เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ ( 3 มี.ค.) ที่รัฐสภา นางทิชา ณ นคร อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงเปิดใจจากการลาออกจากทั้งสองตำแหน่ง ว่า ตนได้แสดงความจำนงในการลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเป็นต้องสื่อสารต่อสาธารณะ ในฐานะอดีตกมธ.ยกร่างฯ เสียงข้างน้อย คือ หมดหวัง หมดศรัทธา ที่จะสื่อสารต่อกมธ.ยกร่างฯ เสียงข้างมาก ในการเพิ่มพื้นที่ทางการเมืองให้กับเพศหญิง ทั้งในระดับ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และในสภาท้องถิ่น ที่ผู้หญิงควรจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ซึ่งในกมธ.ยกร่างฯ ที่เป็นผู้หญิงได้ประนีประนอม ด้วยการปรับถ้อยคำจากเพศหญิง เป็นเพศตรงข้าม แต่กมธ.ยกร่างฯ ซึ่งเป็นผู้ชายที่คัดค้านยังไม่ยอมรับเหตุผลของตน ที่เสนอว่าไม่ใช่การเชิดชูสิทธิสตรี ไม่ใช่การขัดขวาง หรือการลดค่าเพศชาย แต่มุ่งหวังเปิดพื้นที่ให้เพศหญิงเข้าไปร่วมขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความสมดุล แต่จากการที่เพศหญิงถูกจัดวางบทบาทให้อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนมาช้านาน การผลักดันให้ผู้หญิงเหล่านี้ไปสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อให้เกิดการปรับสมดุลในสังคมร่วมกับเพศชาย จึงไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้ ซึ่งคือการเปลี่ยนทางสังคม วัฒนธรรมและการเมือง ที่ต้องอาศัยมาตรการพิเศษชั่วคราว เข้าไปหนุนช่วยให้มีหลักประกัน และกำหนดสัดส่วนเพศตรงข้าม 1 ใน 3 เป็นอย่างน้อย ไว้ในรัฐธรรมนูญ
นางทิชา กล่าวว่า เพศหญิงบางกลุ่มที่เก่งกล้า แต่ไม่เห็นด้วยกับระบบสัดส่วน เพราะไปตีความว่าระบบสัดส่วนคือ สิทธิพิเศษ แต่ผู้หญิงเก่งต้องไม่ลืมว่า ผู้หญิงในท้องถิ่นและหมู่บ้านที่อยู่กับชุมชนมาตลอดชีวิต หรือผู้หญิงในเมืองที่มีความรู้สูง แต่ไม่ได้มาจากตระกูลนักการเมือง พ่อค้า ข้าราชการ โอกาสที่จะนำประสบการณ์ที่มีอยู่เข้าไปสร้างสมดุลในพื้นที่ ที่มีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถนนการเมืองทั้งท้องถิ่น และระดับชาติ ถูกจำกัด แต่ภายใต้ภารกิจการยกร่างฯ ผู้ร่างจำเป็นต้องมองภาพรวมให้ออก และหาเครื่องมือปรับสมดุลให้ได้ และอย่ามโนว่าผู้หญิงจะไม่คอร์รัปชัน ผู้หญิงจะไม่ประพฤติตนเหลวไหล ไร้สาระ หลักการที่เคร่งครัดคือ ผู้หญิงและผู้ชายในสภาท้องถิ่น จนถึงสภาสูง ต้องถูกตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเข้มแข็ง เข้มข้นในกติกา เดียวกัน ซึ่งประเด็นสัดส่วนเพศตรงข้าม ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ทำให้บรรยากาศของการร่างรัฐธรรมนูญ ต้องจบลงด้วยการแขวนไว้ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง
"ต้องขอขอบคุณศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ที่ช่วยขยายความในเชิงข้อเท็จจริงให้กมธ.ยกร่างฯ เสียงข้างมากทราบว่า วันนี้กลไกสัดส่วนผู้หญิงในพื้นที่การตัดสินใจนโยบายสาธารณะ เป็นหนึ่งในภารกิจขององค์การสหประชาชาติไปแล้ว รวมถึงความพยายามในเบื้องต้นของประธานกมธ.ยกร่างฯ ที่จะไม่โหวตในประเด็นดังกล่าว แต่กมธ.ยกร่างฯ เสียงข้างมากไม่เห็นด้วย และยืนยันว่าต้องโหวต เพื่อยุติการอภิปราย"
นางทิชา กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อยุติชัดเจน และมีความเป็นห่วงคือ เรื่องเอกสิทธิ์นักการเมือง กรณีที่มีการจับส.ส.และส.ว.ในขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก และประธานแห่งสภาอาจสั่งให้ผู้ถูกจับกุมได้ ซึ่งตนได้เสนอให้เพิ่มถ้อยคำว่า "ทั้งนี้ ให้พิจารณาควบคู่ไปกับความเป็นธรรมในทางคดี ของคู่กรณีด้วย" เพราะการให้เอกสิทธิ์ผู้กระทำผิดที่เป็น ส.ส.และ ส.ว. ย่อมส่งผลให้คดีนั้นล่าช้า เสียรูปคดี พยานถูกแทรกแซง โดยเฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายเป็นชาวบ้าน คนจน เด็ก เยาวชน ผู้หญิง ซึ่งมีสถานะทางสังคมที่ด้อยกว่า และเพื่อไม่ให้การคุ้มครองเอกสิทธิ์ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ที่ดี เพื่อนำไปใช้ขัดขวางกระบวนการยุติธรรม และเห็นว่าคณะกรรมการสรรหาของผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิ์ประชาชน ต้องมีความหลากหลายยึดโยงประชาชน และเห็นว่า การเลือกตั้ง ส.ว.ทางอ้อมไม่ควรมีบุคคลที่มาจากอดีตนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา ประธานศาล และปลัดกระทรวง ข้าราชการระดับสูง และควรมีวาระแค่ 3 ปีเท่านั้น
ส่วนที่ กมธ.ยกร่างฯ ระบุว่า นายกรัฐมนตรี ไม่ต้องเป็นส.ส.นั้น มองว่า หากนายกรัฐมนตรีที่ไม่ใช่ ส.ส.ต้องกำหนดให้ชัดเจน หรือมีหลักประกันว่า เพื่อเป็นบันไดหนีไฟยามฉุกเฉินเท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นช่องพิเศษรอรับนายทุนพรรคการเมือง หรืออำนาจพิเศษอื่นฉวยโอกาสเข้ามา
นางทิชา กล่าวด้วยว่า ความพอใจสูงสุดในการทำงานตลอด 4 เดือน ของการเป็น กมธ.ยกร่างฯ คือการได้อภิปรายยืนยันถอนบางมาตราโดยเฉพาะมาตราที่เขียนให้อำนาจพิเศษแก่นายกรัฐมนตรี ดำเนินการในช่วงที่เกิดสภาวะฉุกเฉิน ( Emergency Power)ไม่ควรบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ยืนยันว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญในทัศนะของคนอื่น แต่สำหรับตน เมื่อสถานการณ์บ่งชี้ว่าไม่สามารถทำในสิ่งที่ควรทำ ทั้งที่สิ่งนั้นอาจสร้างความเปลี่ยนแปลง และสมดุลใหม่ให้กับสังคมได้ ตนก็ไม่ควรทำหน้าที่นั้นต่อไป เพราะเท่ากับว่าตนได้หมดความเคารพต่อตนเองไปแล้ว
เมื่อถามว่า มีความเห็นอย่างไรต่อกรณีที่นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ชาย-หญิงมีความเท่าเทียมกัน แม้ไม่ได้บัญญัติในรัฐธรรมนูญ นางทิชา กล่าวว่า คำว่า ผู้หญิงผู้ชายเท่าเทียมกัน เราก็มีเหตุผลอ้างเสมอว่าเท่าเทียมกันอยู่แล้ว ผู้หญิงเป็นแม่ ผู้หญิงเป็นคนคุมเงิน แต่ว่าทั้งหมดนี้ เป็นการพูดในที่ที่พูดแล้วสนุก แล้วก็ขบขัน จุดที่ต้องมีอำนาจในการตัดสินในทางการเมือง ประเด็นสาธารณะ นโยบาย เสียงของผู้หญิง ก็จะหายไปกับสายลม แต่ในพื้นที่ ตลกโปกฮา เสียงของผู้หญิง ก็เหมือนจะมีความหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้ สะท้อนนัยยะสำคัญ ว่าเรายังเห็นประเด็นผู้หญิง เป็นเรื่องไร้สาระ
"ดิฉันไม่ได้ขัดแย้งกับใครใน กมธ. ยกร่างฯ คุยกันได้ แต่ในประเด็นที่มันเป็นจุดยืน จะต้องแสดงประเด็นที่ชัดเจน ไม่ได้ทะเลาะ เจอกันก็ยังยกมือไหว้ เจอกันก็ยังทักทายกัน แต่ว่ามนุษย์ก็ต้องมีจุดยืนของตนเอง ไม่ได้มีชีวิตเพื่อหายใจไปวันๆ หนึ่ง เพื่อผ่านพ้นไป แล้วก็สนุกสนานบันเทิงไป แต่เราต้องมีประเด็นที่เราห่วงใย และถ้าเราทำไม่ได้ เราจำเป็นต้องทบทวนการเดินทางของเรา " นางทิชา กล่าว
เมื่อถามว่าการลาออกจาก สปช. เป็นการเสียโอกาสในการแปรญัตติ เพื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นางทิชา กล่าวว่า การที่ตนเดินออกมาจากที่แห่งนี้ คือสัญญาณอย่างหนึ่ง เพียงแต่อาจจะใช้ตนเองเป็นสัญญาณนั้น ภาคประชาสังคม รวมทั้งมุมมองอื่นๆที่อยู่ภายนอก ก็มีการตั้งคำถามเหมือนกัน ตนอยากให้เป็นคำถามแรก แล้วค่อยมีคำถามอื่นๆตามมา
"หลายเรื่องมันเกิดขึ้นภายใต้ห้องปฏิบัติการเท่านั้น เหมือนห้องแล็บทางวิทยาศาสตร์ ภายนอกดินฟ้าอากาศ ลมฝนมันแตกต่างจากห้องแล็บทางวิทยาศาสตร์ของเราเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้มันต้องอาศัยคนข้างนอกสะท้อนเข้าไป เพื่อยืนยันว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ใช้อยู่ในห้องปฏิบัติการด้วยซ้ำ แต่รัฐธรรมนูญ กำลังใช้กับคนส่วนมาก 60 ล้านคน และที่นั้นมีลมฟ้าอากาศที่แตกต่าง และเราต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ให้ได้ "
"พูดในห้องประชุม บอกเสมอว่า เราไม่ได้เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง ดิฉันไม่ใช่ผู้หญิงธรรมดา ถ้าจะลงตำแหน่งอะไรทางการเมือง ก็พอจะได้ แต่ดิฉันขอให้มั่นใจว่า ดิฉันจะไม่กลับมาที่นี่ เรากำลังเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อผู้หญิงจำนวนหนึ่งในพื้นที่ห่างไกลด้วย ไม่ใช่การให้ผู้ชายเป็นใหญ่ ประสบการณ์ความเป็นแม่ของเขา ประสบการณ์การเป็นเมียของเขา มีคุณค่ากับการตัดสินใจต่อนโยบายสาธารณะเป็นอย่างมาก"
นางทิชา กล่าว อีกว่า ถ้าไม่สามารถแหวกม่านประเพณีนั้นออกมาบนพื้นที่ที่มีการตัดสินใจ โดยเฉพาะการสร้างหลักประกันในรัฐธรรมนูญ ประเด็นทางสังคมจะไม่สามารถขับเคลื่อนได้สำเร็จ การเขียนรัฐธรรมนูญ จะต้องเขียนเพื่อคนจำนวนมาก ไม่ใช่อ้างว่าผู้หญิงคนนั้นเก่ง ก็จะสามารถเข้ามาตรงนี้ได้ แน่นอนโลกนี้มีผู้หญิงเก่งจำนวนหนึ่ง ที่ไม่ต้องอาศัยลมใต้ปีกของใคร แต่ยังมีผู้หญิงอีกหลายคน ที่อยู่ภายนอก ซึ่งไม่ได้เข้ามาอยู่ในที่นี้ หากไม่มีกติกากำหนดไว้
"ณ วินาทีนี้ เท่าที่สื่อสารกับ กมธ. ยกร่างฯ บางท่าน หลักคิดในการเขียนรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ร่างเพื่อตนเอง ตัวเราอาจจะเก่ง สามารถ อาจจะกล้า อาจไม่ได้มีปัญหาที่จะเดินไปบนถนนทุกสายในประเทศนี้ เป็นเพียงผู้หญิงส่วนน้อย แต่หลักการของดิฉัน เวลาเขียนอะไรซักอย่างหนึ่ง ไม่ได้เขียนว่าเราจะได้ หรือเราจะเสีย แต่เราต้องคิดถึงคนมหาศาลที่ไม่มีโอกาสที่จะเดินเข้ามาในที่แห่งนี้ ว่าเขาต้องการอะไร และพร้อมที่จะให้เสียงของเขาได้ยินได้ฟัง นั่นคือนัยยะต่อจากนี้ แต่ในอนาคต ถ้าดิฉันจะเป็นอะไรให้บ้านเมืองได้ ก็ยินดี จุดยืนของดิฉัน การตัดสินใจผูกกับชาติบ้านเมือง" นางทิชา ระบุ
*"กอบศักดิ์"นั่งกมธ.ยกร่างแทน"ทิชา"
ในวันเดียวกันนี้ ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้มีการเลือก คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แทน นางทิชา ณ นคร ที่ได้ลาออกโดยมีบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ 4 คน ประกอบด้วย นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล สปช. ด้านเศรษฐกิจ นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา สปช.ด้านสังคม นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์ สปช.เชียงใหม่ และ นายอมร วนิชวิวัฒน์ สปช. ด้านการเมือง โดยก่อนที่จะมีการลงคะแนนเพื่อทำการคัดเลือก น.ส. ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช. ซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้สั่งพักการประชุม เพื่อให้มีการดำเนินการจัดทำบัตรลงคะแนน
จากนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 4 คน แสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุม และให้สมาชิกทำการเลือกตั้ง โดยการลงคะแนนลับ ผลปรากฏว่า นายกอบศักดิ์ ได้คะแนน 119 คะแนน นางจุไรรัตน์ ได้คะแนน 67 คะแนน นางศิรินา ได้คะแนน 26 คะแนน นายอมร ได้คะแนน 8 คะแนน มีบัตรเสีย 9 ใบ ส่งผลให้ นายกอบศักดิ์ ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฯ แทน นางทิชา ซึ่งน.ส.ทัศนา แจ้งว่าหลังจากนี้ จะต้องมีการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของ นายกอบศักดิ์ ว่าขัดรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) มาตรา 33 หรือไม่ หากพบว่ามีคุณสมบัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะให้ผู้ที่ได้คะแนนลำดับถัดไป คือ นางจุไรรัตน์ รับตำแหน่งแทน
นางทิชา กล่าวว่า เพศหญิงบางกลุ่มที่เก่งกล้า แต่ไม่เห็นด้วยกับระบบสัดส่วน เพราะไปตีความว่าระบบสัดส่วนคือ สิทธิพิเศษ แต่ผู้หญิงเก่งต้องไม่ลืมว่า ผู้หญิงในท้องถิ่นและหมู่บ้านที่อยู่กับชุมชนมาตลอดชีวิต หรือผู้หญิงในเมืองที่มีความรู้สูง แต่ไม่ได้มาจากตระกูลนักการเมือง พ่อค้า ข้าราชการ โอกาสที่จะนำประสบการณ์ที่มีอยู่เข้าไปสร้างสมดุลในพื้นที่ ที่มีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถนนการเมืองทั้งท้องถิ่น และระดับชาติ ถูกจำกัด แต่ภายใต้ภารกิจการยกร่างฯ ผู้ร่างจำเป็นต้องมองภาพรวมให้ออก และหาเครื่องมือปรับสมดุลให้ได้ และอย่ามโนว่าผู้หญิงจะไม่คอร์รัปชัน ผู้หญิงจะไม่ประพฤติตนเหลวไหล ไร้สาระ หลักการที่เคร่งครัดคือ ผู้หญิงและผู้ชายในสภาท้องถิ่น จนถึงสภาสูง ต้องถูกตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเข้มแข็ง เข้มข้นในกติกา เดียวกัน ซึ่งประเด็นสัดส่วนเพศตรงข้าม ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ทำให้บรรยากาศของการร่างรัฐธรรมนูญ ต้องจบลงด้วยการแขวนไว้ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง
"ต้องขอขอบคุณศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ที่ช่วยขยายความในเชิงข้อเท็จจริงให้กมธ.ยกร่างฯ เสียงข้างมากทราบว่า วันนี้กลไกสัดส่วนผู้หญิงในพื้นที่การตัดสินใจนโยบายสาธารณะ เป็นหนึ่งในภารกิจขององค์การสหประชาชาติไปแล้ว รวมถึงความพยายามในเบื้องต้นของประธานกมธ.ยกร่างฯ ที่จะไม่โหวตในประเด็นดังกล่าว แต่กมธ.ยกร่างฯ เสียงข้างมากไม่เห็นด้วย และยืนยันว่าต้องโหวต เพื่อยุติการอภิปราย"
นางทิชา กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อยุติชัดเจน และมีความเป็นห่วงคือ เรื่องเอกสิทธิ์นักการเมือง กรณีที่มีการจับส.ส.และส.ว.ในขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก และประธานแห่งสภาอาจสั่งให้ผู้ถูกจับกุมได้ ซึ่งตนได้เสนอให้เพิ่มถ้อยคำว่า "ทั้งนี้ ให้พิจารณาควบคู่ไปกับความเป็นธรรมในทางคดี ของคู่กรณีด้วย" เพราะการให้เอกสิทธิ์ผู้กระทำผิดที่เป็น ส.ส.และ ส.ว. ย่อมส่งผลให้คดีนั้นล่าช้า เสียรูปคดี พยานถูกแทรกแซง โดยเฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายเป็นชาวบ้าน คนจน เด็ก เยาวชน ผู้หญิง ซึ่งมีสถานะทางสังคมที่ด้อยกว่า และเพื่อไม่ให้การคุ้มครองเอกสิทธิ์ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ที่ดี เพื่อนำไปใช้ขัดขวางกระบวนการยุติธรรม และเห็นว่าคณะกรรมการสรรหาของผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิ์ประชาชน ต้องมีความหลากหลายยึดโยงประชาชน และเห็นว่า การเลือกตั้ง ส.ว.ทางอ้อมไม่ควรมีบุคคลที่มาจากอดีตนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา ประธานศาล และปลัดกระทรวง ข้าราชการระดับสูง และควรมีวาระแค่ 3 ปีเท่านั้น
ส่วนที่ กมธ.ยกร่างฯ ระบุว่า นายกรัฐมนตรี ไม่ต้องเป็นส.ส.นั้น มองว่า หากนายกรัฐมนตรีที่ไม่ใช่ ส.ส.ต้องกำหนดให้ชัดเจน หรือมีหลักประกันว่า เพื่อเป็นบันไดหนีไฟยามฉุกเฉินเท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นช่องพิเศษรอรับนายทุนพรรคการเมือง หรืออำนาจพิเศษอื่นฉวยโอกาสเข้ามา
นางทิชา กล่าวด้วยว่า ความพอใจสูงสุดในการทำงานตลอด 4 เดือน ของการเป็น กมธ.ยกร่างฯ คือการได้อภิปรายยืนยันถอนบางมาตราโดยเฉพาะมาตราที่เขียนให้อำนาจพิเศษแก่นายกรัฐมนตรี ดำเนินการในช่วงที่เกิดสภาวะฉุกเฉิน ( Emergency Power)ไม่ควรบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ยืนยันว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญในทัศนะของคนอื่น แต่สำหรับตน เมื่อสถานการณ์บ่งชี้ว่าไม่สามารถทำในสิ่งที่ควรทำ ทั้งที่สิ่งนั้นอาจสร้างความเปลี่ยนแปลง และสมดุลใหม่ให้กับสังคมได้ ตนก็ไม่ควรทำหน้าที่นั้นต่อไป เพราะเท่ากับว่าตนได้หมดความเคารพต่อตนเองไปแล้ว
เมื่อถามว่า มีความเห็นอย่างไรต่อกรณีที่นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ชาย-หญิงมีความเท่าเทียมกัน แม้ไม่ได้บัญญัติในรัฐธรรมนูญ นางทิชา กล่าวว่า คำว่า ผู้หญิงผู้ชายเท่าเทียมกัน เราก็มีเหตุผลอ้างเสมอว่าเท่าเทียมกันอยู่แล้ว ผู้หญิงเป็นแม่ ผู้หญิงเป็นคนคุมเงิน แต่ว่าทั้งหมดนี้ เป็นการพูดในที่ที่พูดแล้วสนุก แล้วก็ขบขัน จุดที่ต้องมีอำนาจในการตัดสินในทางการเมือง ประเด็นสาธารณะ นโยบาย เสียงของผู้หญิง ก็จะหายไปกับสายลม แต่ในพื้นที่ ตลกโปกฮา เสียงของผู้หญิง ก็เหมือนจะมีความหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้ สะท้อนนัยยะสำคัญ ว่าเรายังเห็นประเด็นผู้หญิง เป็นเรื่องไร้สาระ
"ดิฉันไม่ได้ขัดแย้งกับใครใน กมธ. ยกร่างฯ คุยกันได้ แต่ในประเด็นที่มันเป็นจุดยืน จะต้องแสดงประเด็นที่ชัดเจน ไม่ได้ทะเลาะ เจอกันก็ยังยกมือไหว้ เจอกันก็ยังทักทายกัน แต่ว่ามนุษย์ก็ต้องมีจุดยืนของตนเอง ไม่ได้มีชีวิตเพื่อหายใจไปวันๆ หนึ่ง เพื่อผ่านพ้นไป แล้วก็สนุกสนานบันเทิงไป แต่เราต้องมีประเด็นที่เราห่วงใย และถ้าเราทำไม่ได้ เราจำเป็นต้องทบทวนการเดินทางของเรา " นางทิชา กล่าว
เมื่อถามว่าการลาออกจาก สปช. เป็นการเสียโอกาสในการแปรญัตติ เพื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นางทิชา กล่าวว่า การที่ตนเดินออกมาจากที่แห่งนี้ คือสัญญาณอย่างหนึ่ง เพียงแต่อาจจะใช้ตนเองเป็นสัญญาณนั้น ภาคประชาสังคม รวมทั้งมุมมองอื่นๆที่อยู่ภายนอก ก็มีการตั้งคำถามเหมือนกัน ตนอยากให้เป็นคำถามแรก แล้วค่อยมีคำถามอื่นๆตามมา
"หลายเรื่องมันเกิดขึ้นภายใต้ห้องปฏิบัติการเท่านั้น เหมือนห้องแล็บทางวิทยาศาสตร์ ภายนอกดินฟ้าอากาศ ลมฝนมันแตกต่างจากห้องแล็บทางวิทยาศาสตร์ของเราเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้มันต้องอาศัยคนข้างนอกสะท้อนเข้าไป เพื่อยืนยันว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ใช้อยู่ในห้องปฏิบัติการด้วยซ้ำ แต่รัฐธรรมนูญ กำลังใช้กับคนส่วนมาก 60 ล้านคน และที่นั้นมีลมฟ้าอากาศที่แตกต่าง และเราต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ให้ได้ "
"พูดในห้องประชุม บอกเสมอว่า เราไม่ได้เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง ดิฉันไม่ใช่ผู้หญิงธรรมดา ถ้าจะลงตำแหน่งอะไรทางการเมือง ก็พอจะได้ แต่ดิฉันขอให้มั่นใจว่า ดิฉันจะไม่กลับมาที่นี่ เรากำลังเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อผู้หญิงจำนวนหนึ่งในพื้นที่ห่างไกลด้วย ไม่ใช่การให้ผู้ชายเป็นใหญ่ ประสบการณ์ความเป็นแม่ของเขา ประสบการณ์การเป็นเมียของเขา มีคุณค่ากับการตัดสินใจต่อนโยบายสาธารณะเป็นอย่างมาก"
นางทิชา กล่าว อีกว่า ถ้าไม่สามารถแหวกม่านประเพณีนั้นออกมาบนพื้นที่ที่มีการตัดสินใจ โดยเฉพาะการสร้างหลักประกันในรัฐธรรมนูญ ประเด็นทางสังคมจะไม่สามารถขับเคลื่อนได้สำเร็จ การเขียนรัฐธรรมนูญ จะต้องเขียนเพื่อคนจำนวนมาก ไม่ใช่อ้างว่าผู้หญิงคนนั้นเก่ง ก็จะสามารถเข้ามาตรงนี้ได้ แน่นอนโลกนี้มีผู้หญิงเก่งจำนวนหนึ่ง ที่ไม่ต้องอาศัยลมใต้ปีกของใคร แต่ยังมีผู้หญิงอีกหลายคน ที่อยู่ภายนอก ซึ่งไม่ได้เข้ามาอยู่ในที่นี้ หากไม่มีกติกากำหนดไว้
"ณ วินาทีนี้ เท่าที่สื่อสารกับ กมธ. ยกร่างฯ บางท่าน หลักคิดในการเขียนรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ร่างเพื่อตนเอง ตัวเราอาจจะเก่ง สามารถ อาจจะกล้า อาจไม่ได้มีปัญหาที่จะเดินไปบนถนนทุกสายในประเทศนี้ เป็นเพียงผู้หญิงส่วนน้อย แต่หลักการของดิฉัน เวลาเขียนอะไรซักอย่างหนึ่ง ไม่ได้เขียนว่าเราจะได้ หรือเราจะเสีย แต่เราต้องคิดถึงคนมหาศาลที่ไม่มีโอกาสที่จะเดินเข้ามาในที่แห่งนี้ ว่าเขาต้องการอะไร และพร้อมที่จะให้เสียงของเขาได้ยินได้ฟัง นั่นคือนัยยะต่อจากนี้ แต่ในอนาคต ถ้าดิฉันจะเป็นอะไรให้บ้านเมืองได้ ก็ยินดี จุดยืนของดิฉัน การตัดสินใจผูกกับชาติบ้านเมือง" นางทิชา ระบุ
*"กอบศักดิ์"นั่งกมธ.ยกร่างแทน"ทิชา"
ในวันเดียวกันนี้ ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้มีการเลือก คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แทน นางทิชา ณ นคร ที่ได้ลาออกโดยมีบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ 4 คน ประกอบด้วย นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล สปช. ด้านเศรษฐกิจ นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา สปช.ด้านสังคม นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์ สปช.เชียงใหม่ และ นายอมร วนิชวิวัฒน์ สปช. ด้านการเมือง โดยก่อนที่จะมีการลงคะแนนเพื่อทำการคัดเลือก น.ส. ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช. ซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้สั่งพักการประชุม เพื่อให้มีการดำเนินการจัดทำบัตรลงคะแนน
จากนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 4 คน แสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุม และให้สมาชิกทำการเลือกตั้ง โดยการลงคะแนนลับ ผลปรากฏว่า นายกอบศักดิ์ ได้คะแนน 119 คะแนน นางจุไรรัตน์ ได้คะแนน 67 คะแนน นางศิรินา ได้คะแนน 26 คะแนน นายอมร ได้คะแนน 8 คะแนน มีบัตรเสีย 9 ใบ ส่งผลให้ นายกอบศักดิ์ ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฯ แทน นางทิชา ซึ่งน.ส.ทัศนา แจ้งว่าหลังจากนี้ จะต้องมีการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของ นายกอบศักดิ์ ว่าขัดรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) มาตรา 33 หรือไม่ หากพบว่ามีคุณสมบัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะให้ผู้ที่ได้คะแนนลำดับถัดไป คือ นางจุไรรัตน์ รับตำแหน่งแทน