ศาลอาญาพิพากษายกฟ้อง “สนธิ ลิ้มทองกุล” อดีตแกนนำพันธมิตรฯ และ “เอเอสทีวี” ไม่หมิ่น “พ.ต.ท.ทักษิณ” กรณีปราศรัยบนเวทีพาดพิงใช้เงินซื้อข้าราชการบางคนและทำให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอ ชี้ปราศรัยมีเจตนาเพื่อปกป้องสถาบันฯ
วานนี้ (19 ก.พ.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อ.1252/2556 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 โจทก์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โจทก์ร่วมยื่นฟ้อง บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด โดยนายพชร สมุทวณิช และนายขุนทอง ลอเสรีวานิช กรรมการผู้มีอำนาจ, บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายปัญจภัทร อังคสุวรรณ และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กรรมการผู้มีอำนาจ และนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นจำเลย ที่ 1-3 ในความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียงหรือภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 กรณีปราศรัยหมิ่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
โดยคำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2551 เวลากลางคืน นายสนธิ แกนนำพันธมิตรฯ จำเลยที่ 3 ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ บริเวณทำเนียบรัฐบาล ผ่านเครื่องขยายเสียงให้ผู้ชุมนุมจำนวนมากฟังทำนองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีจาบจ้วงสถาบัน และพยายามซื้อรากหญ้า ยึดตำรวจและเอาเงินไปจ่ายให้ทหารบางคนเพื่อให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอ ทำลายรากฐานของกษัตริย์ โดยมีจำเลยที่ 1-2 เป็นผู้ถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงผ่านสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี และเว็บไซต์ผู้จัดการ ซึ่งข้อความที่นายสนธิ กล่าวทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้เสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงเหตุเกิดที่ แขวงและเขตดุสิต กทม.และทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรไทย
โดยวันนี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และจำเลยทั้งหมดมาศาลพร้อมนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วมีประเด็นวินิจฉัยว่า การพูดปราศรัยของจำเลยที่ 3 มีลักษณะหมิ่นประมาทหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ชัดเจนว่า ในวันและเวลาดังกล่าวมีข้อความที่จำเลยที่ 3 ปราศรัยจำนวนมาก แต่โจทก์และโจทก์ร่วมนำข้อความมาฟ้องดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามเฉพาะข้อความบางส่วน กรณีจึงเห็นควรพิจารณาเฉพาะถ้อยคำตามที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำมาฟ้องเท่านั้น โดยประโยคแรกที่ว่า “คิดให้ลึกๆ 2544 จนถึงวันนี้ มันยังไม่หยุดจาบจ้วงทำลายสถาบันกษัตริย์ วันนี้ใช้สมุนที่อยู่สนามหลวง ขึ้นมาด่าสถาบัน....” นั้น เห็นว่าผู้ที่จำเลยที่ 3 กล่าวถึงไม่ใช่โจทก์ร่วม แต่เป็นบุคคลอื่นที่พูดที่สนามหลวงและถูกดำเนินคดีอาญาแล้ว ข้อความดังกล่าวจึงไม่ใช้ข้อความที่จำเลยที่ 3 กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมแต่อย่างใด
แต่ในส่วนของประโยคที่พูดทำนองว่า “วันนี้ผมไม่รู้ว่าสื่อมวลชน นักคอลัมนิสต์ คนที่ทำงานโทรทัศน์จะโง่ หรือว่าแกล้งโง่ที่ยังดูไม่ออกอีกหรือว่ารัฐบาลชุดนี้ ภายใต้บงการของนายทักษิณ ชินวัตร ใช้เงินมาซื้อข้าราชการและประชาชนบางส่วน...” นั้นเป็นประโยคที่ผู้ฟังหรือประชาชนทั่วไปได้ฟังแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ร่วมใช้เงินซื้อข้าราชการและประชาชนบางส่วน รวมถึงพลพรรคบริวารซึ่งยืนยันข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับความประพฤติ หน้าที่การงานของโจทก์ร่วม อันเป็นการใส่ความโจทก์ร่วม โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม ปัญหามีว่ามีเหตุยกเว้นตามกฎหมายที่ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ เห็นว่า การกระทำของบุคคลใด ที่ระบุไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (3) จะต้องเป็นคำกล่าวติชม อันเป็นวิสัยที่ประชาชนสามารถทำได้ อันได้แก่กิจการบ้านเมือง กิจการท้องถิ่น กิจการสาธารณะหรือพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง เป็นต้น ซึ่งต้องฟังจากการกระทำของโจทก์ร่วมและบริวารแวดล้อมของโจทก์ร่วมด้วยว่ามีพฤติการณ์เช่นว่านี้หรือไม่ พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสาม นำสืบมาปรากฏว่าบุคคลอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวพันร่วมกับโจทก์ร่วมในทางการเมืองในขณะนั้นและตลอดจนบริวารที่โจทก์ร่วมให้การสนับสนุนก็ได้ขึ้นพูดกล่าวปราศรัยในที่และโอกาสต่างๆ ทำนองดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งบุคคลดังกล่าวล้วนแต่เป็นบุคคลที่รับทำงานให้แก่โจทก์ร่วมหรือโจทก์ร่วมให้การสนับสนุนทั้งสิ้น และบริวารหลายคนของโจทก์ร่วมก็ถูกดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับข้อหาดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง จนทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่ามีบุคคลรวมตัวกันเป็นขบวนการล้มล้างสถาบันฯ จำเลยที่ 3 ซึ่งมีแนวความคิดตรงข้ามกับโจทก์ร่วมมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความเห็นด้วยความเป็นธรรม ทั้งในฐานะประชาชนและสื่อมวลชน ซึ่งเป็นวิสัยที่ประชาชนย่อมกระทำได้โดยสุจริตใจและเป็นหนทางชี้ช่องให้ประชาชนทั่วไปที่มาฟังการพูด ปราศรัยของจำเลยที่ 3 ได้รับรู้ถึงวิธีดำเนินการของบุคคลที่รวมตัวกันเป็นขบวนการเพื่อล้มล้างสถาบันฯ จนเห็นหนทางในการดูแลปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยแนวทางหนึ่ง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (3) ในส่วนของจำเลยที่ 1 และ 2 นั้นพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมตามที่นำสืบยังไม่พอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และ 3 จะต้องร่วมรับผิดชอบกับการปราศรัยของจำเลยที่ด้วยเหตุผลใด อีกทั้งเมื่อศาลพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 ไม่เป็นความผิด จำเลยที่ 1 และ 2 จึงไม่มีความผิดด้วย
ภายหลังนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กล่าวว่า คดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ขณะนี้เป็นนักโทษหนีคดีในต่างแดน แต่กลับส่งตัวแทนมาฟ้องในคดีหมิ่นประมาทได้ ที่ผ่านมาศาลไม่สามารถจะสืบจำเลยได้ ซึ่งเราเคารพในกระบวนการยุติธรรม แต่อีกฝ่ายกลับเอาแต่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง และในปีที่แล้วนายสนธิ ลิ้มทองกุล เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด มีการพิจารณาคดีถึงที่สุดถึง 3 คดี โดยไม่ได้หลบหนี ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ รวมถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ควรเคารพในกระบวนการยุติธรรมด้วย โดยเฉพาะในคดีทุจริตคอร์รัปชัน สามารถต่อสู้ในชั้นศาลได้
ด้านนายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวว่า ตนเองเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด ทุกครั้งที่อัยการมีหมายเรียกก็จะต้องมารับทราบข้อกล่าวหาตลอด แต่ในวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อัยการส่งฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อัยการกลับบอกว่าตัวนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่จำเป็นต้องมาก็ได้ ทั้งๆ ที่กระบวนการควรจะเหมือนกัน
ส่วนเรื่องการจัดเวทีเสวนาเรื่องการแสดงความคิดเห็นการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ที่จะมีขึ้นนั้น นายสนธิกล่าวว่า เป็นเสวนาปาหี่ ไม่มีผลอะไร เป็นพิธีกรรมที่ทำขึ้นเพื่ออ้างความชอบธรรมในการเปิดให้ประมูลสัมปทานพลังงานเท่านั้น
วานนี้ (19 ก.พ.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อ.1252/2556 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 โจทก์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โจทก์ร่วมยื่นฟ้อง บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด โดยนายพชร สมุทวณิช และนายขุนทอง ลอเสรีวานิช กรรมการผู้มีอำนาจ, บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายปัญจภัทร อังคสุวรรณ และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กรรมการผู้มีอำนาจ และนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นจำเลย ที่ 1-3 ในความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียงหรือภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 กรณีปราศรัยหมิ่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
โดยคำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2551 เวลากลางคืน นายสนธิ แกนนำพันธมิตรฯ จำเลยที่ 3 ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ บริเวณทำเนียบรัฐบาล ผ่านเครื่องขยายเสียงให้ผู้ชุมนุมจำนวนมากฟังทำนองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีจาบจ้วงสถาบัน และพยายามซื้อรากหญ้า ยึดตำรวจและเอาเงินไปจ่ายให้ทหารบางคนเพื่อให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอ ทำลายรากฐานของกษัตริย์ โดยมีจำเลยที่ 1-2 เป็นผู้ถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงผ่านสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี และเว็บไซต์ผู้จัดการ ซึ่งข้อความที่นายสนธิ กล่าวทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้เสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงเหตุเกิดที่ แขวงและเขตดุสิต กทม.และทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรไทย
โดยวันนี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และจำเลยทั้งหมดมาศาลพร้อมนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วมีประเด็นวินิจฉัยว่า การพูดปราศรัยของจำเลยที่ 3 มีลักษณะหมิ่นประมาทหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ชัดเจนว่า ในวันและเวลาดังกล่าวมีข้อความที่จำเลยที่ 3 ปราศรัยจำนวนมาก แต่โจทก์และโจทก์ร่วมนำข้อความมาฟ้องดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามเฉพาะข้อความบางส่วน กรณีจึงเห็นควรพิจารณาเฉพาะถ้อยคำตามที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำมาฟ้องเท่านั้น โดยประโยคแรกที่ว่า “คิดให้ลึกๆ 2544 จนถึงวันนี้ มันยังไม่หยุดจาบจ้วงทำลายสถาบันกษัตริย์ วันนี้ใช้สมุนที่อยู่สนามหลวง ขึ้นมาด่าสถาบัน....” นั้น เห็นว่าผู้ที่จำเลยที่ 3 กล่าวถึงไม่ใช่โจทก์ร่วม แต่เป็นบุคคลอื่นที่พูดที่สนามหลวงและถูกดำเนินคดีอาญาแล้ว ข้อความดังกล่าวจึงไม่ใช้ข้อความที่จำเลยที่ 3 กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมแต่อย่างใด
แต่ในส่วนของประโยคที่พูดทำนองว่า “วันนี้ผมไม่รู้ว่าสื่อมวลชน นักคอลัมนิสต์ คนที่ทำงานโทรทัศน์จะโง่ หรือว่าแกล้งโง่ที่ยังดูไม่ออกอีกหรือว่ารัฐบาลชุดนี้ ภายใต้บงการของนายทักษิณ ชินวัตร ใช้เงินมาซื้อข้าราชการและประชาชนบางส่วน...” นั้นเป็นประโยคที่ผู้ฟังหรือประชาชนทั่วไปได้ฟังแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ร่วมใช้เงินซื้อข้าราชการและประชาชนบางส่วน รวมถึงพลพรรคบริวารซึ่งยืนยันข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับความประพฤติ หน้าที่การงานของโจทก์ร่วม อันเป็นการใส่ความโจทก์ร่วม โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม ปัญหามีว่ามีเหตุยกเว้นตามกฎหมายที่ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ เห็นว่า การกระทำของบุคคลใด ที่ระบุไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (3) จะต้องเป็นคำกล่าวติชม อันเป็นวิสัยที่ประชาชนสามารถทำได้ อันได้แก่กิจการบ้านเมือง กิจการท้องถิ่น กิจการสาธารณะหรือพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง เป็นต้น ซึ่งต้องฟังจากการกระทำของโจทก์ร่วมและบริวารแวดล้อมของโจทก์ร่วมด้วยว่ามีพฤติการณ์เช่นว่านี้หรือไม่ พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสาม นำสืบมาปรากฏว่าบุคคลอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวพันร่วมกับโจทก์ร่วมในทางการเมืองในขณะนั้นและตลอดจนบริวารที่โจทก์ร่วมให้การสนับสนุนก็ได้ขึ้นพูดกล่าวปราศรัยในที่และโอกาสต่างๆ ทำนองดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งบุคคลดังกล่าวล้วนแต่เป็นบุคคลที่รับทำงานให้แก่โจทก์ร่วมหรือโจทก์ร่วมให้การสนับสนุนทั้งสิ้น และบริวารหลายคนของโจทก์ร่วมก็ถูกดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับข้อหาดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง จนทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่ามีบุคคลรวมตัวกันเป็นขบวนการล้มล้างสถาบันฯ จำเลยที่ 3 ซึ่งมีแนวความคิดตรงข้ามกับโจทก์ร่วมมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความเห็นด้วยความเป็นธรรม ทั้งในฐานะประชาชนและสื่อมวลชน ซึ่งเป็นวิสัยที่ประชาชนย่อมกระทำได้โดยสุจริตใจและเป็นหนทางชี้ช่องให้ประชาชนทั่วไปที่มาฟังการพูด ปราศรัยของจำเลยที่ 3 ได้รับรู้ถึงวิธีดำเนินการของบุคคลที่รวมตัวกันเป็นขบวนการเพื่อล้มล้างสถาบันฯ จนเห็นหนทางในการดูแลปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยแนวทางหนึ่ง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (3) ในส่วนของจำเลยที่ 1 และ 2 นั้นพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมตามที่นำสืบยังไม่พอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และ 3 จะต้องร่วมรับผิดชอบกับการปราศรัยของจำเลยที่ด้วยเหตุผลใด อีกทั้งเมื่อศาลพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 ไม่เป็นความผิด จำเลยที่ 1 และ 2 จึงไม่มีความผิดด้วย
ภายหลังนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กล่าวว่า คดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ขณะนี้เป็นนักโทษหนีคดีในต่างแดน แต่กลับส่งตัวแทนมาฟ้องในคดีหมิ่นประมาทได้ ที่ผ่านมาศาลไม่สามารถจะสืบจำเลยได้ ซึ่งเราเคารพในกระบวนการยุติธรรม แต่อีกฝ่ายกลับเอาแต่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง และในปีที่แล้วนายสนธิ ลิ้มทองกุล เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด มีการพิจารณาคดีถึงที่สุดถึง 3 คดี โดยไม่ได้หลบหนี ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ รวมถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ควรเคารพในกระบวนการยุติธรรมด้วย โดยเฉพาะในคดีทุจริตคอร์รัปชัน สามารถต่อสู้ในชั้นศาลได้
ด้านนายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวว่า ตนเองเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด ทุกครั้งที่อัยการมีหมายเรียกก็จะต้องมารับทราบข้อกล่าวหาตลอด แต่ในวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อัยการส่งฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อัยการกลับบอกว่าตัวนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่จำเป็นต้องมาก็ได้ ทั้งๆ ที่กระบวนการควรจะเหมือนกัน
ส่วนเรื่องการจัดเวทีเสวนาเรื่องการแสดงความคิดเห็นการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ที่จะมีขึ้นนั้น นายสนธิกล่าวว่า เป็นเสวนาปาหี่ ไม่มีผลอะไร เป็นพิธีกรรมที่ทำขึ้นเพื่ออ้างความชอบธรรมในการเปิดให้ประมูลสัมปทานพลังงานเท่านั้น