xs
xsm
sm
md
lg

อัดรัฐเอื้อนายทุน “รสนา-ธีระชัย”แท็กทีม สอนมวยพลังงานบิ๊กตู่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


"รสนา"สอนมวยนายกฯ ชี้เอทานอลแพงกว่าเบนซินลิตรละ 10 บาท การสนับสนุนใช้แก๊สโซฮอลล์ เท่ากับไปเพิ่มความรวยให้โรงงานน้ำตาล โรงเหล้า ส่วนที่อ้างว่าไทยจะขาดแคลนพลังงานหากไม่รีบเปิดสัมปทาน ก็ไม่จริง ชี้สมัย "ยิ่งลักษณ์" ทำสัญญาซื้อก๊าซนำเข้าล่วงหน้าถึง 20 ปี ยังไงประชาชนก็ต้อง รับภาระใช้ก๊าซแพงผลิตไฟฟ้าอยู่แล้ว แฉรีบเปิดสัมปทานรอบ 21 เพราะต้องการก๊าซดิบป้อนธุรกิจปิโตรเคมี "ธีระชัย" อัดคนอ้างข้อมูล "เมียปิยสวัสดิ์" ที่ระบุว่า ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ใช้ระบบสัมปทาน เป็นพวกดัดจริต ด้านรัฐบาลหาทางลดกระแส เปิดเวทีรับฟังข้อมูล 20 ก.พ.นี้

น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว รสนา โตสิตระกูล หัวข้อ “ถอดรหัสความรู้ของท่านนายกฯ เรื่อง พลังงาน”หลังจากที่ฟังรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ”เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดังนี้

1. ท่านนายกฯพูดว่า “น้ำมันลง ไม่ใช่ว่าแก๊สจะต้องลงไปด้วย คงไม่ใช่แบบนั้น เพราะคนละส่วน คนละประเภทกัน คนละต้นทุน คนละวิธีการ เพราะ ฉะนั้น ถ้าน้ำมันบางประเภทลง บางประเภทขึ้น อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายในการสนับสนุนพลังงานของประเทศด้วย ของรัฐด้วย ในวันนี้รัฐต้องการสนับสนุนให้ใช้ น้ำมันแก๊สโซฮอลด้วย บางอย่างก็ต้องลดกันเพื่อจะลดการนำเข้าแก๊สในประเทศ หรือว่าต้นทุนน้ำมันดิบ"

**ใช้แก๊สโซฮอลล์โรงเหล้า-น้ำตาล รวย

ข้อความประโยคนี้ของท่านนายกฯ พอจะตีความได้ประมาณนี้ว่า

1.1) ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกลดลงมาก แต่ราคาแก๊สในประเทศไม่จำเป็นต้องลดมาก เพราะขึ้นกับนโยบายของรัฐบาล ท่านคงหมายถึง การนำเอทา นอลที่มาจากผลิตผลทางการเกษตร มาผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอลล์ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบ กรณีนี้ปรากฏว่า เนื้อน้ำมันของกลุ่มแก๊สโซ ฮอลล์ทั้งหลาย มีราคาแพงกว่าเนื้อน้ำมันเบนซินล้วนๆ ราคาเนื้อน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ จะแพงขึ้นตามปริมาณเอทานอลที่เติมเข้าไป เพราะราคาเอทานอลในประเทศไทย แพงกว่าเนื้อน้ำมันเบนซิน 95 และแพงกว่าเอทานอลตลาดโลก ถึงประมาณลิตรละ 10 บาท

ดังนั้น ยิ่งเติมเอทานอลมากเท่าไหร่ ผู้ใช้น้ำมันกลุ่มนี้ ต้องจ่ายราคามากขึ้นทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น ราคา E85 ถูกกว่าน้ำมันชนิดอื่นด้วยการเอาเงิน กองทุนน้ำมันมาชดเชยลิตรละ 8.23 บาท ซึ่งอ้างว่าเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร

แต่ข้อมูลจริงคือ บริษัทน้ำตาล และบริษัทผลิตสุรา ได้ประโยชน์มากกว่าชาวไร่มันสัมปะหลัง รวมทั้งชาวไร่อ้อยด้วย เพราะสัดส่วนการนำกากน้ำตาล และ มันสัมปะหลังมาผลิตเอทานอล คือ 80 : 20

การส่งเสริมการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอลล์ ทำให้มีการใช้เอทานอลแทนเบนซิน วันละ 3 ล้านลิตร เท่ากับประชาชนลดการใช้น้ำมันเบนซินลงได้วันละ 3 ล้านลิตร ปีละ 1,095 ล้านลิตร ทำให้โรงกลั่นสามารถส่งออกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น และได้กำไรเพิ่มขึ้น เพราะน้ำมันสำเร็จรูปที่โรงกลั่นส่งออกรัฐบาลไม่เก็บภาษี แต่ ประชาชนเป็นผู้แบกต้นทุนราคาเอทานอล ที่มีราคาแพงกว่าตลาดโลกให้กับธุรกิจน้ำตาล และสุรา มากกว่าช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบ

ในกรณีนี้ดิฉันขอความกรุณาให้ท่านนายกฯ น้อมใจศึกษาแนวพระราชดำริแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับเอทานอล และแนวคิดเศรษฐกิจพอ เพียง ดังนี้

“...น้ำมันสมัยใหม่มันแพง ไม่รู้ทำไมมันแพง สมัยนี้อะไรๆ ก็แพงขึ้นทุกที จะให้น้ำมันถูกลงมาก็ลำบาก นอกจากหาวิธีที่จะทำน้ำมันที่ราคาถูก ซึ่งก็ทำได้เหมือน กัน ถูกกว่านิดหน่อย คือ แทนที่จะใช้น้ำมันที่มีออกเทน 95 ก็ใช้ออกเทน 91 แล้วก็เติมแอลกอฮอล์เข้าไปนิดนึง ก็เป็นออกเทน 95 อาจเป็นได้ว่า รถจะวิ่งไม่เร็วก็ดี เหมือนกัน รถไม่วิ่งเร็วเกินไป รถจะได้ไม่ชนมากเกินไป ก็จะช่วยประหยัด ทั้งหมดนี้เป็นความคิดที่ให้พอเพียง...”

( ส่วนหนึ่งของพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2543 นำมาสู่การพัฒนาการ ใช้เอทานอล ผสมกับน้ำมันเบนซิน เพื่อใช้เป็นแก๊สโซฮอล์ )

นายกฯควรพิจารณาว่า เหตุใดยิ่งส่งเสริมเอทานอล กลับยิ่งทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระราคาน้ำมันแพงขึ้น ซึ่งแตกต่างจากพระราชประสงค์ของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตัวเลขการใช้เบนซินที่ลดลงของประชาชน (เพราะยอมแบกต้นทุนเอทานอลแพงขึ้น) กลับไม่เคยปรากฏอยู่ในตัวเลขการนำเข้าพลังงานที่ลดลง ของกระทรวงพลังงาน ตัวเลขการนำเข้าน้ำมันดิบยังคงอ้างคลุมๆ ว่า เป็นการนำเข้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศทั้งหมด เช่น ประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานถึง 85% ในปี 2557 ต้องใช้เงิน 1.44 ล้านล้านบาทนำเข้าพลังงาน ไม่เคยมีการแยกแยะตัวเลขการนำเข้าพลังงานทั้งหมดว่า เป็นการนำเข้าเพื่อใช้ในประเทศเท่าไหร่ ?

นำเข้าเพื่อทดแทนการส่งออกน้ำมันดิบ จากทรัพยากรในประเทศเท่าไหร่ ? นำเข้าเพื่อทดแทนการใช้ก๊าซ LPG ของปิโตรเคมีเพื่อส่งออกเป็นเม็ดพลาสติก เท่าไหร่ ? หรือนำเข้าเพื่อนำมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปส่งออกเท่าไหร่ ?
แต่ใช้ตัวเลขรวม เพื่อลวงตาว่าประชาชนใช้สิ้นเปลือง จึงต้องขายราคาแพง เพื่อบังคับให้ประชาชนประหยัด ดังข้อความของท่านนายกฯ ที่กล่าวว่า “ เพราะฉะนั้น บางอย่างนั้นถ้าเราใช้มากๆไป ไม่ประหยัด ถูกมากก็ใช้มาก ความสิ้นเปลืองต่างๆก็เสียหาย”

**ไทยซื้อก๊าซการ์ต้าล่วงหน้า 20ปี

1.2) หากข้อความว่า “น้ำมันลงไม่ใช่ว่าแก๊สจะลงไปด้วย" ของท่านนายกฯ หมายรวมถึง ก๊าซหุงต้ม หรือ ก๊าซ LPG ด้วย ก็ต้องเรียนท่านนายกฯว่า ขณะนี้ ก๊าซ LPG ในตลาดโลก มีราคาเพียงกิโลกรัมละ 14.58 บาท (426 เหรียญ/ตัน) แต่ราคาก๊าซ LPG จากทรัพยากรในอ่าวไทย ที่ผ่านโรงแยกก๊าซภายในประเทศ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานใน ครม. ของท่านอนุมัติราคาขายส่งเป็น 16.43 บาท /กก.(498 เหรียญ/ตัน)

ทั้งที่ราคาก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซ ที่แหล่งลานกระบือ จ.กำแพงเพชร ขายให้ ปตท. ในราคาบวกกำไรแล้วเพียง 10.02 บาท/กก. ดังนั้น โรงแยกก๊าซ ขนาดใหญ่ ควรมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่านี้ หรืออย่างน้อยไม่ควรมีราคาสูงกว่าโรงแยกก๊าซขนาดเล็กที่แหล่งลานกระบือ

การที่รัฐมนตรีของท่านนายกฯ ปรับราคาขายส่งของโรงแยกก๊าซจากราคา 10.98 บาท/กก. เป็น 16.43บาท/กก. จึงเป็นการใช้อำนาจรัฐกำหนดนโยบายเพื่อ เพิ่มกำไรให้เอกชนอย่างอู้ฟู่ ใช่หรือไม่ ?

ยิ่งกว่านั้น กระทรวงพลังงาน ยังอนุมัติให้เอาเงินจากกองทุนน้ำมันไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการนำเข้าก๊าซ LPG ตันละ 85เหรียญ ให้กับบริษัทนำเข้าที่มี เพียงบริษัทเดียวคือ ปตท. และอนุมัติให้นำราคา LPG ทั้งหมดมาเฉลี่ยเป็นราคาที่ผู้ใช้ก๊าซ LPG ต้องแบกรับราคาแทนธุรกิจปิโตรเคมี ทั้งที่ก๊าซ LPG ในประเทศมี เพียงพอให้ภาคครัวเรือนได้ใช้ เพียงแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นมหาศาลของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จึงไม่มีเหตุผลที่ภาคครัวเรือนและผู้ใช้ LPG กลุ่ม อื่นต้องใช้ LPG ราคาแพงทั้งจากก๊าซในประเทศ และก๊าซนำเข้า เพื่ออุ้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ตรงนี้จึงใคร่ขอเสนอท่านนายกฯ โปรดพิจารณาให้ปิโตรเคมีใช้วัตถุดิบ LPG จากนำเข้าทั้งหมด ไม่ใช่มาแย่งประชาชนใช้จนเกิดปัญหาความขาดแคลน ก๊าซ LPG จนนำมาเป็นข้ออ้างเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน เพื่อผลักดันให้ต้องรีบให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21
ยิ่งกว่านั้น กระทรวงพลังงานยังมีนโยบายอุ้มกลุ่มทุนพลังงาน ด้วยการกำหนดให้ก๊าซจากอ่าวไทย ที่ผู้รับสัมปทานต้องจ่ายเงินค่าภาคหลวงให้รัฐ ซึ่งตาม กฎหมายปิโตรเลียมระบุการเทียบค่าความร้อน 10 ล้านบีทียู = 1 บาร์เรล ปรากฏว่า อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติยอมรับใน กมธ.พลังงาน ของ สปช. ว่า ได้ปล่อยให้ ใช้หน่วยเทียบเพียง 5.7 ล้านบีทียู = 1 บาร์เรล ในการเก็บค่าภาคหลวงจากเอกชนจริง ซึ่งทำให้รัฐได้เงินค่าภาคหลวงน้อยลงเกือบ 50% โดยอ้างว่า “เพื่อเป็นแรงจูงใจ ให้กับเอกชนผู้รับสัมปทาน”!!
2) คำพูดท่านนายกฯที่ว่า “ในส่วนของอนาคตไม่กี่ปีข้างหน้า ถ้าหากว่าประเทศไทย มีพลังงานที่ใช้จากแหล่งพลังงานภายในไม่เพียงพอ ต้องจัดหาจาก ต่างประเทศ หรือจัดซื้อทั้งหมด นั่นคือปัญหาของเรา ถ้าปิดซ่อม หรือว่าถ้าเขาไม่ส่งหรือถ้ามีปัญหาอื่นๆ ก็แล้วแต่ความขัดแย้ง เราจะไม่มีพลังงานใช้ในประเทศ ถ้า เราไม่เตรียมการในประเทศไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วันนี้ แม้ว่าจะใช้เวลามากถึง 5 - 6 ปี ในการลงทุนขุดเจาะต่างๆ เหล่านี้ ก็ไปว่ากันมา ว่าจะขุดได้อย่างไร ”

ท่านนายกฯ คงไม่ทราบว่า ในรัฐบาลที่แล้วได้มีการเซ็นสัญญาระยะยาวซื้อก๊าซ LNG จากประเทศการ์ต้า เป็นเวลา 20 ปี โดยเริ่มส่งก๊าซ LNG ปีละ 2 ล้านตัน ตั้งแต่ มกราคม 2558 เป็นต้นไป ท่านเลยไม่ต้องกังวลว่าก๊าซจะขาด และหาซื้อไม่ได้ ถ้าแหล่งก๊าซพม่าจะปิดซ่อม หรือมาเลเซีย จะเอาก๊าซจากแหล่งเจดีเอไทย - มาเลเซีย ไป เพราะประเทศไทยไปทำสัญญานำเข้าก๊าซ LNGไว้แล้ว อย่างไรเสีย ประชาชนต้องใช้ของแพงมาผลิตไฟฟ้า เพื่อให้เอกชนได้กำไรอยู่แล้วค่ะท่านนายกฯ

ท่านนายฯ อาจจะยังไม่ทราบว่า กำลังสำรองไฟฟ้าที่กำหนดไว้ 15% ขณะนี้เราใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าที่ประมาณการไว้ ทำให้มีพลังงานสำรองเกินจาก 15% มา เป็น 25% และจะเพิ่มเป็น 40% ในอีกไม่นาน เพราะเป็นไปตามสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ประชาชนเป็นคนแบกรับทั้งสิ้นค่ะ ไม่ใช่ กลุ่มทุนพลังงานหรือแม้แต่รัฐบาล

ดังนั้น ที่มีการกล่าวอ้างว่า ถ้าไม่รีบให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 อีก 5-6 ปี จะไม่มีก๊าซเพียงพอในการผลิตไฟฟ้าใช้ และประชาชนต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพง จึงเป็นข้ออ้างที่ไม่จริง แต่ความจริงที่ต้องเร่งให้เปิดสัมปทานรอบ 21 คือ ธุรกิจปิโตรเคมีต้องการก๊าซเปียก (Wet Gas)ในอ่าวไทยราคาถูกไปป้อนอุตสาหกรรมปิโต รเคมี ดังคำให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารในบริษัทพลังงานคนหนึ่งกล่าวว่า
“ก๊าซแอลเอ็นจี จะใช้ได้เฉพาะผลิตไฟฟ้า และเชื้อเพลิงเท่านั้น ไม่ได้มีคุณสมบัติเป็นก๊าซเปียกเหมือนในอ่าวไทย ซึ่งหากลดกำลังผลิตก๊าซในอ่าว ก็ต้องพิจารณา ให้รอบด้าน เพราะจะกระทบต่อการจ้างงานมหาศาล ที่เกิดจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องปิโตรเคมี”

**เร่งให้สัมปทานเพื่อเอื้อธุรกิจปิโตรฯ

ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การรีบเปิดสัมปทาน โดยไม่แก้ไขกฎหมายที่ประเทศเสียเปรียบจำนวนมากนั้น ไม่ใช่เพื่อตอบโจทย์แก้ ปัญหาค่าไฟราคาแพงของประชาชน เพราะอย่างไรเสียประชาชน ก็ต้องรับภาระซื้อก๊าซ LNG ราคาแพงมาผลิตไฟฟ้าอยู่แล้ว

การที่ต้องรีบร้อนเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 เป็นการตอบโจทย์ความมั่นคงของปิโตรเคมี ซึ่งเป็นธุรกิจเอกชนของกลุ่มทุนพลังงานแบบเต็มๆ มากกว่า

ท่านนายกฯอุตส่าห์พูดว่า “เพราะฉะนั้นวันนี้ อย่ามองรัฐบาลเป็นศัตรู เราไม่ได้มาจากการเมือง ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้มาจากประชาธิปไตยโดย สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นวันนี้เราเข้ามาแก้ปัญหา ไม่ใช่ว่าสิ่งใดที่เราทำก็ผิดไปทั้งหมด หรือถูกไปทั้งหมด”

เมื่อท่านทราบอยู่แล้วว่า ท่านไม่ได้มาจากการเมือง ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้มาจากประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ดิฉันขอกราบเรียนว่า การเลือกตั้ง ก็ ไม่ใช่ใบรับรองความเป็นประชาธิปไตย แม้แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย ก็ถูกตราหน้าได้ว่า เป็นเผด็จการรัฐสภา หรือเป็นทรราชก็ได้ เมื่อรัฐบาลนั้นไม่ฟังเสียงที่แท้จริงของประชาชน

รัฐบาลจากการรัฐประหารในอดีตหรือปัจจุบัน ไม่เคยเรียกตัวเองว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะตามรัฐธรรมนูญทุก ฉบับนั้น ไม่ว่า ฉบับถาวรหรือชั่วคราว ระบุชัดเจนว่า ทุกรัฐบาลไม่ว่ามาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐประหาร ล้วนถือตนว่าอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขทั้งสิ้น

ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น คือ การสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อ พระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทรงมีพระราชประสงค์ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า อิสราธิปไตย หรือ ประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ดังที่ท่านนายกฯได้กล่าวถึงนั้น ก็ขอให้ท่านได้ น้อมเกล้าฯ ทบทวนพระราชปณิธานของพระองค์ผู้ทรงพระราชทานระบอบประชาธิปไตยแก่ปวงชนชาวไทย ดังที่ทรงลิขิตไว้ในพระราชหัตเลขาสละราชสมบัติว่า

“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะ ใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”

หากท่านนายกฯไม่ฟังเสียงทักท้วงของประชาชน และวิญญูชนทั้งหลายในบ้านเมืองนี้ ที่ขอให้ท่านชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ออกไปก่อน เพื่อจะได้มีเวลาในการฟังความโดยถี่ถ้วนแล้ว ประชาชนก็จะตั้งคำถามได้ว่า ท่านกำลังกระทำการที่ขัดต่อพระราชประสงค์ในพระราชหัตถเลขา ที่ไม่ให้ผู้ใด คณะใด กระทำการใดโดยสิทธิขาด โดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร ใช่หรือไม่ ?
และประเด็นที่ประชาชนกำลังเคลือบแคลงใจ ก็คือ นโยบายที่ท่านทำอยู่ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง แต่เป็นประโยชน์ของกลุ่ม ทุนพลังงานบนภาระของประชาชนทั้งประเทศ ใช่หรือไม่? ซึ่งนอกจากท่านนายกฯจะไม่ได้แก้ปัญหาเดิมที่มีอยู่แล้ว ท่านกำลังจะเป็นผู้สร้างปัญหาและความขัดแย้ง รอบใหม่ขึ้นมาเสียเอง ท่านทราบหรือไม่ ?

**อัดคนอ้างข้อมูลเมียปิยสวัสดิ์ ดัดจริต

วานนี้ (14 ก.พ.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala กรณีมีผู้อ้างอิงข้อมูล การเปิด สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 สัมปทาน vs แบ่งปันผลผลิต ของนางอานิก อัมระนันทน์ ภรรยา นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานบอร์ด ปตท. ที่เสนอต่อคณะ กรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 57 โดยอ้างตอนหนึ่งว่า“ประเทศพัฒนาแล้วที่มีระดับธรรมาภิบาลสูงล้วนใช้ระบบสัมปทาน”มิใช่ ระบบแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC(Production Sharing Contract)ซึ่งภาคประชาชนพยายามเรียกร้องให้มีรัฐพิจารณา และเลื่อนการให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไปก่อน
นายธีระชัย ได้กล่าวตอบโต้ตรรกะของผู้ที่นำข้อมูลดังกล่าวมาอ้างโดยระบุว่า สาเหตุที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ใช้ระบบสัมปทาน ก็อันเนื่องมาจาก ประเทศเหล่านั้น นักการเมืองและข้าราชการมีธรรมาภิบาลสูง ทำให้ประชาชนไม่ต้องกังวลว่า รัฐหรือผู้มีอำนาจจะมีการช่วยเหลือบริษัทใดเป็นพิเศษหรือไม่ ผิดกับ ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศไทย ที่นักการเมืองบีบข้าราชการได้ง่าย และข้าราชการก็ไม่ทัดทานนักการเมือง , ข้าราชการระดับสูงมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับกลุ่ม ทุนพลังงาน , กระบวนการตรวจสอบไม่มีอำนาจบังคับ , ทหารฟังข้อมูลจากเฉพาะข้าราชการที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ขณะที่ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ให้ความเห็นด้าน พลังงาน ก็ถูกรัฐวิสาหกิจพลังงานฟ้องร้อง

"สภาพแบบนี้ ถ้าบอกว่าไทยควรจะใช้ระบบสัมปทาน เพียงเพื่อให้คนนอกมองเราว่า เป็นประเทศที่พัฒนาระดับโลก มีคอร์รัปชันต่ำอย่างนี้ต้องเรียกว่า ดัดจริตครับ" นายธีระชัย ระบุ

สำหรับบันทึกฉบับเต็มของนายธีระชัย ซึ่งออกมาตอบโต้ตรรกะของเทคโนแครต ผู้สนับสนุนการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 มีรายละเอียดทั้ง หมดดังนี้

มีผู้นำข้อมูลมาแสดงครับ “จาก https://www.facebook.com/notes/10205771569474626/ มี infographic ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศที่พัฒนาระดับโลก เขาใช้สัมปทานกันเกือบหมด และหากเอาประเทศมาเปรียบเทียบกับลิงค์ http://www.transparency.org/cpi2014/results#myAnchor1 ประเทศที่ใช้สัมปทานเป็น ประเทศที่มีระดับการคอร์รัปชันต่ำเมื่อเปรียบกับประเทศที่ใช้ PSC”

ผมต้องขอขอบคุณมากที่นำข้อมูลสำคัญมาช่วยผมอธิบายเรื่องนี้

ประเทศอย่างสหรัฐฯ ที่ให้กรรมสิทธิ์แก่ผู้เป็นเจ้าของโฉนด เอกชนเจ้าของที่มักจะเลือกระบบสัมปทาน เพราะสะดวกและไม่มีภาระต้องลงทุนสำรวจ เบื้องต้นเอง

ประเทศที่มีการบริหารจัดการดี มีระบบการเมืองดี อย่างอังกฤษ สำหรับแหล่งสาธารณะในทะเลนั้น จะใช้ระบบอะไรก็ได้ครับ เพราะประชาชนจะไม่ กังวลว่ามีการช่วยเหลือบริษัทใดเป็นพิเศษหรือไม่ จะไม่กังวลว่าข้าราชการย่อหย่อนไม่ผลักดันการเจรจาให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุดหรือไม่

ประชาชนจะไม่กังวลเรื่องเหล่านี้ เพราะผู้ที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีไม่มีการบีบให้ข้าราชการทำโน่นทำนี่ ข้าราชการเองก็ปฏิบัติตัวน่าเคารพนับถือ น่ายกย่อง พร้อมจะยืนตรงคานอำนาจรัฐมนตรี ประเทศที่ธรรมาภิบาลสูง จึงจะใช้ระบบใดก็ได้ ประชาชนไม่กังวล

แต่ถ้าดูประเทศกำลังพัฒนา จะเห็นว่าเกือบทั้งหมดใช้ระบบ PSC เหตุผลก็คือ ประชาชนเขาไม่เชื่อมั่นในผู้ที่เป็นรัฐบาลครับ และหลายกรณี เขาเคยเห็น มาแล้ว นักการเมืองที่บริหารประเทศ ปู้ยี่ปู้ยำประเทศเขาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทต่างชาติและแก่นักการเมืองเอง โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นมาก่อน

ด้วยเหตุนี้ ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา ถ้ามีพลังการเมืองมากพอ ก็จะบังคับให้ใช้ระบบ PSC เพราะในระบบบ PSC การเลือกบริษัทเข้าสู่ผล ประโยชน์นั้น กระทำโดยวิธีประมูลแข่งขันกัน ประชาชนจึงมั่นใจได้โดยอัตโนมัติ ว่าไม่มีการลำเอียงอย่างแน่นอน และรัฐได้ประโยชน์สูงสุดอย่างแน่นอน ขบวน การประมูลมันทำให้เกิดการถ่วงดุลและธรรมาภิบาลในตัวของมันเองครับ

ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่ใช้ระบบ PSC จึงเหลือแต่เฉพาะประเทศที่ปกครองแบบเผด็จการหรือไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย ผู้ปกครองเป็นซุลต่านหรือเชค เป็นต้น

กรณีประเทศไทย ประชาชนเคยเห็นแล้วว่า

1. นักการเมืองบีบข้าราชการได้ง่าย ข้าราชการเกาะนักการเมืองในระบบอุปถัมภ์ ข้าราชการไม่ทัดทานนักการเมืองที่บีบให้ทำตามคำสั่ง

2. ข้าราชการระดับสูงสุดหลายกระทรวงมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับกลุ่มพลังงาน

3. ขบวนการตรวจสอบโดย สตง ก็ไม่มีอำนาจที่จะบังคับในสิ่งที่ถูกต้องได้

4. ทหารที่มีอำนาจและมีความจริงใจก็รับฟังข้อมูลเฉพาะจากข้าราชการที่มีประโยชน์ทับซ้อน

5. ผู้ที่วิพากวิจารณ์เรื่องพลังงานในทางลบก็ถูกรัฐวิสาหกิจฟ้องคดี ทั้งที่ควรจะทำตัวเป็นองค์กรของประชาชน

สภาพแบบนี้ ถ้าบอกว่าไทยควรจะใช้ระบบสัมปทาน เพียงเพื่อให้คนนอกมองเราว่าเป็นประเทศที่พัฒนาระดับโลก มีคอร์รัปชั่นต่ำอย่างนี้ต้องเรียกว่า ดัด จริต ครับ

**รัฐบาลลดกระแสต้าน เปิดเวที 20 ก.พ.นี้

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเหนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี กลุ่มภาคประชาชน จะเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือขอ ให้รัฐบาลทบทวน การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในวันนี้ (16ก.พ.) ว่า อยากให้พี่น้องประชาชนทราบ และสบายใจว่ารัฐบาลได้รับทราบข้อมูลความห่วงใย ต่อการเดินหน้าเรื่องพลังงานเหล่านี้แล้ว หากจะมีการยื่นหนังสือถึงรัฐบาล ก็ขอให้ส่งตัวแทนมายื่น 5-10 คน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจราจรติดขัด ซึ่ง อาจเป็นการรบกวนประชาชนทั่วไป

พล.ต.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า เวลานี้บ้านเมืองกำลังเดินหน้าปฏิรูปประเทศตามโรดแมป ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อสร้างบรรยากาศที่ เอื้ออำนวยต่อการลดความขัดแย้งในอนาคต ตลอดจนการกลับมาเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ หากมีการรวมกลุ่มพี่น้องประชาชนจำนวนมาก ในการยื่นหนังสือ เกรง ว่าจะทำให้เกิดแรงกดดันต่อทุกภาคส่วน

"หากพี่น้องประชาชนเห็นถึงความตั้งใจจริงร่วมกันในการสร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางพลังงาน ภายใต้ข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งรัฐบาลกำหนดจัดเวทีกลาง ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลจากทุกฝ่ายพร้อมกัน ในวันที่ 20 ก.พ.นี้ ก็ขอให้การยื่นหนังสือเป็นไปในลักษณะการส่งตัวแทนดังกล่าวข้างต้น ก็น่าจะเป็นแนวทางที่ เหมาะสมที่สุด และในการเปิดเวทีกลางครั้งนี้ รัฐบาลได้เชิญสื่อมวลชนทุกแขนง ร่วมทำข่าวเพื่อรายงานข้อมูลต่อพี่น้องประชาชนในทุกแง่มุม อีกทั้งจะได้พิจารณานำ ไปเผยแพร่ในรายการเดินหน้าประเทศไทยด้วย " พล.ต.สรรเสริญ กล่าวและว่า ได้ปรึกษากับกระทรวงพลังงานแล้ว มีความเห็นชอบร่วมกันที่จะขยายเวลาการยื่นแส ดงจำนงค์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมออกไปก่อน ส่วนจะขยายเวลาถึงเมื่อไร กระทรวงพลังงาน จะได้พิจารณาความเหมาะสม และประกาศต่อสาธารณะต่อไป

***ขาหุ้นฯ สงขลายื่น จม.ถึงหัวหน้า คสช.

วานนี้ (15 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น.ที่มณฑลทหารบกที่ 42 ค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ตัวแทนคณะ 11 ขาหุ้นปฏิรูปพลังงานได้เข้ายื่นจดหมายต่อ พ.อ.ธนาวีร์ สุวรรณรัตน์ หัวหน้ากองกิจการพลเรือน มณฑลทหารบกที่ 42 ค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่ ผ่านไปยัง พล.อ .ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษษความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้ใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกเปิดเผยสัญญาสัมปทานทั้ง 20 รอบที่ ผ่านมาแล้วนำมาพิจารณาอย่างรัดกุมและโปร่งใส ก่อนตัดสินใจเดินหน้า หรือยุติสัมปทานรอบที่ 21

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ตัวแทนคณะ 11 ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน กล่าวว่า ทางขาหุ้นปฏิรูปพลังงานคิดว่าการเปิดสัมปทานครั้งนี้เป็นครั้งที่สำคัญมาก เพราะ ว่าที่ดินทั้งในทะเล และบนบกเหลืออยู่น้อยมากแล้วที่ยังไม่ให้สัมปทานโดย 20 ครั้งที่ผ่านมาเป็นบทเรียนได้ ถ้ามีการเปิดสัญญาให้ศึกษาว่าผลประโยชน์ตกอยู่กับใคร กันแน่ ถ้าผลการศึกษาชัดเจนว่าตกอยู่กับประเทศชาติก็ยินดีสัมปทานรอบที่ 21 ต่อไป แต่ถ้าชัดเจนเช่นเดียวกันว่าผลประโยชน์ตกอยู่กับประเทศชาติน้อยเกินไปก็น่า จะเปลี่ยนเป็นระบบอื่นที่เป็นวิชาการที่สุด

พร้อมกล่าวเน้นย้ำให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีอำนาจเต็มทั้งโดยรัฐธรรมนูญชั่วคราวและกฎอัยการศึกก็น่าจะมีใช้อำนาจ และ ความสามารถที่มีอยู่ให้มีการเปิดเผยสัญญาสัมปทานทั้ง 20 ครั้ง พร้อมตั้งคณะกรรมการศึกษา ซึ่งผลการศึกษาก็จะได้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและจะนำไปสู่การ ตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุด.
กำลังโหลดความคิดเห็น