นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนยอมรับมติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ที่จะแจ้งข้อกล่าวหาว่า มีพฤติการณ์ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต้อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.)ในวันที่ 10 เม.ย.-19 พ.ค.53 โดย ป.ป.ช.เห็นว่าเป็นเหตุที่เข้าข่ายการถอดถอนออกจากตำแหน่ง ซึ่งตนพร้อมที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และยืนยัน ได้ว่า มีการปรับหลักการทำงาน เพื่อหลีกเหลี่ยงความสูญเสีย แต่กรณีที่มีผู้ใช้อาวุธไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะที่รัฐบาลมีหน้าที่คืนความสงบให้กับสังคม
"เรื่องนี้ คนที่ทำงานร่วมกันรู้ดี เช่น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว. กลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ ในขณะนั้น และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รอง ผบ.ทบ.ในขณะนั้น เพราะร่วมประชุมและรู้ดีถึงการำงานในขณะนี้ หาก ป.ป.ช.ได้ข้อมูลจากบุคคลเหล่านี้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา แตต่ไม่แน่ใจว่า บุคคลทั้งหมดพร้อมที่จะเป็นพยานให้หรือไม่"
อดีตนายกฯ กล่าวว่า กระบวนการตรวจสอบของป.ป.ช. เป็นเรื่องที่ตนพร้อมให้ความร่วมมือ ที่จะไปชี้แจง เพื่อแก้ข้อกล่าวหาต่อป.ป.ช. เพราะป.ป.ช. กล่าวหาว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งก็ต้องตั้งคำถามเหมือนกันว่า ในสถานการณ์ที่มีการก่อการร้าย มีการใช้อาวุธ ถ้ารัฐบาลไม่ทำอะไรเลย จะเป็นการทำผิดกฎหมาย ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นอกจากนี้ ในการดูแลสถานการณ์ก็ได้พยายามหลีกเหลี่ยงการสูญเสียด้วยการปรับแนวทางเท่าที่จะทำได้ โดยมีการดำเนินการทั้งระดับนโยบาย การกำหนดยุทธศาสตร์ และการปฏิบัติตอลอดเวลา เห็นได้จากพัฒนาการของเหตุการณ์ ก่อน 10 เมษา หลัง10 เมษา ต้นพ.ค. หลัง14 พ.ค. จนไปถึงวันที่ 19 พ.ค. มีการปรับเปลี่ยน และพัฒนาการของสถานการณ์ตลอดเวลา
ส่วนกรณีที่ ป.ป.ช. หยิบยกการเสียชีวิตของ นายพัน คำกอง และ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ รวมทั้งการบาดเจ็บสาหัสของ นายสมร ไหมทอง มาเป็นตัวอย่าง ผู้บริสุทธิ์ที่เสียชีวิต โดยในการชันสูตรพลิกศพ ตามคำไต่สวนของศาล ระบุว่า เป็นความตายที่เกิดจากการปฎิหน้าที่ของทหารนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กรณีที่ ป.ป.ช. หยิบมานั้นไม่ใช่การสลายการชุมนุม หรือการขอคืนพื้นที่ แต่อยู่ในระหว่างการใช้มาตรการปิดล้อมพื้นที่ โดยกรณี นายพัน กับ
นายสมร เป็นเหตุการณ์เดียวกัน ส่วนกรณีด.ช.คุณากร เกิดในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งมีเหตุที่ทำให้เกิดการปะทะหรือการใช้อาวุธ เช่น กรณีนายพัน กับนายสมร ก็ชัดเจนว่า นายสุรชัย ขับรถตู้ฝ่าด่านเข้าไปในพื้นที่ควบคุม โดยเจ้าหน้าที่ทหาร มีการแจ้งเตือน ส่วนนายพัน ที่เสียชีวิตไม่ได้อยู่ในรถ แต่วิ่งออกมาดูเหตุการณ์ จึงยืนยันได้ว่า ไม่มีเรื่องเจตนาที่จะทำให้เกิดความสูญเสีย เพราะมีการเตือนตามขั้นตอนทุกอย่าง ส่วนกรณีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาวันที่ 14 - 19 พ.ค. รัฐบาลเตือนตลอดเวลาว่า มีผู้ใช้อาวุธแอบแฝงเพื่อแยกประชาชนออกมาจากสถานการณ์ที่มีอันตราย แม้กระทั่ง สื่อมวลชน บุคลาการทางแพทย์ อาสาสมัคร และผู้ชุมนุม รัฐบาลก็เตือนตลอกเวลาว่า มีผู้ใช้อาวุธแฝงตัวอยู่ซึ่งจะมีอันตราย
"สถานการณ์ในขณะนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็จะถูกกล่าวหาว่า ละเว้นการปฏิบัติ เพราะขณะนี้ยังมีคนฟ้องผม และพระสุเทพว่า ปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้สูญเสียทรัพย์สิน จึงเป็นสถานการณ์ ที่ยากลำบากที่ต้องประเมินเหตุการณ์ตามความเป็นจริงว่าต้องควบคุมสถานการณ์ เพื่อคืนความปกติภายใต้การมีกองกำลังติดอาวุธ และการก่อการร่าย โดยยืนว่า ปฎิบัติตามกฎหมายหลีกเหลี่ยงความสูญเสียและปรับแผนยุทธศาสตร์ตลอดเวลา ซึ่งก็จะเป็นดุลพินิจของป.ป.ช.ว่าหลังจากแจ้งข้อกลาวหาแล้วจะมีความเห็นอย่างไรมั่นใจในความบริสุทธิ์ และเคารพการตรวจสอบ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
"เรื่องนี้ คนที่ทำงานร่วมกันรู้ดี เช่น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว. กลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ ในขณะนั้น และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รอง ผบ.ทบ.ในขณะนั้น เพราะร่วมประชุมและรู้ดีถึงการำงานในขณะนี้ หาก ป.ป.ช.ได้ข้อมูลจากบุคคลเหล่านี้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา แตต่ไม่แน่ใจว่า บุคคลทั้งหมดพร้อมที่จะเป็นพยานให้หรือไม่"
อดีตนายกฯ กล่าวว่า กระบวนการตรวจสอบของป.ป.ช. เป็นเรื่องที่ตนพร้อมให้ความร่วมมือ ที่จะไปชี้แจง เพื่อแก้ข้อกล่าวหาต่อป.ป.ช. เพราะป.ป.ช. กล่าวหาว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งก็ต้องตั้งคำถามเหมือนกันว่า ในสถานการณ์ที่มีการก่อการร้าย มีการใช้อาวุธ ถ้ารัฐบาลไม่ทำอะไรเลย จะเป็นการทำผิดกฎหมาย ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นอกจากนี้ ในการดูแลสถานการณ์ก็ได้พยายามหลีกเหลี่ยงการสูญเสียด้วยการปรับแนวทางเท่าที่จะทำได้ โดยมีการดำเนินการทั้งระดับนโยบาย การกำหนดยุทธศาสตร์ และการปฏิบัติตอลอดเวลา เห็นได้จากพัฒนาการของเหตุการณ์ ก่อน 10 เมษา หลัง10 เมษา ต้นพ.ค. หลัง14 พ.ค. จนไปถึงวันที่ 19 พ.ค. มีการปรับเปลี่ยน และพัฒนาการของสถานการณ์ตลอดเวลา
ส่วนกรณีที่ ป.ป.ช. หยิบยกการเสียชีวิตของ นายพัน คำกอง และ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ รวมทั้งการบาดเจ็บสาหัสของ นายสมร ไหมทอง มาเป็นตัวอย่าง ผู้บริสุทธิ์ที่เสียชีวิต โดยในการชันสูตรพลิกศพ ตามคำไต่สวนของศาล ระบุว่า เป็นความตายที่เกิดจากการปฎิหน้าที่ของทหารนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กรณีที่ ป.ป.ช. หยิบมานั้นไม่ใช่การสลายการชุมนุม หรือการขอคืนพื้นที่ แต่อยู่ในระหว่างการใช้มาตรการปิดล้อมพื้นที่ โดยกรณี นายพัน กับ
นายสมร เป็นเหตุการณ์เดียวกัน ส่วนกรณีด.ช.คุณากร เกิดในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งมีเหตุที่ทำให้เกิดการปะทะหรือการใช้อาวุธ เช่น กรณีนายพัน กับนายสมร ก็ชัดเจนว่า นายสุรชัย ขับรถตู้ฝ่าด่านเข้าไปในพื้นที่ควบคุม โดยเจ้าหน้าที่ทหาร มีการแจ้งเตือน ส่วนนายพัน ที่เสียชีวิตไม่ได้อยู่ในรถ แต่วิ่งออกมาดูเหตุการณ์ จึงยืนยันได้ว่า ไม่มีเรื่องเจตนาที่จะทำให้เกิดความสูญเสีย เพราะมีการเตือนตามขั้นตอนทุกอย่าง ส่วนกรณีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาวันที่ 14 - 19 พ.ค. รัฐบาลเตือนตลอดเวลาว่า มีผู้ใช้อาวุธแอบแฝงเพื่อแยกประชาชนออกมาจากสถานการณ์ที่มีอันตราย แม้กระทั่ง สื่อมวลชน บุคลาการทางแพทย์ อาสาสมัคร และผู้ชุมนุม รัฐบาลก็เตือนตลอกเวลาว่า มีผู้ใช้อาวุธแฝงตัวอยู่ซึ่งจะมีอันตราย
"สถานการณ์ในขณะนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็จะถูกกล่าวหาว่า ละเว้นการปฏิบัติ เพราะขณะนี้ยังมีคนฟ้องผม และพระสุเทพว่า ปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้สูญเสียทรัพย์สิน จึงเป็นสถานการณ์ ที่ยากลำบากที่ต้องประเมินเหตุการณ์ตามความเป็นจริงว่าต้องควบคุมสถานการณ์ เพื่อคืนความปกติภายใต้การมีกองกำลังติดอาวุธ และการก่อการร่าย โดยยืนว่า ปฎิบัติตามกฎหมายหลีกเหลี่ยงความสูญเสียและปรับแผนยุทธศาสตร์ตลอดเวลา ซึ่งก็จะเป็นดุลพินิจของป.ป.ช.ว่าหลังจากแจ้งข้อกลาวหาแล้วจะมีความเห็นอย่างไรมั่นใจในความบริสุทธิ์ และเคารพการตรวจสอบ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว