กมธ.ยกร่างฯ เผยทิศทางร่าง รธน. ใหม่ เพื่มพื้นที่ให้ ปชช. ร่วมลงมติแก้ รธน. ในสาระสำคัญ - ถอดนายกฯหรือ รมว. ทำให้การเมืองสมดุลตรวจสอบง่ายขึ้น ปฏิรูปลดเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา การเข้าถึง กม. กระบวนยุติธรรม และนำชาติสู่สันติสุข (ปรองดอง) คาด “ศ.นันทวัฒน์” เสียบแทน “ทิชา” ลาออก
วันนี้ (28 ก.พ.) ศาสตราจารย์ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้แถลงต่อสื่อมวลชน ว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ประชุมร่วมกันมา 57 ครั้ง 450 กว่าชั่วโมง และหลังจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เก็บตัวร่างรัฐธรรมนูญอยู่ที่นี่ 5 วันครึ่ง สามารถร่างได้ 119 มาตรา ทำให้เห็นภาพทิศทางของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วว่า 1. สร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ (เพิ่มการมีส่วนร่วม) 2. การเมืองใสสะอาดและสมดุล (ป้องกันทุจริต/ให้มีความสมดุล) 3. หนุนสังคมที่เป็นธรรม (ปฏิรูป) 4.นำชาติสู่สันติสุข (ปรองดอง)
1. ทิศทางให้พลเมืองเป็นใหญ่.....เป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่มีเจตนารมณ์ที่ทำให้พ้นจากความเป็นราษฎร ไปเป็นพลเมือง ให้ตระหนักรู้สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ ต่อบ้านเมือง ไม่ให้ผูปกครองมาสั่งการต่อไป เพิ่มสิทธิหลายเรื่องตั้งอยู่ในครรภ์ หลังคลอด ดูแลการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัย ไปจนมัธยมปลาย หรืออาชีวะ ทำให้ประชาชนได้รับการดูแล ได้รับบริการสาธารณะให้ทั่วถึงอย่างเป็นธรรม ให้มีสมัชชาพลเมืองในพื้นที่ที่มีส่วนร่วมทุกขั้นตอน มีส่วนร่วมในการพัฒนา มีส่วนเลือกวุฒิสมาชิก สภาตรวจสอบภาคพลเมืองในท้องถิ่นและชาติ ได้คืนความเป็นใหญ่ให้พลเมือง นายกฯ หรือ รมว. ทำผิดร้ายแรงให้ส่งให้ประชาชนลงมติในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้งครั้งถัดไปว่าสมควรถอดถอนหรือไม่ ทำให้พลเมืองไม่เพียงแต่ตั้งนักการเมืองได้ ยังสามารถถอดถอนได้เช่นกัน
ร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอมา หากยุบสภาให้พิจารณาต่อไปเลย ไม่ตกไปเหมือนที่ ส.ส/ส.ว. เสนอ นอกจากนี้ แก้รัฐธรรมนูญในสาระสำคัญต้องใช้ประชามติให้พลเมืองเห็นชอบด้วย
2. การทำให้การเมืองใสสะอาดและสมดุล.... ใสสะอาดเริ่มที่ พูดถึงผู้นำการเมืองที่ดี กำหนดให้แสดงภาษีย้อนหลังสามปีในการสมัครทุกระดับ มีสมัชชาคุณธรรมตรวจสอบจริยธรรม หากทำผิดจริยธรรมร้ายแรง ให้สมัชชาคุณธรรมชี้มูล และให้ประชาชนลงประชามติในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้งครั้งต่อไป
มีการจัดตั้งศาลวินัยการคลังงบประมาณ หากรอ ป.ป.ช. ต้องมีหลักฐานจนสิ้นสงสัยจึงจะทำการชี้มูลได้ กระบวนการจึงทำให้ล่าช้า แต่ศาลวินัยฯเพียงแต่ควรเชื่อได้ว่า..ก็สามารถยื่นศาลได้แล้ว นอกจากนี้ได้มีการปรับบทบาท กกต. ให้ทำหน้าที่ควบคุมการเลือกตั้งให้ใสสะอาด
ในการสร้างสมดุลคือ ทำการเมืองภาคพลเมืองสมดุลกับภาคการเมือง สร้างสมดุลระหว่างสภาผู้แทนมาจากพรรคการเมืองกับวุฒิสภาพหุนิยม เอาคนชายขอบ ชาติพันธุ์ เกษตรกร แรงงาน ปราชญ์ชาวบ้าน คนเหล่านี้ไม่มีทางเข้ามาได้หากเลือกตั้งตรงจากประชาชน เมื่อ ส.ส. มาจาก ปชช. โดยตรงแล้วก็ควรจะมีกลุ่มอาชีพสาขาต่างๆ คนชายขอบ ผู้ด้อยโอกาสและอื่นๆ จึงให้มีการเลือกตั้งโดยทางอ้อม สภาสองสภานี้จะเป็นสภาที่สมดุลกัน
สร้างความสมดุลการเมืองของพรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร เราพบว่าพรรคการเมืองมีเจ้าของคนเดียวคุมพรรคทั้งหมด กลุ่มการเมืองไม่มีเงินมากพอไปตั้งพรรคได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีกลุ่มการเมือง เช่น สร้างกลุ่มกรีน กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอื่นๆ มาสร้างสมดุลในสภาผู้แทนราษฎร
ในปี 40 พรรคใหญ่ได้เปรียบ ปรับใหม่จึงใช้ระบบสัดส่วนผสมมาใช้ ทำให้พรรค ก ได้คะแนน 40% ก็ได้จำนวน ส.ส. ตามที่เป็นจริงเท่านั้น ไม่ใช่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 50% เหมือนในปี 40 นอกจากนี้ ส.ส. มีอิสระจากพรรคในการลงคะแนนเสียง พรรคไม่สามารถขับออกจากพรรคได้
ห้าม ส.ส. เป็น รมว. กำหนดให้การลงคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจ หากมีมติของสภาไม่ไว้วางใจ รัฐบาลและสภาผู้แทนต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยกัน นอกจากนั้น สร้างสมดุลในการถอดถอน เมื่อ ส.ส. มาทางตรง ส.ว. มาโดยเลือกตั้งทางอ้อม การถอดถอนจึงใช้ ส.ส. ครึ่งเดียว
ในช่วงเวลาเลือกตั้ง ครม. ต้องพ้นจากตำแหน่งไปเลย ให้ปลัดรักษาการแทน เพื่อไม่ให้มีความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมือง สำหรับการแต่งตั้งปลัดหรือผู้บริหารระดับสูงเทียบเท่า.. โดยมีกลไกกลางที่ไม่ใช่นักการเมืองเป็นกลไกทำหน้าที่นี้ ดังเช่นในประเทศอังกฤษ/นิวซีแลนด์/ออสเตรเลีย
3. หนุนสังคมที่เป็นธรรม จึงต้องทำการปฏิรูป... ต่อไปในการฟ้องคดี ให้มีกลไกในการช่วยเหลือประชาชนที่ลำบากเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม จัดหาทนายที่ดี ไม่ใช่ทนายจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ความชำนาญมาช่วยประชาชน
กำหนดให้มีการจัดทำประมวลกฎหมายให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายโดยง่าย
มีการปฏิรูปการศึกษาเรื่องใหญ่มาก แต่สื่อไม่สนใจพูดเลย หากต้องการรายละเอียด จะพูดเรื่องการปฏิรูปให้ฟังทีละด้าน อะไรที่ประชาชนควรได้รับในการปฏิรูป เราปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ให้คนข้างล่างที่ไม่มีเสียงจะลืมตาอ้าปากได้
4. นำชาติสู่สันติสุข (ปรองดอง) ในขณะนี้มีกฎอัยการศึกเพื่อรอเวลาการปรองดอง จะมีคณะกรรมการปรองดอง มาทำหน้าที่ต่อไป
ต่อคำถามของสื่อเรื่องประชามติ ต้องไปถาม คสช. ครม. ผู้มีอำนาจ ...ในเรื่องทำประชามติ ในความเห็นส่วนตัวของ (ประธานบวรศักดิ์) เห็นว่าควรทำประชามติ
สื่อถามสาเหตุที่ทิชาลาออก ประธานตอบว่าเสียดายแต่ไม่ทราบเหตุผลให้ไปถามคุณทิชา คนที่มาแทนคือคนถัดไป น่าจะเป็น ศ.นันทวัฒน์