นายวิชา มหาคุณ กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกกรรมการ ป.ป.ช. ได้แถลงถึงมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีที่ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี สั่งใช้กำลังทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในวันที่ 10 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 แล้ว
ที่ประชุมฯ มีมติว่า ภายหลังจากที่ได้มีการใช้กำลังทหารเพื่อขอคืนพื้นที่ ในวันที่ 10 เมษายน 2553 แล้วปรากฏว่า มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก การที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสอง ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเป็นผู้มอบนโยบายในการขอคืนพื้นที่ กลับละเว้นไม่สั่งระงับ ยับยั้ง ทบทวนวิธีการ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้กำลังทหาร และวิธีการควบคุมการปฏิบัติงานให้รัดกุมยิ่งขึ้น รวมถึงไม่ได้ปรับแผนปฏิบัติให้สอดคล้องประสานกัน ทั้งในระดับนโยบาย การบังคับบัญชา และการปฏิบัติในพื้นที่ ในการใช้กำลังทหารเข้าขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงและอาวุธ แต่ยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมที่เข้าร่วมชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ และประชาชนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม จนเป็นเหตุให้ประชาชนเสียชีวิตหลายราย ดังปรากฏตามคำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพของศาลว่า ความตายเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานทหาร จึงเป็นกรณีมีพฤติการส่อว่า กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองออกจากตำแหน่ง สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น ในฐานะผู้ปฏิบัติจะมีความรับผิดเพียงใดหรือไม่ จะได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป
ที่ประชุมฯ มีมติว่า ภายหลังจากที่ได้มีการใช้กำลังทหารเพื่อขอคืนพื้นที่ ในวันที่ 10 เมษายน 2553 แล้วปรากฏว่า มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก การที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสอง ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเป็นผู้มอบนโยบายในการขอคืนพื้นที่ กลับละเว้นไม่สั่งระงับ ยับยั้ง ทบทวนวิธีการ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้กำลังทหาร และวิธีการควบคุมการปฏิบัติงานให้รัดกุมยิ่งขึ้น รวมถึงไม่ได้ปรับแผนปฏิบัติให้สอดคล้องประสานกัน ทั้งในระดับนโยบาย การบังคับบัญชา และการปฏิบัติในพื้นที่ ในการใช้กำลังทหารเข้าขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงและอาวุธ แต่ยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมที่เข้าร่วมชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ และประชาชนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม จนเป็นเหตุให้ประชาชนเสียชีวิตหลายราย ดังปรากฏตามคำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพของศาลว่า ความตายเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานทหาร จึงเป็นกรณีมีพฤติการส่อว่า กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองออกจากตำแหน่ง สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น ในฐานะผู้ปฏิบัติจะมีความรับผิดเพียงใดหรือไม่ จะได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป