ชาวบ้านอยุธยา-ปราจีนฯโร่ร้อง กสม. สอบ ปตท.-กัลฟ์วางท่อก๊าซกระทบชีวิตความเป็นอยู่ แฉสารเคมีฟุ้งทำพืชผลตายเหี้ยน “หมอนิรันดร์” รับลูกจ่อลงพื้นที่ 20 ก.พ.นี้ อีกด้านศาล ปค.ไต่สวนนักแรกกรณี “วัชระ” ร้อง กบง.มีมติขึ้นราคาก๊าซขัดคำสั่ง คสช. ชี้เอื้อประโยชน์เอกชนแต่กระทบประชาชน
วานนี้ (9 ก.พ.) ที่สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นายวริทธิ์ธร กลิ่นภู่ ตัวแทนชาวบ้าน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และนายภิญโญ จันทวงษ์ ตัวแทนชาวบ้าน จ.ปราจีนบุรี ได้เข้ายื่นคำร้องต่อ กสม.ผ่าน น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการ กสม.ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน เพื่อขอให้ตรวจสอบกรณี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วางแนวท่อส่งก๊าซ เส้นที่ 4 (ระยอง-แก่งคอย) ทับที่ดินชาวบ้านจนกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่
** เผยสารเคมีค้างในดินเพียบ
นายวรินทธิ์ธร กล่าวว่า การวางแนวท่อส่งก๊าซของ ปตท. และบริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จำกัด ที่เป็นบริษัทฯรับซื้อก๊าซจาก ปตท.เพื่อขายให้กับโรงไฟฟ้าอุทัย มีการใช้สารเบนโทไนท์ในการทำลายดินเพื่อจะได้เจาะลอดวางท่อในใต้ดินได้ ซึ่งสารเคมีดังกล่าวแพร่กระจายอยู่ใต้ดินในรัศมี 40 เมตร ส่งผลทำให้กล้วยไม้ที่ปลูกในพื้นที่ 23 ไร่ของตนได้รับผลกระทบไม่ออกดอก เป็นเชื้อรา แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการร้องเรียนไปยังนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ปตท. และ บจ.กัลฟ์ฯ ซึ่งได้มีการเข้ามาเก็บกู้สารดังกล่าวออกไป แต่การตกค้างยังคงอยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้ตนได้เก็บดินที่มีสารเบนโทไนท์ไปให้กรมวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบก็ระบุว่ามีค่าเกลือสูงถึง 4,000 มิลลิกรัม ไม่สามารถปลูกพืชได้
ขณะที่นายภิญโญ กล่าวว่า ใน จ.ปราจีนบุรี นอกจากสวนสมุนไพรอภัยภูเบศร์จะได้รับผลกระทบแล้วตอนนี้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงก็ได้รับผลกระทบ โดยพบว่าจุดที่มีการวางท่อแล้วไม่มีการนำดินมากลบฝัง มีปัญหาดินสไลด์ลงบ่อปลาทำให้ปลาตาย
** กสม.ยันต้องระงับการวางท่อ
ด้าน น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า ขณะนี้มีการยื่นคำร้องต่อกรณีดังกล่าวแล้ว 3 สำนวน ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิชุมชน ในการใช้ที่ดินเพื่อการทำกินคือกรณีการทำสวน และการใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะคือ กรณีของสวนสมุนไพรอภัยภูเบศร์ ซึ่งตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน การจะดำเนินโครงการใดที่จะมีผลกระทบกับชาวบ้านชุมชน โดยเจ้าของโครงการต้องรับฟังความเห็นของชาวบ้านและตอบชาวบ้านให้ได้ว่าจะรับผิดชอบ เยียวยา และฟื้นฟูกับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ต้องคุยกันให้เสร็จก่อนที่จะเริ่มฝั่งท่อ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นทาง กสม.จะมีหนังสือไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้พิจารณาระงับการวางท่อไว้ก่อน และจะมีลงพื้นที่ตรวจสอบในวันที่ 20 ก.พ.นี้
** เริ่มไต่สวน “วัชระ” ฟ้อง กบง.
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 13.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนในคดีที่ นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และพวกรวม 7 คน ยื่นฟ้องคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ขอให้เพิกถอนมติ กบง. ครั้งที่ 2/2557 ลงวันที่ 15 ธ.ค.57 ที่ยกเลิกการกำหนดราคา ณ โรงกลั่นของโรงแยกแก๊สธรรมชาติระดับที่ 333 เหรียญสหรัฐต่อตัน และกำหนดสูตรคำนวณต้นทุนการจัดหาก๊าซหุงต้มและราคาแก๊สเป็นราคา 498 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งเห็นว่าการกำหนดราคาดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายขัดต่อนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สร้างภาระให้กับผู้บริโภค โดยระหว่างการพิจารณาคดีขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวไว้ก่อน ทั้งนี้ในการไต่สวนนายวัชระเดินทางมาศาลด้วยตนเอง
ขณะที่ กบง.มอบหมายให้นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงานมาชี้แจง
** ย้ำเอื้อประโยชน์เอกชน-ปชช.เดือดร้อน
ภายหลังการไต่สวนนานกว่า 3 ชั่วโมง นายวัชระกล่าวว่า ได้ชี้แจงต่อศาลให้เห็นว่า คำสั่งของ กบง.ดังกล่าวที่มี นายณรงค์ชัย อัครเสรณี รมว.พลังงาน เป็นประธานลงนามโดยนายกรัฐมนตรี ขัดต่อประกาศ คสช.ฉบับที่ 55/57 ที่กำหนดให้คณะกรรมการ กบง.ชุดที่มี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็นประธานเป็นผู้กำหนดราคาต้นทุนก๊าซ และอัตราเงินที่เข้ากองทุนน้ำมัน
เนื่องจากประกาศ คสช.ฉบับที่ 55/57 นี้ลงนามโดยหัวหน้า คสช. ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 44 กำหนดให้หัวหน้า คสช.มีอำนาจเหนือกว่านายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการกฤษฎีกาก็มีความเห็นว่าประกาศ คสช.มีสภาพเป็นกฎหมาย ดังนั้นการออกคำสั่ง กบง.ชุดของนายณรงค์ชัยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
“นอกจากนี้ฝ่ายผู้ถูกร้องยังยอมรับว่าที่ขึ้นราคาก๊าซจาก 333 เหรียญสหรัฐต่อตันเป็น 498 เหรียญสหรัฐต่อตันนั้น ภาคเอกชนจะได้ประโยชน์สามารถนำงบประมาณไปสร้างโรงแยกก๊าซแห่งที่ 7 ได้ แต่ตนเห็นว่าในเมื่อต้นทุนผลิตยังมีราคาเท่าเดิม อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรภายในประเทศซึ่งมีเพียงพอต่อภาคครัวเรือนหรือผู้บริโภคในประเทศ จึงไม่ควรขึ้นราคาเพื่อให้ไปเทียบเท่าต่อการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี แม้ว่าขณะนี้ราคายังเท่าเดิม แต่ในภายภาคหน้าเมื่อราคาตลาดโลกปรับสูงขึ้น ราคาก๊าซก็จะปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน” นายวัชระ กล่าว
** ก.พลังงานอ้างทำตามขั้นตอน
ด้าน นายประเสริฐ กล่าวว่า เราทำตามมติและนโยบายของ คสช. ซึ่งทางศาลได้ถามถึงกระบวนการและนโยบายว่ามาได้อย่างไร โดย กบง.แต่งตั้งมาจาก คสช.และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่าเป็นประเด็นหรือไม่ที่มีการร้องเรียนดังกล่าว ซึ่งการตั้ง กบง.ทั้งสองคำสั่งนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่าทั้ง 2 คำสั่งมีสถานภาพทางกฎหมาย ตนได้ชี้แจงกับศาลไปว่า ไม่เป็นประเด็นที่จะทำให้ก๊าซขึ้นสูงกว่าปกติ ทั้งนี้เราเน้นการปรับราคาก๊าซเมื่อวันที่ 2 ก.พ.58 ไม่มีผลกระทบต่อการขายปลีกเป็นเพียงการปรับโครงสร้างเท่านั้น อย่างไรก็ตามตนขอย้ำว่าได้ทำตามขั้นตอนของนโยบายไม่ได้ทำเกินมติแต่อย่างใด
วานนี้ (9 ก.พ.) ที่สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นายวริทธิ์ธร กลิ่นภู่ ตัวแทนชาวบ้าน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และนายภิญโญ จันทวงษ์ ตัวแทนชาวบ้าน จ.ปราจีนบุรี ได้เข้ายื่นคำร้องต่อ กสม.ผ่าน น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการ กสม.ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน เพื่อขอให้ตรวจสอบกรณี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วางแนวท่อส่งก๊าซ เส้นที่ 4 (ระยอง-แก่งคอย) ทับที่ดินชาวบ้านจนกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่
** เผยสารเคมีค้างในดินเพียบ
นายวรินทธิ์ธร กล่าวว่า การวางแนวท่อส่งก๊าซของ ปตท. และบริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จำกัด ที่เป็นบริษัทฯรับซื้อก๊าซจาก ปตท.เพื่อขายให้กับโรงไฟฟ้าอุทัย มีการใช้สารเบนโทไนท์ในการทำลายดินเพื่อจะได้เจาะลอดวางท่อในใต้ดินได้ ซึ่งสารเคมีดังกล่าวแพร่กระจายอยู่ใต้ดินในรัศมี 40 เมตร ส่งผลทำให้กล้วยไม้ที่ปลูกในพื้นที่ 23 ไร่ของตนได้รับผลกระทบไม่ออกดอก เป็นเชื้อรา แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการร้องเรียนไปยังนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ปตท. และ บจ.กัลฟ์ฯ ซึ่งได้มีการเข้ามาเก็บกู้สารดังกล่าวออกไป แต่การตกค้างยังคงอยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้ตนได้เก็บดินที่มีสารเบนโทไนท์ไปให้กรมวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบก็ระบุว่ามีค่าเกลือสูงถึง 4,000 มิลลิกรัม ไม่สามารถปลูกพืชได้
ขณะที่นายภิญโญ กล่าวว่า ใน จ.ปราจีนบุรี นอกจากสวนสมุนไพรอภัยภูเบศร์จะได้รับผลกระทบแล้วตอนนี้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงก็ได้รับผลกระทบ โดยพบว่าจุดที่มีการวางท่อแล้วไม่มีการนำดินมากลบฝัง มีปัญหาดินสไลด์ลงบ่อปลาทำให้ปลาตาย
** กสม.ยันต้องระงับการวางท่อ
ด้าน น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า ขณะนี้มีการยื่นคำร้องต่อกรณีดังกล่าวแล้ว 3 สำนวน ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิชุมชน ในการใช้ที่ดินเพื่อการทำกินคือกรณีการทำสวน และการใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะคือ กรณีของสวนสมุนไพรอภัยภูเบศร์ ซึ่งตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน การจะดำเนินโครงการใดที่จะมีผลกระทบกับชาวบ้านชุมชน โดยเจ้าของโครงการต้องรับฟังความเห็นของชาวบ้านและตอบชาวบ้านให้ได้ว่าจะรับผิดชอบ เยียวยา และฟื้นฟูกับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ต้องคุยกันให้เสร็จก่อนที่จะเริ่มฝั่งท่อ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นทาง กสม.จะมีหนังสือไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้พิจารณาระงับการวางท่อไว้ก่อน และจะมีลงพื้นที่ตรวจสอบในวันที่ 20 ก.พ.นี้
** เริ่มไต่สวน “วัชระ” ฟ้อง กบง.
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 13.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนในคดีที่ นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และพวกรวม 7 คน ยื่นฟ้องคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ขอให้เพิกถอนมติ กบง. ครั้งที่ 2/2557 ลงวันที่ 15 ธ.ค.57 ที่ยกเลิกการกำหนดราคา ณ โรงกลั่นของโรงแยกแก๊สธรรมชาติระดับที่ 333 เหรียญสหรัฐต่อตัน และกำหนดสูตรคำนวณต้นทุนการจัดหาก๊าซหุงต้มและราคาแก๊สเป็นราคา 498 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งเห็นว่าการกำหนดราคาดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายขัดต่อนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สร้างภาระให้กับผู้บริโภค โดยระหว่างการพิจารณาคดีขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวไว้ก่อน ทั้งนี้ในการไต่สวนนายวัชระเดินทางมาศาลด้วยตนเอง
ขณะที่ กบง.มอบหมายให้นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงานมาชี้แจง
** ย้ำเอื้อประโยชน์เอกชน-ปชช.เดือดร้อน
ภายหลังการไต่สวนนานกว่า 3 ชั่วโมง นายวัชระกล่าวว่า ได้ชี้แจงต่อศาลให้เห็นว่า คำสั่งของ กบง.ดังกล่าวที่มี นายณรงค์ชัย อัครเสรณี รมว.พลังงาน เป็นประธานลงนามโดยนายกรัฐมนตรี ขัดต่อประกาศ คสช.ฉบับที่ 55/57 ที่กำหนดให้คณะกรรมการ กบง.ชุดที่มี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็นประธานเป็นผู้กำหนดราคาต้นทุนก๊าซ และอัตราเงินที่เข้ากองทุนน้ำมัน
เนื่องจากประกาศ คสช.ฉบับที่ 55/57 นี้ลงนามโดยหัวหน้า คสช. ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 44 กำหนดให้หัวหน้า คสช.มีอำนาจเหนือกว่านายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการกฤษฎีกาก็มีความเห็นว่าประกาศ คสช.มีสภาพเป็นกฎหมาย ดังนั้นการออกคำสั่ง กบง.ชุดของนายณรงค์ชัยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
“นอกจากนี้ฝ่ายผู้ถูกร้องยังยอมรับว่าที่ขึ้นราคาก๊าซจาก 333 เหรียญสหรัฐต่อตันเป็น 498 เหรียญสหรัฐต่อตันนั้น ภาคเอกชนจะได้ประโยชน์สามารถนำงบประมาณไปสร้างโรงแยกก๊าซแห่งที่ 7 ได้ แต่ตนเห็นว่าในเมื่อต้นทุนผลิตยังมีราคาเท่าเดิม อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรภายในประเทศซึ่งมีเพียงพอต่อภาคครัวเรือนหรือผู้บริโภคในประเทศ จึงไม่ควรขึ้นราคาเพื่อให้ไปเทียบเท่าต่อการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี แม้ว่าขณะนี้ราคายังเท่าเดิม แต่ในภายภาคหน้าเมื่อราคาตลาดโลกปรับสูงขึ้น ราคาก๊าซก็จะปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน” นายวัชระ กล่าว
** ก.พลังงานอ้างทำตามขั้นตอน
ด้าน นายประเสริฐ กล่าวว่า เราทำตามมติและนโยบายของ คสช. ซึ่งทางศาลได้ถามถึงกระบวนการและนโยบายว่ามาได้อย่างไร โดย กบง.แต่งตั้งมาจาก คสช.และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่าเป็นประเด็นหรือไม่ที่มีการร้องเรียนดังกล่าว ซึ่งการตั้ง กบง.ทั้งสองคำสั่งนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่าทั้ง 2 คำสั่งมีสถานภาพทางกฎหมาย ตนได้ชี้แจงกับศาลไปว่า ไม่เป็นประเด็นที่จะทำให้ก๊าซขึ้นสูงกว่าปกติ ทั้งนี้เราเน้นการปรับราคาก๊าซเมื่อวันที่ 2 ก.พ.58 ไม่มีผลกระทบต่อการขายปลีกเป็นเพียงการปรับโครงสร้างเท่านั้น อย่างไรก็ตามตนขอย้ำว่าได้ทำตามขั้นตอนของนโยบายไม่ได้ทำเกินมติแต่อย่างใด