ASTVผู้จัดการรายวัน-สมาคมประกันชีวิตไทย เผยกำลังหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอภาครัฐช่วยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับประกันสุขภาพ คาดจะช่วยให้ประชาชนเห็นความสำคัญประกันสุขภาพมากขึ้น พร้อมคาดธุรกิจประกันชีวิตปีนี้เติบโต 13% ประเมิน"ยูนิตลิงค์"จะเติบโตขึ้นเล็กน้อย
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังหารือในแนวทางการเพื่อขอให้ภาครัฐช่วยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับประกันสุขภาพ ซึ่งอาจจะยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้มากนักเนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงการพิจารณากันในวงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าหากมีแนวทางที่ชัดเจนก็จะมีการเสนอต่อไปยังคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทั้งนี้เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนเห็นความสำคัญกับประกันสุขภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในปี 2557 ที่ผ่านมาธุรกิจยังประกันชีวิตไทยมีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง โดยมีเบี้ยประกันชีวิตรวมทั้งสิ้น 503,851 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 13.7% เมื่อเทียบกับปี 2556 ทั้งนี้หากจำแนกเป็นเบี้ย
ประกันชีวิตรายใหม่ จะอยู่ที่ 108,284 ล้านบาท เติบโต 15.1% เบี้ยประกันชีวิตปีต่ออายุ 333,224 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ 86% และเบี้ยประกันชีวิตรับจ่ายครั้งเดียว 62,343 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 14.6%
สำหรับช่องทางการจำหน่ายในปี 2557 นั้นช่องทางการขายผ่านตัวแทนประกันชีวิตยังคงเป็นช่องทางหลัก โดยมีสัดส่วนการขายผ่านช่องทางตัวแทนประมาณ 51.6% ซึ่งมีเบี้ยประกันชีวิตรับจำนวน 260,014 ล้านบาท ขณะที่ช่องทางการขายผ่านธนาคารพาณิชย์ (Bancassurance) มีสัดส่วนการขายอยู่ที่ 41.9% มีเบี้ยประกันชีวิตรับ 210,895 ล้านบาท ในส่วนของการขายผ่านการตลาดแบบตรง (Direct Marketing) มีสัดส่วนอยู่ที่ 3.0% มีเบี้ยประกันชีวิตรับ 15,242 ล้านบาท และช่องทางอื่นๆเช่นโบรกเกอร์ประกันภัยอีก 3.5% มีเบี้ยประกันชีวิตรับ 17,698 ล้านบาท
ขณะเดียวกันอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับรวมผ่านช่องทางต่างๆเมื่อเทียบกับปี 2556 จะพบว่าการขายผ่านตัวแทนประกันชีวิตมีอัตราการเติบโต 7.5% การขายผ่านธนาคารเติบโต 22.4% และการขายผ่านการตลาดแบบตรงเติบโต 8.8% และการขายผ่านช่องทางอื่นๆเติบโต 20.7%
"ช่องทางการขายผ่านธนาคาร และการขายผ่านตัวแทนนั้นมีอัตราการเติบโตทีดี โดยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตผ่านการช่องทางการขายทั้งแบงก์และตัวแทนนั้นต่างกัน ซึ่งการขายผ่านตัวแทนส่วนใหญ่จะเป็นประกันสุขภาพ ประกันสะสม
ทรัพย์ หรือกรมธรรม์ที่มีความซับซ้อนและเป็นการซื้อประกันแบบระยะยาว ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้า Mass ขณะที่ช่องทางการขายผ่านแบงก์นั้นส่วนใหญ่จะเป็นประกันระยะสั้น และส่วนใหญ่ลูกค้าจะเป็นแบบ Hi-network" นายสาระกล่าว
นายสาระ กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในปี 2558 นี้ธุรกิจประกันชีวิตจะยงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเติบโตประมาณ 13% มีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 571,000 ล้านบาท ซึ่งได้รับแรงส่งมาจากปี 2557 รวมถึงปัจจัยสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยการส่งเสริมจากภาครัฐ เช่น มีการรับฟังข้อเสนแนะจากภาคธุรกิจเกี่ยวกับการปรับปรุงหรือออกกฎระเบียบต่างๆให้รองรับสถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคตเพื่อให้กฎระเบียบต่างๆยืดหยุ่นต่อการดำเนินงานของบริษัท ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันมาตรการทางภาษีที่ส่งเสริมให้นำเบี้ยประกันชีวิตมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ประชาชนสนใจหันมาทำธุรกิจประกันชีวิตมากขึ้น
ทั้งนี้ปัจจัยจากภาคธุรกิจโดยเฉพาะการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เช่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น และยังพัฒนาคุณภาพของตัวแทนประกันชีวิตให้มีความเป็นเลิศเทียบสากล โดยมุ่งเน้นความเป็นมืออาชีพเข้มข้น
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังหารือในแนวทางการเพื่อขอให้ภาครัฐช่วยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับประกันสุขภาพ ซึ่งอาจจะยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้มากนักเนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงการพิจารณากันในวงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าหากมีแนวทางที่ชัดเจนก็จะมีการเสนอต่อไปยังคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทั้งนี้เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนเห็นความสำคัญกับประกันสุขภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในปี 2557 ที่ผ่านมาธุรกิจยังประกันชีวิตไทยมีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง โดยมีเบี้ยประกันชีวิตรวมทั้งสิ้น 503,851 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 13.7% เมื่อเทียบกับปี 2556 ทั้งนี้หากจำแนกเป็นเบี้ย
ประกันชีวิตรายใหม่ จะอยู่ที่ 108,284 ล้านบาท เติบโต 15.1% เบี้ยประกันชีวิตปีต่ออายุ 333,224 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ 86% และเบี้ยประกันชีวิตรับจ่ายครั้งเดียว 62,343 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 14.6%
สำหรับช่องทางการจำหน่ายในปี 2557 นั้นช่องทางการขายผ่านตัวแทนประกันชีวิตยังคงเป็นช่องทางหลัก โดยมีสัดส่วนการขายผ่านช่องทางตัวแทนประมาณ 51.6% ซึ่งมีเบี้ยประกันชีวิตรับจำนวน 260,014 ล้านบาท ขณะที่ช่องทางการขายผ่านธนาคารพาณิชย์ (Bancassurance) มีสัดส่วนการขายอยู่ที่ 41.9% มีเบี้ยประกันชีวิตรับ 210,895 ล้านบาท ในส่วนของการขายผ่านการตลาดแบบตรง (Direct Marketing) มีสัดส่วนอยู่ที่ 3.0% มีเบี้ยประกันชีวิตรับ 15,242 ล้านบาท และช่องทางอื่นๆเช่นโบรกเกอร์ประกันภัยอีก 3.5% มีเบี้ยประกันชีวิตรับ 17,698 ล้านบาท
ขณะเดียวกันอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับรวมผ่านช่องทางต่างๆเมื่อเทียบกับปี 2556 จะพบว่าการขายผ่านตัวแทนประกันชีวิตมีอัตราการเติบโต 7.5% การขายผ่านธนาคารเติบโต 22.4% และการขายผ่านการตลาดแบบตรงเติบโต 8.8% และการขายผ่านช่องทางอื่นๆเติบโต 20.7%
"ช่องทางการขายผ่านธนาคาร และการขายผ่านตัวแทนนั้นมีอัตราการเติบโตทีดี โดยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตผ่านการช่องทางการขายทั้งแบงก์และตัวแทนนั้นต่างกัน ซึ่งการขายผ่านตัวแทนส่วนใหญ่จะเป็นประกันสุขภาพ ประกันสะสม
ทรัพย์ หรือกรมธรรม์ที่มีความซับซ้อนและเป็นการซื้อประกันแบบระยะยาว ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้า Mass ขณะที่ช่องทางการขายผ่านแบงก์นั้นส่วนใหญ่จะเป็นประกันระยะสั้น และส่วนใหญ่ลูกค้าจะเป็นแบบ Hi-network" นายสาระกล่าว
นายสาระ กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในปี 2558 นี้ธุรกิจประกันชีวิตจะยงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเติบโตประมาณ 13% มีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 571,000 ล้านบาท ซึ่งได้รับแรงส่งมาจากปี 2557 รวมถึงปัจจัยสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยการส่งเสริมจากภาครัฐ เช่น มีการรับฟังข้อเสนแนะจากภาคธุรกิจเกี่ยวกับการปรับปรุงหรือออกกฎระเบียบต่างๆให้รองรับสถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคตเพื่อให้กฎระเบียบต่างๆยืดหยุ่นต่อการดำเนินงานของบริษัท ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันมาตรการทางภาษีที่ส่งเสริมให้นำเบี้ยประกันชีวิตมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ประชาชนสนใจหันมาทำธุรกิจประกันชีวิตมากขึ้น
ทั้งนี้ปัจจัยจากภาคธุรกิจโดยเฉพาะการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เช่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น และยังพัฒนาคุณภาพของตัวแทนประกันชีวิตให้มีความเป็นเลิศเทียบสากล โดยมุ่งเน้นความเป็นมืออาชีพเข้มข้น