"บวรศักดิ์" อัด "มติชน" เจตนาลงข่าว ดิสเครดิต บิดเบือน หวังให้ประชาชนเข้าใจว่า เป็นผู้คัดค้านสิทธิสตรี ยันไม่เสียสติพอที่จะด่าคนไทยโง่ จี้ให้ออกมาแสดงความรับผิดชอบ
วานนี้ ( 2 มี.ค.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงชี้แจงกรณีที่หนังสือพิมพ์มติชน นำเสนอข่าวคณะกมธ.ยกร่างฯ ลงฉบับวันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมา ว่า เมื่อวันที่ 1 มี.ค. หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวพาดหัวข่าวโดยคิดเอาเอง ปราศจากข้อมูล โดยระบุว่า "ฉุนบวรศักดิ์ปมสิทธิหญิง"ทิชา"ไขก๊อก ร่ำไห้ทิ้งกมธ.-เก้าอี้สปช." ทำให้คนเข้าใจว่า ตนเป็นสาเหตุสำคัญให้นางทิชา ณ นคร ลาออก และทำให้เข้าใจว่า ตนคัดค้านสิทธิสตรี ทั้งที่ในความเป็นจริง ตนสนับสนุนสิทธิสตรีมาตั้งแต่ต้น จนมีการบรรจุเรื่อง การจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงความเสมอภาคชายหญิง แต่เมื่อกมธ.บางท่านไม่เห็นด้วยก็พยายามรอมชอม หากมีการซาวน์เสียงแล้ว คนส่วนใหญ่ว่าอย่างไร กมธ.ข้างน้อยก็ต้องมีการยอมรับ และสำหรับนางทิชานั้น ก็ได้มีการกล่าวในที่ประชุม และแจ้งตนเป็นการส่วนตัวมาโดยตลอดว่า ตนทำหน้าที่ดีที่สุด ตามกำลังความสามารถ และผู้ที่ตอบเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือ นางทิชา
นอกจากนี้ ในหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน ยังมีคอลัมน์ "โครงร่างตำนานคน" เขียนโดยนามปากกา "การ์ตอง" หัวเรื่อง "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ท้าทายความรู้เท่าทัน" พร้อมใช้รูปภาพตนประกอบ มีข้อความภายในเครื่องหมายคำพูดว่า "ประชาชนยังไม่พร้อมที่จะมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน เพราะคนส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ ความคิด และจิตสำนึกประชาธิปไตยที่แท้จริง จนระบบไม่สามารถสร้างนักการเมืองที่มีคุณภาพขึ้นมาได้ เปิดโอกาสให้คนกลุ่มหนึ่งใช้การเลือกตั้งเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ จึงจำเป็นต้องอกแบบการเมืองใหม่ เพื่อกันประชาชนที่โง่เขลาเบาปัญญานี้ออกไป ให้สิทธิได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น" ทำให้เห็นเจตนา 3 อย่าง ที่กระทำคือ ใส่ชื่อ และรูปภาพตนในคอลัมน์ และใส่เครื่องหมายคำพูด ดูถูกประชาชนชาวไทย ย่อมทำให้เข้าใจว่า ตนกล่าวดูถูกเหยียดหยามคนไทยส่วนใหญ่
" แม้กรรมการผู้จัดการบริษัทดังกล่าว จะโพสต์เฟสบุ๊กชี้แจง ก็มีลักษณะภาคเสธ คือ แบ่งรับแบ่งสู้ และแสดงทัศนะส่วนตัวที่แสดงอคติ ไม่ใช่วิสัยของสื่อสาธารณะ ที่รู้ว่าพลาดไปโดยไม่เจตนา และประสงค์จะขออภัย อย่างข้อความชี้แจงที่ว่า "ถ้าจะมีส่วนใดที่ทำให้เข้าใจผิด ก็คงจะเป็นย่อหน้าที่สอง ซึ่งใส่เครื่องหมายคำพูด อาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า เป็นคำพูดของอาจารย์บวรศักดิ์ ซึ่งหากอ่านโดยละเอียด และมีใจเป็นกลาง ก็จะทราบว่ามิได้เป็นเช่นนั้น" ผมจึงขอให้หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว แสดงความรับผิดชอบ และความกล้าหาญทางจริยธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผม โดยเร็ว" ประธานกมธ.ยกร่างฯ กล่าว
เมื่อถามว่า จะมีมาตรการฟ้องร้องทางกฎหมายหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า "ผมไม่อยากพูด เดี๋ยวจะหาว่าเป็นการขู่ แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้คงจะต้องมีบทเรียนอะไรกันบ้าง แต่จะไม่กระทบกับสื่อมวลชนทั่วไป ที่ยังทำหน้าที่ถูกต้องครบถ้วนทันสถานการณ์ ปราศจากอคติ รัฐธรรมนูญยังรองรับเสรีภาพนั้นทุกประการ ไม่ใช่ครั้งแรก ที่มติชนทำอย่างนี้กับผม เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ผมไปพูดเรื่องสิทธิสตรี มติชนทีวี ตัดตอนที่ผมพูดไปลงใน ทีวีมติชน เป็นเหตุให้ผู้ประสงค์ร้าย ไปพาดหัวเรื่องผู้หญิงจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ครั้งนั้นผมไม่ได้ติดใจอะไร เพราะนึกว่าเป็นความผิดพลาด"
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ขอให้เขาเยียวยาความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นทางจริยธรรมที่สอนกันในสื่อมวลชน ครั้งนี้เป็นการทำลาย คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อต้องการทำให้เห็นว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ดูถูกประชาชนคนไทย และขอย้ำอีกครั้งว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต้องการให้พลเมืองเป็นใหญ่
" ทราบหรือไม่ครับว่า ทำไมผมถึงต้องเชิญคณะกรรมาธิการฯ ไปประชุมต่างจังหวัด เพราะผมรู้ว่าพายุใหญ่จะมา และก็ไม่ผิดหวังครับ พอพูดถึงการให้พลเมืองเป็นใหญ่ ปรากฏว่า ไม่มีใครสนใจ และเพื่อทำลายผม ว่าผมไม่เคยเชื่อถือว่าพลเมืองเป็นใหญ่ ก็เลยเขียนเอาเอง คิดเอาเอง จินตนาการเอาเอง ว่าผมบอกว่าประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่โง่ ถ้าคนคิดด้วยจิตสำนึกธรรมดาว่า เพิ่งพูดหยกๆว่ าต้องทำให้พลเมืองเป็นใหญ่ เสร็จแล้วก็มาบอกว่า ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่โง่ มันแปลว่าอะไร ถ้าผมพูดอย่างนี้จริง ก็แสดงว่าผมอาจใกล้เสียสติ หรือเสียสติไปแล้ว แต่ถ้าคนอื่นพูด แล้วเอาคำพูดนี้มาทำให้เข้าใจว่าเป็นผม ใส่ชื่อผม ใส่หน้าผม แล้วใส่เครื่องหมายคำพูด จนกระทั่งคนเอาโพสกันทั้งประเทศ ก็คือ จงใจใส่ร้าย และต้องการทำลายว่าพลเมืองไม่เป็นใหญ่ เพราะว่านายบวรศักดิ์ ดูถูกพลเมืองชาวไทยส่วนใหญ่ ซึ่งไม่มีมูลความจริงแม้แต่น้อย นี่คือการบิดเบือนที่ไม่ให้ความเป็นธรรมกับผม" นายบวรศักดิ์ กล่าว
ประธานคณะกมธ.ยกร่าง กล่าวว่า ยืนยันว่า ยังรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างที่ปราศจากการบิดเบือน โดยร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจัดทำอยู่ในขณะนี้ยังมีเวลาสามารถปรับแก้ไขได้
เมื่อถามว่า ยังมีความเป็นไปได้หรือไม่ กับการกำหนดสัดส่วนของสตรี ให้มีบทบาทในตำแหน่งทางการเมืองจำนวน 1 ใน 3 เอาไว้ในรัฐธรรมนูญ เนื่องจากยังเป็นหนึ่งในประเด็นที่ คณะกมธ.ยกร่างฯ ยังแขวนเอาไว้อยู่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า เป็นไปได้ทั้งนั้น แต่ต้องอาศัยเสียงส่วนใหญ่ของคณะกมธ.ยกร่างฯ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ก็อย่าเพิ่งไปสรุปว่า เรื่องนี้จะเป็นไปไม่ได้
เมื่อถามว่า แสดงว่าการที่ นางทิชา ณ นคร ลาออกจากตำแหน่ง ทั้งที่เรื่องดังกล่าวยังไม่ได้เป็นข้อยุติ แสดงว่า เป็นการตัดสินใจที่ใจร้อนเกินไปหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ได้วิจารณ์อย่างนั้น ทุกคนมีเหตุผลของตัวเอง ตอนเข้ามาเป็นสปช. และกมธ.ยกร่างฯ ก็สมัครใจเข้ามา
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่ กับการที่เครือข่ายสตรีทั่วประเทศ จะออกมากดดันคณะกมธ.ยกร่างฯ เพื่อเรียกร้องสิทธิสตรีให้เท่าเทียมกัน นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า "เป็นธรรมดา เพราะต้องถูกกดดันโดยทุกฝ่ายอยู่แล้ว ไม่ใช่แค่จากสตรีอย่างเดียว มันเป็นธรรมดาของกระบวนการทำกฎเกณฑ์ระดับประเทศ มันเป็นธรรมชาติ อย่าไปสะดุ้ง เราก็รับฟังเอาไว้ แล้วนำมาดูกันอีกทีก็ได้ ไม่มีปัญหา แต่ผมคิดว่า การมีบทบัญญัติเช่นนี้ เป็นความก้าวหน้า ที่เราอาจไปไกลกว่าหลายประเทศในโลกที่มาสอนประชาธิปไตยเรา รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ไม่มีเขียน ออสเตรเลีย ถือเป็นแค่ทางปฏิบัติ แต่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ญี่ปุ่นไม่มีการกำหนดสัดส่วนผู้หญิง และผู้ชาย ในรัฐธรรมนูญ ถ้าเรามีสิ่งเหล่านี้ มันก็เป็นความก้าวหน้าระดับโลก และที่เขาเสนอไว้ก็คือ 1 ใน 3 ของสภาท้องถิ่น ไม่ใช่ผู้บริหารท้องถิ่นด้วยซ้ำ แต่ถึงผมเห็นอย่างนี้ คณะกรรมาธิการฯ ส่วนใหญ่เห็นอย่างไร ผมก็ต้องเอาตามเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา คนที่ทำงานโดยหมู่มาก ต้องทำใจ ประธานคณะกรรมาธิการฯ เคยเสนอหลายเรื่องในฐานะกรรมาธิการฯ แต่โหวตแพ้มาแล้ว ประมาณ 3 เรื่อง ก็ต้องกลับไปนอนท่องอยู่ที่บ้านว่า รัฐธรรมนูญนี้ไม่ใช่ของเรา ดังนั้นถ้าเรายึดสปิริตของการทำงานเป็นหมู่คณะ ส่วนใหญ่ว่าอย่างไร ก็รับมตินั้น ก็จบ"
เมื่อถามย้ำว่าจะมีการใช้สิทธิทางกฎหมายเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า "ผมไม่ได้พูดเรื่องฟ้องร้อง แต่เมื่อคุณถามก็ดีแล้ว ผู้สื่อข่าวถามเองนะ เพราะฉะนั้นช่วยไปเป็นพยานที ว่าผมไม่ได้ขู่ว่าจะฟ้อง แต่ผมกำลังจะพิจารณาอยู่ เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะลักษณะการแถลงของผู้จัดการ มีลักษณะไม่สำนึกในการกระทำผิดพลาดของตัว เพราะฉะนั้น กรุณาอย่าไปลงพาดหัวว่า บวรศักดิ์จะขู่ฟ้อง ผมไม่ได้พูดเรื่องการฟ้องเลย พวกคุณจี้ถามผมอยู่ 3 ครั้ง ผมก็ต้องตอบ"
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ขอฝากไว้เรื่องหนึ่งว่า จะทำอย่างไร ในสำนักพิมพ์ที่จะให้คนพาดหัวในโรงพิมพ์ กับผู้สื่อข่าวที่เห็นบรรยากาศจริงมีความสัมพันธ์กัน นายมานิจ สุขสมจิต รองประธานคณะกมธ.ยกร่างฯ บอกว่า สมัยที่เป็นบรรณาธิการ ทุกครั้งเวลาจะพาดหัวข่าว จะต้องมีการถามผู้สื่อข่าวที่รายงานข่าวมา ว่า สิ่งที่จะพาดหัวข่าวถูกต้อง และมีความเห็นแตกต่างหรือไม่
วานนี้ ( 2 มี.ค.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงชี้แจงกรณีที่หนังสือพิมพ์มติชน นำเสนอข่าวคณะกมธ.ยกร่างฯ ลงฉบับวันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมา ว่า เมื่อวันที่ 1 มี.ค. หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวพาดหัวข่าวโดยคิดเอาเอง ปราศจากข้อมูล โดยระบุว่า "ฉุนบวรศักดิ์ปมสิทธิหญิง"ทิชา"ไขก๊อก ร่ำไห้ทิ้งกมธ.-เก้าอี้สปช." ทำให้คนเข้าใจว่า ตนเป็นสาเหตุสำคัญให้นางทิชา ณ นคร ลาออก และทำให้เข้าใจว่า ตนคัดค้านสิทธิสตรี ทั้งที่ในความเป็นจริง ตนสนับสนุนสิทธิสตรีมาตั้งแต่ต้น จนมีการบรรจุเรื่อง การจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงความเสมอภาคชายหญิง แต่เมื่อกมธ.บางท่านไม่เห็นด้วยก็พยายามรอมชอม หากมีการซาวน์เสียงแล้ว คนส่วนใหญ่ว่าอย่างไร กมธ.ข้างน้อยก็ต้องมีการยอมรับ และสำหรับนางทิชานั้น ก็ได้มีการกล่าวในที่ประชุม และแจ้งตนเป็นการส่วนตัวมาโดยตลอดว่า ตนทำหน้าที่ดีที่สุด ตามกำลังความสามารถ และผู้ที่ตอบเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือ นางทิชา
นอกจากนี้ ในหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน ยังมีคอลัมน์ "โครงร่างตำนานคน" เขียนโดยนามปากกา "การ์ตอง" หัวเรื่อง "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ท้าทายความรู้เท่าทัน" พร้อมใช้รูปภาพตนประกอบ มีข้อความภายในเครื่องหมายคำพูดว่า "ประชาชนยังไม่พร้อมที่จะมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน เพราะคนส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ ความคิด และจิตสำนึกประชาธิปไตยที่แท้จริง จนระบบไม่สามารถสร้างนักการเมืองที่มีคุณภาพขึ้นมาได้ เปิดโอกาสให้คนกลุ่มหนึ่งใช้การเลือกตั้งเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ จึงจำเป็นต้องอกแบบการเมืองใหม่ เพื่อกันประชาชนที่โง่เขลาเบาปัญญานี้ออกไป ให้สิทธิได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น" ทำให้เห็นเจตนา 3 อย่าง ที่กระทำคือ ใส่ชื่อ และรูปภาพตนในคอลัมน์ และใส่เครื่องหมายคำพูด ดูถูกประชาชนชาวไทย ย่อมทำให้เข้าใจว่า ตนกล่าวดูถูกเหยียดหยามคนไทยส่วนใหญ่
" แม้กรรมการผู้จัดการบริษัทดังกล่าว จะโพสต์เฟสบุ๊กชี้แจง ก็มีลักษณะภาคเสธ คือ แบ่งรับแบ่งสู้ และแสดงทัศนะส่วนตัวที่แสดงอคติ ไม่ใช่วิสัยของสื่อสาธารณะ ที่รู้ว่าพลาดไปโดยไม่เจตนา และประสงค์จะขออภัย อย่างข้อความชี้แจงที่ว่า "ถ้าจะมีส่วนใดที่ทำให้เข้าใจผิด ก็คงจะเป็นย่อหน้าที่สอง ซึ่งใส่เครื่องหมายคำพูด อาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า เป็นคำพูดของอาจารย์บวรศักดิ์ ซึ่งหากอ่านโดยละเอียด และมีใจเป็นกลาง ก็จะทราบว่ามิได้เป็นเช่นนั้น" ผมจึงขอให้หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว แสดงความรับผิดชอบ และความกล้าหาญทางจริยธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผม โดยเร็ว" ประธานกมธ.ยกร่างฯ กล่าว
เมื่อถามว่า จะมีมาตรการฟ้องร้องทางกฎหมายหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า "ผมไม่อยากพูด เดี๋ยวจะหาว่าเป็นการขู่ แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้คงจะต้องมีบทเรียนอะไรกันบ้าง แต่จะไม่กระทบกับสื่อมวลชนทั่วไป ที่ยังทำหน้าที่ถูกต้องครบถ้วนทันสถานการณ์ ปราศจากอคติ รัฐธรรมนูญยังรองรับเสรีภาพนั้นทุกประการ ไม่ใช่ครั้งแรก ที่มติชนทำอย่างนี้กับผม เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ผมไปพูดเรื่องสิทธิสตรี มติชนทีวี ตัดตอนที่ผมพูดไปลงใน ทีวีมติชน เป็นเหตุให้ผู้ประสงค์ร้าย ไปพาดหัวเรื่องผู้หญิงจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ครั้งนั้นผมไม่ได้ติดใจอะไร เพราะนึกว่าเป็นความผิดพลาด"
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ขอให้เขาเยียวยาความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นทางจริยธรรมที่สอนกันในสื่อมวลชน ครั้งนี้เป็นการทำลาย คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อต้องการทำให้เห็นว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ดูถูกประชาชนคนไทย และขอย้ำอีกครั้งว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต้องการให้พลเมืองเป็นใหญ่
" ทราบหรือไม่ครับว่า ทำไมผมถึงต้องเชิญคณะกรรมาธิการฯ ไปประชุมต่างจังหวัด เพราะผมรู้ว่าพายุใหญ่จะมา และก็ไม่ผิดหวังครับ พอพูดถึงการให้พลเมืองเป็นใหญ่ ปรากฏว่า ไม่มีใครสนใจ และเพื่อทำลายผม ว่าผมไม่เคยเชื่อถือว่าพลเมืองเป็นใหญ่ ก็เลยเขียนเอาเอง คิดเอาเอง จินตนาการเอาเอง ว่าผมบอกว่าประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่โง่ ถ้าคนคิดด้วยจิตสำนึกธรรมดาว่า เพิ่งพูดหยกๆว่ าต้องทำให้พลเมืองเป็นใหญ่ เสร็จแล้วก็มาบอกว่า ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่โง่ มันแปลว่าอะไร ถ้าผมพูดอย่างนี้จริง ก็แสดงว่าผมอาจใกล้เสียสติ หรือเสียสติไปแล้ว แต่ถ้าคนอื่นพูด แล้วเอาคำพูดนี้มาทำให้เข้าใจว่าเป็นผม ใส่ชื่อผม ใส่หน้าผม แล้วใส่เครื่องหมายคำพูด จนกระทั่งคนเอาโพสกันทั้งประเทศ ก็คือ จงใจใส่ร้าย และต้องการทำลายว่าพลเมืองไม่เป็นใหญ่ เพราะว่านายบวรศักดิ์ ดูถูกพลเมืองชาวไทยส่วนใหญ่ ซึ่งไม่มีมูลความจริงแม้แต่น้อย นี่คือการบิดเบือนที่ไม่ให้ความเป็นธรรมกับผม" นายบวรศักดิ์ กล่าว
ประธานคณะกมธ.ยกร่าง กล่าวว่า ยืนยันว่า ยังรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างที่ปราศจากการบิดเบือน โดยร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจัดทำอยู่ในขณะนี้ยังมีเวลาสามารถปรับแก้ไขได้
เมื่อถามว่า ยังมีความเป็นไปได้หรือไม่ กับการกำหนดสัดส่วนของสตรี ให้มีบทบาทในตำแหน่งทางการเมืองจำนวน 1 ใน 3 เอาไว้ในรัฐธรรมนูญ เนื่องจากยังเป็นหนึ่งในประเด็นที่ คณะกมธ.ยกร่างฯ ยังแขวนเอาไว้อยู่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า เป็นไปได้ทั้งนั้น แต่ต้องอาศัยเสียงส่วนใหญ่ของคณะกมธ.ยกร่างฯ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ก็อย่าเพิ่งไปสรุปว่า เรื่องนี้จะเป็นไปไม่ได้
เมื่อถามว่า แสดงว่าการที่ นางทิชา ณ นคร ลาออกจากตำแหน่ง ทั้งที่เรื่องดังกล่าวยังไม่ได้เป็นข้อยุติ แสดงว่า เป็นการตัดสินใจที่ใจร้อนเกินไปหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ได้วิจารณ์อย่างนั้น ทุกคนมีเหตุผลของตัวเอง ตอนเข้ามาเป็นสปช. และกมธ.ยกร่างฯ ก็สมัครใจเข้ามา
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่ กับการที่เครือข่ายสตรีทั่วประเทศ จะออกมากดดันคณะกมธ.ยกร่างฯ เพื่อเรียกร้องสิทธิสตรีให้เท่าเทียมกัน นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า "เป็นธรรมดา เพราะต้องถูกกดดันโดยทุกฝ่ายอยู่แล้ว ไม่ใช่แค่จากสตรีอย่างเดียว มันเป็นธรรมดาของกระบวนการทำกฎเกณฑ์ระดับประเทศ มันเป็นธรรมชาติ อย่าไปสะดุ้ง เราก็รับฟังเอาไว้ แล้วนำมาดูกันอีกทีก็ได้ ไม่มีปัญหา แต่ผมคิดว่า การมีบทบัญญัติเช่นนี้ เป็นความก้าวหน้า ที่เราอาจไปไกลกว่าหลายประเทศในโลกที่มาสอนประชาธิปไตยเรา รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ไม่มีเขียน ออสเตรเลีย ถือเป็นแค่ทางปฏิบัติ แต่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ญี่ปุ่นไม่มีการกำหนดสัดส่วนผู้หญิง และผู้ชาย ในรัฐธรรมนูญ ถ้าเรามีสิ่งเหล่านี้ มันก็เป็นความก้าวหน้าระดับโลก และที่เขาเสนอไว้ก็คือ 1 ใน 3 ของสภาท้องถิ่น ไม่ใช่ผู้บริหารท้องถิ่นด้วยซ้ำ แต่ถึงผมเห็นอย่างนี้ คณะกรรมาธิการฯ ส่วนใหญ่เห็นอย่างไร ผมก็ต้องเอาตามเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา คนที่ทำงานโดยหมู่มาก ต้องทำใจ ประธานคณะกรรมาธิการฯ เคยเสนอหลายเรื่องในฐานะกรรมาธิการฯ แต่โหวตแพ้มาแล้ว ประมาณ 3 เรื่อง ก็ต้องกลับไปนอนท่องอยู่ที่บ้านว่า รัฐธรรมนูญนี้ไม่ใช่ของเรา ดังนั้นถ้าเรายึดสปิริตของการทำงานเป็นหมู่คณะ ส่วนใหญ่ว่าอย่างไร ก็รับมตินั้น ก็จบ"
เมื่อถามย้ำว่าจะมีการใช้สิทธิทางกฎหมายเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า "ผมไม่ได้พูดเรื่องฟ้องร้อง แต่เมื่อคุณถามก็ดีแล้ว ผู้สื่อข่าวถามเองนะ เพราะฉะนั้นช่วยไปเป็นพยานที ว่าผมไม่ได้ขู่ว่าจะฟ้อง แต่ผมกำลังจะพิจารณาอยู่ เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะลักษณะการแถลงของผู้จัดการ มีลักษณะไม่สำนึกในการกระทำผิดพลาดของตัว เพราะฉะนั้น กรุณาอย่าไปลงพาดหัวว่า บวรศักดิ์จะขู่ฟ้อง ผมไม่ได้พูดเรื่องการฟ้องเลย พวกคุณจี้ถามผมอยู่ 3 ครั้ง ผมก็ต้องตอบ"
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ขอฝากไว้เรื่องหนึ่งว่า จะทำอย่างไร ในสำนักพิมพ์ที่จะให้คนพาดหัวในโรงพิมพ์ กับผู้สื่อข่าวที่เห็นบรรยากาศจริงมีความสัมพันธ์กัน นายมานิจ สุขสมจิต รองประธานคณะกมธ.ยกร่างฯ บอกว่า สมัยที่เป็นบรรณาธิการ ทุกครั้งเวลาจะพาดหัวข่าว จะต้องมีการถามผู้สื่อข่าวที่รายงานข่าวมา ว่า สิ่งที่จะพาดหัวข่าวถูกต้อง และมีความเห็นแตกต่างหรือไม่