งน่าจะจัดแถลงอย่างเป็นทางการหลังจากที่เข้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับทาง DSI
เมื่อวานนี้ (3 มี.ค.) หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เข้ายื่นหนังสือถึงอัยการสูงสุด ขอให้ตรวจสอบเหตุผลในการสั่งฟ้องพระธัมมชโย หรือ นายไชยบูลย์ สุทธิผล ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ และเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังยักยอกทรัพย์ และเหตุผลในการเปลี่ยนคณะพนักงานอัยการ ที่รับผิดชอบสำนวนคดีในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี รวมถึงเหตุผลในการยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญา ซึ่งเป็นความผิดต่อแผ่นดิน ที่ไม่อาจยอมความได้ ดังนั้นจึงขอให้อัยการสูงสุด พิจารณาคำร้อง และนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลอีกครั้ง โดยมีนายพรศักดิ์ ศรีณรงค์ อธิบดีอัยการสำนักคดีอาญา และ นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นตัวแทนรับหนังสือจากหลวงปู่พุทธะอิสระ เพื่อเสนอให้อัยการสูงสุด พิจารณาต่อไป
จากนั้นหลวงปู่พุทธะอิสระ เดินทางไปยื่นหนังสือถึง นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ขอให้ดีเอสไอ ตรวจสอบเส้นทางทางการเงิน และ ทรัพย์สินทั้งหมด ของ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เนื่องจากมีการก่อสร้างอาคารจอดรถ สร้างพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล วงเงิน 300 ล้านบาท รูปหล่อหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ด้วยทองคำบริสุทธิ์น้ำหนัก 1 ตัน รวมถึงการครอบครองรถยนต์หรูหมายเลขทะเบียน ขม 99 กทม. ต้องสงสัยเลี่ยงภาษี และ ตรวจสอบ กรรมการมหาเถรสมาคม รวมทั้งการเบิกจ่ายเงินประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช และเงินประจำตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ว่าใช้จ่ายถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่
หลวงปู่พุทธะอิสระ ระบุด้วยว่า จากการตรวจสอบพบว่า มหาเถรณสมาคมได้ขอพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์แก่ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมกาย ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ซึ่งเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ แก่เจ้าพนักงาน เนื่องจาก พระธัมมชโยต้องอาบัติปราชิก ไม่อาจกลับมาบวชได้อีก จึงขอให้รับคดีนี้ เป็นคดีพิเศษ ด้วย โดยมีพ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารคดีพิเศษ รับหนังสือร้องเรียนแทน
หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าวว่า หวังว่าทางดีเอสไอ จะช่วยติตดตามตรวจสอบตามข้อร้องเรียนที่ได้ยื่นไป และรับเป็นคดีพิเศษ อย่างน้อยก็เพื่อช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนา และดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในแต่ละฐานความผิดที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา
ด้าน พ.ต.ต.วรณัน กล่าวว่า เบื้องต้นทางดีเอสไอ จะรับเรื่องร้องเรียนนี้ไว้ตรวจสอบ ตามข้อกฎหมายว่าจะสามารถดำเนินการได้อย่างไร ซึ่งจะเป็นการดำเนินการตามกรอบของกฎหมาย คาดว่าต้องใช้เวลาในการตรวจสอบระยะหนึ่ง
**ขู่ระดมม็อบพระ12 มี.ค.ถ้าไม่เลิกปฏิรูป
พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จันทสาโร) รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในฐานะที่ปรึกษาสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา (สนพ.) กล่าวว่า หลังจากที่ สนพ. พร้อมด้วยองค์กรทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง แสดงจุดยืนเรียกร้องให้มีการยุบคณะกรรมการปฏิรูปฯ พระพุทธศาสนาภายใน 15 วันนั้น หากพบว่ารัฐบาล และ สนช. ยังคงนิ่งเฉย ทางสนพ.ยังคงยืนยันจะนิมนต์พระสงฆ์ และฆราวาสจำนวนมาก ร่วมชุมนุมในวันที่ 12 มี.ค. นี้ อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ สนพ.ขอยืนยันว่า กรอบการชุมนุมของคณะสงฆ์ให้ยุบคณะกรรมการปฏิรูปฯพระพุทธศาสนา จะไม่ใช้ความรุนแรงแข็งกร้าว แต่อย่างใด ไม่มีการตะโกนด่าทอหยาบคาย แต่จะเน้นความสงบตามกรอบในพระธรรมวินัย และอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง เหมาะสมแก่สมณสารูปของบรรพชิต
สำหรับกิจกรรมการชุมนุมนั้น ทาง สนพ. กำหนดกรอบไว้ประกอบด้วย การสวดเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อดลใจให้รัฐบาลและ สนช. ดำเนินการตามข้อเรียกร้อง , กิจกรรมเวทีเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยพระสงฆ์และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียง ,การออกแถลงการณ์ข้อเรียกร้อง และยื่นหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
"มีองค์กรทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แสดงความเห็นไปในทิศทางเดียวกับ สนพ. เรียกร้องให้ยุบคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา เห็นได้ชัดเจนว่า องค์ทางพระพุทธศาสนาแต่ละแห่ง พร้อมใจกันออกมาแสดงจุดยืนเพื่อปกป้องพระศาสนา ส่วนการชุมนุมนั้น มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ว่า จะต้องมีผู้เข้าร่วมชุมนุมเท่าใด ทุกอย่างให้เป็นตามกำลังศรัทธา แต่ละองค์กรพุทธ หรือคณะสงฆ์ในแต่ละภาค จะนิมนต์พระสงฆ์และฆราวาส ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละบุคคล ซึ่งขอให้บุคคลที่มาเป็นไปด้วยความเต็มใจ มิใช่บังคับเอามา จะมากันมากหรือน้อย มิใช่สาระสำคัญ เพียงให้มีความตั้งใจปกป้องพระพุทธศาสนา" พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าว
ขณะที่ สมาคมนักวิชาการพระพุทธศาสนา(สนพ.) ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 เรื่องแนวทางในการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาคณะสงฆ์และมหาเถรสมาคม โดยระบุว่า เนื่องจากมีกลุ่มบุคคลที่พยายามสร้างสถานการณ์ให้เกิดความเสียหายแตกแยก โดยรวมต่อพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะคณะสงฆ์ และ มส. ซึ่งอ้างถึงแนวทางปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา และมีความพยายามดำเนินการต่างๆ ต่อคณะสงฆ์ และ มส. ให้เชื่อมโยงกับวัดพระธรรมกายนั้น สนพ.เห็นว่า การกระทำของกลุ่มดังกล่าว มีเจตนาอย่างชัดแจ้ง ที่กระทำต่อคณะสงฆ์ และมส. อันไม่เหมาะสม จึงชี้แจงข้อเท็จจริงในแนวทางการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาคณะสงฆ์และมส. ดังนี้
1. สนพ. มีอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนาอันชัดแจ้งด้วยหลักวิชาทางพระพุทธศาสนา โดยยึดหลักพระธรรมวินัยและกฎหมายคณะสงฆ์เป็นแนวทางในการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาตามหน้าที่ชาวพุทธของความเป็นพุทธบริษัท
2. การพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาคณะสงฆ์และมส. ที่ถูกกระทำย่ำยีอยู่ในขณะนี้ของ สนพ. ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับกรณีวัดพระธรรมกาย
3. ให้กลุ่มบุคคล ประกอบด้วย คณะกรรมการปฏิรูปฯพระพุทธศาสนาบางคน และพระพุทธะอิสระ ยุติการกระทำใดที่ละเมิดต่อพระธรรมวินัย และไม่เคารพกฏหมายบ้านเมือง และให้ยุติการสร้างความแตกแยกในศาสนจักร โดยเฉพาะการล่วงเกินใส่ร้ายคณะสงฆ์ และ มส. ซึ่งเป็นองค์กรปกครองสูงสุดโดยเร็ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะสงฆ์และชาวพุทธ ได้ออกแถลงการณ์ แสดงจุดยืนให้ยกเลิกคณะกรรมการปฏิรูปฯพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด องค์กรนิสิตวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มจร. ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 ยกเลิกคณะกรรมการปฏิรูปฯพระพุทธศาสนา ขอให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาดำเนินการให้เหมาะสมดีงาม ในการสืบทอดสถาบันพระพุทธศาสนาอันเป็นที่พึ่งทางจิตใจชาวไทยมาช้านาน นอกจากนี้ พระวัดคลองเมือง จ.พิษณุโลก ยังได้ส่งหนังสือแสดงจุดยืนให้ยุบคณะกรรมการปฏิรูปฯ พระพุทธศาสนาด้วย
*** อดีตพระลูกวัดธรรมกาย แจงทรัพย์สินต่อปปง.
วานนี้( 3 มี.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นายสถาพร วัฒนาศิรินุกุล ประธานกรรมการบ.เอส.ดับบลิว.โฮลดิ้งกรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด ผู้รับโอนหุ้น และเช็คเงินสดจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ผู้ต้องหาคดียักยอกเงินสหกรณ์ พร้อมนายอเนก สมประเสริฐ ทนายความ นำเอกสารและหลักฐานมายื่นชี้แจงต่อเจ้าพนักงาน ปปง. และเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อชี้แจงกรณีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับโอนเงินจากนายศุภชัย และวัดพระธรรมกาย
นายอเนก กล่าวว่า ประเด็นหลักในการชี้แจงในวันนี้คือเรื่องการอายัดหุ้นของ บริษัท เอส.ดับบลิว.โฮลดิ้งกรุ๊ป มูลค่า 1,110 ล้านบาท ซึ่งทางปปง.ได้มีการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเงินจำนวนหลายพันล้านบาทที่นายสถาพร นำมาใช้ในการลงทุนทำธุรกิจ ภายหลังที่สึกออกมาจากวัดพระธรรมกาย ทั้งนี้ในส่วนของบริษัทก็มีการชี้แจงไปตามข้อเท็จจริงแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งต้องเป็นไปตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยการชี้แจงวันนี้ทาง ปปง. เป็นฝ่ายนัดนายสถาพรให้เข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริง
อย่างไรก็ตาม นายสถาพรยินดีให้ความร่วมมือทุกอย่าง และยินดีตอบทุกประเด็นข้อสงสัย เพราะเราไม่มีการปกปิดข้อมูลอะไรกัน ซึ่งการมาในวันนี้เป็นการแสดงจุดยืนว่ามีความบริสุทธิ์ใจเกี่ยวกับการได้มาของหุ้นดังกล่าว
นายอเนก กล่าวอีกว่า การชี้แจงครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ซึ่ง เคยชี้แจงกับดีเอสไอไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2557 สำหรับครั้งนี้เป็นการชี้แจงกับทางเจ้าหน้าที่ ปปง.และดีเอสไอ โดยหลังจากนี้ดีเอสไอได้นัดนายสถาพรเข้าชี้แจงอีกครั้งในวันที่ 10 มี.ค. เวลา 13.30 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ในประเด็นรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย และคาดว่าในวันนั้นนายสถาพรจะแถลงข่าวหลังการชี้แจงเสร็จ เพราะนายสถาพรมีความอัดอั้นใจที่ต้องการชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยเช่นกัน
“ยืนยันไม่มีการหลบหนี แต่เป็นเรื่องที่ต้องอธิบายกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเชื่อหรือไม่นั้นก็ต้องว่ากันไป สำหรับวันนี้เข้าพบเจ้าหน้าที่ปปง.เพื่อชี้แจงตั้งแต่เวลา 9.30 น. กระทั่งชี้แจงเสร็จช่วงเวลาประมาณ 15.00 น.และ นั่งพูดคุยกันในประเด็นที่ทางเจ้าหน้าที่สงสัย โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่เคร่งเครียดแต่อย่างใด เพียงแต่ยังไม่ขอตอบคำถามสื่อมวลชนมากนัก” นายอเนก กล่าว
ด้านนายนพดล อุเทน ผอ.กองคดี1 ปปง.เผยว่า นายสถาพรได้ชี้แจงถึงที่ไปที่มาของทรัพย์สินทั้งหมด เบื้องต้นระบุว่าทรัพย์สินที่ปปง.ทำการตรวจยึดและอายัดไว้นั้นได้มาจากการประกอบธุรกิจอัญมณี
ส่วนกรณีที่รู้จักเกี่ยวข้องหรือได้รับการโอนเงินจากนายศุภชัยเมื่อปี พ.ศ.2553ยังไม่แน่ชัดว่าขณะที่ได้รับเงินจากนายศุภชัยนั้นนายสถาพรยังอยู่ในสถานะภาพการเป็นพระอยู่หรือไม่ เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบ ซึ่งในส่วนของรายละเอียดที่ลึกลงไปกว่านี้คงต้องรอให้นายสถาพรเป็นผู้แถลงเองจะดีกว่าเพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อรูปคดี
ขณะที่นายสถาพรกล่าวว่า ตนได้ชี้แจงกับ ปปง.ในรายละเอียดเรื่องของเอกสารต่างๆรวมทั้งหุ้นและที่ไปที่มาของทรัพย์สินทั้งหมด ทั้งส่วนของตนและบริษัท ซึ่งตนยืนยันว่าทั้งหมดมีที่ไปที่มาและเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ทั้งนี้ในส่วนกรณีที่ปรากฎเป็นข่าวว่าตนเคยบวชเรียนอยู่ที่วัดธรรมกายนานกว่า 20 ปี นั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะตนนั้นเริ่มบวชเรียนอยู่ที่วัดมฤคทายวันตั้งแต่ตอนอายุ 17 ปี ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ที่วัดพระธรรมกายอีกหลายปีแต่ไม่ถึง 10 ปี และสึกออกมาในช่วงปลายปี 53 จากนั้นหันมาทำธุรกิจดังกล่าว
ส่วนจะถูกผิดหรือไม่นั้นอยู่ที่ดุลพินิจพิจารณาของ ปปง. ซึ่งก่อนหน้านี้ DSI ก็เคยเรียกตนเข้าไปชี้แจงพร้อมกับแจ้งว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตามการมาชี้แจงในวันนี้ทางปปง.ก็ให้ความเป็นธรรมเปิดโอกาสให้ตนได้ชี้แจง เพราะตนเองที่มาวันนี้ก็มาด้วยความสมัครใจ แต่ในส่วนของรายละเอียดตนยังไม่ขอพูดเนื่องจากในวันนี้ตนเหนื่อยล้ามาก จึงอยากขอให้รอแถลงข่าวชี้แจงจากตนอีกครั้ง ซึ่งน่าจะจัดแถลงอย่างเป็นทางการหลังจากที่เข้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับทาง DSI